ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนื้อทราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุวรรณรักษ์ (คุย | ส่วนร่วม)
สุวรรณรักษ์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:


== ชนิดย่อย ==
== ชนิดย่อย ==
เนื้อทรายมีชนิดย่อยสองชนิด คือ ''Hyelaphus porcinus porcinus'' อาศัยอยู่ตามที่ราบอินโด-คงคาของประเทศปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน จนถึงตะวันตกของประเทศไทย อีกชนิดย่อยหนึ่งคือ ''Axis porcinus annamiticus'' พบในตะวันออกและอีสานตอนใต้ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา ส่วนเนื้อทรายในศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ที่มนุษย์นำเข้าไปปล่อย
เนื้อทรายมีชนิดย่อยสองชนิด คือ ''Hyelaphus porcinus porcinus'' อาศัยอยู่ตามที่ราบอินโด-คงคาของประเทศปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน จนถึงตะวันตกของประเทศไทย อีกชนิดย่อยหนึ่งคือ ''Hyelaphus porcinus annamiticus'' พบในตะวันออกและอีสานตอนใต้ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา ส่วนเนื้อทรายในศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ที่มนุษย์นำเข้าไปปล่อย


=== ทราบหรือไม่? ===
=== ทราบหรือไม่? ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:03, 8 พฤษภาคม 2563

เนื้อทราย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Cervinae
สกุล: Axis
สปีชีส์: A.  porcinus
ชื่อทวินาม
Axis porcinus
(Zimmermann, 1780)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • megaloceros porcinus
  • Axis porcinus

เนื้อทราย หรือ ทราย หรือ ตามะแน (อังกฤษ: Hog deer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Axis porcinus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางชนิดหนึ่ง มีรูปร่างอ้วนป้อม ขาสั้น เนื้อทรายจะมีสีขนเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ

ลักษณะ

โดยปกติจะมีสีน้ำตาลเข้มในฤดูหนาว สีเทาในฤดูร้อน ลูกเนื้อทรายเมื่อแรกเกิดจะมีจุดสีขาวตามลำตัว เมื่อโตขึ้นจึงจางหายไป บริเวณช่วงท้องมีสีอ่อนกว่าลำตัว ขนสั้นมีปลายขนสีขาว มีแถบสีเข้มพาดตามหน้าผาก มีเขาเฉพาะเพศผู้ ลักษณะเขาคล้ายกวางป่า มีความยาวลำตัวและหัว 140-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 17.5-21 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 65-72 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-110 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่

มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคเหนือของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ภูฏาน, บังกลาเทศ, พม่า, ภาคใต้ของจีน, ไทย, ลาว, พม่า, กัมพูชา, เวียดนาม, หมู่เกาะกาลาเมียนในฟิลิปปินส์ และเกาะบาเวอันในอินโดนีเซีย

มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำท่วมถึง ออกหากินในเวลากลางคืน มีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นและฟังเสียงดีเยี่ยม แม่เนื้อทรายสามารถจดจำลูกตัวเองได้โดยการดมกลิ่น เมื่อพบศัตรูจะวิ่งหนีไม่กระโดดเหมือนเก้งและกวาง โดยปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ ราวเดือนกันยายน-ตุลาคม อาจหากินเป็นฝูงเล็ก ๆ ได้ ราว 12 ตัว ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน วัยเจริญพันธุ์อยู่ที่ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในสถานที่เลี้ยงมีอายุราว 10-15 ปี

สัตว์สงวน

เนื้อทราย เคยเป็นสัตว์ป่าสงวนในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2509 และถูกถอดชื่อออกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในปริมาณที่มากจำนวนหนึ่ง แต่สถานะในธรรมชาติในประเทศไทย เชื่อว่าในปัจจุบันเหลือเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ ห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะที่ภูเขียว เป็นสถานที่ที่มีเนื้อทรายอยู่มากที่สุด จากการเพาะขยายพันธุ์และสืบพันธุ์เองตามธรรมชาติจากพ่อแม่พันธุ์ที่เกิดจากการเพาะโดยมนุษย์ที่ถูกปล่อย

เนื้อทราย ตามคติของคนไทย ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาสวย จึงมีคำเปรียบเปรยว่า "ตาสวยดังเนื้อทราย"

เนื้อทราย ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กวางแขม", "ลำโอง" และ "กวางทราย"[2]

หมายเหตุ: เดิมเนื้อทรายเคยถูกแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ เนื้อทรายอินเดีย (Axis porcinus porcinus) และเนื้อทรายอินโดจีน (Axis porcinus annamiticus) แต่ปัจจุบันเห็นว่าควรแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก[3]

ชนิดย่อย

เนื้อทรายมีชนิดย่อยสองชนิด คือ Hyelaphus porcinus porcinus อาศัยอยู่ตามที่ราบอินโด-คงคาของประเทศปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน จนถึงตะวันตกของประเทศไทย อีกชนิดย่อยหนึ่งคือ Hyelaphus porcinus annamiticus พบในตะวันออกและอีสานตอนใต้ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา ส่วนเนื้อทรายในศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ที่มนุษย์นำเข้าไปปล่อย

ทราบหรือไม่?

  • Porcus เป็นภาษาละติน แปลว่าหมู
  • inus เป็นปัจจัย แปลว่า เหมือน

ที่มา

อ่านเพิ่มเติม

  • The Hog Deer Cervus porcinus
  • Axis porcinus
  • Hog Deer
  1. Timmins, R.J., Duckworth, J.W., Samba Kumar, N., Anwarul Islam, Md., Sagar Baral, H., Long, B. & Maxwell, A. (2008).Axis porcinus In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 8 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of endangered.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 65. ISBN 974-8122-79-4
  3. Ungulate Taxonomy – A new perspective from Groves and Grubb (2011). ultimateungulate.com

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hyelaphus porcinus ที่วิกิสปีชีส์