ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเมืองกัมพูชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
|-
|-
| 24 || || '''กระทรวงกิจการสตรี '''<br>({{lang-km|ក្រសួងកិច្ចការនារី}} ''กฺรสัวงกิจฺจการนารี'')<br>({{lang-en|Ministry of Women's Affairs}}) || <ref>[https://www.mowa.gov.kh/]</ref>
| 24 || || '''กระทรวงกิจการสตรี '''<br>({{lang-km|ក្រសួងកិច្ចការនារី}} ''กฺรสัวงกิจฺจการนารี'')<br>({{lang-en|Ministry of Women's Affairs}}) || <ref>[https://www.mowa.gov.kh/]</ref>

|| || <big> ក្រសួងកិច្ចការនារី</big>
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:20, 18 เมษายน 2563

การประชุมรัฐสภาในพระราชาณาจักรกัมพูชาครั้งที่ 6

การเมืองกัมพูชาหรือพระราชอาณาจักรกัมพูชาอยู่ในกรอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีรัฐสภาและเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน อำนาจบริหารเป็นของรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติเป็นของสภาคือรัฐสภาและพฤฒิสภา

ฝ่ายอำนาจบริหาร

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนีพระมหากษัตริย์
สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซนนายกรัฐมนตรี
ตรารัฐบาลในพระราชอาณาจักรกัมพูชา
ผู้ถือตำแหน่งหลัก
ตำแหน่ง ชื่อ พรรค ตั้งแต่
พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนี 14 ตุลาคม ค.ศ. 2004
นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน พรรคประชาชนกัมพูชา 14 มกราคม ค.ศ. 1985
ไฟล์:Cambodian Peace Palace.JPG
ทำเนียบรัฐบาล(วิมานสันติภาพ)

นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาจากพรรคการเมืองในรัฐสภา ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของประธานและรองประธานรัฐสภา หลังจากนั้นต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลในกัมพูชา เมื่อเข้าทำงานจะแต่งตั้งรัฐมนตรีมารับผิดชอบงานต่างๆซึ่งเรียกว่าสภารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือฮุน เซน มาจากพรรคประชาชนกัมพูชา ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 หนึ่งปีหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2540 [1][2]เพื่อโค่นล้มพระนโรดม รณฤทธิ์ จนปัจจุบัน

กระทรวง

ลำดับที่ ตราสัญลักษณ์ ชื่อกระทรวง เว็บไซต์
1 ไฟล์:Ministry of Interior Cambodia.png กระทรวงมหาดไทย
(เขมร: ក្រសួងមហាផ្ទៃ กฺรสัวงมหาผฺไท)
(อังกฤษ: Ministry of Interior)
[3]
2 กระทรวงป้องกันราชอาณาจักร
(เขมร: ក្រសួងការពារជាតិ กฺรสัวงการพารชาติ)
(อังกฤษ: Ministry of National Defense)
[4]
3 กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือนานาชาติ
(เขมร: ក្រសួងការបរទេស និងសហប្រតិបត្តិការអន្តរជាតិ กฺรสัวงการบรเทส นิงสหบฺรติบตฺติการอนฺตรชาติ)
(อังกฤษ: Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation)
[5]
4 ไฟล์:MEF (Cambodia).png กระทรวงเศรษฐกิจ และการคลัง
(เขมร: ក្រសួងសេដ្ឋកិច្ច និងហិរញ្ញវត្ថុ กฺรสัวงเสฎฺฐกิจฺจ นิงหิรญฺญวตฺถุ)
(อังกฤษ: Ministry of Economy and Finance)
[6]
5 ไฟล์:MAFF (Cambodia).png กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง
(เขมร: ក្រសួងកសិកម្ម រុក្ខាប្រមាញ់ និងនេសាទ กฺรสัวงกสิกมฺม รุกฺขาบฺรมาญ̍ นิงเนสาท)
(อังกฤษ: Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries)
[7]
6 กระทรวงการพัฒนาชนบท
(เขมร: ក្រសួងអភិវឌ្ឃន៌ជនបទ กฺรสัวงอภิวฑฺฆรฺนชนบท)
(อังกฤษ: Ministry of Rural Development)
[8]
7 ไฟล์:MOC Cambodia.png กระทรวงพาณิชยกรรม
(เขมร: ក្រសួងពាណិជ្ជកម្ម กฺรสัวงพาณิชฺชกมฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Commerce)
[9]
8 กระทรวงอุตสาหกรรม และหัตถกรรม
(เขมร: ក្រសួងឧស្សាហកម្ម និងសិប្បកម្ម กฺรสัวงอุสฺสาหกมฺม นิงสิบฺบกมฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Industry and Handicraft)
[10]
9 กระทรวงแผนการ
(เขมร: ក្រសួងផែនការ กฺรสัวงแผนการ)
(อังกฤษ: Ministry of Planning)
[11]
10 กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา
(เขมร: ក្រសួងអប់រំ យុវជន និងកីឡា กฺรสัวงอบ̍รํ ยุวชน นิงกีฬา)
(อังกฤษ: Ministry of Education, Youth and Sport)
[12]
11 กระทรวงกิจการสังคม ทหารผ่านศึก และการฟื้นฟูเยาวชน
(เขมร: ​ក្រសួង​សង្គមកិច្ច អតីត​យុទ្ធជន និង​យុវនីតិ​សម្បទា กฺรสัวงสงฺคมกิจฺจ อตีตยุทฺธชน นิงยุวนีติสมฺบทา)
(อังกฤษ: Ministry of Social Affairs, Veterans and Youth Rehabilitation)
[13]
12 กระทรวงการจัดการที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง
(เขมร: ​ក្រសួងរៀបចំដែនដី នគររូបនីយកម្ម និងសំណង់ กฺรสัวงเรียบจํแฎนฎี นครรูบนียกมฺม นิงสํณง̍)
(อังกฤษ: Ministry of Land Management, Urban Planning and Construction)
[14]
13 กระทรวงสิ่งแวดล้อม
(เขมร: ក្រសួងបរិស្ថាន กฺรสัวงบริสฺถาน)
(อังกฤษ: Ministry of Environment)
[15]
14 กระทรวงทรัพยากรน้ำ และอุตุนิยมวิทยา
(เขมร: ក្រសួងធនធានទឹក និងឧតុនិយម กฺรสัวงธนธานทึก นิงอุตุนิยม)
(อังกฤษ: Ministry of Water Resources and Meteorology)
[16]
15 ไฟล์:MOI Cambodia.png กระทรวงการข่าว
(เขมร: ក្រសួងព័ត៌មាន กฺรสัวงพัรฺตมาน)
(อังกฤษ: Ministry of Information)
[17]
16 กระทรวงยุติธรรม
(เขมร: ក្រសួងយុតិ្តធម៌ กฺรสัวงยุติฺตธรฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Justice)
[18]
17 กระทรวงเหมืองแร่ และพลังงาน
(เขมร: ក្រសួងរ៉ែ​ និងថាមពល กฺรสัวงแร̎ นิงถามพล)
(อังกฤษ: Ministry of Mines and Energy)
[19]
18 กระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคม
(เขมร: ក្រសួងប្រៃសណីយ៍ និងទូរគមនាគមន៍ กฺรสัวงบฺไรสณีย์ นิงทูรคมนาคมน์)
(อังกฤษ: Ministry of Posts and Telecommunications)
[20]
19 กระทรวงสุขาภิบาล
(เขมร: ក្រសួងសុខាភិបាល กฺรสัวงสุขาภิบาล)
(อังกฤษ: Ministry of Health)
[21]
20 กระทรวงโยธาธิการ และคมนาคม
(เขมร: ក្រសួងសាធារណៈការ និងដឹកជញ្ជូន กฺรสัวงสาธารณะการ นิงฎึกชญฺชูน)
(อังกฤษ: Ministry of Public Works and Transport)
[22]
21 ไฟล์:MoCFA logo.png กระทรวงวัฒนธรรม และวิจิตรศิลป์
(เขมร: ក្រសួងវប្បធម៌ និងវិចិត្រសិល្បៈ กฺรสัวงวบฺบธรฺม นิงวิจิตฺรสิลฺบะ)
(อังกฤษ: Ministry of Culture and Fine Arts)
[23]
22 ไฟล์:Ministry of Tourism logo.png กระทรวงการท่องเที่ยว
(เขมร: ក្រសួងទេសចរណ៍ กฺรสัวงเทสจรณ์)
(อังกฤษ: Ministry of Tourism)
[24]
23 กระทรวงแรงงาน และการฝึกอาชีพ
(เขมร: ក្រសួងការងារ និងបណ្តុះបណ្តាលវិជ្ជាជីវៈ กฺรสัวงการงาร นิงบณฺตุะบณฺตาลวิชฺชาชีวะ̤)
(อังกฤษ: Ministry of Labour and Vocational Training)
[25]
24 กระทรวงกิจการสตรี
(เขมร: ក្រសួងកិច្ចការនារី กฺรสัวงกิจฺจการนารี)
(อังกฤษ: Ministry of Women's Affairs)
[26]
ลำดับที่ ตราสัญลักษณ์ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ ชื่อกระทรวงภาษาเขมร
4 ไฟล์:Cambodiasvg1.jpg กระทรวงวัง Ministry of the Royal Palace ព្រះបរមរាជាវាំងនៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា
21 ไฟล์:Ministry of Cults and Religion.jpg กระทรวงธรรมการและศาสนา Ministry of Cults and Religion ក្រសួងធម្មការ និងសាសនា
27 ไฟล์:Ministry of National Assembly-Senate Relations and Inspection.jpg กระทรวงประสานงานรัฐสภาและตรวจราชการแผ่นดิน Ministry of National Assembly-Senate Relations and Inspection
29 สำนักงานคณะรัฐมนตรี Office of the Council of Ministers

ฝ่ายอำนาจนิติบัญญัติ

ไฟล์:National Assembly Building Cambodia.jpg
รัฐสภา

ใช้ระบบสองสภาได้แก่

  • สมัชชาแห่งชาติหรือรัฐสภา มีสมาชิก 123 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 พรรคประชาชนกัมพูชาครองเสียงส่วนใหญ่คือ 90 ที่นั่ง พรรคสมรังสีได้ 26 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นพรรคอื่นๆ อีก 7 ที่นั่ง
  • พฤฒิสภาหรือสภาสูง มีสมาชิก 61 คน มี 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ 2 คนมาจากตัวแทนรัฐบาล ที่เหลืออีก 57 คนมาจากการเลือกตั้ง มีลักษณะคล้ายสภาสูงของฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี ใน พ.ศ. 2549 พรรคประชาชนกัมพูชาได้ 43 ที่นั่งในสภาสูง พรรคฟุนซินเปกได้ 12 ที่นั่งและพรรคสมรังสีได้ 2 ที่นั่ง

หน้าที่ของสมัชชาแห่งชาติคือออกกฎหมาย โดยหลังจากผ่านสภาแล้วจึงเสนอต่อพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภายังมีอำนาจในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีโดยการออกเสียงไม่ไว้วางใจมากกว่าสองในสาม

e • d สรุปผลการเลือกตั้ง สมัชชาแห่งชาติกัมพูชาเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
พรรค คะแนน % ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา 3,492,374 58.1%
 
90
พรรคสมรังสี 1,316,714 21.9%
 
26
พรรคสิทธิมนุษยชน 397,816 6.62%
 
3
พรรคนโรดม รณฤทธิ์ 337,943 5.62%
 
2
ฟุนซินเปก 303,764 5.05%
 
2
พรรคพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย 68,909 1.15%
 
พรรคประชาธิปไตยเขมร 32,386 0.54%
 
พรรคขบวนการประชาธิปไตยฮัง ดารา 25,065 0.42%
 
พรรคสังคมยุติธรรม 14,112 0.23%
 
พรรคสาธารณรัฐเขมร 11,693 0.19%
 
พรรคเขมรต่อต้านความยากจน 9,501 0.16%
 
ทั้งหมด (มาใช้สิทธิ์ 81.5%) 6,010,277 123
Source: www.necelect.org.kh
e • d สรุปการเลือกตั้งพฤฒิสภาหรือสภาสูงในกัมพูชาเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2549
พรรค คะแนน % ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา 7,854 69.19%
 
43
ฟุนซินเปก 2,320 20.44%
 
9
พรรคสมรังสี 1,165 10.26%
 
2
ทั้งหมด (มาใช้สิทธิ์ 99.89%) 11,352 54
Source: www.necelect.org.kh

Sources: List of Senators

อำนาจตุลาการ

ศาลฎีกา

อำนาจตุลาการเป็นอิสระจากรัฐบาล ศาลสูงสุดในกัมพูชาคือ ศาลแขวงสูงสุด (Supreme Council of the Magistracy)

ราชวงศ์

การปกครองของกัมพูชาเป็นแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นประมุขรัฐ ไม่มีอำนาจปกครอง ทรงเป็นสัญลักษณ์ถึงความเป็นเอกภาพและความยั่งยืนของชาติ พระนโรดม สีหนุทรงเป็นประมุขรัฐระหว่าง 24 กันยายน พ.ศ. 2536 จนถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจทางการเมืองแต่พระนโรดม สีหนุทรงมีบารมีที่ทำให้พระองค์มีอิทธิพลต่อรัฐบาลและมีบทบาทในการยับยั้งความขัดแย้งภายในรัฐบาล หลังจากพระนโรดม สีหนุสละราชสมบัติใน พ.ศ. 2547 พระโอรสของพระองค์คือพระนโรดม สีหมุนีได้เป็นกษัตริย์ต่อมา ส่วนพระนโรดม สีหนุที่สละราชสมบัติไปนั้น สมัชชาแห่งชาติได้กำหนดตำแหน่งของพระองค์เป็นพระมหาวีรกษัตริย์

การสืบราชสมบัติ

การสืบราชสมบัติถูกกำหนดโดยสภาราชบัลลังก์ซึ่งประกอบด้วยประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี พระสังฆราช รองประธานรัฐสภาคนที่ 1 และคนที่ 2 จะมีการเรียกประชุมสภาราชบัลลังก์ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากพระมหากษัตริย์สวรรคตหรือสละราชสมบัติ และจะเลือกจากสมาชิกราชวงศ์ที่มีสิทธิในราชบัลลังก์

การเป็นสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติ

ACCT, AsDB, ASEAN, CP, ESCAP, FAO, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICC, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, Intelsat (ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, Interpol, IOC, ISO, ITU, NAM, OPCW, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WB, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WTO, WToO, WTrO (ขอสมัคร)

การปกครองท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่นทั้ง 24 จังหวัด.[27] ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลกลาง[27] เริ่มมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นใน พ.ศ. 2545 และเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี[28]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

เกี่ยวกับราชวงศ์

ทางการ

อื่นๆ