ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ''' ({{lang-nl|Universiteit Twente หรือย่อเป็น '''UT'''}}) เป็นมหาวิ...
 
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST)
* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST)
* คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์และการสำรวจโลก (ITC)
* คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์และการสำรวจโลก (ITC)

== การวิจัย ==
นอกจากคณะต่างๆแล้ว มหาวิทยาลัยยังเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยและศูนย์วิจัยต่างๆได้แก่ สถาบันนาโนเทคโนโลยี MESA+ ศูนย์เทคโนโลยีการแพทย์ TechMed สถาบันสังคมดิจิตอล ศูนย์ศึกษาปรัชญาของเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์ยุโรปศึกษา ศูนย์ศึกษานโยบายการศึกษาขั้นสูง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการให้บริการสาธารณสุข ศูนย์วิจัยการผลิตและการพัฒนาแบบบูรณาการ สถาบันเพื่อองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการ ศูนย์ศึกษานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์น้ำทเว็นเตอ ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางจริยธรรมและเทคโนโลยี 4TU

=== การศึกษา ===
มหาวิทยาลัยทเว็นเต มีหลักสูตรมากมาย ตั้งแต่การบริหารธุรกิจ จิตวิทยา ฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวแพทย์ โดยในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์จะเน้นนาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีกระบวนการ เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และวิทยาการชีวเวช

มหาวิทยาลัยยังมีชื่อเสียงในด้านการบ่มเพาะนวัตกรรม ปัจจุบัน มีบริษัทที่มีจุดเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย (spin-off) แล้วกว่า 1,000 แห่ง นับว่าสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆในเนเธอร์แลนด์<ref>{{Cite web|url=https://www.utwente.nl/en/news/!/2017/3/281012/kennispark-twente-becomes-novel-t|title=News {{!}} Kennispark Twente becomes Novel-T {{!}} University of Twente - Enschede|website=Universiteit Twente|language=en|access-date=2018-02-18}}</ref><ref>{{Cite web|url=https://novelt.com/en/founders|title=Founders Novel-T|website=Novel T|language=en-US|access-date=2018-02-18}}</ref>

== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
[[เซส ลิงก์ส]] ผู้คิดค้นและพัฒนาไวไฟ

[[ยาป ฮาร์ทเซน]] ผู้คิดค้นและพัฒนาบลูทูธ


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
บรรทัด 33: บรรทัด 46:


<br />
<br />
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:13, 10 เมษายน 2563

มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ (ดัตช์: Universiteit Twente หรือย่อเป็น UT) เป็นมหาวิทยาลัยเทคนิคของรัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองเอ็นสเคอเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีนักศึกษา 11,136 คน และบุคลากรอีก 3,150 คน (ปี ค.ศ. 2019)[1]

มักได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกอยู่เสมอ เช่น อันดับ 184 จากไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันในปี ค.ศ. 2019 [2] มักได้รับการขนานนามว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการสร้างนวัตกรรมสูง

ประวัติ

มหาวิทยาลัยทเว็นเตอก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1961 ในชื่อ วิทยาลัยเทคนิคทเว็นเตอ (Technische Hogeschool Twente หรือย่อเป็น THT)[3] เป็นสถาบันเทคนิคแห่งที่สามของประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟิน ภายใน เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยทเว็นเตอในปี ค.ศ. 1986 อันเป็นผลจากพระราชบัญญัติการศึกษาดัตช์ปี ค.ศ. 1984

สภาพผู้แทนราษฎรของเนเธอร์แลนด์ตัดสินใจตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในท้องที่ของเอ็นสเคอเด อันเป็นเมืองหลักของภูมิภาคทเว็นเตอเนื่องจากในสมัยนั้นเป็นภูมิภาคที่มีการทำอุตสาหกรรมหลากหลาย โดยเฉพาะสิ่งทอ โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม และเคมี นอกจากนี้ รัฐบาลยังหวังให้การตั้งมหาวิทยาลัยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มซบเซาลงไป

วิทยาเขต

มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ ตั้งอยู่ในที่ดินชนบทที่เรียกว่าดรีเนโลโดยอยู่ระหว่างเฮงเงโลและเอ็นสเคอเด ในขณะนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาลเอ็นสเคอเด เป็นเพียงที่รกร้างมีป่าไม้ ทุ่งหญ้า และบ่อน้ำ สถาปนิกสองคนคือ ฟานไทเดินและฟานเอ็มบ์เดิน เริ่มออกแบบพื้นที่ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตในตัวเองให้นักเรียนและบุคลากรอยู่อาศัย ทำงาน และทำกิจกรรมร่วมกันได้ในภายในวิทยาเขตคล้ายระบบอเมริกัน[4] ในปัจจุบันเป็นเพียงมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในเนเธอร์แลนด์ที่มีระบบวิทยาเขตแบบนี้ โดยมีสหภาพนักศึกษาเป็นผู้ผลักดันการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย[5]

องค์กร

การบริหาร

ปัจจุบัน อธิการบดีของมหาวิทยาลัยคือ ธอม พัลสตรา ส่วนประธานคณะกรรมการบริหารคือ ฟิกตอร์ ฟันเดร์ไคส์ และรองประธานคือมิร์ยาม เบาลท์-สเปียริง[6]

คณะ

มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ มี 5 คณะด้วยกัน ได้แก่

  • คณะพฤติกรรมศาสตร์ การจัดการ และสังคมศาสตร์ (BMS)
  • คณะเทคโนโลยีวิศวกรรม (ET)
  • คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (EEMCS)
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST)
  • คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์และการสำรวจโลก (ITC)

การวิจัย

นอกจากคณะต่างๆแล้ว มหาวิทยาลัยยังเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยและศูนย์วิจัยต่างๆได้แก่ สถาบันนาโนเทคโนโลยี MESA+ ศูนย์เทคโนโลยีการแพทย์ TechMed สถาบันสังคมดิจิตอล ศูนย์ศึกษาปรัชญาของเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์ยุโรปศึกษา ศูนย์ศึกษานโยบายการศึกษาขั้นสูง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการให้บริการสาธารณสุข ศูนย์วิจัยการผลิตและการพัฒนาแบบบูรณาการ สถาบันเพื่อองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการ ศูนย์ศึกษานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์น้ำทเว็นเตอ ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางจริยธรรมและเทคโนโลยี 4TU

การศึกษา

มหาวิทยาลัยทเว็นเต มีหลักสูตรมากมาย ตั้งแต่การบริหารธุรกิจ จิตวิทยา ฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวแพทย์ โดยในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์จะเน้นนาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีกระบวนการ เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และวิทยาการชีวเวช

มหาวิทยาลัยยังมีชื่อเสียงในด้านการบ่มเพาะนวัตกรรม ปัจจุบัน มีบริษัทที่มีจุดเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย (spin-off) แล้วกว่า 1,000 แห่ง นับว่าสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆในเนเธอร์แลนด์[7][8]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

เซส ลิงก์ส ผู้คิดค้นและพัฒนาไวไฟ

ยาป ฮาร์ทเซน ผู้คิดค้นและพัฒนาบลูทูธ

อ้างอิง

  1. "Facts and Figures from 201o". สืบค้นเมื่อ 13 August 2019.
  2. Editorial, Reuters. "Top 100 European Innovative Universities Profile". U.S. (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
  3. "History of the University of Twente". สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  4. "Life at the University | Campus Life | MSc University of Twente". Universiteit Twente. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  5. "The Student Union". สืบค้นเมื่อ 2 December 2016.
  6. "Members of the Executive Board". สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  7. "News | Kennispark Twente becomes Novel-T | University of Twente - Enschede". Universiteit Twente (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-02-18.
  8. "Founders Novel-T". Novel T (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-18.

แหล่งข้อมูลอื่น