ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
# สิบเอก เมธา เลิศศิริ (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจาก'''พลทหาร''' ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
# สิบเอก เมธา เลิศศิริ (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจาก'''พลทหาร''' ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
# จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา (ผู้ก่อเหตุ)
# จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา (ผู้ก่อเหตุ)
# พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์
# [[พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์]]


== ผลที่ตามมา ==
== ผลที่ตามมา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:24, 10 เมษายน 2563

เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
แผนที่
สถานที่ตั้งของ พัน.สพ.กระสุน 22 บชร.2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ (1), วัดป่าศรัทธารวม (2) และเทอร์มินอล 21 โคราช (3)
สถานที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
วันที่8–9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
15:30 น. ของวันที่ 8 จนถึง 09:14 น. ของวันที่ 9 ต่อเนื่องกัน
ประเภทวิกฤตการณ์ตัวประกัน, การสังหารหมู่
อาวุธ
ตาย30 (รวมผู้ก่อเหตุ)[4]
เจ็บ57
ผู้ก่อเหตุจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา[5]

เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ซึ่งจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาและญาติถึงแก่ความตาย แล้วหลบหนีเข้ามาในตัวเมือง กราดยิงผู้คนตามรายทาง ก่อนเข้าไปซ่อนตัวในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จับบุคคลในห้างเป็นตัวประกัน[6] และถ่ายทอดสดตนเองขณะก่อเหตุลงเฟซบุ๊กของตน[7] จนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมในเช้าวันถัดมา[8] สรุปมีผู้เสียชีวิต 30 คน บาดเจ็บ 57 คน[4] ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 32 คน[ต้องการอ้างอิง] เหตุกราดยิงนี้ถือว่าเป็นเหตุกราดยิงที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[9]

ผู้ก่อเหตุ

จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา เกิดวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นชาวตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นทหารสังกัดกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล มีความชำนาญในการยิงปืนระยะไกล[10]

การกราดยิง

ภูมิหลัง

จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ได้ซื้อบ้านในโครงการสวัสดิการทหารที่ตำบลโคกกรวด จำนวน 1,500,000 บาท และได้ให้นางอนงค์ มิตรจันทร์ ดำเนินการเรื่องเอกสารและการจัดตกแต่งภายในบ้านให้ จนมีเงินส่วนเกินที่เหลือ 50,000 บาท นางอนงค์จึงส่งเงินส่วนนี้ให้นายพิทยาซึ่งเป็นนายหน้า จ่าสิบเอก จักรพันธ์จึงได้ขอเงินส่วนนี้คืน[11]

พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เป็นคนกลาง มีการนัดนางอนงค์มาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมถึงนายพิทยา นายหน้า เมื่อมีการพูดคุยกัน นายหน้าเสนอขอจ่ายเงินชดใช้ให้ แต่ไม่มีเงิน เพราะใช้เงินหมดไปแล้ว จึงขอกู้ยืมเงินจากนางอนงค์ แต่เป็นการตกลงจำนวนเงินที่ไม่ลงตัว เพราะก่อนหน้านี้ จ่าสิบเอก จักรพันธ์ เข้าใจว่าตัวเองจะได้เงินคืน 400,000 บาท[12]

บ้านพักผู้บังคับบัญชา ค่ายสุรธรรมพิทักษ์และวัดป่าศรัทธารวม

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เวลาประมาณ 15:30 น. จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชา คือ พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 และนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 65 ปี แม่ยายของพันเอก อนันต์ฐโรจน์ ถึงแก่ความตายที่บ้านพักในตำบลหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[13] ขณะที่นายหน้าวิ่งหนีไป จึงถูกไล่ยิงเข้าข้างหลังแต่ไม่เสียชีวิต[14]

จากนั้น จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ไปชิงอาวุธสงครามออกมาจากคลังอาวุธกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล โดยยิงทหารเวรกองรักษาการณ์ และทหารดูแลคลังอาวุธ มีพลทหารบาดเจ็บ 1 นาย เสียชีวิตอีก 1 นาย[13] ต่อมา จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถฮัมวีหลบหนีออกไปทางด้านหลังค่าย มุ่งไปทางวัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล เพราะทราบว่าภรรยาของผู้บังคับบัญชาออกไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธารวม[15] ได้กราดยิงผู้คนตามรายทางถึงแก่ความตายรวม 9 คน[16] คนร้ายกราดยิงกระสุนนับร้อยนัด โดยยิงคนในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บ ยังยิงเด็กนักเรียนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และยังเดินไปยิงซ้ำอีก จากนั้นมีตำรวจมา 2 นาย ไม่ทันลงจากรถก็ถูกยิงจนพรุนเสียชีวิต[17] แต่ปรากฏว่า ได้ทราบว่า ภรรยาของผู้บังคับบัญชาไปกินข้าวที่เทอร์มินอล 21 โคราช[15]

เทอร์มินอล 21 โคราช

จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถเข้าไปในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา มุ่งไปที่ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ซึ่งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยกราดยิงผู้คนตามรายทาง และจับผู้คนในห้างเป็นตัวประกัน ทั้งยิงถังแก๊ส ทำให้เกิดระเบิดและเพลิงลุกไหม้ในห้าง[10] จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ยังถ่ายทอดสดตนเองขณะก่อเหตุลงเฟซบุ๊กของตน[7]

ไทยรัฐ รายงานโดยอ้างถ้อยคำของบุคคลในห้างที่ติดต่อออกมาหาญาติภายนอกว่า ตัวประกันในห้างมี 16 คน[18]

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาแถลงในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 23:50 น. ว่ามีผู้เสียชีวิต 20 คน ศพทั้งหมดอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ แบ่งเป็นผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 16 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาลแห่งนี้ 3 คน และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา 1 คน ส่วนผู้บาดเจ็บมี 31 คน ในจำนวนนี้ 10 คนอาการหนัก และมีตำรวจ 2 คนถูกยิงที่หลังและขา[6]

รุ่งขึ้น เวลา 04:25 น. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสรายงานว่า มีตำรวจอรินทราชอีก 2 รายเสียชีวิตจากการปะทะ[ต้องการอ้างอิง]

วันเดียวกัน เวลา 09:14 น. มีรายงานว่า จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ผู้ก่อเหตุ ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม[8] ในบริเวณชั้นใต้ดิน โซนเอ ของห้าง[19]

สรุป มีผู้เสียชีวิต 30 คน (รวมผู้ก่อเหตุ) และมีผู้บาดเจ็บ 57 คน[4]พื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิตมากถึง 4 ตำบลใน อำเภอเมืองนครราชสีมา

รายชื่อผู้เสียชีวิต

พลเรือน

  1. นางอนงค์ มิตรจันทร์

ข้าราชการทหารและตำรวจ

  1. พลตำรวจโท ตระกูล ทาอาษา (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากร้อยตำรวจเอก ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
  2. พันตำรวจโท ชัชวาลย์ แท่งทอง (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากดาบตำรวจ ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
  3. พันตำรวจโท เพชรรัตน์ กำจัดภัย (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากดาบตำรวจ ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
  4. สิบเอก เมธา เลิศศิริ (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากพลทหาร ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
  5. จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา (ผู้ก่อเหตุ)
  6. พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์

ผลที่ตามมา

การนำออกจากเฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก ได้ถอดบัญชีเฟซบุ๊กของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้าย อันเนื่องจากโพสต์ข้อความและวิดีโอสดที่มีเนื้อหารุนแรง ซึ่งขัดกับนโยบายของเฟซบุ๊ก[20] นอกจากนั้นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้​ขอให้เฟซบุ๊กตรวจสอบและนำภาพการเสียชีวิต รวมถึงคลิปการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ออกจากระบบ[21]

การทำงานของสื่อมวลชน

จากเหตุการณ์นี้ สังคมตั้งคำถามถึงการทำงานของสื่อมวลชน เรื่องมีส่วนการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงความเหมาะสมของเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ มีกระแสในโลกโซเชียลตำหนิ 3 ช่อง เนื่องจากบอกรายละเอียดที่ตั้ง แนวการทำงานของเจ้าหน้าที่ สัมภาษณ์และบอกพิกัดของผู้ที่ติดอยู่ในเทอร์มินอล 21 โคราช และสัมภาษณ์สดพ่อของผู้เสียชีวิต ที่สร้างความหดหู่แก่ผู้ชม[22] แม้ กสทช. ออกคำสั่งไปยังสถานีทุกช่องให้งดการนำเสนอภาพข่าว การรายงานสด ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในเหตุการณ์ ก็ยังพบบางสถานีไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด[23] ถึงอย่างไรก็ตาม ช่องที่ถูกตำหนิจากสังคม กลับได้รับผลตอบรับทางด้านเรตติ้งที่สูงมาก[22]

กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ ให้ความเห็นเรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ก่อเหตุ ว่า "บางครั้งก็นำผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ เป็นการขายข่าวไปวัน ๆ คงไม่เกิดประโยชน์อะไรแถมจะเกิดผลเสียให้กับสังคมอีกมากมาย"[24]

การทำงานของกองทัพและรัฐบาล

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส. นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงความล่าช้าในการระงับเหตุ และเหตุผลที่ไม่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์[25] โดยไล่เรียงเหตุการณ์ว่า คนร้ายอยู่ในค่ายสุรธรรมพิทักษ์ นาน 50 นาที ก่อนเดินทางไปก่อเหตุ ใกล้วัดป่าศรัทธารวม อีก 50 นาที จากนั้นใช้เวลาเดินทางอีก 30 นาที ไปห้างเทอร์มินอล 21 โดยพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตอบกลับว่า ช่วงเวลาดังกล่าวได้สั่งให้เตรียมกำลังและร่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตามขั้นตอน[26]

ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธของกองทัพ พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ตอบข้อซักถามนี้กับสื่อมวลชนว่า กองทัพมีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยและป้องกันคลังอาวุธกระสุนมานานแล้ว ทั้งการติดตั้งกล้องวงจรปิด ยามรักษาการณ์ บางหน่วยมีสุนัขร่วมด้วย แต่ในเหตุการณ์นี้ยอมรับว่า มีหน่วยงานที่หละหลวม อย่างไรก็ดี ผู้ก่อเหตุปฏิบัติราชการในหน่วยงานนั้น มีความเชี่ยวชาญช่ำชองทั้งการใช้อาวุธ และรู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี ทั้งนี้จะเพิ่มมาตรการให้รอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น[27]

การตรวจสอบธุรกิจในค่ายทหาร

ข้อมูลจากการสอบสวนของตำรวจ สันนิษฐานว่าเหตุรุนแรงครั้งนี้มีที่มาจากข้อพิพาทเรื่องเงินและการซื้อขายบ้านที่ผู้ก่อเหตุซื้อจากนางอนงค์ รวมถึงคำยืนยันจากพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ที่ระบุว่าทหารผู้ก่อเหตุ "ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาและเครือญาติ" จึงเป็นเหตุนำไปสู่การหาความจริงเกี่ยวกับธุรกิจของนางอนงค์ พบว่ามีการทำเป็นขบวนการ คือ เจ้าของโครงการบ้านจัดสรรที่เป็นเครือญาติของนายทหารนำโครงการมาเสนอขายให้ทหารชั้นผู้น้อยในราคาถูก จากนั้นจัดหาเจ้าหน้าที่มาดูแลด้านการอนุมัติเงินกู้ของกรมสวัสดิการทหารบกมาประเมินราคาบ้านให้สูงกว่าความเป็นจริงเพื่อขออนุมัติเงินกู้ในวงเงินที่สูง ๆ โดยผู้บังคับบัญชาเซ็นหนังสือรับรองเพื่อให้อนุมัติเงินได้ง่ายขึ้น แต่ทางกองทัพบกออกมา ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ไม่มีขบวนการเงินทอน กองทัพและกรมสวัสดิการทหารบกไม่ได้ประโยชน์จากเงินส่วนต่างในการกู้เงิน และเชื่อว่าความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องของตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม ต่อมาทางกองทัพบกสั่งตรวจสอบโครงการสวัสดิการทหารและธุรกิจในค่ายทหารทั้งหมด[28]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. @CalibreObscura (8 February 2020). "Seems the active shooter in #Thailand used his issued Type 11 rifle (Licence-produced HK 33). Appears likely that he may have been carrying at least one sidearm too, such as this Smith & Wesson Performance Center 629 Competitor that he's posted on Social Media #กราดยิงโคราช" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  2. "แฉจ่าคลั่งชอบเล่นปืน ลากเอชเค-M60 ก่อเหตุ พร้อมกระสุนกว่า 700 นัด". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2020-02-08.
  3. @CalibreObscura (8 February 2020). "Some reports indicate that he may have stolen an M60 MG (!) (Looks like an M60E3 to me) and a vehicle too, but unsure if the former was used. Footage didn't appear that it was to me" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  4. 4.0 4.1 4.2 "สลด ยอดเสียชีวิตพุ่ง 30 ราย เหตุกราดยิงโคราช (16.15 น.)". กรุงเทพธุรกิจ. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "Thai soldier goes on shooting rampage, killing at least 17 people". Al Jazeera. 8 February 2020.
  6. 6.0 6.1 "กราดยิงโคราช: นายทหารชั้นประทวนยิงผู้บังคับบัญชา แล้วโพสต์สดกราดยิงไม่เลือกหน้า เชื่อยังซ่อนอยู่ในห้างเทอร์มินอล 21 ห้างโคราช ยอดตาย-เจ็บจำนวนมาก". บีบีซีไทย. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. 7.0 7.1 "20 killed as soldier opens fire in Korat". Bangkok Post. 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
  8. 8.0 8.1 ตำรวจวิสามัญฆาตกรรม "จักรพันธ์ ถมมา" จ่าคลั่ง กราดยิงประชาชนดับคาห้าง ไทยรัฐ. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563.
  9. Lalit, Sakchai; Vejpongsa, Tassanee (9 February 2020). "Thai army sergeant who killed at least 26 shot dead in mall, officials say". USA Today. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
  10. 10.0 10.1 "เปิดประวัติ "จักรพันธ์ ถมมา" ฆ่าไปโพสต์ไป แม่นปืน สุดเจ็บแค้น พาแม่มากล่อม". ไทยรัฐ. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. "เมีย พ.อ. เปิดใจ "นายหน้า" เป็นต้นเหตุพา "จ่า" เที่ยวนักร้อง ผลาญเงิน 5 หมื่นทำคลั่ง (คลิป)". อมรินทร์ทีวี. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. "เพื่อนจ่าโหดเผยปมคลั่ง เงินส่วนแบ่งซื้อบ้านหาย 4 แสน ไม่ใช่ 5 หมื่น (คลิป)". อมรินทร์ทีวี. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. 13.0 13.1 "ย้อนไทม์ไลน์สะเทือนขวัญ จ.ส.อ.คลั่ง กราดยิงประชาชนไม่เลือก ทั่วเมืองโคราช". ช่อง 7. 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
  14. "แฉปม จ.ส.อ.คลั่ง ส่วนต่างค่าที่ "ล่องหน"". คมชัดลึก. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. 15.0 15.1 "คนใกล้ชิดมือกราดยิงโคราช แจงปมทำไมเลือกก่อเหตุ วัดป่าศรัทธารวม-ห้างเทอร์มินอล 21". ช่อง 3. 12 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  16. "ลำดับเหตุช็อกคนไทยทั้งประเทศ เหตุกราดยิงทั่วนครราชสีมา". สำนักข่าวไทย. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. "พระลูกวัดป่าศรัทธารวม-แม่ชียังผวา! เล่านาทีระทึกจ่าคลั่งกราดยิง". ไทยโพสต์. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  18. "คาด "จักรพันธ์ ถมมา" ทหารคลั่ง จับตัวประกันในห้าง 16 คน". ไทยรัฐ. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  19. "เปิดภาพ พ่อ-ลูกชายเคียงบ่าเคียงไหล่ ระงับเหตุกราดยิงโคราช". เนชั่นสุดสัปดาห์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  20. "สื่อนอกประโคมข่าว #กราดยิงโคราช - ยืนยันเฟซบุ๊กลบบัญชีมือปืนแล้ว". สนุก.คอม. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  21. ""เฟซบุ๊ก" ตอบรับ "ดีอีเอส" นำภาพ-คลิป กราดยิงโคราชออกจากระบบ". สปริงนิวส์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  22. 22.0 22.1 "วันที่กระแสสังคม สวนทางกับเรตติ้ง". ทีวีดิจิตอลวอตช์. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  23. "ฟาดแหลกสื่อไลฟ์เก่ง "กสทช." ง้างดาบฟัน "สื่อมวลชน" ปฏิบัติไม่เหมาะสมรายงานเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช". นิว 18. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  24. "ทำไมต้องรีบวิเคราะห์กราดยิงโคราช!? จิตแพทย์ดังกระตุกสังคมไทย". สยามรัฐออนไลน์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  25. "ถอดบทเรียน "โคราชวิปโยค" ในห้วงการเมืองร้อน : สะท้านกองทัพ สะเทือนรัฐบาล". ไทยรัฐ. 16 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  26. "ส.ส.โคราช เพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตความล่าช้าระงับกราดยิง". พีพีทีวี. 13 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  27. "กราดยิงโคราช : ผบ.ทบ. ปาดน้ำตา อย่าด่ากองทัพบก-ทหาร "ให้ด่า พล.อ.อภิรัชต์" แต่ไม่ลาออก". บีบีซีไทย. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  28. กุลธิดา สามะพุทธิ (15 กุมภาพันธ์ 2563). "กราดยิงโคราช : ความสูญเสียจากเหตุกราดยิง นำมาสู่การตรวจสอบธุรกิจในค่ายทหาร". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)