ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รังษีนภดล ยุคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์==
* [[พ.ศ. 2543]] - [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 2nd Class lower (Thailand) ribbon.svg|80px]] เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น[[ทุติยจุลจอมเกล้า]] (ท.จ.)<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 117 |issue= 9ข |pages= 1 |title= ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/B/009/1.PDF |date= 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |language= ไทย }}</ref>
{{ท.จ.ฝ่ายใน|2543}}<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 117 |issue= 9ข |pages= 1 |title= ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/B/009/1.PDF |date= 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |language= ไทย }}</ref>


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:40, 27 เมษายน 2563

รังษีนภดล ยุคล
ไฟล์:Tanying.jpg
เกิดหม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล
2 ตุลาคม พ.ศ. 2480
วังอัศวิน จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (79 ปี)
คู่สมรสหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ (หย่า)
วิเชียร ตระกูลสิน
บุตร4 คน
บุพการีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) มีนามลำลองว่า ท่านหญิงอ๋อย เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติแต่หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

ประวัติ

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล มีนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 มีเจ้าพี่น้องร่วมพระบิดา-มารดาสององค์ ได้แก่

หม่อมเจ้ารังษีนภดลทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินีจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จึงไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากวิชาสามัญแล้วหม่อมเจ้ารังษีนภดลยังทรงศึกษาด้านการกีฬาและด้านภาษา มีปรีชาด้านการกีฬาหลายชนิด เช่น ขี่ม้า เทนนิส ว่ายน้ำ

หม่อมเจ้ารังษีนภดลทรงกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499[1] โดยมีบุตร-ธิดาสี่คน ได้แก่

  1. สายฝน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2499)
  2. ดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500)
  3. รังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 16 ธันวาคม พ.ศ. 2502)
  4. ตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2506)

ต่อมาได้สมรสใหม่กับนายแพทย์วิเชียร ตระกูลสิน

คุณหญิงรังษีนภดลถึงชีพิตักษัยด้วยโรคหทัยวายเฉียบพลัน เมื่อเวลา 20.00 นาฬิกา ของวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สิริชันษา 79 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบเกียรติยศศพ ณ ศาลากวีนีรมิต วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โปรดให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล ทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาสวนอัมพรเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อุปนิสัย

ชีวิตในวัยเยาว์หม่อมเจ้ารังษีนภดลโปรดตามเสด็จพระบิดาไปทอดเนตรสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เช่น ป่าพนมสารคาม ป่าชายแดนเทือกเขาตะนาวศรี ทรงสนทัยการศึกษาพันธุ์ไม้และความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า จนทรงเชี่ยวชาญอย่างมาก ทรงสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ร่วมงานและอยู่ใกล้ชิดได้เป็นอย่างดี คุณหญิงรังษีนภดลได้รับการยกย่องในฐานะนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ทุ่มเทแรงกายเพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม แม้ในช่วงอายุมากก็มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถเดินป่า และขับรถยนต์เอง นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเก่า ๆ ได้อย่างแม่นยำ มีอุปนิสัยเรียบง่าย ไม่ถือตัว และยังไปในงานพิธีต่าง ๆ ตามคำเชิญ

ในปัจฉิมวัยพำนักอยู่ ณ ตำหนักรังสิตคลองสี่ ซึ่งตั้งอยู่ตรงปากทางเข้าคลองสี่ (ริมถนนรังสิต-นครนายก) ถนนพระองค์เจ้าสาย ตรงข้ามร้านอาหารบ่อเงิน และสนามม้าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับพระตำหนักบึงยี่โถ ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ในบริเวณแนวเดียวกัน ซึ่งนอกจากเป็นที่พำนักแล้ว ยังเป็นที่ทำการมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล เป็นมูลนิธิที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่น ๆ โดยภายในพื้นที่ตำหนัก คุณหญิงรังษีนภดลได้นำที่นาส่วนตัวมาใช้เป็นแปลงปลูกข้าวหอมนิล ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง โดยลงมือหว่านพันธุ์ข้าว ใส่ปุ๋ยและควบคุมการเก็บผลผลิตเอง ทั้งยังใช้ที่นาเป็นที่ทำงาน เพื่อติดตามดูแปลงข้าว และนำผลผลิตข้าวหอมนิลที่ได้ไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๒/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล), เล่ม 73, ตอน 59 ง, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 หน้า 2125
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (9ข): 1. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)