ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรคืออะไร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2001:44C8:45C1:62F7:1:0:5AFF:2F4A (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Oohlanla
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
# '''สื่อ''' มี[[วิกิพีเดีย:ภาพ|ภาพ]]ซึ่งเป็นไปตาม[[วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ|นโยบายการใช้ภาพ]]และสื่ออื่นเมื่อมีความเหมาะสม โดยมีคำบรรยายใต้ภาพที่กระชับและสถานะลิขสิทธิ์ที่ยอมรับได้ [[WP:FAIRUSE|ภาพหรือสื่อที่ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ]]จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์และได้รับการติดป้ายตามนั้น
# '''สื่อ''' มี[[วิกิพีเดีย:ภาพ|ภาพ]]ซึ่งเป็นไปตาม[[วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ|นโยบายการใช้ภาพ]]และสื่ออื่นเมื่อมีความเหมาะสม โดยมีคำบรรยายใต้ภาพที่กระชับและสถานะลิขสิทธิ์ที่ยอมรับได้ [[WP:FAIRUSE|ภาพหรือสื่อที่ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ]]จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์และได้รับการติดป้ายตามนั้น
# '''ความยาว''' บทความมุ่งประเด็นไปยังหัวข้อหลักโดยไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
# '''ความยาว''' บทความมุ่งประเด็นไปยังหัวข้อหลักโดยไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

== ดูเพิ่ม ==
* [[วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพคืออะไร]]
* [[วิกิพีเดีย:ความแตกต่างระหว่างบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ]]
* [[วิกิพีเดีย:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น]]

[[หมวดหมู่:การบริหารบทความคัดสรร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:42, 11 พฤษภาคม 2563

บทความคัดสรร
บทความคัดสรรประจำเดือน

หน้าที่เกี่ยวข้อง
หนทางสู่การเขียนบทความคัดสรร
  1. เริ่มเขียนบทความ
  2. ค้นคว้าและเขียนเพื่อสร้างบทความที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  3. ตรวจสอบตามเงื่อนไข ของบทความคัดสรร
  4. เสนอชื่อเพื่อเป็นบทความคัดสรร
  5. ทำการสนับสนุน คัดค้าน อภิปราย บทความที่คุณเสนอไป
  6. หากผ่าน บทความของคุณจะเป็นบทความคัดสรร
 

บทความคัดสรรเป็นตัวอย่างของงานที่ดีที่สุดของเราและมีความโดดเด่นในด้านมาตรฐานการเขียน การนำเสนอ และการอ้างอิงแหล่งที่มา นอกเหนือไปจากจะต้องผ่านนโยบายว่าด้วยเนื้อหาสำหรับบทความวิกิพีเดียทุกบทความแล้ว บทความเหล่านี้จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้

  1. จะต้อง—
    • (ก) เขียนอย่างดี: การเขียนมีลักษณะดึงดูดใจ และมีมาตรฐานระดับมืออาชีพ
    • (ข) ครอบคลุม: ไม่ละเลยข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่สำคัญและการวางเนื้อหาในบริบท
    • (ค) ค้นคว้าเป็นอย่างดี: บรรจุเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเป็นตัวแทนเกี่ยวกับหัวเรื่อง คำกล่าวอ้างสามารถพิสูจน์ได้โดยมีแหล่งอ้างอิงคุณภาพสูงที่น่าเชื่อถือ และมีแหล่งอ้างอิงในบรรทัด (inline source) เมื่อจำเป็น
    • (ง) เป็นกลาง: นำเสนอแง่มุมอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ และ
    • (จ) มีเสถียรภาพ: เนื้อหาจะต้องไม่ตกเป็นเป้าของสงครามแก้ไขที่กำลังดำเนินอยู่และเนื้อหาจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญบ่อยครั้ง เว้นแต่กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอบทความคัดสรร
  2. เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านรูปแบบ รวมไปถึงข้อกำหนดที่ว่า—
    • (ก) ส่วนนำ: ส่วนนำที่รัดกุมซึ่งสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องและเป็นการเตรียมผู้อ่านสำหรับรายละเอียดในแต่ละส่วนที่จะตามมา
    • (ข) โครงสร้างเหมาะสม: มีระบบการจัดลำดับส่วนหัวข้อและเนื้อหา แต่ต้องไม่เยอะมากเกินงาม
    • (ค) การอ้างอิงอย่างเหมาะสม: จัดรูปแบบการอ้างอิงอย่างเหมาะสม เมื่อต้องอ้างอิงตามเกณฑ์ 1(ค) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การอ้างอิงแหล่งที่มา และ meta:cite)
  3. สื่อ มีภาพซึ่งเป็นไปตามนโยบายการใช้ภาพและสื่ออื่นเมื่อมีความเหมาะสม โดยมีคำบรรยายใต้ภาพที่กระชับและสถานะลิขสิทธิ์ที่ยอมรับได้ ภาพหรือสื่อที่ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์และได้รับการติดป้ายตามนั้น
  4. ความยาว บทความมุ่งประเด็นไปยังหัวข้อหลักโดยไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

ดูเพิ่ม