ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟ้อนเล็บ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jiranee119 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ฟ้อนเล็บ''' เป็นการฟ้อนของ[[ชาวไทย]][[ภาคเหนือ]] การแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ โอกาสที่แสดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
'''.ฟ้อนเล็บ''' เป็นการฟ้อนของ[[ชาวไทย]][[ภาคเหนือ]] การแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ โอกาสที่แสดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
[[ไฟล์:ฟ้อนเล็บ.jpg|thumb|right|ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงของภาคเหนือ]]
[[ไฟล์:ฟ้อนเล็บ.jpg|thumb|right|ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงของภาคเหนือ|link=Special:FilePath/ฟ้อนเล็บ.jpg]]
ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:43, 12 พฤษภาคม 2563

.ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ การแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ โอกาสที่แสดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ

ไฟล์:ฟ้อนเล็บ.jpg
ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงของภาคเหนือ

ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

ฟ้อนเล็บของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากรได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวงในรัชกาลที่ ๗ และถ่ายทอดให้ เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรโดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ

ผู้แสดง

ฟ้อนแต่ละชุดจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไป นิยมกันมี 4 คู่ 6 คู่ 8 คู่ หรือ 10 คู่ เมย์ลี

การแต่งกาย

จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายและ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ[ต้องการอ้างอิง]

การแสดง

ผู้แสดงจะร่ายรำตามทำนองเพลงที่เชื่องช้า ส่วนการใช้ท่าฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อๆ กันมา เป็นท่าฟ้อนดั้งเดิมของชาวเหนือ คือ

1 ท่าพายเรือ

2 ท่าบัวบานบิด

3 ท่าหย่อน

ต่อมาเมื่อนาฎศิลป์ทางภาคกลางแพร่มาสู่ภาคเหนือ การฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีการฟ้อนให้เข้ากับท่ารำแม่บท เพิ่มท่ารำให้มากขึ้นและแตกต่างกันไป

ดนตรี

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่งนง วงต๊กเส้ง หรือวงปี่พาทย์ล้านนา(นิยิมใช้กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง แต่ถ้าเป็นวงต๊กเส้ง จะเพิ่ม สิ้ง มาด้วย เวลาดนตรีบรรเลงเสียงปี่ดังไพเราะเยือกเย็นและอลังการมาก ท่วงทำนองเลียนแบบการเดินของช้าง เชื่องช้า เสียงกลองจะตีดัง ต๊ก สว่า ตึ่ง นง อย่างนี้เรื่อยไป ส่วนช่างฟ้อนก็จะฟ้อนช้า ๆ ไปตามลีลาของเพลง เพลงที่ใช้บรรเลงฟ้อนเล็บจะแบ่งตามท้องถิ่นหลักของแต่ละที่จะใช้เพลงฟ้อนเล็บต่างกันดังนี้

  • เพลงมอญเชียงแสน(เชียงแสนหลวง)[1] เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและพะเยา
  • เพลงแม่ดำโปน[2] เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
  • เพลงแหย่ง[3] เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

อ้างอิง

  1. https://www.youtube.com/watch?v=SVTNA0BVoZE
  2. https://www.youtube.com/watch?v=ukr7izhEMAo
  3. https://www.youtube.com/watch?v=Oa37JIYLhe0