ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์แสนซ้าย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
รสเข้ม ต้นสกุล คือ เจ้าเทพรส บุตรพระยาไชยสงคราม (สืบเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนทางพะเยา) โดยมีน้องสาวคือ แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี ชายาเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่
ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| cadet branches = 31 ราชสกุล
| cadet branches = 31 ราชสกุล
}}
}}
'''ราชวงศ์เทพวงศ์''' หรือ '''ราชวงศ์แพร่''' เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจาก[[พระยาเทพวงศ์]] <ref>ภูเดช แสนสา เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมือง[[นครรัฐแพร่|นครแพร่]]โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้[[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] เจ้าผู้ครองนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงหลีภัยไปเมือง[[หลวงพระบาง]] [[ประเทศลาว]] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนัก[[สยาม]]ก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกจึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นมา
'''ราชวงศ์เทพวงศ์''' หรือ '''ราชวงศ์แพร่''' เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจาก [[พระยาเทพวงศ์]] เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมือง[[นครรัฐแพร่|นครแพร่]] โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ [[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] เจ้าผู้ครองนครแพร่ ถูกกล่าวหาว่าสมคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงหลีภัยไปเมือง[[หลวงพระบาง]] [[ประเทศลาว]] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนัก[[สยาม]] ก็มิได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก จึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา


== การสถาปนา ==
== การสถาปนา ==
'''ราชวงศ์เทพวงศ์''' หรือ '''ราชวงศ์แพร่''' ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาเทพวงศ์ ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 4 องค์สุดท้าย พระยาเทพวงศ์เป็นราชโอรสในพระยาแสนซ้าย เจ้าเมืองแพร่ พระยาเทพวงศ์ นี้เป็นเจ้าเมืองที่พูดจาไพเราะน่าฟัง พูดเก่ง พูดจาสิ่งใดใคร ก็เชื่อฟังหมดจนชาวเมืองให้การเคารพนับถือ จึงตั้งสมญานามว่า "เจ้าหลวงลิ้นตอง (ลิ้นทอง)" จนถึงรัชสมัย[[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] ปีพ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมือง[[หลวงพระบาง]] [[ประเทศลาว]] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้วถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส{{อ้างอิง}} พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือ[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้
'''ราชวงศ์เทพวงศ์''' หรือ '''ราชวงศ์แพร่''' ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาเทพวงศ์ ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 4 พระองค์สุดท้าย พระยาเทพวงศ์เป็นราชโอรสในพระยาแสนซ้าย เจ้าเมืองแพร่ พระยาเทพวงศ์ นี้เป็นเจ้าเมืองที่พูดจาไพเราะน่าฟัง พูดเก่ง พูดจาสิ่งใด ใครๆ ก็เชื่อฟังหมดจนชาวเมืองให้การเคารพนับถือ จึงตั้งสมญานามว่า "เจ้าหลวงลิ้นตอง" (ลิ้นทอง) จนถึงรัชสมัยของ [[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] ปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลิน ที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมือง[[หลวงพระบาง]] [[ประเทศลาว]] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้ว ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส {{อ้างอิง}} พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุข ด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือ [[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้


ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า '''วงศ์วรญาติ''' เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า '''วงศ์วรญาติ''' เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
*ภูเดช แสนสา '''เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม'''
*ภูเดช แสนสา '''เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม'''
*ประวัติศาสตร์แพร่(เหตุเงี้ยวจลาจล)
*ประวัติศาสตร์แพร่ (เหตุเงี้ยวจลาจล)


{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:48, 11 เมษายน 2563

ราชวงศ์แสนซ้าย
พระราชอิสริยยศเจ้าประเทศราช
ปกครองนครแพร่
สาขา31 ราชสกุล
ประมุขพระองค์แรกพระยาเทพวงศ์
ประมุขพระองค์สุดท้ายเจ้าพิริยเทพวงษ์
สถาปนาพ.ศ. 2348
ล่มสลายพ.ศ. 2445

ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจาก พระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ถูกกล่าวหาว่าสมคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงหลีภัยไปเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนักสยาม ก็มิได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก จึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การสถาปนา

ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาเทพวงศ์ ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 4 พระองค์สุดท้าย พระยาเทพวงศ์เป็นราชโอรสในพระยาแสนซ้าย เจ้าเมืองแพร่ พระยาเทพวงศ์ นี้เป็นเจ้าเมืองที่พูดจาไพเราะน่าฟัง พูดเก่ง พูดจาสิ่งใด ใครๆ ก็เชื่อฟังหมดจนชาวเมืองให้การเคารพนับถือ จึงตั้งสมญานามว่า "เจ้าหลวงลิ้นตอง" (ลิ้นทอง) จนถึงรัชสมัยของ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลิน ที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้ว ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส[ต้องการอ้างอิง] พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุข ด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้

ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า วงศ์วรญาติ เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เจ้าผู้ครองนครแพร่ (2348-2445)

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ ยุคราชวงศ์เทพวงศ์

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระยาแสนซ้าย พ.ศ. 2330-ก่อน พ.ศ. 2348
2 พระยาเทพวงศ์ พ.ศ. 2348-พ.ศ. 2359
3 พระยาอินทวิไชย พ.ศ. 2359-พ.ศ. 2490
4 พระยาพิมพิสารราชา พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2429
5 เจ้าพิริยเทพวงษ์ พ.ศ. 2432-พ.ศ. 2445

ราชสกุลเจ้าผู้ครองนครแพร่

ราชสกุลสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล รวมกันเรียกว่าวงศ์วรญาติ คือ

  • เทพวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22
  • แพร่พันธุ์ ต้นสกุล คือ เจ้าอินทรเดช เทพวงศ์ หรือ โชติ แพร่พันธุ์ ราชนัดดาเจ้าพิริยเทพวงษ์
  • วังซ้าย ต้นสกุล คือ เจ้าพระวังซ้าย (มหาจักร) พระวังซ้ายนครแพร่
  • ผาทอง ต้นสกุล คือ เจ้าเทพวงศ์ บุตรเจ้าแสนเสมอใจพระญาติพระยาเทพวงศ์
  • วงศ์บุรี ต้นสกุล คือ แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา พระชายาองค์แรกในเจ้าพิริยเทพวงษ์
  • วงศ์พระถาง ต้นสกุล คือ เจ้าพระถาง พระถางนครแพร่
  • ขัติยวรา
  • รสเข้ม ต้นสกุล คือ เจ้าเทพรส บุตรพระยาไชยสงคราม (สืบเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนทางพะเยา) โดยมีน้องสาวคือ แม่เจ้าบัวไหลราชเทวี ชายาเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่
  • แสนศิริพันธุ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพระวิไชยราชา (หนานขัติ) พระวิไชยราชานครแพร่ บุตรเจ้าแสนเสมอใจพระญาติพระยาเทพวงศ์
  • วงศ์เมืองแก่น ต้นสกุล คือ เจ้าพระเมืองแก่น พระเมืองแก่นนครแพร่
  • ไชยประวัติ
  • วงศ์วรรณ ต้นสกุล คือ นายแสน หรือพ่อเจ้าแสน บุตรเจ้าเทพวงศ์ แยกมาจากสกุล "ผาทอง"
  • วิจผัน
  • บุตรรัตน์
  • นามวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าน้อยนามวงศ์ นัดดาเจ้าราชวงศ์นครแพร่
  • แก่นหอม ต้นสกุล คือ เจ้าหนานตั๋น ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์ กับหม่อมไม่ทราบนาม
  • แก่นจันทร์หอม ต้นสกุล คือ เจ้าหนานสม ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์ กับหม่อมบัวคำ
  • ศรีจันทร์แดง
  • อิ่นคำลือ เจ้าพระคำลือ(อิ่น) พระคำลือนครแพร่
  • อุตรพงศ์
  • มหายศปัญญา ต้นสกุล คือ พระยาบุรีรัตน์ (หนานมหายศ) พระยาบุรีรัตน์นครแพร่ ผู้ได้รับพระราชนามสกุลคือ รองอำมาตย์เอก พระยาบุรีรัตน์ (หนู มหายศปัญญา) นัดดา โอรสพระยาบุรีรัตน์ (หนานปัญญา)
  • วราราช
  • ใยญาณ
  • เมืองพระ
  • ดอกไม้
  • สารศิริวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพระสุริยะจางวาง (น้อยมหาอินทร์ ) ราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา
  • หัวเมืองแก้ว
  • รัตนวงศ์
  • นันทิยา
  • กันจรรยา
  • วงศ์วรญาติ
  • ธงสังกา

อ้างอิง

  • ภูเดช แสนสา เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม
  • ประวัติศาสตร์แพร่ (เหตุเงี้ยวจลาจล)
ก่อนหน้า ราชวงศ์แสนซ้าย ถัดไป
ราชวงศ์มังไชย ราชวงศ์ที่ปกครองนครแพร่
(พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2445)