ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== การสร้างความเห็นพ้อง ==
{{see|วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท}}

ผู้เขียนที่รักษาทัศนคติเป็นกลาง แยกแยะกับเรื่องส่วนตัวและมีอารยะปกติสามารถบรรลุความเห็นพ้องในบทความได้ผ่านกระบวนการที่อธิบายข้างต้น กระนั้น บางทีอาจพบทางตันไม่ว่าเพราะไม่สามารถหาเหตุที่สมเหตุสมผลในการระงับข้อพิพาทหรือเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายใช้อารมณ์ หรือมุ่งมั่นกับการเอาชนะข้อโต้แย้ง ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะการระงับข้อพิพาทที่จัดการได้ยาก ร่วมกับคำอธิบายกระบวนการทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่อาจช่วยได้

==การตัดสินความเห็นพ้อง==
==การตัดสินความเห็นพ้อง==
ความเห็นพ้องหาได้จากคุณภาพของการให้เหตุผลของฝ่ายต่าง ๆ ในประเด็นหนึ่ง ๆ โดยมองจากนโยบายวิกิพีเดีย
ความเห็นพ้องหาได้จากคุณภาพของการให้เหตุผลของฝ่ายต่าง ๆ ในประเด็นหนึ่ง ๆ โดยมองจากนโยบายวิกิพีเดีย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:53, 12 พฤษภาคม 2563

การตัดสินความเห็นพ้อง

ความเห็นพ้องหาได้จากคุณภาพของการให้เหตุผลของฝ่ายต่าง ๆ ในประเด็นหนึ่ง ๆ โดยมองจากนโยบายวิกิพีเดีย

ระดับของความเห็นพ้อง

ความเห็นพ้องในกลุ่มผู้ใช้กลุ่มเล็ก ในกาลเทศะหนึ่ง ไม่สามารถมีผลเหนือความเห็นพ้องของชุมชนในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น หากผู้เข้าร่วมในโครงการวิกิหนึ่งไม่สามารถชักจูงให้ชุมชนวงกว้างเชื่อว่าการกระทำอย่างหนึ่งถูกต้องได้ ก็ไม่สามารถวินิจฉัยให้นโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปไม่มีผลต่อบทความในขอบเขตของโครงการวิกินั้นไม่ได้ หน้าแนะนำ หน้าบอกวิธีและสารสนเทศ และเอกสารประกอบแม่แบบไม่ได้รับการอนุมัติจากชุมชนผ่านกระบกวนการเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติ จึงมีสถานะไม่ต่างจากเรียงความ

วิกิพีเดียมีมาตรฐานการมีส่วนร่วมและความเห็นพ้องสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายและแนวปฏิบัติ เสถียรภาพและความเข้ากันได้ของนโยบายและแนวปฏิบัติทั้งหลายมีความสำคัญต่อชุมชน ฉะนั้นผู้เขียนมักเสนอการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญในหน้าคุยให้มีการอภิปรายก่อนจึงนำการเปลี่ยนแปลงนั้นไปปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงแบบขอให้กล้านั้นมักไม่เป็นที่ยินดีต้อนรับในหน้านโยบาย การปรับปรุงนโยบายควรเป็นไปอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อนไปจึงดีที่สุด โดยพยายามอย่างกระตือรือร้นในการเสาะแสวงความเห็นเพิ่มเติมและความลงรอยจากผู้อื่น

ไม่มีความเห็นพ้อง

บางทีการอภิปรายจบลงโดยไม่มีความเห็นพ้องว่าจะกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั้นแล้วแต่บริบท

  • ในกระบวนการลบ หากไม่มีความเห็นพ้องปกติส่งผลให้บทความ หน้า ภาพหรือเนื้อหาอื่นไม่ถูกลบ
  • เมื่อปฏิบัติการของผู้ดูแลระบบถูกคัดค้านแล้วการอภิปรายจบลงโดยไม่มีความเห็นพ้องสนับสนุนปฏิบัติการนั้นหรือให้ย้อนปฏิบัติการนั้น ปกติจะให้ย้อนปฏิบัติการนั้น

ความเห็นพ้องสามารถเปลี่ยนได้

ผู้เขียนอาจเสนอการเปลี่ยนแปลงความเห็นพ้องปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อยกเหตุผลหรือกรณีแวดล้อมซึ่งเดิมไม่ได้พิจารณาไว้ แต่อีกด้านหนึ่ง การเสนอการเปลี่ยนแปลงความเห็นพ้องที่เพิ่งตกลงกันไปหมด ๆ อาจเป็นการรบกวนได้

ผู้เขียนอาจเสนอการเปลี่ยนแปลงความเห็นพ้องโดยการอภิปรายหรือการแก้ไขก็ได้ แต่ในกรณีส่วนใหญ่ผู้เขียนซึ่งทราบการเปลี่ยนที่เสนอจะดัดแปรปัญหาที่ระงับแล้วในการอภิปรายที่ผ่านมาควรเสนอการเปลี่ยนแปลงนั้นผ่านการอภิปราย ผู้เขียนทีย้อนการเปลี่ยนแปลงที่เสนอด้วยการแก้ไขควรเลี่ยงคำอธิบายห้วน ๆ (เช่น "ขัดต่อความเห็นพ้อง") ซึ่งให้คำชี้แจงเพียงเล็กน้อยต่อผู้เขียนที่กำลังเสนอการเปลี่ยนแปลง อาจแก้ด้วยวิธีใส่ลิงก์ไปยังการอภิปรายที่ก่อเกิดความเห็นพ้องนั้น

คำวินิจฉัยที่ไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นพ้องของผู้เขียน

นโยบายและคำวินิจฉัยบางอย่างที่มาจากมูลนิธิวิกิมีเดีย ("มูลนิธิฯ") เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ อยู่นอกเหนือขอบเขตของความเห็นพ้องระหว่างผู้เขียน

  • มูลนิธิฯ มีการควบคุมทางกฎหมาย และความรับผิดต่อวิกิพีเดีย คำวินิจฉัย คำวินิจฉัยชี้ขาดและการกระทำของคณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบมีลำดับเหนือกว่าและมาก่อนความเห็นพ้อง ความเห็นพ้องในหมู่ผู้เขียนซึ่งคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยสั่งการหรือการกระทำละเมิดนโยบายมูลนิธิวิกิมีเดีย อาจสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรต่อมูลนิธิฯ
  • บางปัญหาซึ่งอาจดูเหมือนอยู่ภายใต้ความเห็นพ้องของชุมชน ณ วิกิพีเดียภาษาไทย (th.wikipedia.org) นั้นแท้จริงแล้วอยู่ในอีกโดเมนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ รวมทั้งเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิกิมีเดียที่ได้รับค่าจ้างและอาสาสมัคร และกิจกรรมของวิกิมีเดียคอมมอนส์เป็นเอนทิตีต่างหาก เช่นเดียวกับวิกิพีเดียอีกหลายภาษานอกเหนือจากภาษาไทย ชุมชนเหล่านี้เป็นเอกเทศและมีฐานะเท่ากันและดำเนินการตามที่เห็นจำเป็นหรือสมควร เช่น เพิ่ม ลบหรือเปลี่ยนคุณลักษณะซอฟต์แวร์ หรือยอมรับหรือปฏิเสธภาพ แม้การกระทำของชุมชนดังกล่าวจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เขียนวิกิพีเดียภาษาไทย ทั้งนี้ เป็นเพียงตัวอย่างคร่าว ๆ ว่าคำวินิจฉัยที่โครงการนี้มีนั้นมีผลใช้บังคับเฉพาะต่อชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยที่กำกับตนเองเท่านั้น

ประวัติ

  • วันที่ 6 มีนาคม 2562 มีการเสนอร่างนโยบายดังกล่าวโดยเปิดให้ชุมชนแสดงความเห็นเป็นเวลา 1 เดือน โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปราย 3 คน ไม่มีข้อคัดค้านเพิ่มเติม แต่เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมอภิปรายน้อยจึงผ่านร่างฯ เป็นนโยบายเฉพาะส่วนที่ยึดเป็นหลักปฏิบัติในวิกิพีเดียโดยสภาพอยู่แล้วไปก่อน