ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถโดยสารประจำทาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เปลี่ยนแปลงรูปภาพของรถโดยสารประจำทางในกรถงเทพฯ จากรถรุ่นเก่าเป็นรถรุ่นใหม่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Автобус Мерседес-Бенц в Бангкоке.JPG|thumb|รถโดยสารประจำทางใน[[กรุงเทพมหานคร]]]]
[[ไฟล์:BMTA Bonluck JXK6120L-NGV-01 (3-70412).jpg|thumb|รถโดยสารประจำทางใน[[กรุงเทพมหานคร]]]]
[[ไฟล์:Erste_Benzin-Omnibus_der_Welt.jpg|thumb|Benz-Omnibus, 1896]]
[[ไฟล์:Erste_Benzin-Omnibus_der_Welt.jpg|thumb|Benz-Omnibus, 1896]]
[[ไฟล์:Rot daeng Chiang Mai 4.jpg|thumb|[[รถสี่ล้อแดง]] ในจังหวัดเชียงใหม่]]
[[ไฟล์:Rot daeng Chiang Mai 4.jpg|thumb|[[รถสี่ล้อแดง]] ในจังหวัดเชียงใหม่]]
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
รถโดยสารประจำทางมีเรียกกันหลายชื่อในประเทศไทยเช่น รถเมล์ รถทัวร์ [[สองแถว|รถสองแถว]] รถสองแถวใหญ่ หรือ รถสองแถวเล็ก หรือเรียกชื่อเฉพาะตามพื้นที่ เช่น [[รถสี่ล้อแดง]] เป็นชื่อเรียกทั้งรถโดยสารและรถรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่
รถโดยสารประจำทางมีเรียกกันหลายชื่อในประเทศไทยเช่น รถเมล์ รถทัวร์ [[สองแถว|รถสองแถว]] รถสองแถวใหญ่ หรือ รถสองแถวเล็ก หรือเรียกชื่อเฉพาะตามพื้นที่ เช่น [[รถสี่ล้อแดง]] เป็นชื่อเรียกทั้งรถโดยสารและรถรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่


รถสองแถว จัดเป็นรถสาธารณะ
รถสองแถว จัดเป็นรถสาธารณะ


== รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย ==
== รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:10, 30 เมษายน 2563

รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร
Benz-Omnibus, 1896
รถสี่ล้อแดง ในจังหวัดเชียงใหม่
รถเมล์ของ บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

รถโดยสารประจำทาง หรือที่นิยมเรียกกันว่า รถเมล์ เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบหนึ่งที่ให้บริการบนถนน โดยมีลักษณะเป็นรถขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก โดยกำหนดเส้นทาง และส่วนใหญ่เรียกชื่อเส้นทางเป็นตัวเลข เช่น สาย1 สาย 2 และมีเก็บค่าโดยสารโดยวิธีต่างๆกันไป

จำนวนผู้โดยสารบนรถเมล์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรถ ตัวอย่างเช่นในประเทศเยอรมันมีรถเมล์ที่ยาวที่สุดในโลกบรรจุผู้โดยสารได้กว่า 200 คน[1]

รถโดยสารประจำทางมีเรียกกันหลายชื่อในประเทศไทยเช่น รถเมล์ รถทัวร์ รถสองแถว รถสองแถวใหญ่ หรือ รถสองแถวเล็ก หรือเรียกชื่อเฉพาะตามพื้นที่ เช่น รถสี่ล้อแดง เป็นชื่อเรียกทั้งรถโดยสารและรถรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่

รถสองแถว จัดเป็นรถสาธารณะ

รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย

ในกรุงเทพและปริมณฑลให้บริการโดย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีหลายเส้นทางและหลายประเภท ส่วนในเขตต่างจังหวัดให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

ส่วนที่จังหวัดพิษณุโลก เคยมีรถประจำทางของบริษัทเอกชนที่ชาวพิษณุโลกนิยมเรียกกันว่า รถเมล์บ้านเรา (ปัจจุบันได้ยุติการให้บริการแล้ว)

เทศบาลนครขอนแก่น

ขอนแก่นซิตี้บัส (Khon Kaen City Bus) เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 3 สาย(ทั้งหมดใช้เลขสาย ปอ.24) ประกอบด้วย

  • สายสีเขียว (ท่าอากาศยานขอนแก่น - รอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3)
  • สายสีแดง (วงกลมรอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 : วนขวา)
  • สายสีน้ำเงิน (วงกลมรอบเมือง - สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 : วนซ้าย)

อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 15 บาท เด็ก/นักเรียน 10 บาท ตลอดสาย[2]

จังหวัดภูเก็ต

บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PCKD) ได้เปิดเดินรถโดยสาร ภูเก็ตสมาร์ทบัส[3] โดยวิ่งระหว่าง ท่าอากาศยานภูเก็ต - หาดราไวย์ (ค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 50 - 170 บาท) [4] ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 โดยการชำระค่าโดยสารต้องชำระด้วยบัตรแรบบิทเท่านั้น

เทศบาลนครเชียงใหม่

บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) [5] ซึ่งเป็นกลุ่มทุนพัฒนาเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเดินรถโดยสารขนส่งมวลชน(เชียงใหม่สมาร์ทบัส) ดังนี้

  • สาย R1 สวนสัตว์เชียงใหม่ - เซ็นทรัลเฟสติวัล เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 20.30 น. โดยรถจะมี 2 สี คือ สายสีเขียวและสีม่วง
  • สาย R1(พิเศษ) สวนสัตว์เชียงใหม่ - ตลาดจริงใจ - เซ็นทรัลเฟสติวัล เริ่มทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2562 โดยให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์[6]
  • สาย R2 ประตูท่าแพ - หนองหอย - ห้างฯ พรอมเมนาดา เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2561
  • สาย R3 ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - ถนนนิมมานเหมินท์ - คูเมืองเชียงใหม่ โดยมี 2 สาย คือ สายสีเหลือง(วนซ้าย)และสายสีแดง(วนขวา) เวลาให้บริการ 6.00 - 24.00 น. [7] เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2561
  • สาย R3(พิเศษ) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เริ่มทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562[8]
  • สาย B4 สนามบินเชียงใหม่ - ถนนมหิดล - ขนส่งอาเขต เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2561

หมายเหตุ ทุกสายเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย [9] การชำระค่าโดยสารสามารถเลือกชำระด้วยเงินสด (จ่ายให้พนักงานขับรถ) หรือใช้บัตรแรบบิท

จังหวัดเชียงราย

บริษัท ธนภณ 888 จำกัด ได้เปิดเดินรถโดยสาร เชียงรายซิตี้บัส โดยวิ่งระหว่าง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย - สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย แห่งที่ 1 - สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย แห่งที่ 2 เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย[10]

เทศบาลนครอุดรธานี

บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด เป็นผู้จัดหารถโดยสาร Smart Bus รถเมล์ปรับอากาศแบบชานต่ำ จำนวน 30 ที่นั่ง พร้อมระบบ Free WiFi,CCTV,GPS,APP สามารถเช็คตำแหน่งรถได้[11] ในโครงการอุดรซิตี้บัส จำนวน 3 เส้นทางประกอบด้วย

  • สาย 10 สถานีรถไฟ-รอบเมือง (วิ่งวนซ้าย-ขวา) ปัจจุบันยังไม่เปิดให้บริการ
  • สาย 20 (สายสีแดง) ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาอุดรธานี-ท่าอากาศยานอุดรธานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562[12]
  • สาย 21 (สีน้ำเงิน) สี่แยกตลาดรังษิณา-สี่แยกบ้านจั่น เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562[12]

โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

จังหวัดนนทบุรี

นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้จัดประชุมร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถโดยสารสมาร์ทบัสของจังหวัดนนทบุรีเพื่อเป็นระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) ให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยสายแรกที่เปิดให้บริการ คือสาย 6028 วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์ เชื่อมต่อกับสถานีบางพลู สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และสถานีกระทรวงสาธารณสุข ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2562 เก็บค่าโดยสาร 24 บาทตลอดสาย และสามารถใช้บัตรแรบบิทในการชำระค่าโดยสารได้[13]

ในอนาคต บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) มีแผนที่จะเปิดให้บริการรถสายอื่นอีก 6 สาย ได้แก่[14]

  • สาย R1 บางใหญ่-นครอินทร์-พิบูลสงคราม
  • สาย R2 วงกลมบางใหญ่-บางบัวทอง
  • สาย R3 บางพลู-การไฟฟ้าบางใหญ่-พระนั่งเกล้า
  • สาย R4 ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์
  • สาย R5 ท่าน้ำนนทบุรี-พระนั่งเกล้า
  • สาย R6 วงกลมพระนั่งเกล้า-สนามบินน้ำ-แคราย

จังหวัดอุบลราชธานี

บริษัท อุบลรวมใจพัฒนาเมือง จำกัด ได้เปิดเดินรถขนส่งมวลชนเมืองอุบลราชธานี Ubon Smart Bus (รถบัสโดยประจำทางสายที่ 15) เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart Mobility ของจังหวัดอุบลราชธานี ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี - ทุ่งศรีเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารเฉลิมพระเกียรติฯ (จำนวน 1 เส้นทาง) โดยนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและบริการ เช่น Free Wifi, GPS, Wheelchair, CCTV, USB Charger และ E-wallet โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

จังหวัดระยอง

บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด วางแผนจัดหารถโดยสารประจำทางมาวิ่งรองรับผู้โดยสารจากสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับศูนย์เศรษฐกิจใหม่ 7 แห่งในเมืองระยอง โดยมีเส้นทางนำร่องระยะทาง 15 กิโลเมตร[15]

อ้างอิง

  1. "Autotram Extra Grand". Autotram Extra Grand. 10 October 2012.
  2. เส้นทางเดินรถและตารางเดินรถ ขอนแก่นซิตี้บัส
  3. www.phuketsmartbus.com
  4. oknation.nationtv.tv/blog/smartgrowththailand เปิดตัว “ภูเก็ตสมาร์ทบัส” รถบัสโดยสารสาธารณะ
  5. https://www.facebook.com/RTCCMSMARTBUS/
  6. ทดลองให้บริการสาย R1 พิเศษ , RTC Chiang Mai City Bus
  7. https://pantip.com/topic/37531082 วันนี้เปิดตัว "รถเมล์เชียงใหม่" สาย R3 สนามบิน-นิมมาน-เมืองเก่า -Pantip]
  8. 1 พ.ค.นี้ เริ่มทดลองเพิ่มเที่ยวให้บริการในสาย R3 พิเศษ , RTC Chiang Mai City Bus
  9. https://mgronline.com/columnist/detail/9610000053945 Review : "รถเมล์เชียงใหม่"
  10. “เชียงรายซิตี้บัส CR BUS” , topchiangrai.com
  11. เอกชนอุดรลงขันถอย ‘รถเมล์แอร์’ 6 คัน วิ่ง พ.ย.นี้ หวังสร้างศักยภาพเมืองไม่เน้นกำไร
  12. 12.0 12.1 รีวิวรถเมล์แอร์อุดร udontoday.co
  13. https://www.dailynews.co.th/economic/704705?fbclid=IwAR3ZVmbkaKqa03ocDackr0n7lX7yZhz60qB9LJY_StDhvRwlOc4cMSK0cbI ดีเดย์ 19 เม.ย. เปิดวิ่งสมาร์ทบัสสาย 6028 ติวานนท์-ราชพฤกษ์
  14. รายละเอียดโครงข่ายเส้นทางเดินรถ RTC Nonthaburi City Bus , bangkokbusclub
  15. http://www.thansettakij.com/content/293970 ดันคมนาคมระบบรองระยอง เชื่อมไฮสปีดเทรนหนุนพื้นที่เศรษฐกิจ