ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซาเรฟนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 159: บรรทัด 159:
|27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1658
|27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1658
|1 พฤษภาคม ค.ศ. 1718
|1 พฤษภาคม ค.ศ. 1718
|'''พระนาง'''ไม่ทรงเสกสมรส และทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย ในช่วง[[การก่อการกำเริบที่มอสโก ค.ศ. 1682]] [[อีวาน อันเดรเยวิช โควานสกี (ตารารุย)]] ซึ่งเป็นพระสหายสนิทในซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินีและเป็นหนึ่งในผู้นำของสเตลท์ซี พยายามเสนอให้อันเดร อีวานอวิช โควานสกี บุตรชายของเขาเสกสมรสกับซาเรฟนาเยกาเจรีนาเพื่อวางแผนให้บุตรชายของเขาครองบัลลังก์รัสเซีย แต่ซาเรฟนาโซฟียาปฏิเสธ ซาเรฟนาเยกาเจรีนาเป็นผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปรัสเซียให้เป็นตะวันตก ในปีค.ศ. 1698 ทรงถูกสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อกบฏของซาเรฟนาโซฟียา แต่ก็มีการสอบสวนแล้วไม่พบความผิดใด ทรงเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระชนนีเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ทรงโกรธเคือง[[จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย|ซาร์ปีเตอร์มหาราช]] และพระนางก็ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวการเมือง พระนางสิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 60 พรรษา
|<br>'''พระนาง'''ไม่ทรงเสกสมรส และทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย ในช่วง[[การก่อการกำเริบที่มอสโก ค.ศ. 1682]] [[อีวาน อันเดรเยวิช โควานสกี (ตารารุย)]] ซึ่งเป็นพระสหายสนิทในซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินีและเป็นหนึ่งในผู้นำของสเตลท์ซี พยายามเสนอให้อันเดร อีวานอวิช โควานสกี บุตรชายของเขาเสกสมรสกับซาเรฟนาเยกาเจรีนาเพื่อวางแผนให้บุตรชายของเขาครองบัลลังก์รัสเซีย แต่ซาเรฟนาโซฟียาปฏิเสธ ซาเรฟนาเยกาเจรีนาเป็นผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปรัสเซียให้เป็นตะวันตก ในปีค.ศ. 1698 ทรงถูกสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อกบฏของซาเรฟนาโซฟียา แต่ก็มีการสอบสวนแล้วไม่พบความผิดใด ทรงเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระชนนีเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ทรงโกรธเคือง[[จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย|ซาร์ปีเตอร์มหาราช]] และพระนางก็ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวการเมือง พระนางสิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 60 พรรษา
|[[โนโวเดอวิชีคอนแวนต์]], มอสโก
|[[โนโวเดอวิชีคอนแวนต์]], มอสโก
|-----
|-----
บรรทัด 166: บรรทัด 166:
|18 มกราคม ค.ศ. 1660
|18 มกราคม ค.ศ. 1660
|9 มีนาคม ค.ศ. 1723
|9 มีนาคม ค.ศ. 1723
|'''พระนาง'''ไม่ทรงเสกสมรส และไม่ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการทางการเมืองใดๆ แต่ทรงเห็นใจซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินี และ[[เยฟโดกียา ลอปูคีนา|ซารีนาเยฟโดกียา ลอปูคีนา]]รวมถึง[[อะเลคเซย์ เปโตรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย]] พระมเหสีและพระโอรสที่ซาร์ปีเตอร์ทรงเกลียดชัง ซึ่งนั่นทำให้ซาร์ปีเตอร์ทรงมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับซาเรฟนามารีเยีย พระนางยังเป็นคนกลางในการติดต่อกันระหว่างซารีนาเยฟโดกียากับซาเรวิชอะเลคเซย์ พระโอรสซึ่งซาร์ปีเตอร์สั่งห้ามไว้ หลังจากซาร์ปีเตอร์ทรงสั่งจับกุมซาเรวิช ซาเรฟนามารีเยียถูกกล่าวหาว่าพยายามช่วยให้ซาเรวิชหลบหนี พระนางจึงถูกจับกักบริเวณ และทรงได้รับการปล่อยพระองค์ในปีค.ศ. 1721 ซารีนามารีเยียทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระเชษฐภคินีและพระชนิษฐา พระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 63 พรรษา
|<br>'''พระนาง'''ไม่ทรงเสกสมรส และไม่ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการทางการเมืองใดๆ แต่ทรงเห็นใจซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินี และ[[เยฟโดกียา ลอปูคีนา|ซารีนาเยฟโดกียา ลอปูคีนา]]รวมถึง[[อะเลคเซย์ เปโตรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย]] พระมเหสีและพระโอรสที่ซาร์ปีเตอร์ทรงเกลียดชัง ซึ่งนั่นทำให้ซาร์ปีเตอร์ทรงมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับซาเรฟนามารีเยีย พระนางยังเป็นคนกลางในการติดต่อกันระหว่างซารีนาเยฟโดกียากับซาเรวิชอะเลคเซย์ พระโอรสซึ่งซาร์ปีเตอร์สั่งห้ามไว้ หลังจากซาร์ปีเตอร์ทรงสั่งจับกุมซาเรวิช ซาเรฟนามารีเยียถูกกล่าวหาว่าพยายามช่วยให้ซาเรวิชหลบหนี พระนางจึงถูกจับกักบริเวณ และทรงได้รับการปล่อยพระองค์ในปีค.ศ. 1721 ซารีนามารีเยียทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระเชษฐภคินีและพระชนิษฐา พระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 63 พรรษา
|[[วิหารนักบุญปีเตอร์และพอล]] (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
|[[วิหารนักบุญปีเตอร์และพอล]] (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
|-----
|-----

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:19, 17 เมษายน 2563

ภาพวาดซาเรฟนา โดย วาซิลี ซูริคอฟ ราวศตวรรษที่ 19

ซาเรฟนา (อังกฤษ:Tsarevna; รัสเซีย: Царевна) เป็นพระอิสริยยศของพระราชธิดาในซาร์[1][2] แห่งรัสเซียในยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตำแหน่งนี้หมายความรวมถึงพระราชธิดาในพระเจ้าซาร์ และพระชายาในซาเรวิชด้วย[3]

ซาเรฟนาหลายพระองค์มิได้เสกสมรส และใช้พระชนม์ชีพจนเจริญพระชันษา หรือแม้กระทั่งใช้ชีวิตในวัยชราในคอนแวนต์ หรือในพระราชวังเทอเรม หมู่พระราชวังเครมลินแห่งมอสโก เว้นแต่เพียงพระราชธิดาในซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย ซึ่งก็คือ ซาเรฟนาเยกาเจรีนา อีวานอฟนาแห่งรัสเซีย ได้เสกสมรสกับเจ้าชายคาร์ล เลโอโปลด์ ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน

รายพระนาม

พระราชธิดาในพระเจ้าซาร์

พระรูป พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ หมายเหตุ สถานที่ฝังพระศพ
ยุคก่อนหน้าโปรดอ่าน: รายนามเจ้าหญิงแห่งมอสโก
รุ่นที่ 2
(พระราชธิดาในซาร์อีวานที่ 4 กับซารีนาอนาสตาเซีย โรมานอฟนา):
แอนนา อีวานอฟนา 10 สิงหาคม ค.ศ. 1549 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1550
พระชนมายุไม่ถึง 1 พรรษ
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ วิหารสมอเลนสกี (คอนเวนต์โนโวเดอวิชี, มอสโก)
มารีเยีย อีวานอฟนา 17 มีนาคม ค.ศ. 1551 8 ธันวาคม ค.ศ. 1552
พระชนมายุ 1 พรรษา
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก)
ยูโดเซีย อีวานอฟนา 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1556 มิถุนายน ค.ศ. 1558
พระชนมายุ 3 พรรษา
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก)
รุ่นที่ 3
เฟโอโดเซีย เฟโอโดรอฟนา 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1592 25 มกราคม ค.ศ. 1594
พระชนมายุ 1 พรรษา
พระราชธิดาในซาร์เฟโอดอร์ที่ 1 กับซารีนาไอรีนา โกดูนอฟนา ซาเรฟนาสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก)
เซเนีย บอริซอฟนา ค.ศ. 1582 30 สิงหาคม ค.ศ. 1622
พระชนมายุ 40 พรรษา
พระราชธิดาในซาร์บอริส โกดูนอฟ กับซารีนามารีเยีย สคูราโตวา-เบลสกายา ไม่ได้อภิเษกสมรส ทรงถูกทำร้ายและข่มขืนในยุคสมัยแห่งความวุ่นวาย ซึ่งบัลลังก์ของพระอนุชา คือ ซาร์เฟโอดอร์ที่ 2 ถูกโค่นล้มและปลงพระชนม์ โดยกองกำลังของซาร์ดมิตรีตัวปลอม ซาเรฟนาทรงถูกขังอยู่ในพระอารามจนสิ้นพระชนม์ อารามทรินีตีลาฟราแห่งเซนต์เซอร์จีอุส
พระราชธิดาในซาร์วาซีลี ซุยสกีกับซารีนามารีเยีย บุยโนโซวา-รอสตอฟสกายา:
แอนนา วาซีลีเยฟนา ค.ศ. 1609 26 กันยายน ค.ศ. 1609 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก)
อนาสตาเซีย วาซีลีเยฟนา ค.ศ. 1610 ไม่ปรากฏ ดำรงพระองค์เป็นนางชี อารามโปครอฟสกี (ซุสดัล)
รุ่นที่ 4
(พระราชธิดาใน ซาร์มีไฮล์ที่ 1 โรมานอฟกับซารีนายูโดเซีย สเตรชเนวา):
ไอรีนา มีไฮลอฟนา 22 เมษายน ค.ศ. 1627 8 เมษายน ค.ศ. 1679 พระนางไม่ทรงเสกสมรสและทรงมีอิทธิพลสูงในราชสำนักของพระอนุชา คือ ซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 ในช่วงต้นรัชกาล พระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 51 พรรษา ในรัชกาลของพระนัดดาคือ ซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 อารามโนโวสปาสกี (มอสโก)
เปลาเกยา มีไฮลอฟนา 17 สิงหาคม ค.ศ. 1628 25 มกราคม ค.ศ. 1629 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
แอนนา มีไฮลอฟนา 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1630 27 ตุลาคม ค.ศ. 1692 พระนางไม่ทรงเสกสมรส ทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย มีบันทึกพระประวัติเพียงว่าทรงอพยพออกจากมอสโกในช่วงเกิดโรคระบาดใหญ่ในมอสโกปีค.ศ. 1654 พระนางมีบทบาทในการสนับสนุนการก้าวขึ้นสู่อำนาจผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของซาเรฟนาโซฟียา อะเลคเซยีฟนาแห่งรัสเซีย พระนัดดา พระนางทรงเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยไม่ให้ซาร์ปีเตอร์มหาราชจับซาเรฟนาโซฟียาคุมขัง ซึ่งไม่สำเร็จ ซาเรฟนาแอนนาสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 62 พรรษา คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
มาร์ฟา มีไฮลอฟนา 14 สิงหาคม ค.ศ. 1631 21 กันยายน ค.ศ. 1632 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
โซฟียา มีไฮลอฟนา 30 กันยายน ค.ศ. 1634 23 กันยายน ค.ศ. 1636 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
ตาตยานา มีไฮลอฟนา 5 มกราคม ค.ศ. 1636 24 สิงหาคม ค.ศ. 1706 พระนางไม่ทรงเสกสมรส ทรงเป็นหนึ่งในองค์ซาเรฟนาที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงรัชสมัยของพระเชษฐาคือ ซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 และช่วงการสำเร็จราชการแผ่นดินของซาเรฟนาโซฟียา อะเลคเซยีฟนาแห่งรัสเซีย พระนัดดา ทรงได้รับการปฏิบัติจากซาเรฟนาโซฟียา พระนัดดาให้ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่อาวุโสสูงสุด และทรงได้รับลำดับโปเจียมที่สูงกว่า ซารีนาพระพันปีหลวงนาตาลยา นาริชกีนาเสียอีก ซาเรฟนาตาตยานาทรงเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยในช่วงที่ซาร์ปีเตอร์มหาราชยึดอำนาจจากซาเรฟนาโซฟียา แต่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ พระนางจึงสูญเสียบทบาทในราชสำนักโดยสิ้นเชิง ซาเรฟนาตาตยานาสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 70 พรรษา คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก)]
เยฟโดกียา มีไฮลอฟนา 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
รุ่นที่ 5 (พระราชธิดาในซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 โรมานอฟ):
ประสูติแต่ มารีเยีย มิโลสลาฟสกายา:
เยฟโดกียา อะเลคเซยีฟนา 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1650 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1712 พระราชธิดาองค์โตในซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 พระนางไม่ทรงเสกสมรส และทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย หลังจากพระราชชนนีสิ้นพระชนม์ ซาเรฟนาเยฟโดกียาไม่ทรงยอมรับซารีนานาตาลยา นาริชกีนาในฐานะพระมารดาเลี้ยงเลย และซาเรฟนาเยฟโดกียาเองก็มีพระชนมายุมากกว่าซารีนาถึง 18 เดือน ตลอดพระชนม์ชีพของพระนางทรงเข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองน้อยมาก ซาร์ปีเตอร์มหาราช พระอนุชาต่างพระชนนีทรงสงสัยพระนางว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกบฏของซาเรฟนาโซฟียาในปีค.ศ. 1698 แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ไม่ทรงดำเนินการอะไรกับพระนาง ซาเรฟนาเยฟโดกียาทรงดำรงพระชนม์ชีพตามศาสนาในคอนแวนต์ และสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 62 พรรษา โนโวเดอวิชีคอนแวนต์, มอสโก
มาร์ฟา อะเลคเซยีฟนา 26 สิงหาคม ค.ศ. 1652 19 มิถุนายน ค.ศ. 1707 พระนางไม่ทรงเสกสมรส และเป็นซาเรฟนาผู้ทรงสนับสนุนการดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการของซาเรฟนาโซฟียา พระขนิษฐา ซึ่งต่อมาพระนางไม่พอพระทัยอย่างยิ่งที่ซาร์ปีเตอร์มหาราช พระอนุชาต่างพระชนนี แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้ ซาเรฟนาโซฟียาทรงขอให้ซาเรฟนามาร์ฟาไปเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยไม่ให้ซาร์ปีเตอร์จับพระนางคุมขัง ซึ่งทรงวิงวอนไม่สำเร็จ ซาเรฟนามาร์ฟาจึงทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อกบฏของซาเรฟนาโซฟียาในปีค.ศ. 1698 แต่ก็ล้มเหลว พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพตามศาสนาในคอนแวนต์ ในปีค.ศ. 1706 อะเลคเซย์ เปโตรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย พระโอรสที่ซาร์ปีเตอร์ทรงชิงชังได้เสด็จมาเข้าเฝ้าพระนางที่คอนแวนต์ ทำให้ซาร์ปีเตอร์ไม่พอพระทัยยิ่ง แต่ถึงกระนั้นซาเรฟนามาร์ฟาก็สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1707 ขณะมีพระชนมายุ 55 พรรษา อะเลคซานดรอฟ เครมลิน
แอนนา อะเลคเซยีฟนา 23 มกราคม ค.ศ. 1655 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))
โซฟียา อะเลคเซยีฟนา 17 กันยายน ค.ศ. 1657 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1704 พระนางไม่ทรงเสกสมรส ซาเรฟนาโซฟียามีบทบาทในฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชสมัยของพระอนุชาร่วมบิดามารดา คือ พระเจ้าซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย กับพระอนุชาต่างมารดา คือ พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หลังจากการก่อการกำเริบที่มอสโก ค.ศ. 1682 ที่พระนางได้รับชัยชนะเหนือตระกูลของซารีนานาตาลยา นาริชกีนา พระมารดาเลี้ยง ซึ่งต่อมาเมื่อซาร์ปีเตอร์เจริญพระชันษาขึ้น ก็เกิดความขัดแย้งทางอำนาจ และทำให้อำนาจของพระนางเสื่อมลงในปีค.ศ. 1689 เมื่อตระกูลนาริชกินสั่งสมอำนาจร่วมกับซาร์ปีเตอร์ในการโค่นล้มพระเชษฐภคินีได้ ซาเรฟนาโซฟียาถูกคุมขังในคอนแวนต์ พระนางก่อกบฏร่วมกับพวกกองทหารสเตลท์ซี และเหล่าพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาในปีค.ศ. 1698 แต่ล้มเหลว พระนางสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1704 ขณะมีพระชนมายุ 46 พรรษา โนโวเดอวิชีคอนแวนต์, มอสโก
เยกาเจรีนา อะเลคเซยีฟนา 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1658 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1718
พระนางไม่ทรงเสกสมรส และทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย ในช่วงการก่อการกำเริบที่มอสโก ค.ศ. 1682 อีวาน อันเดรเยวิช โควานสกี (ตารารุย) ซึ่งเป็นพระสหายสนิทในซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินีและเป็นหนึ่งในผู้นำของสเตลท์ซี พยายามเสนอให้อันเดร อีวานอวิช โควานสกี บุตรชายของเขาเสกสมรสกับซาเรฟนาเยกาเจรีนาเพื่อวางแผนให้บุตรชายของเขาครองบัลลังก์รัสเซีย แต่ซาเรฟนาโซฟียาปฏิเสธ ซาเรฟนาเยกาเจรีนาเป็นผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปรัสเซียให้เป็นตะวันตก ในปีค.ศ. 1698 ทรงถูกสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อกบฏของซาเรฟนาโซฟียา แต่ก็มีการสอบสวนแล้วไม่พบความผิดใด ทรงเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระชนนีเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ทรงโกรธเคืองซาร์ปีเตอร์มหาราช และพระนางก็ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวการเมือง พระนางสิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 60 พรรษา
โนโวเดอวิชีคอนแวนต์, มอสโก
มารีเยีย อะเลคเซยีฟนา 18 มกราคม ค.ศ. 1660 9 มีนาคม ค.ศ. 1723
พระนางไม่ทรงเสกสมรส และไม่ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการทางการเมืองใดๆ แต่ทรงเห็นใจซาเรฟนาโซฟียา พระเชษฐภคินี และซารีนาเยฟโดกียา ลอปูคีนารวมถึงอะเลคเซย์ เปโตรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย พระมเหสีและพระโอรสที่ซาร์ปีเตอร์ทรงเกลียดชัง ซึ่งนั่นทำให้ซาร์ปีเตอร์ทรงมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับซาเรฟนามารีเยีย พระนางยังเป็นคนกลางในการติดต่อกันระหว่างซารีนาเยฟโดกียากับซาเรวิชอะเลคเซย์ พระโอรสซึ่งซาร์ปีเตอร์สั่งห้ามไว้ หลังจากซาร์ปีเตอร์ทรงสั่งจับกุมซาเรวิช ซาเรฟนามารีเยียถูกกล่าวหาว่าพยายามช่วยให้ซาเรวิชหลบหนี พระนางจึงถูกจับกักบริเวณ และทรงได้รับการปล่อยพระองค์ในปีค.ศ. 1721 ซารีนามารีเยียทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระเชษฐภคินีและพระชนิษฐา พระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 63 พรรษา
วิหารนักบุญปีเตอร์และพอล (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
เฟโอโดเซีย อะเลคเซยีฟนา 29 มีนาคม ค.ศ. 1662 14 ธันวาคม ค.ศ. 1713 พระนางไม่เสกสมรส และทรงปลีกตัวอยู่ในพระราชวังตามธรรมเนียมของรัสเซีย พระนางได้รับการยกย่องว่าเป็นซาเรฟนาที่ถ่อมตัวและเสียสละทำให้พระเชษฐภคินีโปรดพระนางมาก พระนางอุทิศพระองค์ให้พระศาสนาและพยายามอยู่ห่างไกลจากความสนใจและกลอุบายทางการเมืองต่างๆ มีบันทึกว่าทรงประทับอยู่กับซาเรฟนาตาตยานา มีไฮลอฟนา พระปิตุจฉา และดำรงพระองค์เป็นนางชี ซาเรฟนาเฟโอโดเซียสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 51 พรรษา อะเลคซานดรอฟ เครมลิน
ยูโดเซีย อะเลคเซยีฟนา 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1669 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1669 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ คอนแวนต์แอสเซนชัน (โคโลเมนสโกเย, มอสโก))

ดูเพิ่ม

อ้างอิง