ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 176: บรรทัด 176:
|-
|-
| valign = "left" style="background: Lavenderblush" |13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล <ref>เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ</ref>
| valign = "left" style="background: Lavenderblush" |13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล <ref>เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ</ref>
| valign = "top" style="background: Lavenderblush" | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—ปัจจุบัน
|-
|}

=== รายชื่อผู้บริหารสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ===
{| class="toccolours" width=100%
|-
! style="background: Hotpink; "| ชื่อ
! style="background: Hotpink; "| ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง<ref>[http://nrct.go.th/2008/modules.php?op=modload&name=Sections&file=index&req=viewarticle&artid=73&page=1 รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในอดีตถึงปัจจุบัน]</ref>
|-
| valign = "left" style="background: Lavenderblush" |1. ศาสตราจารย์ ดร.อนุชล กลยนี <ref>ประธานผู้บริหารคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้บริหารสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ</ref>
| valign = "top" style="background: Lavenderblush" | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—ปัจจุบัน
| valign = "top" style="background: Lavenderblush" | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—ปัจจุบัน
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:01, 19 เมษายน 2563

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2499
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (โอนมาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานใหญ่196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี2,644.0443 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ผู้อำนวยการ
  • รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์www.nrct.go.th

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

ประวัติ

ไฟล์:สกว.jpg
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เดิมใช้ชื่อว่า "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" (National Research Council of Thailand) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อว่า "สภาวิจัยแห่งชาติ" ในปี พ.ศ. 2499 ตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2499 โดยแต่งตั้งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์เป็นเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติโดยตำแหน่ง และตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติขึ้นที่กรมวิทยาศาสตร์เป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งได้กำหนดสาขาวิชาการที่จะวิจัยไว้เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์โดยแบ่งออกเป็น 6 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคมีและเภสัชวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2502 รัฐบาลโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ แทนพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๙๙ พร้อมทั้งจัดระบบงานและองค์ประกอบของสภาวิจัยแห่งชาติใหม่โดยให้มี "สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ" ปฏิบัติงานให้กับสภาวิจัยแห่งชาติและเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับการวิจัยของประเทศ

พ.ศ. 2507 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อกำหนดหน้าที่ของสภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แก้ไขพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมีการเปลี่ยนชื่อ "สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ" เป็น "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" [2]

พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม") เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้สำนักงานฯ ได้มีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้ง ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างแท้จริงตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่ง ชาติรวมทั้งสามารถให้คำปรึกษารัฐบาลเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิจัยได้โดยรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งเพื่อให้สำนักงานฯ ได้อยู่ในสายการบังคับบัญชาเดียว คือ ขึ้นตรงกับประธานสภาวิจัยแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี) ซึ่งตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติได้ระบุให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการทำงานของสำนักงานฯ อยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งในหมวด 21 ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง[3] มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติแทน

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) ครั้งที่ 3/2559 ที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีมติให้ควบรวมคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติและคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศเข้าด้วยกันเรียกว่า คณะกรรมการนโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (นวนช.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อให้นโยบายวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมถึงลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ

ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการจัดตั้ง สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ยุบสภาวิจัยแห่งชาติรวมถึงคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการสาขาวิชาการและให้โอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [4]

ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เป็น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [5] พร้อมกับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน เงินงบประมาณบุคลากรของ "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" ไปเป็นของ "สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ" ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม เป็นต้นไป[6]

รายชื่อเลขาธิการและผู้อำนวยการหน่วยงาน

รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง[7]
1. ดร.จ่าง รัตนะรัต 19 กันยายน พ.ศ. 2499—1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
2. พลเอกเนตร เขมะโยธิน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2502—30 กันยายน พ.ศ. 2512
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512—30 กันยายน พ.ศ. 2516
4. ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516—30 กันยายน พ.ศ. 2524
5. ศาสตราจารย์ ดร.จุมพล สวัสดิยากร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524—30 กันยายน พ.ศ. 2532
6. ดร.เจริญ วัชระรังษี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532—30 กันยายน พ.ศ. 2533
7. ดร.อภิรัต อรุณินท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533—30 กันยายน พ.ศ. 2538
8. ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538—31 ตุลาคม พ.ศ. 2540
9. นายจิรพันธ์ อรรถจินดา 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540—30 กันยายน พ.ศ. 2547
10. ศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช 21 มกราคม พ.ศ. 2548—30 กันยายน พ.ศ. 2552
11. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552—30 กันยายน พ.ศ. 2558
12. นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ [8] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558—30 กันยายน พ.ศ. 2559
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [9] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559—5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [10] 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559[11]—1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รายชื่อผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ

ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง[12]
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [13] 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—ปัจจุบัน

รายชื่อผู้บริหารสำนักงานวิจัยแห่งชาติ

ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง[14]
1. ศาสตราจารย์ ดร.อนุชล กลยนี [15] 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๕ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอน ๑๙๐ ก พิเศษ หน้า ๔๗ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
  3. มาตรา ๔๖ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
  4. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๒/๒๕๕๙ เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จัดตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๕ ง พิเศษ หน้า ๘ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม 136, ตอนที่ 47 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ , เล่ม 136, ตอนที่ 57 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 79
  7. รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในอดีตถึงปัจจุบัน
  8. http://www.banmuang.co.th/news/politic/46456
  9. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/725450
  10. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/725450
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/017/6.PDF
  12. รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในอดีตถึงปัจจุบัน
  13. เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  14. รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในอดีตถึงปัจจุบัน
  15. ประธานผู้บริหารคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้บริหารสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น