ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิศตะวันออกเฉียงใต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย: แก้ตัวเลขและเพิ่มความสมบูรณ์ของคำ
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


== ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย ==
== ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย ==
ช้างเผือกประจำทิศอาคเนย์ คือ ช้างบุณฑริกอยู่ทิศอาคเนย์ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอาคเนย์ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุณฑริกมีลักษณ ประการ สีกายดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้นสีดังสังข์ เล็บงามคือทอง ท้องมัวดังฝนคร่ำ กลิ่นหอมดังดอกสัตบงกช พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา [[คชศาสตร์]]
ช้างเผือกประจำทิศอาคเนย์ คือ ช้างบุณฑริกอยู่ทิศอาคเนย์ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอาคเนย์ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุณฑริกมีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้นสีดังสังข์ เล็บงามคือทอง ท้องมัวดังฝนคร่ำ กลิ่นหอมดังดอกสัตบงกช พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา [[คชศาสตร์]]


== คตินิยมและความเชื่อ ==
== คตินิยมและความเชื่อ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:13, 5 พฤษภาคม 2563

วงกลมแสดงทิศ (compass rose ) ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันออกเฉียงใต้ (E) อยู่ทางขวา

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเนย์, อาคเณย์ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศตะวันออก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมขวาของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมซ้ายของแผนที่ดาว

คำแปลตามพจนานุกรม

ทิศอาคเนย์ [–คะเน] ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้นิยามคำว่า ทิศอาคเนย์ไว้แปลว่า ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (สันสกฤตว่า อาคฺเนย แปลว่า ทิศที่พระอัคนีรักษา) ซึ่งเป็นหนึ่งในทิศทั้งแปด

ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย

ช้างเผือกประจำทิศอาคเนย์ คือ ช้างบุณฑริกอยู่ทิศอาคเนย์ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอาคเนย์ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุณฑริกมีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้นสีดังสังข์ เล็บงามคือทอง ท้องมัวดังฝนคร่ำ กลิ่นหอมดังดอกสัตบงกช พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา คชศาสตร์

คตินิยมและความเชื่อ

ตามคติความเชื่อของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานั้น เชื่อกันว่าในสรรพสิ่งทั้งหลายมีเทวดาอยู่รายรอบตัวเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือในกฎหมายตราสามดวงที่มักกล่าวถึงเทวดาไว้ในพระไอยการต่าง ๆ เช่น ในลักษณภญาณมีกล่าวไว้ว่า “...แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย คือพระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษาพระพุทธศาสนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอขันธเสมาแลพระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถานที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน...”

ตามตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้คือ สารภี ยอ ยอป่า และ กระถิน

ส่วนเทวดาประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้คือพระอังคาร

ส่วนมหาเทพประจำทิศคือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง ซึ่งคือที่มาของคำว่า อาคเนย์

อ้างอิง