ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทพระเทพบิดร"

พิกัด: 13°45′06″N 100°29′34″E / 13.751646°N 100.492791°E / 13.751646; 100.492791
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
[[ไฟล์:บูรพ.jpg|150px|left|thumb|พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร]]
[[ไฟล์:บูรพ.jpg|150px|left|thumb|พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร]]


ในปี [[พ.ศ. 2446|พ.ศ. 2446]] ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น '''ปราสาทพระเทพบิดร''' [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูป[[ราชวงศ์จักรี|พระบูรพกษัตริย์]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ทั้ง 5 องค์มาไว้<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/116.PDF พระราชพิธี เชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาไลยมหาปราสาท ประดิษฐาน ยังปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธศักราช 2461], เล่ม 35, ตอน ง, 21 เมษายน พ.ศ. 2461, หน้า 116 </ref> ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็น[[วันจักรี]] ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2461|พ.ศ. 2461]] เป็นต้นมา จากนั้นในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ยังพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับ[[วันฉัตรมงคล]]<ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_06/2011_06_04/s47_04062011.pdf หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีฉัตรมงคล พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> วันที่ 13-15 เมษายน เนื่องในวันสงกรานต์<ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_04/2011_04_04/S29_04042011/S29_04042011.pdf หมายกำหนดการพระราชพิธีสงกรานต์ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> หรือพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ในบางปี หรือทุกปี เช่น วันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 <ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_10/2011_10_21/S121_21102011.pdf หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ 8 แล้ว
ในปี [[พ.ศ. 2446|พ.ศ. 2446]] ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น '''ปราสาทพระเทพบิดร''' [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูป[[ราชวงศ์จักรี|พระบูรพกษัตริย์]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ทั้ง 5 องค์มาไว้<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/116.PDF พระราชพิธี เชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาไลยมหาปราสาท ประดิษฐาน ยังปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธศักราช 2461], เล่ม 35, ตอน ง, 21 เมษายน พ.ศ. 2461, หน้า 116 </ref> ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็น[[วันจักรี]] ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2461|พ.ศ. 2461]] เป็นต้นมา จากนั้นในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ยังพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับ[[วันฉัตรมงคล]]<ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_06/2011_06_04/s47_04062011.pdf หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีฉัตรมงคล พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> วันที่ 13-15 เมษายน เนื่องในวันสงกรานต์<ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_04/2011_04_04/S29_04042011/S29_04042011.pdf หมายกำหนดการพระราชพิธีสงกรานต์ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> หรือพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ในบางปี หรือทุกปี เช่น วันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 <ref> สำนักพระราชวัง, [http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/2011/2011_10/2011_10_21/S121_21102011.pdf หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๕๕๔]</ref> ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ 9 แล้ว


วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯให้เททองหล่อพระบรมรูป [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เพื่อประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดรสืบไปพร้อมกับการเททองหล่อ [[พระคันธารราษฎร์]]
วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯให้เททองหล่อพระบรมรูป [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เพื่อประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดรสืบไปพร้อมกับการเททองหล่อ [[พระคันธารราษฎร์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:56, 7 เมษายน 2563

ปราสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
สถานะปราสาทที่ประดิษฐานรูปเคารพของสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราช
ที่ตั้ง
ที่ตั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย

ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์มีนภศูล และมงกุฎอยู่บนยอด ประดับกระเบื้องเคลือบ องค์เดียวในประเทศไทย

ประวัติ

ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2398 เดิมชื่อว่า พุทธปรางค์ปราสาท เมื่อแรกนั้นมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ แต่เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานดังพระราชดำริ

พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร

ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น ปราสาทพระเทพบิดร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบูรพกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 5 องค์มาไว้[1] ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็นวันจักรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา จากนั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคล[2] วันที่ 13-15 เมษายน เนื่องในวันสงกรานต์[3] หรือพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ในบางปี หรือทุกปี เช่น วันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 [4] ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ 9 แล้ว

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เททองหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดรสืบไปพร้อมกับการเททองหล่อ พระคันธารราษฎร์

วันจันทร์ ที่ 6 เมษายน  2563 เวลา  20.39  น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ไปถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช  ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และปราสาทพระเทพบิดร พระบรมมหาราชวัง

ในโอกาสนี้ ทรงประกอบพิธีประดิษฐาน และสมโภชพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ณ ปราสาทพระเทพบิดร พระบรมมหาราชวัง

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่ที่หน้าธรรมาสน์ศิลา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล พระสงฆ์ 10 รูปเจริญพระพุทธมนต์

เสร็จแล้ว เสด็จออกจากพระอุโบสถ ฯ ไปทรงประกอบพิธีประดิษฐาน และสมโภชพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ณ ปราสาทพระเทพบิดร

ในการนี้ ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมพระสุพรรณบัฏจารึกคำถวายราชสดุดี และดวงพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แล้วทรงบรรจุพระสุพรรณบัฏจารึกคำถวายราชสดุดี และดวงพระบรมราชสมภพ ที่ฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงคล้องพวงมาลัยที่ฐานพระบรมรูป พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์

เสร็จแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงกราบถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เสร็จแล้ว เสด็จออกจากปราสาทพระเทพบิดร ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงกราบที่เครื่องนมัสการหน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

สัตว์หิมพานต์

กินนร (ซ้าย) และ อัปสรสีห์ (ขวา)

บนฐานไพทีด้านหน้า และรอบๆ ปราสาทพระเทพบิดรจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ ซึ่งหล่อในสมัยรัชกาลที่ 5 สร้างเป็นคู่ ตัวผู้ตัวเมีย รวม 7 คู่ ดังนี้

  1. อสูรวายุภักษ์ ท่อนบนเป็นยักษ์สวมมงกุฎ ท่อนล่างเป็นนก สองมือกุมกะบองเกลียว ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  2. อัปสรสีห์ ท่อนบนเป็นนางอัปสร ท่อนล่างเป็นราชสีห์ ยืนพนมมือ ตั้งอยู่เชิงบันไดกลางลานด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร
  3. สิงหพานร ท่อนบนเป็นพระยาวานร ท่อนล่างเป็นราชสีห์ สองมือถือกระบอง ตั้งอยู่ที่บันไดลานทักษิณด้านตะวันตก
  4. กินนร และ กินรี ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มือหนึ่งแตะบั้นเอว มือหนึ่งยกระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  5. เทพปักษี เป็นเทวดา มีปีกและหางเป็นนก มือข้างหนึ่งถือพระขรรค์ อีกข้างหนึ่งจีบระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  6. เทพนรสิงห์ ท่อนบนเป็นเทวดา ท่อนล่างเป็นราชสีห์ มือหนึ่งแตะบั้นเอว อีกมือหนึ่งถือกิ่งไม้ชูระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  7. อสูรปักษี ท่อนบนเป็นยักษ์ สวมมงกุฎ ท่อนล่างเป็นนก มือหนึ่งแตะบั้นเอว อีกมือหนึ่งผายออกด้านข้าง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′06″N 100°29′34″E / 13.751646°N 100.492791°E / 13.751646; 100.492791