ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KKC0092 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}{{ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์}}{{สถาบันอุดมศึกษาไทย}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์}}
{{สถาบันอุดมศึกษาไทย}}
{{เขตหลักสี่}}

[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:14, 24 เมษายน 2563

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ชื่อย่อCRA
คติพจน์เป็นเลิศ เพื่อทุกชีวิต
ประเภทสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2559 (8 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี(องค์ประธาน)[1][2]
เลขาธิการราชวิทยาลัยศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ [3]
ที่ตั้ง
เลขที่ 906 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
สี██ สีส้ม
เว็บไซต์www.cra.ac.th

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Royal Academy) เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม [4]

ประวัติ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นการรวมหน่วยงานภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีพระวินิจฉัยเห็นชอบให้รวมหน่วยงานทั้งสามดังกล่าว และพระราชทานนาม "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงมติในวาระรับหลักการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 และได้ลงมติในวาระ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ด้วยคะแนน 151-0 เสียงโดยได้ประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานประสานกับองค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเริ่มรับนักศึกษาของราชวิทยาลัยรุ่นแรกในปีการศึกษา 2560[5]

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม จึงได้ตัดกรรมการสภาราชวิทยาลัยที่มาจากสัดส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกด้วย อีกทั้งกำหนดให้อาจมีตำแหน่ง ประธานราชวิทยาลัย เพื่อให้สภาราชวิทยาลัยขอรับคำแนะนำและคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยจะแต่งตั้ง รองประธานราชวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ตามที่มอบหมายก็ได้[6]

กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยได้แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 7 คน [7] ดังนี้

  1. ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสุพรรณ
  2. ศาสตราจารย์ ดร. ไผทชิต เอกจริยกร
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม
  4. รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม
  5. ดร. เลอสรร ธนสุกาญจน์
  6. นาย วุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
  7. นาง บุษยา มาทแล็ง

ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยได้แต่งตั้งนายจรัมพร โชติกเสถียรเป็นกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

ส่วนงาน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกอบไปด้วยส่วนงานดังต่อไปนี้[8][6]

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๘๓ ง พิเศษ หน้า ๕ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๘ ง พิเศษ หน้า ๙ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๗ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
  4. พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๗ หน้า ๑ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
  5. “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” สถาบันใหม่ วิจัย-ผลิตแพทย์
  6. 6.0 6.1 พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (จำนวน ๗ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๗ ง พิเศษ หน้า ๒ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
  8. ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๑๘๗ ง พิเศษ หน้า ๒๔ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙