ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8825408 สร้างโดย Anggorn1 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ย้อนการแก้ไขที่ 8689997 สร้างโดย 2001:44C8:4321:591B:1:2:B0BD:4BBC (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| พระชายา = พระองค์เจ้าสมบุญคง
| พระชายา = พระองค์เจ้าสมบุญคง
| พระราชสวามี =
| พระราชสวามี =
| พระราชโอรส/ธิดา = พระองค์เจ้าพราน (ปาน)<br>พระองค์เจ้าบุตร<br>พระองค์เจ้าหงส์<br>เจ้าฟ้าสุพรรณธุวงศ์ หรือ เปลี่ยนพระนามใหม่ จบคชสิทธิ์ กรมพระราชวังบวรมงคลสถาน และทรงกรมที่กรมทหารปืนใหญ่ลพบุรีปัจจุบัน
| พระราชโอรส/ธิดา = พระองค์เจ้าพราน (ปาน)<br>พระองค์เจ้าบุตร<br>พระองค์เจ้าหงส์
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
| ทรงราชย์ =
| ทรงราชย์ =
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
ใน ''คำให้การชาวกรุงเก่า'' ระบุว่าเจ้าฟ้านเรนทรได้พระองค์เจ้าสมบุญคงเป็นพระชายา มีพระธิดาด้วยกันสามพระองค์คือ พระองค์เจ้าพราน (ปาน), พระองค์เจ้าบุตร และพระองค์เจ้าหงส์<ref>''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 174</ref>
ใน ''คำให้การชาวกรุงเก่า'' ระบุว่าเจ้าฟ้านเรนทรได้พระองค์เจ้าสมบุญคงเป็นพระชายา มีพระธิดาด้วยกันสามพระองค์คือ พระองค์เจ้าพราน (ปาน), พระองค์เจ้าบุตร และพระองค์เจ้าหงส์<ref>''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 174</ref>


เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ไม่ปรากฏใน[[พระราชพงศาวดาร]]ว่าสิ้นพระชนม์เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจะทรงสถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นเป็น[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]ในปี พ.ศ. 2284
เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ไม่ปรากฏใน[[พระราชพงศาวดาร]]ว่าสิ้นพระชนม์เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจะทรงสถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นเป็น[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]ในปี พ.ศ. 2284


== พระตระกูล ==
== พระตระกูล ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:47, 5 พฤษภาคม 2563

กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์

เจ้าฟ้านเรนทร
เจ้าฟ้าต่างกรม
พระชายาพระองค์เจ้าสมบุญคง
พระราชบุตรพระองค์เจ้าพราน (ปาน)
พระองค์เจ้าบุตร
พระองค์เจ้าหงส์
ราชวงศ์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
พระราชมารดากรมหลวงราชานุรักษ์

เจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ หรือ เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้านเรนทร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสี พระองค์มีพระอนุชา 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์

ก่อนสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จะเสด็จสวรรคตนั้น พระองค์ได้แสดงพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชโอรสของพระองค์สืบต่อราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นเจ้าฟ้าพร พระอนุชาในพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลอยู่ ในขั้นแรกนั้นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 มีพระราชประสงค์ที่จะให้เจ้าฟ้านเรนทรเสด็จขึ้นครองราชย์แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่ทรงเห็นชอบด้วยเนื่องจากพระมหาอุปราชก็ยังคงมีพระชนม์อยู่ เจ้าฟ้านเรนทรจึงทรงออกผนวช ดังนั้น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จึงทรงยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย (ราชบุตรองค์รอง) สืบราชสันตติวงศ์ต่อ

เหตุการณ์ในครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับกรมพระราชวังบวรเป็นอย่างมาก จึงนำไปสู่ศึกกลางเมืองระหว่างวังหน้าและวังหลวงขึ้น โดยกรมพระราชวังบวรฯเป็นฝ่ายมีชัยและเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลังจากนั้นพระองค์มีพระราชดำรัสให้นำตัวเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณี

ส่วนเจ้าฟ้านเรนทรนั้นดำรงเพศบรรพชิตตลอดมา โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสถาปนาให้ทรงกรมที่ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ทรงสนิทกับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เกิดความระแวงและลอบทำร้ายเจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์แต่ไม่ทรงได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงกริ้วกรมขุนเสนาพิทักษ์มาก ได้มีพระบรมราชโองการให้จับตัวกรมขุนเสนาพิทักษ์มาให้ได้ แต่ในระหว่างกรมขุนเสนาพิทักษ์ได้เสด็จออกผนวชจึงทรงพ้นจากภัยในครั้งนี้ได้

ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าเจ้าฟ้านเรนทรได้พระองค์เจ้าสมบุญคงเป็นพระชายา มีพระธิดาด้วยกันสามพระองค์คือ พระองค์เจ้าพราน (ปาน), พระองค์เจ้าบุตร และพระองค์เจ้าหงส์[1]

เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าสิ้นพระชนม์เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจะทรงสถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในปี พ.ศ. 2284

พระตระกูล

พระตระกูลในเจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวี สิริกัลยาณี
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พญาแสนหลวง
(เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
พระนางกุสาวดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมหลวงราชานุรักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 174
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. 2455.
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6