ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พีรวงค์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
|mother1= แม่เจ้าสุนันทาอัครราชเทวี
|mother1= แม่เจ้าสุนันทาอัครราชเทวี
|spouse-type= ราชเทวี
|spouse-type= ราชเทวี
|spouse= แม่เจ้ายอดหล้า
|spouse= แม่เจ้ายอดหล้าราชเทวี
|spouses-type= ชายา
|spouses-type= ชายา
|spouses= 6 องค์
|spouses= 6 องค์
บรรทัด 108: บรรทัด 108:
==ราชโอรส ราชธิดา==
==ราชโอรส ราชธิดา==
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีราชโอรสและราชธิดา รวม 41 พระองค์ อยู่ในสกุล [[ณ น่าน]] ได้แก่
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีราชโอรสและราชธิดา รวม 41 พระองค์ อยู่ในสกุล [[ณ น่าน]] ได้แก่
*ในแม่เจ้ายอดหล้า ชายาเอก มีราชโอรสธิดารวม 13 พระองค์ ได้แก่
*ในแม่เจ้ายอดหล้าราชเทวี มีราชโอรส-ธิดารวม 13 พระองค์ ได้แก่


::* เจ้าคำบุ
::* เจ้าคำบุ ณ น่าน
::* [[พระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน)]]
::* [[พระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน)]] สมรสกับเจ้านางภูคา ณ น่าน มีโอรส-ธิดาหนึ่งในนั้นคือแม่เจ้าศรีโสภาราชเทวีใน[[เจ้ามหาพรหมสุรธาดา]]
::* เจ้ายศ
::* เจ้ายศ ณ น่าน
::* เจ้านางอัมรา
::* เจ้านางอัมรา ณ น่าน
::* [[เจ้าสุริยวงษ์ (เจ้าน้อยรัตน ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าสุริยวงษ์ (เจ้าน้อยรัตน ณ น่าน)]]
::* เจ้าน้อยบริยศ
::* เจ้าน้อยบริยศ ณ น่าน
::* เจ้านางบัวเขียว
::* เจ้านางบัวเขียว น่าน
::* [[เจ้าบุรีรัตน (อำมาตย์ตรี เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าบุรีรัตน (อำมาตย์ตรี เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)|เจ้าราชวงศ์ (เจ้าหนานสุทธิสาร ณ น่าน)]] สมรสกับเจ้าบัวเขียว ณ น่าน ราชธิดาใน[[เจ้ามหาพรหมสุรธาดา]]
::* [[เจ้าราชภาติกวงษ์ (เจ้าจันทวงษ์ ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชภาติกวงษ์ (เจ้าจันทวงษ์ ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชบุตร (เจ้าหนานบุญรังษี ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชบุตร (เจ้าหนานบุญรังษี ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชภาคินัย (เจ้าน้อยมหาวงษ์ ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชภาคินัย (เจ้าน้อยมหาวงษ์ ณ น่าน)]]
::* [[เจ้าราชดนัย (เจ้ายอดฟ้า ณ น่าน)]]
::*[[เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน)|เจ้าราชดนัย (น้อยยอดฟ้า ณ น่าน)]] สมรสกับเจ้าสุพรรณวดี เทพวงศ์ ราชธิดาใน[[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] เจ้าผู้ครองนครแพร่
::* เจ้านางสมุท
::* เจ้านางสมุท ณ น่าน
* ในแม่เจ้าคำปลิว มีราชโอรสธิดา 4 พระองค์ ถึงแก่กรรมทั้งหมด ไม่ปรากฏนาม
* ในแม่เจ้าคำปลิว มีราชโอรสธิดา 4 พระองค์ ถึงแก่กรรมทั้งหมด ไม่ปรากฏนาม
* ในแม่เจ้าจอมแฟง มีโอรสธิดารวม 3 พระองค์ได้แก่
* ในแม่เจ้าจอมแฟง มีโอรสธิดารวม 3 พระองค์ได้แก่

::* แม่เจ้าบัวแว่น ภายหลังได้สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยอนุรุท)
::* แม่เจ้าบัวแว่น ณ น่านภายหลังได้สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยอนุรุท)
::* เจ้าแหว
::* เจ้าน้อยครุธ
::* เจ้าแหว ณ น่าน
::* เจ้าน้อยครุธ ณ น่าน
* ในแม่เจ้าคำเกี้ยว มีราชธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
* ในแม่เจ้าคำเกี้ยว มีราชธิดา 2 พระองค์ ได้แก่

::* เจ้านางเกี๋ยงคำ
::* เจ้านางคำอ่าง
::* เจ้านางเกี๋ยงคำ ณ น่าน
::* เจ้านางคำอ่าง ณ น่าน
* ในแม่เจ้ายอดหล้า(คนละท่านกับชายาเอก) มีราชโอรสธิดารวม 7 พระองค์ ได้แก่
* ในแม่เจ้ายอดหล้า(คนละท่านกับชายาเอก) มีราชโอรสธิดารวม 7 พระองค์ ได้แก่

::* เจ้านางเทพมาลา
::* เจ้านางเทพเกสร
::* เจ้านางเทพมาลา ณ น่าน
::* เจ้านางเทพเกสร เทพวงศ์ ชายาใน[[เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์]]ราชโอรสใน[[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] เจ้าผู้ครองนครแพร่
::* เจ้าน้อยอินแสงสี
::* เจ้านางจันทวดี
::* เจ้าน้อยอินแสงสี ณ น่าน
::* เจ้านางศรีสุภา
::* เจ้านางจันทวดี ณ น่าน
::* เจ้านางดวงมาลา
::* เจ้านางศรีสุภา ณ น่าน
::* เจ้านางประภาวดี
::* เจ้านางดวงมาลา ณ น่าน
::* เจ้านางประภาวดี ณ น่าน
* ในหม่อมศรีคำ มีราชโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ชาย 3 พระองค์ หญิง 2 พระองค์ ชายถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย ธิดาหญิงได้แก่
* ในหม่อมศรีคำ มีราชโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ชาย 3 พระองค์ หญิง 2 พระองค์ ชายถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย ธิดาหญิงได้แก่


::* เจ้านางบัวแก้ว
::* เจ้านางบัวแก้ว ณ น่าน
::* [[หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา|เจ้าศรีพรหมา]] ต่อมาได้เสกสมรสกับ[[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]]
::* [[หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา|เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาา]] ชายาใน[[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]]
* ในหม่อมบัว มีราชโอรสธิดา 7 พระองค์ ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย 4 ปรากฏนามได้แก่
* ในหม่อมบัว มีราชโอรสธิดา 7 พระองค์ ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย 4 ปรากฏนามได้แก่

::* เจ้านางต่อมแก้ว
::* เจ้าก่ำ
::* เจ้านางต่อมแก้ว ณ น่าน
::* เจ้านางเกียรทอง
::* เจ้าก่ำ ณ น่าน
::* เจ้านางเกียรทอง ณ น่าน


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:59, 3 พฤษภาคม 2563

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
ไฟล์:พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช.jpg
เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน พระองค์ที่ 63
ราชาภิเษก21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436
ครองราชย์พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2461
รัชกาล25 ปี
ก่อนหน้าเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
ถัดไปเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
ประสูติ2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374
พิราลัย5 เมษายน พ.ศ. 2461 (87 ปี)
ณ คุ้มหลวงนครน่าน
ราชเทวีแม่เจ้ายอดหล้าราชเทวี
ชายา6 องค์
พระราชบุตร41 พระองค์
ราชสกุลณ น่าน สายที่ 1 [1]
ราชวงศ์ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
พระมารดาแม่เจ้าสุนันทาอัครราชเทวี

มหาอำมาตย์เอก พันโท พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช[2] พระนามเดิม เจ้าสุริย ณ น่าน[3] เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 63 และเป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2436–2461 พระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช มีพระนามอย่างลำลองตามที่ชาวเมืองน่านเรียกว่า พระเจ้าน่าน เป็นโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ประสูติแต่แม่เจ้าสุนันทา และเป็นพระเชษฐาต่างเจ้ามารดาในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้านครน่านองค์สุดท้าย

พระประวัติ

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช มีพระนามเดิมว่า "เจ้าสุริยะ ณ น่าน" ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 เป็นราชโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ประสูติแต่ แม่เจ้าสุนันทาอัครราชเทวี[4] พระองค์ทรงมี พระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วมแม่เจ้ามารดา 6 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้าพระยาอุปราช (เจ้ามหาพรหม ณ น่าน)
  2. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน
  3. เจ้าอุปราช (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)
  4. เจ้าราชบุตร (เจ้าบุญรังษี ณ น่าน)
  5. เจ้านางหมอกแก้ว ณ น่าน
  6. เจ้านางคำทิพ ณ น่าน

พระอิสริยยศ

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ทรงได้รับพระราชทาน พระอิสริยยศ ดังนี้

  1. ในปี พ.ศ. 2398 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน
  2. ในปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ว่าที่เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน
  3. วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯพระราชทาน สัญญาบัตรไปพระราชทานตั้งเป็น นายพันโท ในกรมทหารบก[5]
  4. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้านครน่าน มีราชทินนามว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน[6]
  5. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ เจ้านครเมืองน่าน ขึ้นเป็น พระเจ้านครเมืองน่าน[7] มีพระนามตามจารึกในสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิกิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน[8]
  • นับเป็นพระเจ้านครเมืองน่าน พระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน[9] นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับพระราชทานมหามงกุฎจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าประเทศราช พระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศนี้

เครื่องอิสริยยศ

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ ต่าง ๆ ดังนี้

เครื่องประกอบอิสริยยศ ครั้งที่ได้รับสถาปนาเป็น เจ้านครเมืองน่าน

  • เครื่องประกอบอิสริยยศ ครั้งที่ได้รับสถาปนาเป็น เจ้านครเมืองน่าน มีราชทินนามว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังนี้
  1. พานหมากทองคำ พร้อมเครื่องในทองคำ
  2. กระโถนคำ
  3. คนโทคำ
  4. พระมหามาลาหมวกจิกคำ
  5. เสื้อผ้า
  6. เครื่องครัว

เครื่องประกอยอิสริยยศ ครั้งที่ได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้านครเมืองน่าน

  • เครื่องประกอบอิสริยยศ ครั้งที่ได้รับสถาปนาเลื่อนยศถานันดรศักดิ เจ้านครน่าน ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามตามจาฤกในสุพรรณบัตรว่า .. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลบพิตร สถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน .. ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ ต่างๆ ดังนี้
  1. สังข์เลี่ยมทองคำ 1
  2. หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำ 1
  3. กากระบอกทองคำ 1
  4. กระบี่ฝักทองคำ 1

นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานสิ่งของสำหรับพระเกียรติยศอิกหลายอย่าง มีชฎาเปนต้น

พิราลัย

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 เวลา 4.00 น. ณ หอคำ (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) สิริอายุได้ 87 ปี[6]

พระกรณียกิจ

ด้านการปกครอง

  • กวาดต้อนและชักชวนให้ชุมชนไทลื้อในเมืองต่างๆ ของสิบสองปันนา ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่ในจังหวัดน่าน [10]
  • ยกเลิกอำนาจโทษประหารทางอาญา
  • จัดวางผังเมือง ขยายถนนให้กว้างขวาง สะดวกแก่การสัญจรไปมา

ด้านการทหาร

  • ทรงนุบำรุงกิจการทหาร โดยการรวบรวมกำลังพลเข้าสังกัดมูลนาย ฝึกกำลังพลการรบ จัดตั้งยุ้งฉาง สะสมเสบียงอาหาร กระสุนดินดำ
  • โดยเมื่อปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เมื่อครั้งดำรง ตำแหน่งที่เจ้าราชวงศ์นครน่าน ได้ทรงนำกำลังไปสมทบกับทัพหลวง
  • ครั้นปี พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวที่เมืองแพร่ โดยพวกขบถจะยกทัพมายึดนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ทรงยกกำลังทหารไปขัดตาทัพต่อสู้กับขบถเงี้ยว และได้ร่วมกับกองทัพหลวงตามตีจนได้รับชัยชนะ

ด้านการศึกษา

  • ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภาษาไทยเป็นแห่งแรกในนครน่าน ให้ชื่อว่าโรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ปฐมของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารในปัจจุบัน

ด้านศาสนา

  • ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและบูชนียวัตถุเป็นอันมาก และเป็นองค์ประธานในการจัดสร้างคัมภีร์ใบลาน จารึกพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นจำนวนมาก โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฏกหลังใหญ่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร บูรณะวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นต้น

รับราชการพิเศษ

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ต่างๆ ดังนี้

  1. ในรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้เป็นหัวหน้าสร้างพลับพลาประทับแรมที่ตำบลนาริน ท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดนครเมืองน่าน รวมเวลาทำจนเสร็จ 1 เดือน แล้วลงไปรับเสด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่อำเภอท่าอิฐ เมืองพิไชย เสด็จขึ้นมานครเมืองน่าน คราวเสด็จไปราชการทัพเมืองเชียงตุง รวมเวลาไปมา 10 วัน
  2. เมื่อ พ.ศ. 2396 ได้ตามเสด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ไปราชการทัพเมืองเชียงตุง รวมเวลาไปมา 7 เดือนเศษ
  3. เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้นำตัวพระยาหลวงบังคม พระยาเมืองเชียงรุ้ง เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ รวมเวลาไปมา 4 เดือนเศษ
  4. เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้ไปกวาดต้อนครอบครัว ชาวไทลื้อ เมืองพง เขตสิบสองปันนา ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในการบังคับของฮ่อ ให้เข้ามาอยู่ในเขตนครเมืองน่านได้ชาวไทลื้อ ประมาณ 1,000 คน ได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ ในปัจจุบัน รวมเวลาไปมา 5 เดือน
  5. เมื่อ พ.ศ. 2406 ได้คุมนางรมาดลงมา ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ รวมเวลาไปมา 4 เดือน
  6. เมื่อ พ.ศ. 2411 ได้คุมช้างพลายสีปลาด ลงมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ รวมเวลาไปมา 4 เดือน
  7. ถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2416 ได้คุมนางรมาด ลงมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง รวมเวลาไปมา 4 เดือน
  8. เมื่อ พ.ศ. 2430 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปจัดรวบรวมเสบียงอาหารที่ เมืองเชียงคำ ส่งกองทัพของ นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี เมื่อครั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนารถ เป็นแม่ทัพ นำกองทัพสยามขึ้นมาปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง และได้ร่วมไปในกองทัพด้วย รวมเวลาที่จัดการลำเลียงส่งเสบียงอาหารและไปมา 4 เดือน

ราชโอรส ราชธิดา

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีราชโอรสและราชธิดา รวม 41 พระองค์ อยู่ในสกุล ณ น่าน ได้แก่

  • ในแม่เจ้ายอดหล้าราชเทวี มีราชโอรส-ธิดารวม 13 พระองค์ ได้แก่
  • ในแม่เจ้าคำปลิว มีราชโอรสธิดา 4 พระองค์ ถึงแก่กรรมทั้งหมด ไม่ปรากฏนาม
  • ในแม่เจ้าจอมแฟง มีโอรสธิดารวม 3 พระองค์ได้แก่
  • แม่เจ้าบัวแว่น ณ น่านภายหลังได้สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยอนุรุท)
  • เจ้าแหว ณ น่าน
  • เจ้าน้อยครุธ ณ น่าน
  • ในแม่เจ้าคำเกี้ยว มีราชธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
  • เจ้านางเกี๋ยงคำ ณ น่าน
  • เจ้านางคำอ่าง ณ น่าน
  • ในแม่เจ้ายอดหล้า(คนละท่านกับชายาเอก) มีราชโอรสธิดารวม 7 พระองค์ ได้แก่
  • เจ้านางเทพมาลา ณ น่าน
  • เจ้านางเทพเกสร เทพวงศ์ ชายาในเจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่
  • เจ้าน้อยอินแสงสี ณ น่าน
  • เจ้านางจันทวดี ณ น่าน
  • เจ้านางศรีสุภา ณ น่าน
  • เจ้านางดวงมาลา ณ น่าน
  • เจ้านางประภาวดี ณ น่าน
  • ในหม่อมศรีคำ มีราชโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ชาย 3 พระองค์ หญิง 2 พระองค์ ชายถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย ธิดาหญิงได้แก่
  • ในหม่อมบัว มีราชโอรสธิดา 7 พระองค์ ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย 4 ปรากฏนามได้แก่
  • เจ้านางต่อมแก้ว ณ น่าน
  • เจ้าก่ำ ณ น่าน
  • เจ้านางเกียรทอง ณ น่าน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ต่าง ๆ ดังนี้

เหรียญราชอิสริยาภรณ์

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทาน เหรียญราชอิศริยาภรณ์ ต่าง ๆ ดังนี้

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

  1. โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เดิมมีชื่อว่า “ โรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ” ด้วยความอุปถัมภ์ของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน
  2. โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์
  3. ค่ายสุริยพงษ์ หรือ มณฑลทหารบกที่ 38
  4. ถนนสุริยพงษ์

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-n
  2. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 10
  3. http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book2/clra57_0149/mobile/index.html#p=10
  4. http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=20970&lyo=1
  5. "ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (12 ง): 246. 18 มิถุนายน ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. 6.0 6.1 "ข่าวพิลาไลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (ง): 72. 14 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "การตั้งพระเจ้านครเมืองน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (35): 609. 29 พฤศจิกายน 2446.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระเจ้านครเมืองน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (35): 610. 29 พฤศจิกายน 2446.
  9. http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/nan5.htm
  10. http://www.lannacorner.net/weblanna/article/article.php?type=A&ID=482

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถัดไป
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน
พระองค์ที่ 63

(พ.ศ. 2436 - 2461)
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา