ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงแรมนรก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45: บรรทัด 45:


==เรื่องย่อ==
==เรื่องย่อ==
โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดที่ชื่อว่า '''''โรงแรมสวรรค์''''' ที่มีลุงและหลานสองคนดูแลกิจการร่วมกัน ฝ่ายหลานชายนั้นนักแสวงโชคที่หวังจะหาเงินเล็กๆน้อยๆเข้ากระเป๋าจากการรับพนันงัดข้อกับ '''น้อย''' ([[ประจวบ ฤกษ์ยามดี]]) หลานชายคนดูแลกิจการโรงแรมที่อ้างว่าเป็นนักเลงงัดข้อแชมเปี้ยนโลก นอกจากเป็นบริกรของโรงแรมแล้ว ห้องพักเพียงห้องเดียวของโรงแรมแห่งนี้ถูกจับจอง โดยชายหนุ่มที่ชื่อว่า '''ชนะ''' ([[ชนะ ศรีอุบล]]) ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยว่า เขาเลือกแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้ด้วยจุดประสงค์อันใด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ เจ้าของห้องพักเพียงห้องเดียวในโรงแรมผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมแปลกๆของแขกมากหน้าหลายตา ที่มาเยือน
โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดที่ชื่อว่า '''''โรงแรมสวรรค์''''' ที่มีลุงและหลานสองคนดูแลกิจการร่วมกัน ฝ่ายหลานชายนั้นนักแสวงโชคที่หวังจะหาเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ากระเป๋าจากการรับพนันงัดข้อกับ '''น้อย''' ([[ประจวบ ฤกษ์ยามดี]]) หลานชายคนดูแลกิจการโรงแรมที่อ้างว่าเป็นนักเลงงัดข้อแชมเปี้ยนโลก นอกจากเป็นบริกรของโรงแรมแล้ว ห้องพักเพียงห้องเดียวของโรงแรมแห่งนี้ถูกจับจอง โดยชายหนุ่มที่ชื่อว่า '''ชนะ''' ([[ชนะ ศรีอุบล]]) ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยว่า เขาเลือกแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้ด้วยจุดประสงค์อันใด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ เจ้าของห้องพักเพียงห้องเดียวในโรงแรมผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมแปลก ๆ ของแขกมากหน้าหลายตา ที่มาเยือน
แต่อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับสภาพอันวุ่นวายโกลาหลภายในโรงแรม ซึ่งมีคนพลุกพล่านและส่งเสียงอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นพวกนักดนตรีที่มาขออาศัยห้องโถงของโรงแรมฝึกซ้อมเพลง, '''ศาสตราจารย์สมพงษ์''' ([[สมพงษ์ พงษ์มิตร]]) พูดถึงวงการศิลปินเมืองไทยในเชิงเหยียดหยาม แต่ตัวเขากลับเบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเหล้าที่ติดค้างโรงแรมเป็นเวลานาน-ก็ดูเหมือนจะเป็นการเหน็บแนมบรรดาคนหัวสูงที่เห็นของนอกดีกว่าของไทย หรือในช่วงถัดมา โรงแรมสวรรค์ของน้อยก็ได้ต้อนรับชายหญิงคู่หนึ่งที่ล่ามโซ่ตัวเองไว้ที่ข้อมือ ฝ่ายหญิงบอกว่าเธอชื่อ '''ยุพดี''' ([[ชูศรี โรจนประดิษฐ์]]) เพิ่งแต่งงานกับสามีที่ชื่อ '''หม่องส่าง''' และสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ ก็เพราะพ่อของฝ่ายชายกลัวเธอจะหนีไปมีชู้
แต่อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับสภาพอันวุ่นวายโกลาหลภายในโรงแรม ซึ่งมีคนพลุกพล่านและส่งเสียงอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นพวกนักดนตรีที่มาขออาศัยห้องโถงของโรงแรมฝึกซ้อมเพลง, '''ศาสตราจารย์สมพงษ์''' ([[สมพงษ์ พงษ์มิตร]]) พูดถึงวงการศิลปินเมืองไทยในเชิงเหยียดหยาม แต่ตัวเขากลับเบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเหล้าที่ติดค้างโรงแรมเป็นเวลานาน-ก็ดูเหมือนจะเป็นการเหน็บแนมบรรดาคนหัวสูงที่เห็นของนอกดีกว่าของไทย หรือในช่วงถัดมา โรงแรมสวรรค์ของน้อยก็ได้ต้อนรับชายหญิงคู่หนึ่งที่ล่ามโซ่ตัวเองไว้ที่ข้อมือ ฝ่ายหญิงบอกว่าเธอชื่อ '''ยุพดี''' ([[ชูศรี โรจนประดิษฐ์]]) เพิ่งแต่งงานกับสามีที่ชื่อ '''หม่องส่าง''' และสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ ก็เพราะพ่อของฝ่ายชายกลัวเธอจะหนีไปมีชู้


'''เรียม''' ([[ศรินทิพย์ ศิริวรรณ]]) สาวลึกลับที่บอกว่ามี อายุ 65 ปี มีลูก 12 คน อาชีพค้าฝิ่นเถือน เป็นม่าย ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับชนะอย่างโจ่งแจ้งแต่ต้องกลับกลายมาเป็นคู่รักกันในยามคับขัน เมื่อชนะไม่ยินยอมให้ตัวเองตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และอาศัยความเหนือกว่าด้านพละกำลังบังคับให้ฝ่ายหลังต้องใช้เก้าอี้ยาวในห้องโถงเป็นเตียงนอน คนหนึ่งเถรตรงและแข็งกระด้าง ส่วนอีกคนเอาแต่ใจ และชอบอาศัยความเป็นผู้หญิงหว่านล้อมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือยั่วโทสะให้อีกฝ่ายโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความขัดแย้งของคนทั้งสองก็เป็นแค่เรื่อง '' “พ่อแง่แม่งอน” ''
'''เรียม''' ([[ศรินทิพย์ ศิริวรรณ]]) สาวลึกลับที่บอกว่ามี อายุ 65 ปี มีลูก 12 คน อาชีพค้าฝิ่นเถือน เป็นม่าย ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับชนะอย่างโจ่งแจ้งแต่ต้องกลับกลายมาเป็นคู่รักกันในยามคับขัน เมื่อชนะไม่ยินยอมให้ตัวเองตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และอาศัยความเหนือกว่าด้านพละกำลังบังคับให้ฝ่ายหลังต้องใช้เก้าอี้ยาวในห้องโถงเป็นเตียงนอน คนหนึ่งเถรตรงและแข็งกระด้าง ส่วนอีกคนเอาแต่ใจ และชอบอาศัยความเป็นผู้หญิงหว่านล้อมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือยั่วโทสะให้อีกฝ่ายโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความขัดแย้งของคนทั้งสองก็เป็นแค่เรื่อง ''“พ่อแง่แม่งอน” ''


ภายหลังการมาถึงของแขกไม่ได้รับเชิญสามคน คือ '''เสือสิทธิ์''' ([[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]]) ซึ่งเป็นหัวโจก สมุนคนรอง ชื่อว่า '''ไกร''' ([[ไกร ภูตโยธิน]]) และคนสุดท้าย '''เชียร''' ([[วิเชียร ภู่โชติ]]) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย เขาแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน 6 แสนบาทที่จะนำไปแจกจ่ายให้คนงาน แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคุมมา เงื่อนไขที่ทำให้เรื่องยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นไปอีกก็คือ เสือสิทธิ์กับพวกไม่ใช่กลุ่มเดียวที่หวังจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน แต่ยังมี '''เสือดิน''' ([[ทัต เอกทัต]]) จอมโจรที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมทารุณอีกคนที่ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน และปริศนาทั้งหมดถูกคลี่คลายโดยตำรวจที่มาเยือนในท้ายเรื่อง
ภายหลังการมาถึงของแขกไม่ได้รับเชิญสามคน คือ '''เสือสิทธิ์''' ([[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]]) ซึ่งเป็นหัวโจก สมุนคนรอง ชื่อว่า '''ไกร''' ([[ไกร ภูตโยธิน]]) และคนสุดท้าย '''เชียร''' ([[วิเชียร ภู่โชติ]]) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย เขาแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน 6 แสนบาทที่จะนำไปแจกจ่ายให้คนงาน แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคุมมา เงื่อนไขที่ทำให้เรื่องยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นไปอีกก็คือ เสือสิทธิ์กับพวกไม่ใช่กลุ่มเดียวที่หวังจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน แต่ยังมี '''เสือดิน''' ([[ทัต เอกทัต]]) จอมโจรที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมทารุณอีกคนที่ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน และปริศนาทั้งหมดถูกคลี่คลายโดยตำรวจที่มาเยือนในท้ายเรื่อง
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
ภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก ภาพยนตร์ที่[[รัตน์ เปสตันยี]] รับหน้าที่กำกับและเขียนบทเองเพื่อทดลองว่าการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ขาวดำนั้นมีการลงทุนที่ต่ำกว่าหนังที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี อีกทั้งยังสามารถล้างและพิมพ์ฟิล์มได้ภายในประเทศไม่จำเป็นต้องส่งไปยังแล็ปในต่างประเทศ เป็นเสมือนการเชิญชวนให้คนทำหนังในเวลานั้นหันมาสนใจสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 35 มม. กันมากขึ้นเพื่อช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศ โรงแรมนรก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ล้ำหน้ามากในปี [[พ.ศ. 2500]] และจนถึง พ.ศ.นี้
ภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก ภาพยนตร์ที่[[รัตน์ เปสตันยี]] รับหน้าที่กำกับและเขียนบทเองเพื่อทดลองว่าการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ขาวดำนั้นมีการลงทุนที่ต่ำกว่าหนังที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี อีกทั้งยังสามารถล้างและพิมพ์ฟิล์มได้ภายในประเทศไม่จำเป็นต้องส่งไปยังแล็ปในต่างประเทศ เป็นเสมือนการเชิญชวนให้คนทำหนังในเวลานั้นหันมาสนใจสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 35 มม. กันมากขึ้นเพื่อช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศ โรงแรมนรก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ล้ำหน้ามากในปี [[พ.ศ. 2500]] และจนถึง พ.ศ.นี้


โรงแรมนรก เป็นผลงานกำกับการแสดงเรื่องที่สองของ [[รัตน์ เปสตันยี]] ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง [[ตุ๊กตาจ๋า]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]] ซึ่งเป็นหนังในระบบ 16 มิลลิเมตร และเป็นเรื่องที่ห้าของการเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังในตำแหน่งต่างๆกัน ตรวจสอบจากเครดิตงานสร้างแล้วก็จะพบว่า ความแตกต่างของรัตน์ เปสตันยีจากคนในวงการหนังรุ่นราวคราวเดียวกันก็คือ เขาไม่ได้เติบโตมาจากแวดวงละครเวที แต่เริ่มต้นจากงานด้านกำกับภาพ ผลงานในการถ่ายภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ล้วนแล้วเป็นหนังเรื่องสำคัญทั้งสิ้น อันได้แก่ [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์)|พันท้ายนรสิงห์]] , [[สันติ-วีณา]] และ [[ชั่วฟ้าดินสลาย]] ทั้งสามเรื่อง เป็นงานกำกับการแสดงของ[[ครูมารุต]]
โรงแรมนรก เป็นผลงานกำกับการแสดงเรื่องที่สองของ [[รัตน์ เปสตันยี]] ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง [[ตุ๊กตาจ๋า]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]] ซึ่งเป็นหนังในระบบ 16 มิลลิเมตร และเป็นเรื่องที่ห้าของการเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังในตำแหน่งต่าง ๆ กัน ตรวจสอบจากเครดิตงานสร้างแล้วก็จะพบว่า ความแตกต่างของรัตน์ เปสตันยีจากคนในวงการหนังรุ่นราวคราวเดียวกันก็คือ เขาไม่ได้เติบโตมาจากแวดวงละครเวที แต่เริ่มต้นจากงานด้านกำกับภาพ ผลงานในการถ่ายภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ล้วนแล้วเป็นหนังเรื่องสำคัญทั้งสิ้น อันได้แก่ [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์)|พันท้ายนรสิงห์]], [[สันติ-วีณา]] และ [[ชั่วฟ้าดินสลาย]] ทั้งสามเรื่อง เป็นงานกำกับการแสดงของ[[ครูมารุต]]


จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่การวางโครงเรื่องที่แยบยล ว่าเรื่องเกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องเพียงข้ามคืน และเกิดอยู่ภายในสถานที่ฉากเดียว โรงแรมนรกสามารถสร้างความสนุกอย่างไม่คาดคิดและดึงความสนใจของผู้ชมได้ตลอดประกอบด้วยการแสดงที่โดดเด่นของนักแสดงนำ ซึ่งดูกลมกลืนและลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ ทั้งที่เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่ฉากเดียวเท่านั้น
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่การวางโครงเรื่องที่แยบยล ว่าเรื่องเกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องเพียงข้ามคืน และเกิดอยู่ภายในสถานที่ฉากเดียว โรงแรมนรกสามารถสร้างความสนุกอย่างไม่คาดคิดและดึงความสนใจของผู้ชมได้ตลอดประกอบด้วยการแสดงที่โดดเด่นของนักแสดงนำ ซึ่งดูกลมกลืนและลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ ทั้งที่เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่ฉากเดียวเท่านั้น


หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง ''[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]'' หรือแม้แต่ ''[[ชั่วฟ้าดินสลาย]]'' ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น
หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง ''[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]'' หรือแม้แต่ ''[[ชั่วฟ้าดินสลาย]]'' ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น


ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจาก[[นวนิยาย]]ที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว
ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจาก[[นวนิยาย]]ที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว
บรรทัด 88: บรรทัด 88:
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502]] พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ [[สวนลุมพินี]] เมื่อวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2502]] ซึ่งได้รับรางวัล 3 สาขา ได้แก่
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502]] พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ [[สวนลุมพินี]] เมื่อวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2502]] ซึ่งได้รับรางวัล 3 สาขา ได้แก่


* สาขา '''[[ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม]]''' (รัตน์ เปสตันยี)
* สาขา '''[[ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม]]''' (รัตน์ เปสตันยี)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|บันทึกเสียงยอดเยี่ยม]]''' (ปง อัศวินิกุล)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|บันทึกเสียงยอดเยี่ยม]]''' (ปง อัศวินิกุล)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|ถ่ายภาพยอดเยี่ยม]]''' ประเภทฟิล์ม 35 ม.ม. (ประสาท สุขุม)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|ถ่ายภาพยอดเยี่ยม]]''' ประเภทฟิล์ม 35 ม.ม. (ประสาท สุขุม)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:42, 28 มีนาคม 2563

โรงแรมนรก
ไฟล์:โรงแรมนรก (2500).jpg
กำกับรัตน์ เปสตันยี
เขียนบทรัตน์ เปสตันยี
อำนวยการสร้างรัตน์ เปสตันยี
นักแสดงนำชนะ ศรีอุบล
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
ประจวบ ฤกษ์ยามดี
ถนอม อัครเศรณี
ฑัต เอกฑัต
ไกร ภูติโยธิน
วิเชียร ภู่โชติ
สมพงษ์ พงษ์มิตร
ชูศรี โรจนประดิษฐ์
ภัคพงษ์ รังควร
กำกับภาพประสาท สุขุม
ตัดต่อรัตน์ เปสตันยี
ดนตรีประกอบปรีชา เมตไตรย์
ผู้จัดจำหน่ายหนุมานภาพยนตร์
วันฉาย21 กันยายน พ.ศ. 2500
ความยาว138 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน
ไฟล์:Somphong Country Hotel.jpg
สมพงษ์ รับบทศาสตราจารย์ที่เข้ามาซ้อมร้องเพลงโอเปร่าในโรงแรม
ไฟล์:Chusri Country Hotel.jpg
ชูศรี รับบทคู่รักที่ล่ามโซ่ข้อมือติดกัน ล้อเลียนเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้าของรัตน์ ที่กำกับโดย มารุต
ไฟล์:Sarinthip-Chana Country Hotel.jpg
ฉากพ่อแง่-แม่งอน ของเรียมกับชนะ

โรงแรมนรก เป็นภาพยนตร์ไทยขาวดำ ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2500 แนวโรแมนติกดราม่า เขียนบท อำนวยการสร้าง กำกับการแสดง และตัดต่อโดย รัตน์ เปสตันยี ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 ม.ม. บันทึกเสียงในฟิล์ม ด้วยเสียงจริงของนักแสดง ในขณะที่ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ในขณะนั้นนิยมถ่ายด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. ใช้เสียงนักพากย์

ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องชุลมุนในโรงแรมสวรรค์ ที่มีแขกเข้าพักมาสร้างเรื่องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชายหนุ่มขี้หงุดหงิด หญิงสาวประหลาดที่มีบุคลิกลึกลับ คนดูแลกิจการโรงแรมแชมป์งัดข้อโลก และแก๊งค์เสือที่มาดักปล้นเงิน[1]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502 ในสาขาผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประเภท 35 ม.ม. (ประสาท สุขุม) และบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ปง อัศวินิกุล)

ต้นฉบับฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้สูญหายไปจากประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้รับมอบฟิล์มภาพยนตร์ที่สร้างในระหว่างปี พ.ศ. 2498-2512 จากห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเก็บรักษาในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จำนวนประมาณ 20 เรื่อง อาทิ ชั่วฟ้าดินสลาย (2498), โรงแรมนรก (2500), สวรรค์มืด (2501), แพรดำ (2504), เงิน เงิน เงิน (2508), อีแตน (2511), เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2511)

ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจากนวนิยายที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว

หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย หรือแม้แต่ ชั่วฟ้าดินสลาย ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น

เรื่องย่อ

โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดที่ชื่อว่า โรงแรมสวรรค์ ที่มีลุงและหลานสองคนดูแลกิจการร่วมกัน ฝ่ายหลานชายนั้นนักแสวงโชคที่หวังจะหาเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ากระเป๋าจากการรับพนันงัดข้อกับ น้อย (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) หลานชายคนดูแลกิจการโรงแรมที่อ้างว่าเป็นนักเลงงัดข้อแชมเปี้ยนโลก นอกจากเป็นบริกรของโรงแรมแล้ว ห้องพักเพียงห้องเดียวของโรงแรมแห่งนี้ถูกจับจอง โดยชายหนุ่มที่ชื่อว่า ชนะ (ชนะ ศรีอุบล) ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยว่า เขาเลือกแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้ด้วยจุดประสงค์อันใด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ เจ้าของห้องพักเพียงห้องเดียวในโรงแรมผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมแปลก ๆ ของแขกมากหน้าหลายตา ที่มาเยือน

แต่อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับสภาพอันวุ่นวายโกลาหลภายในโรงแรม ซึ่งมีคนพลุกพล่านและส่งเสียงอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นพวกนักดนตรีที่มาขออาศัยห้องโถงของโรงแรมฝึกซ้อมเพลง, ศาสตราจารย์สมพงษ์ (สมพงษ์ พงษ์มิตร) พูดถึงวงการศิลปินเมืองไทยในเชิงเหยียดหยาม แต่ตัวเขากลับเบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเหล้าที่ติดค้างโรงแรมเป็นเวลานาน-ก็ดูเหมือนจะเป็นการเหน็บแนมบรรดาคนหัวสูงที่เห็นของนอกดีกว่าของไทย หรือในช่วงถัดมา โรงแรมสวรรค์ของน้อยก็ได้ต้อนรับชายหญิงคู่หนึ่งที่ล่ามโซ่ตัวเองไว้ที่ข้อมือ ฝ่ายหญิงบอกว่าเธอชื่อ ยุพดี (ชูศรี โรจนประดิษฐ์) เพิ่งแต่งงานกับสามีที่ชื่อ หม่องส่าง และสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ ก็เพราะพ่อของฝ่ายชายกลัวเธอจะหนีไปมีชู้

เรียม (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) สาวลึกลับที่บอกว่ามี อายุ 65 ปี มีลูก 12 คน อาชีพค้าฝิ่นเถือน เป็นม่าย ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับชนะอย่างโจ่งแจ้งแต่ต้องกลับกลายมาเป็นคู่รักกันในยามคับขัน เมื่อชนะไม่ยินยอมให้ตัวเองตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และอาศัยความเหนือกว่าด้านพละกำลังบังคับให้ฝ่ายหลังต้องใช้เก้าอี้ยาวในห้องโถงเป็นเตียงนอน คนหนึ่งเถรตรงและแข็งกระด้าง ส่วนอีกคนเอาแต่ใจ และชอบอาศัยความเป็นผู้หญิงหว่านล้อมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือยั่วโทสะให้อีกฝ่ายโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความขัดแย้งของคนทั้งสองก็เป็นแค่เรื่อง “พ่อแง่แม่งอน”

ภายหลังการมาถึงของแขกไม่ได้รับเชิญสามคน คือ เสือสิทธิ์ (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์) ซึ่งเป็นหัวโจก สมุนคนรอง ชื่อว่า ไกร (ไกร ภูตโยธิน) และคนสุดท้าย เชียร (วิเชียร ภู่โชติ) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย เขาแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน 6 แสนบาทที่จะนำไปแจกจ่ายให้คนงาน แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคุมมา เงื่อนไขที่ทำให้เรื่องยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นไปอีกก็คือ เสือสิทธิ์กับพวกไม่ใช่กลุ่มเดียวที่หวังจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน แต่ยังมี เสือดิน (ทัต เอกทัต) จอมโจรที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมทารุณอีกคนที่ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน และปริศนาทั้งหมดถูกคลี่คลายโดยตำรวจที่มาเยือนในท้ายเรื่อง

นักแสดง

ทีมงานสร้าง

  • อำนวยการสร้าง : รัตน์ เปสตันยี
  • กำกับการแสดง : รัตน์ เปสตันยี
  • บทภาพยนตร์ : รัตน์ เปสตันยี
  • กำกับศิลป์ : สวัสดิ์ แก่สำราญ
  • ลำดับภาพ : รัตน์ เปสตันยี
  • บันทึกเสียง : ปง อัศวินิกุล
  • ดนตรีประกอบ : ปรีชาเมตไตรย์

งานสร้างภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก ภาพยนตร์ที่รัตน์ เปสตันยี รับหน้าที่กำกับและเขียนบทเองเพื่อทดลองว่าการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ขาวดำนั้นมีการลงทุนที่ต่ำกว่าหนังที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี อีกทั้งยังสามารถล้างและพิมพ์ฟิล์มได้ภายในประเทศไม่จำเป็นต้องส่งไปยังแล็ปในต่างประเทศ เป็นเสมือนการเชิญชวนให้คนทำหนังในเวลานั้นหันมาสนใจสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 35 มม. กันมากขึ้นเพื่อช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศ โรงแรมนรก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ล้ำหน้ามากในปี พ.ศ. 2500 และจนถึง พ.ศ.นี้

โรงแรมนรก เป็นผลงานกำกับการแสดงเรื่องที่สองของ รัตน์ เปสตันยี ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง ตุ๊กตาจ๋า เมื่อปี พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นหนังในระบบ 16 มิลลิเมตร และเป็นเรื่องที่ห้าของการเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังในตำแหน่งต่าง ๆ กัน ตรวจสอบจากเครดิตงานสร้างแล้วก็จะพบว่า ความแตกต่างของรัตน์ เปสตันยีจากคนในวงการหนังรุ่นราวคราวเดียวกันก็คือ เขาไม่ได้เติบโตมาจากแวดวงละครเวที แต่เริ่มต้นจากงานด้านกำกับภาพ ผลงานในการถ่ายภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ล้วนแล้วเป็นหนังเรื่องสำคัญทั้งสิ้น อันได้แก่ พันท้ายนรสิงห์, สันติ-วีณา และ ชั่วฟ้าดินสลาย ทั้งสามเรื่อง เป็นงานกำกับการแสดงของครูมารุต

จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่การวางโครงเรื่องที่แยบยล ว่าเรื่องเกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องเพียงข้ามคืน และเกิดอยู่ภายในสถานที่ฉากเดียว โรงแรมนรกสามารถสร้างความสนุกอย่างไม่คาดคิดและดึงความสนใจของผู้ชมได้ตลอดประกอบด้วยการแสดงที่โดดเด่นของนักแสดงนำ ซึ่งดูกลมกลืนและลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ ทั้งที่เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่ฉากเดียวเท่านั้น

หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย หรือแม้แต่ ชั่วฟ้าดินสลาย ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น

ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจากนวนิยายที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว

รางวัล

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502 พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งได้รับรางวัล 3 สาขา ได้แก่

ดีวีดี

ภาพยนตร์ โรงแรมนรก ได้นำทำเป็นดีวีดีออกจำหน่าย โดยมี มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดีวีดีเรื่องนี้มีราคา 250 บาท ในระบบเสียงและมีสีขาวดำ มีความยาวของภาพยนตร์อยู่ 148 นาที ดีวีดีเรื่องนี้ถือว่าเป็น หนังไม่ดี สีไม่ทา ดูแล้วไม่ชื่นใจ และ เรื่องราวการชิงไหวชิงพริบ ความสนุกสนาน และความรักเกิดขึ้นภายในบริเวณห้องโถงของ "โรงแรมสวรรค์" ตัวละครได้ขนานนามโรงแรมแห่งนี้ว่า"โรงแรมนรก" แทนชื่อโรงแรมสวรรค์ อยากรู้เห็นจะต้องพิสูจน์ด้วยตาของทุกท่านเอง

ดีวีดีเรื่องนี้ได้ออกจัดจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีเรื่องที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับ ในปัจจุบัน ดีวีดีเรื่องนี้จะสามารถสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ของ มูลนิธิหนังไทย [2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น