ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธชินสีห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nantadej (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


==ตำนานการสร้าง==
==ตำนานการสร้าง==
การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อปี [[พ.ศ. 1500]] พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ [[พระพุทธชินราช]] [[พระพุทธชินสีห์]] และ[[พระศรีศาสดา]] โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพรพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อปี [[พ.ศ. 1500]] พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ [[พระพุทธชินราช]] [[พระพุทธชินสีห์]] และ[[พระศรีศาสดา]] โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา


==ความสำคัญ==
==ความสำคัญ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:27, 27 ธันวาคม 2550

พระพุทธชินสีห์
ชื่อเต็มพระพุทธชินสีห์
ชื่อสามัญพระพุทธชินสีห์
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย
วัสดุสำริด ปิดทอง
สถานที่ประดิษฐานวัดบวรนิเวศวิหาร
ความสำคัญผงจากองค์พระใช้เป็นมวลสารทำพระสมเด็จจิตรลดา
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2372

ตำนานการสร้าง

การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 1500 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

ความสำคัญ

พระพุทธชินสีห์ แต่เดิมประดิษฐานไว้มุขหลังของพระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่เป็นจตุรมุข ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยเมื่อยังทรงผนวช และครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก ได้โปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อ พ.ศ. 2393 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2397 ได้โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้มีการสมโภช 5 วัน

อ้างอิง