ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
ในช่วงเริ่มต้นคือระหว่าง พ.ศ.2459-2465 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา[[ระดับประกาศนียบัตร]] พร้อมกับเตรียมเริ่มการเรียนการสอนระดับปริญญา โดยขณะนั้นยังจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่
ในช่วงเริ่มต้นคือระหว่าง พ.ศ.2459-2465 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา[[ระดับประกาศนียบัตร]] พร้อมกับเตรียมเริ่มการเรียนการสอนระดับปริญญา โดยขณะนั้นยังจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่
*คณะ[[รัฐประศาสนศาสตร์]]
*คณะ[[รัฐประศาสนศาสตร์]]
*คณะ[[แพทยศาสตร์]]
*คณะ[[แพทยศาสตร์]] (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
*คณะ[[วิศวกรรมศาสตร์]]
*คณะ[[วิศวกรรมศาสตร์]]
*คณะ[[อักษรศาสตร์]]และ[[วิทยาศาสตร์]]
*คณะ[[อักษรศาสตร์]]และ[[วิทยาศาสตร์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:13, 18 ธันวาคม 2548

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระเกี้ยว
คติพจน์เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน
ประเภทรัฐบาล
สถาปนา26 มีนาคม พ.ศ. 2459

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยที่ชั้นนำของประเทศ จุฬาลงกรณ์ประกอบไปด้วย 18 คณะและสถาบัน โดยชื่อจุฬาลงกรณ์ได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร

ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์ได้รับเกียรติ รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยในปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงกรุณามาพระราชทานปริญญาบัตรแทน

ประวัติ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 และต่อมาประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงนับเป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย [1][2]

ในช่วงเริ่มต้นคือระหว่าง พ.ศ.2459-2465 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร พร้อมกับเตรียมเริ่มการเรียนการสอนระดับปริญญา โดยขณะนั้นยังจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่

ในช่วง พ.ศ. 2491-2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่างๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาณตรี จนตั้งแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม [3][4]


สัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • พระเกี้ยว ตรามหาวิทยาลัย เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยว โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย [5]
  • ต้นจามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย โดยถือวัฎจักรของจามจุรีตามวิถีของชาวจุฬาฯ[6]
  • สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากสีบานเย็นในเมื่อยังเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก[7]

พื้นที่มหาวิทยาลัย

ตึกคณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งแยกออกเป็น 4 ส่วนทั้งหมดซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน ในเขตปทุมวัน โดยมีรถเมล์ขนาดเล็กบริการวิ่งในมหาวิทยาลัย 2 สาย ผ่านส่วนมหาวิทยาลัยทั้งหมด ส่วนหลักของมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ระหว่างถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และ ถนนพระราม 4 ซึ่งมีพระบรมรูป สนามรักบี้ หอประชุม ศาลาพระเกี้ยว ศูนย์หนังสือจุฬา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนสำนักทะเบียนและประมวณผล (สทป.) เป็นส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนพญาไท อยู่ระหว่างตลาดสามย่าน และมาบุญครอง ประกอบไปด้วย เป็นส่วนของส่วนบริหาร ส่วนบัณฑิตศึกษา สนามจุ๊บ คณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ (อยู่แยกออกไปฟากถนน อยู่ในเขตตลาดสามย่าน) คณะวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ หอพักนิสิตชาย หอพักนิสิตหญิง สศะ และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ส่วนสยามสแควร์อยู่ระหว่างถนนพญาไท และถนนอังรีดูนังต์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของสยามสแควร์ ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ (ชั้น 13 ตึก ศูนย์หนังสือจุฬา สยาม) และโอสถศาลา และส่วนโรงพยาบาลจุฬา ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของถนนอังรีดูนังต์ มีคณะแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาล ตั้งอยู่

บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูที่ รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา

ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรู้จักกันดีในหลายหลายด้านทางสายวิชาการ ปัจจุบันมีคณะ สำนักวิชา และสถาบันภายใน ที่จัดการเรียนการสอน ดังนี้

งานกิจกรรมในมหาวิทยาลัย

ในมหาวิทยาลัยมีกิจกรรมให้นิสิตได้ทำโดย จัดเป็นชมรมต่างๆ โดยมีทั้งชมรมที่เปิดให้นิสิตทุกคณะรวมกันได้เจอกับนิสิตต่างคณะ และมีชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะคณะต่างๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตึกจุลย์จักรพงศ์ โดยชมรมต่างๆ ได้แก่ ชมรมพุทธศาสนา ชมรมสลัม ชมรมวาทะศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ ชมรมบริดจ์ ชมรมเชียร์ และชมรมกีฬาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดดังนี้

  • จุฬาฯ วิชาการ - งานวิชาการที่จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี จัดขึ้นในตัวมหาวิทยาลัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลภายนอก รวมทั้งนักเรียนจากระดับประถมถึงมัธยม ได้เรียนรู้ รวมทั้งเปิดให้นักศึกษาจากต่างมหาวิทยาลัย และบุคคลอื่นอื่นได้มาเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและพัฒนาในมหาวิทยาลัย
  • ก้าวใหม่ - งานก้าวใหม่จัดขึ้นทุกปี ช่วงก่อนเปิดการศึกษาเทอม1 จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำนิสิตให้รู้จักมหาวิทยาลัย รวมทั้งฝึกให้นิสิตเข้าใหม่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการละลายพฤติกรรมเข้าหากันระหว่างเพื่อน พี่ น้อง
  • รับน้อง - งานกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประสานความสัมพันธ์ของนิสิตปี 1 จุดประสงค์ของงานเพื่อให้นิสิตเรียนรู้เพลงและธรรมเนียมปฏิบัติของคณะโดยมักจัดขึ้นใน ห้องเชียร์ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักเพื่อน งานรับน้องจัดโดยนิสิตรุ่นพี่ในคณะ รวมถึงมีการสอนเกี่ยวระบบโซตัสสำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางการสอนที่ปฏิบัติกันมานานในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้มีการโต้แย้งเกี่ยวกับระบบรับน้อง โดยส่วนนึงได้มีการกล่าวถึง ความรุนแรงทางคำพูดระหว่างนิสิตรุ่นพี่กับนิสิตปี 1
  • กีฬาเฟรชชี่ - งานกีฬาระหว่างคณะจัดขึ้นช่วงสองเดือนแรกของการเปิดเทอม 1 ระหว่างนิสิตชั้นปี 1 ของแต่ละคณะ กีฬาแต่ละชนิดถูกจัดขึ้นกระจายไปตามแต่ละที่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สนามกีฬาในร่ม สนามจุ๊บ
  • งานลอยกระทง - งานลอยกระทงจัดขึ้นทุกทุกปีในอาทิตย์ก่อนหน้าของวันลอยกระทง จัดขึ้นโดยในงานมีจัดทำกระทงของแต่ละคณะ ขบวนพาเหรด และนางนพมาศจากแต่ละคณะมาประชันกัน และในตัวงานได้มีการจัดงานรื่นเริง พร้อมเกมการละเล่นโดยรอบบริเวณสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล
  • งานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ - งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมฟุตบอลจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนมกราคม ความสนุกของงานรวมไปถึงการเข้าเชียร์จากกองเชียร์ของทีมของทั้งสองฝ่าย โดยนำโดยเชียร์ลีดเดอร์ซึ่งมีการจัดเลือกทุกทุกปี

เกร็็ดเกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอนาฬิกาบริเวณสามแยกปากหมา
  • สามแยกปากหมา เป็นชื่อเรียกของสามแยกบริเวณหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตรงบริเวณหอนาฬิกา เป็นสถานที่ที่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมตัวกันในวันวาเลนไทน์ เพื่อจีบสาวที่เดินผ่านบริเวณนั้น โดยมีการมอบดอกไม้ หรือแม้แต่กระทั่งหยุดรถที่ขับผ่าน ผลปรากฎว่า นิสิตหญิงพยายามเลี่ยงที่จะไม่เดินผ่านแทน
  • จีฉ่อย ชื่อร้านขายของชำที่อยู่ในเขตตลาดสามย่าน ตรงข้ามคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ที่ขึ้นชื่อว่ามีของขายทุกประเภท ตั้งแต่ กระดาษสี จนถึง ใบลงทะเบียนของมหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 200 อันดับแรกประจำปี 2005 โดย The Times Higher Education Supplement ปรากฏว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 121 ของโลก อยู่ในอันดับที่ 35 ของภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย และอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิงค์โปร์ และมหาลัยเทคโนโลยีนานยาง สิงค์โปร์ ตามลำดับ

ส่วนการจัดอันดับตามสาขาต่างๆ มีผลตังต่อไปนี้

  1. สาขาสังคมศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 46
  2. สาขาเวชชีวศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 82
  3. สาขาเทคโนโลยีอยู่ในอันดับที่ 100

เว็บไซต์ภายนอก

วิทยาลัย

วิทยาลัยการสาธารณสุข วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี วิทยาลัยประชากรศาสตร์

สถาบัน

สถาบันภาษา สถาบันการขนส่ง สถาบันวิจัยสังคม สถาบันไทยศึกษา สถาบันวิทยบริการ สถาบันวิจัยพลังงาน สถาบันเอเชียศึกษา สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์

ศูนย์และหน่วยงาน

ศูนย์หนังสือ ศูนย์ยุโรปศึกษา ศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ศูนย์ทดสอบทางวิชาการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชีย มูลนิธีเกาหลีเพื่อการศึกษาชั้นสูง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ สถานีวิทยุ ธรรมสถาน หน่วยจุฬาฯ-ชนบท สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไป โครงการอเมริกาศึกษาและแคนาดาศึกษา