ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ลบไฟล์:0ณัฐวุฒิ.jpgด้วยบอต เพราะถูกแจ้งลบ (อภิปราย)
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
[[ไฟล์:0ณัฐวุฒิ.jpg|thumb|ณัฐวุฒิ (คนขวา) บนรถปราศรัยของ นปก.]]


'''ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ''' {{ชื่อเล่น|เต้น}} อดีต[[รัฐมนตรี]]ช่วยว่าการ[[กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)|กระทรวงพาณิชย์]] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60|ในรัฐบาล]][[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]], [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ระบบบัญชีรายชื่อ [[พรรคเพื่อไทย]], แกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.), อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58|ในรัฐบาล]][[สมชาย วงศ์สวัสดิ์]], อดีตผู้อำนวยการ[[สถานีโทรทัศน์พีทีวี]], อดีตผู้ดำเนินรายการ[[ความจริงวันนี้]], อดีตรองโฆษก[[พรรคไทยรักไทย]]
'''ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ''' {{ชื่อเล่น|เต้น}} อดีต[[รัฐมนตรี]]ช่วยว่าการ[[กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)|กระทรวงพาณิชย์]] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60|ในรัฐบาล]][[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]], [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ระบบบัญชีรายชื่อ [[พรรคเพื่อไทย]], แกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.), อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58|ในรัฐบาล]][[สมชาย วงศ์สวัสดิ์]], อดีตผู้อำนวยการ[[สถานีโทรทัศน์พีทีวี]], อดีตผู้ดำเนินรายการ[[ความจริงวันนี้]], อดีตรองโฆษก[[พรรคไทยรักไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:35, 9 พฤษภาคม 2563

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 206 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าภูมิ สาระผล
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ถัดไปอภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 273 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
ถัดไปศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 56 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าพล.ต.ท.ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์
ถัดไปรศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (48 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักษาชาติ
คู่สมรสสิริสกุล ใสยเกื้อ
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ.png

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ชื่อเล่น เต้น อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์, อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์พีทีวี, อดีตผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้, อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย

ประวัติ

ณัฐวุฒิ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนสุดท้อง ของสำเนา และปรียา ใสยเกื้อ[1] มีพี่ชายคือ เจตนันท์ ใสยเกื้อ ชื่อเล่น ต้น ส่วนคุณปู่ชื่อ เปี่ยม ใสยเกื้อ และคุณตาชื่อ ชอบ นาคแก้ว

ณัฐวุฒิ จบการศึกษาระดับประถม ที่โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ระดับมัธยม ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2536 จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต จากนั้นสำเร็จการศึกษาปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชนสำหรับผู้บริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อปี พ.ศ. 2548

ชีวิตครอบครัว ณัฐวุฒิ สมรสกับ สิริสกุล ใสสะอาด ชื่อเล่น แก้ม มีบุตรชายหนึ่งคนคือ นปก (นะ-ปก) ซึ่งแปลว่า ฟ้าคุ้มครอง[2] และบุตรสาวอีกหนึ่งคนคือ ชาดอาภรณ์

วงการโทรทัศน์

นักพูดและรายการสภาโจ๊ก

ณัฐวุฒิเริ่มมีชื่อเสียงในวงการนักพูด ด้วยการเป็นนักโต้วาทีผู้แทนโรงเรียน จนเป็นแชมป์รายการโต้คารมมัธยมศึกษา ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในรอบรองชนะเลิศ พบกับทีมโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีสุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ ชื่อเล่น ทุเรียน และสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ชื่อเล่น เสนาลิง ร่วมแข่งขันด้วย ต่อมาจึงเริ่มต้นอาชีพนักพูด โดยเป็นนักอบรมการพูด กับบริษัท อดัมกรุ๊ป จำกัด ของอภิชาติ ดำดี จากนั้นก็ร่วมโต้วาทีในรายการทีวีวาที ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.เป็นบางโอกาส และต่อมาเป็นดารา ประจำรายการสภาโจ๊ก และรัฐบานหุ่น ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยเป็นเงาเสียงของไตรรงค์ สุวรรณคีรี

ผู้บริหารพีทีวี-ผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ จตุพร พรหมพันธุ์ จักรภพ เพ็ญแข ก่อแก้ว พิกุลทอง และอุสมาน ลูกหยี ก่อตั้งบริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด เพื่อดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี โดยเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีฯ นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เพื่อนพ้องน้องพี่ พีทีวีเพื่อประชาชน" ร่วมกับวีระ จตุพร และจักรภพด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ณัฐวุฒิเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการความจริงวันนี้ ซึ่งผลิตโดย บจก.เพื่อนพ้องน้องพี่ และออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ร่วมกับวีระ และจตุพร แต่เมื่อรัฐบาลสมชาย มอบหมายให้ณัฐวุฒิ เข้าดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาล ก่อแก้ว พิกุลทองจึงเข้ามาเป็นผู้ดำเนินรายการแทน แต่เมื่อพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แล้ว ณัฐวุฒิก็กลับมาดำเนินรายการอีกครั้ง จนต้องยุติการดำเนินรายการทางเอ็นบีที เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 รายการนี้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางสถานีประชาธิปไตย (19 มกราคม-25 มีนาคม) และสถานีประชาชน (15 กรกฎาคม-12 มีนาคม พ.ศ. 2553) ตามลำดับ

ฝ่าวงล้อม ทางเอเชียอัปเดต

หลังการประกันตัวจากข้อกล่าวหาก่อการร้าย ที่ได้รับจากช่วงการชุมนุมเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2553แล้ว ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ดำเนินรายการ "ฝ่าวงล้อม" (30 มีนาคม-21 เมษายน) ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเชียอัปเดต จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาจึงยุติรายการนี้ เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

เข้าใจตรงกันนะ ทางพีซทีวี

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เข้าใจตรงกันนะ" ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีซทีวี โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 ในทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 21:00-22:00 น. (ต่อมา หลังจากมีคำสั่งศาลปกครองให้พีซทีวีออกอากาศต่อไปได้หลังเพิกถอนใบอนุญาต รายการก็ปรับเวลามาเป็น วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:20-19:10 น. แทนที่รายการมองไกลของนายจตุพร พรหมพันธุ์) โดยระยะแรกจะเป็นการสนทนาโดยมีพิธีกรทำหน้าที่ดำเนินรายการ ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2558 ได้ปรับรูปแบบโดยณัฐวุฒิดำเนินรายการด้วยตนเอง โดยเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ข่าวสารในแต่ละวัน โดยบางครั้ง นายณัฐวุฒิจะดำเนินรายการผ่านทางโทรศัพท์โดยมีพิธีกรทำหน้าที่ในห้องส่งในบางวัน หรือบางครั้งจะจัดรายการสดจากบ้านพักของนายณัฐวุฒิผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวและนำมาออกอากาศในช่วงเวลาของรายการ จนกระทั่งยุติรายการลงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ตามนโยบายลดรายการวิจารณ์การเมืองของสถานีฯเพื่อให้สอดรับกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 นายณัฐวุฒิได้จัดตั้งโครงการ "ด้วยรักและแบ่งปัน" เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนส่งภาพถ่ายและเรื่องราวชีวิตมายังอีเมลและไปรษณีย์ โดยนายณัฐวุฒินำเรื่องราวของเยาวชนเหล่านี้รวมถึงข่าวจากสื่อมวลชนที่นำเสนอความเดือดร้อนของเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มาอ่านออกอากาศในรายการเข้าใจตรงกันนะวันละ 2 เรื่อง (ภายหลังเพิ่มเป็น 3 เรื่อง) รวมถึงนำเสนอผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวของนายณัฐวุฒิอีกด้วย โดยทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาและได้รับการเผยแพร่จะได้รับทุนการศึกษามูลค่า 5,000 บาท ผ่านบัญชีธนาคาร และเปิดโอกาสให้ร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว

งานทอล์กโชว์ "ด้วยรักและแบ่งปัน : ครั้งนี้พี่ขอ"

ด้วยรักและแบ่งปัน : ครั้งนี้พี่ขอ
คอนเสิร์ตทอล์กโชว์โดยณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ไฟล์:์Natthawuttalkshow1.jpg
สถานที่จัดชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลสำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
วันเริ่มต้นการแสดง28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
วันสิ้นสุดการแสดง28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
จำนวนรอบแสดงจัดแสดงรอบเดียว

เมื่อมีเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ขอรับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก นายณัฐวุฒิมีแนวคิดจะระดมทุนช่วยเหลือ โดยเตรียมการจัดทอล์กโชว์ระดมทุนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "ด้วยรักและแบ่งปัน : ครั้งนี้พี่ขอ" ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยแรกเดิมจะจัดที่หอประชุมกองทัพอากาศ[3] แต่ต่อมา พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ออกมาตำหนิการจัดงานดังกล่าวโดยอ้างว่ากองทัพอากาศไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ของกองทัพอากาศ[4] นายณัฐวุฒิจึงได้ชี้แจงกับฝ่ายความมั่นคงผ่านเวทีปรองดอง ณ กระทรวงกลาโหม ถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรม และเปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลสำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ แต่กำหนดการจัดยังคงเดิม [5] โดยงานก็สามารถจัดได้อย่างเรียบร้อย โดยไม่มีการขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด และจะมีเทปบันทึกภาพออกอากาศในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทางช่อง พีซทีวี ในช่วงเวลาของรายการ "พีซทีวีเวทีทัศน์"

ศิลปินและแขกรับเชิญ

การเมือง

พรรคชาติพัฒนา

ณัฐวุฒิเริ่มเล่นการเมือง โดยเข้าสังกัดพรรคชาติพัฒนา และลงสมัครรับเลือกตั้ง ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 จากการชักชวนของธีรศักดิ์ นาคแก้ว ผู้เป็นน้าชาย แต่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง โดยพ่ายแพ้คู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์เพียง 4,000 เสียง

พรรคไทยรักไทย

ต่อมา ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยร่วมทีมปราศรัยล่วงหน้าของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะทำงานโฆษกพรรคไทยรักไทย ต่อมา พรรคคัดเลือกให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็น ส.ส.[ต้องการอ้างอิง] แต่เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายนขึ้นเสียก่อน

แกนนำ นปก.

ณัฐวุฒิบนเวทีปราศรัย นปช.บริเวณแยกราชประสงค์

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิ ร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ และจตุพร พรหมพันธุ์ เดินทางมาพบกันยังที่ทำการพรรคเพื่อไทย เพื่อแถลงข่าวต่อต้านการรัฐประหาร ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์พีทีวีถูกปิดกั้นสัญญาณดาวเทียม จนไม่สามารถออกอากาศได้ ผู้บริหารและผู้จัดรายการจึงออกมาปราศรัยที่ท้องสนามหลวง จนกระทั่งร่วมกับหลายองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชน จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรหลักภายใต้ชื่อ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ในเวลาต่อมา โดยณัฐวุฒิเข้ารับตำแหน่งเป็นแกนนำคนหนึ่ง และขึ้นปราศรัยต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาโดยตลอด

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ราวกลางปี พ.ศ. 2550 ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่มที่ 8 พื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่นำโดยสมัคร สุนทรเวช และหลังจากที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดนี้

เลขาธิการและโฆษก นปช.แดงทั้งแผ่นดิน

หลังจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์สิ้นสุดลง นปก.จึงเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อย่อเป็น นปช. โดยณัฐวุฒิยังเป็นแกนนำอยู่ตามเดิม และหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งณัฐวุฒิถูกควบคุมตัว พร้อมกับวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ และแกนนำคนอื่นๆ ในข้อหาก่อการร้าย[ต้องการอ้างอิง]

พรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ณัฐวุฒิได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นที่คาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดูแลสื่อมวลชน)[6] แต่ในการแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม กลับไม่มีชื่อของณัฐวุฒิในตำแหน่งใดๆ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19[7]

รัฐมนตรี

ณัฐวุฒิได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[8] แทนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[9]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

  • วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ชมรมคนนครศรีธรรมราช และสมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ดำเนินการล่ารายชื่อ เพื่อขอให้โรงเรียนลบชื่อณัฐวุฒิ ออกจากการเป็นศิษย์เก่า เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ไม่เห็นด้วยที่ณัฐวุฒิ เข้าร่วมเป็นแกนนำ นปช.[10]
  • วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553 ณัฐวุฒิกล่าวปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ว่า หากทหารเข้ามาสลายการชุมนุม อาจทำให้ผู้ชุมนุมเกิดอาการตกใจ จนทรัพย์สินรอบบริเวณอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ กลุ่มตรงข้ามกับฝ่ายผู้ชุมนุม และการ์ตูนล้อการเมืองในเครือข่ายสังคม ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า หากทหารเกิดอาการตกใจ ยิงผู้ที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายบ้าง จะเป็นอย่างไร[11]
  • วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากเกิดเหตุความรุนแรงท่ามกลางการประท้วงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวว่า การที่ณัฐวุฒิแถลงว่า ขอให้ทหารหยุดยิง เพื่อให้ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่ในพื้นที่รอบการชุมนุม สามารถกลับเข้าสู่การชุมนุมที่ราชประสงค์เพียงจุดเดียว ถือว่าณัฐวุฒิเป็นผู้ก่อการร้ายตัวใหญ่ ที่สั่งให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย ออกไปสร้างความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ โดยแกนนำไม่สามารถปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นได้[12]

ผลงานหนังสือ

ไฟล์:Chok Kham Loon.jpg
ชกข้ามรุ่น
  • ชกข้ามรุ่น

ผลงานเพลง

ประพันธ์เนื้อร้องและขับร้อง

  • รักสาวเสื้อแดง (แปลงมาจากเพลง รักสาวเสื้อลาย)
  • แดงเสรีชน
  • ขอบคุณ
  • เพื่อนตาย
  • โชห่วย โชว์สวย - กระทรวงพาณิชย์จัดทำเพลงและมิวสิกวิดีโอ โดยณัฐวุฒิเป็นผู้แต่งเนื้อร้อง จากนั้นมีผู้ท้วงติงว่า อาจละเมิดลิขสิทธิ์ทำนองเพลงของต่างประเทศ ต่อมาจึงลบออกจากยูทูบ
  • อภิวันท์ วิริยะชัย - เพลงพิเศษของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยและเชิดชูพันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย หลังการเสียชีวิตของพันเอก อภิวันท์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 [13]
  • โรฮิงญา - ณัฐวุฒิประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาและเผยแพร่ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เพื่อสะท้อนปัญหาชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาในประเทศไทย[14]
  • แหล่ประชามติ - เพลงพิเศษของพีซทีวี เนื่องในโอกาสการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 [15]
  • น้ำท่วมใต้ - เพลงพิเศษของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความห่วงใยและให้กำลังใจต่อผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 เป็นเพลงแรกของณัฐวุฒิที่ขับร้องด้วยสำเนียงใต้ [16]
  • ฝากดาว - ณัฐวุฒิประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาและเผยแพร่ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 เพื่อสะท้อนความรู้สึกและความห่วงใยต่อญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2553 [17]

ประพันธ์เนื้อร้อง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.thairath.co.th/people/view/pol/1555
  2. “ลูกไม้” ใต้ต้นการเมือง/คอลัมน์ ที่สุด จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์
  3. “ณัฐวุฒิ”เล็งจัดทอล์คโชว์ครั้งแรก! ระดมทุนช่วยนร.ขาดแคลน 28 พ.ค.นี้, มติชนออนไลน์
  4. เต้น:ทอล์ค / ฮาร์ท-เสก:ร้อง สุ่มเสี่ยงการเมือง-ทอ.เบรก,กะฉ่อน อ้างอิงจาก เดลินิวส์ออนไลน์
  5. "ณัฐวุฒิ" เดินหน้าจัดทอล์คโชว์แจกทุนช่วยเด็กนักเรียน, ทีวี 24
  6. ประมวลโผครม.ระลอกล่าสุด "บิ๊กอ๊อด" หลุดกห. "สันติ-สุเมธ" ชิงดำคมนาคม "ณัฐวุฒิ" มาแว้ว นั่งสำนักนายกฯ
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  10. http://www.posttoday.com/กทม.-ภูมิภาค/ทั่วไทยทูเดย์/ปลายแหลมทอง/24158/ศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศแถลงการณ์ขับไล่-ณัฐวุฒิ
  11. http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=24308
  12. http://news.mthai.com/politics-news/76694.html
  13. มิวสิกวีดีโอเพลง อภิวันท์ วิริยะชัย
  14. มิวสิกวิดีโอเพลง โรฮิงญา, คำอธิบายเพิ่มเติม.
  15. [https://www.youtube.com/watch?v=TcYJkDFdnnE มิวสิกวีดีโอเพลง แหล่ประชามติ]
  16. มิวสิกวีดีโอเพลง น้ำท่วมใต้
  17. มิวสิกวีดีโอเพลง ฝากดาว
  18. ลมหายใจ Peace TV 28 08 59
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถัดไป
ภูมิ สาระผล
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
อภิรดี ตันตราภรณ์
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
พลตำรวจโท ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร