ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Kinkku Ananas/ทดลองเขียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
เคนเนธ แอร์โรว์ เกิดวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1921 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แอร์โรว์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่[[ซิตีคอลเลจออฟนิวยอร์ก]]ในปี 1940 โดยได้เลือกศึกษาด้านสังคมศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลังจากนั้น เขาได้เข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่[[มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย]] โดยตั้งใจศึกษาด้าน[[คณิตสถิติศาสตร์]] และได้รับปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ในปี 1941 ระหว่างศึกษาที่โคลัมเบียนี้เอง แอร์โรว์ได้มีโอกาสได้เรียน[[คณิตเศรษฐศาสตร์]]กับ[[แฮโรลด์ โฮเทลลิง]] และแอร์โรว์ได้ย้ายไปศึกษาต่อในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ตามการสนับสนุนของโฮเทลลิงและภาควิชาเศรษฐศาสตร์{{r|Lives of the Laureates}}
เคนเนธ แอร์โรว์ เกิดวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1921 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แอร์โรว์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่[[ซิตีคอลเลจออฟนิวยอร์ก]]ในปี 1940 โดยได้เลือกศึกษาด้านสังคมศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลังจากนั้น เขาได้เข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่[[มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย]] โดยตั้งใจศึกษาด้าน[[คณิตสถิติศาสตร์]] และได้รับปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ในปี 1941 ระหว่างศึกษาที่โคลัมเบียนี้เอง แอร์โรว์ได้มีโอกาสได้เรียน[[คณิตเศรษฐศาสตร์]]กับ[[แฮโรลด์ โฮเทลลิง]] และแอร์โรว์ได้ย้ายไปศึกษาต่อในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ตามการสนับสนุนของโฮเทลลิงและภาควิชาเศรษฐศาสตร์{{r|Lives of the Laureates}}


ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] แอร์โรว์ได้พักการศึกษาเพื่อทำหน้าที่นายทหารด้านอุตุนิยมวิทยาให้กับ[[กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ]]ระหว่างปี 1942 ถึง 1946 โดยได้รับยศสูงสุดเป็นร้อยเอก หลังสงคราม แอร์โรว์ได้กลับมาศึกษาที่โคลัมเบีย พร้อมกับการทำงานที่[[มหาวิทยาลัยชิคาโก]]และ[[แรนด์คอร์เปอเรชัน]]
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] แอร์โรว์ได้พักการศึกษาเพื่อทำหน้าที่นายทหารด้านอุตุนิยมวิทยาให้กับ[[กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ]]ระหว่างปี 1942 ถึง 1946 โดยได้รับยศสูงสุดเป็นร้อยเอก หลังสงคราม แอร์โรว์ได้กลับมาศึกษาที่โคลัมเบีย พร้อมกับการทำงานที่[[มหาวิทยาลัยชิคาโก]]และ[[แรนด์คอร์เปอเรชัน]] แอร์โรว์ได้รับปริญญาเอกจากโคลัมเบียในปี 1951 จากผลงานวิทยานิพนธ์ ''Social choice and individual values'' (การเลือกของสังคมกับการให้คุณค่าของปัจเจก)

== ผลงานสำคัญ ==

=== ทฤษฎีการเลือกของสังคม ===

=== ทฤษฎีสมดุลแบบทั่วไป ===


{{รายการอ้างอิง|refs=
{{รายการอ้างอิง|refs=

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 03:35, 25 มีนาคม 2563

Alt Sandbox - Library


อุปสงค์และอุปทาน[แก้]

ที่มาทางทฤษฎีของอุปสงค์และอุปทาน[แก้]

ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ฟังก์ชันอุปสงค์และฟังก์ชันอุปทานมีที่มาจากการหาค่าเหมาะที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยผู้บริโภคเลือกปริมาณสินค้าเพื่อให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุดภายใต้ราคาสินค้าและงบประมาณที่กำหนด ในขณะที่ผู้ผลิตเลือกปริมาณการผลิตเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ภายใต้ราคาที่กำหนด

ทฤษฎีผู้บริโภค[แก้]

ในตัวอย่างแบบจำลองอย่างง่าย สมมติว่ามีสินค้าสองชนิด เรียกว่าสินค้าชนิดที่ 1 และสินค้าชนิดที่ 2 (แบบจำลองสามารถเขียนออกมาได้ในรูปแบบที่มีจำนวนสินค้าเป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ก็ได้) กำหนดให้ หมายถึงเป็นปริมาณสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ผู้บริโภคสามารถจัดลำดับความพึงพอใจที่มีต่อปริมาณการบริโภคแต่ละรูปแบบได้ โดยสมมติว่าความพึงพอใจนี้แสดงออกมาได้ในรูปของค่าฟังก์ชันอรรถประโยชน์

ให้ และ เป็นราคาสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ โดยราคาทั้งสองเป็นจำนวนจริงบวกและผู้บริโภคไม่สามารถส่งผลเปลี่ยนแปลงราคานี้ได้ด้วยตนเอง ผู้บริโภคมีงบประมาณคงที่เท่ากับ ปัญหาการหาค่าอรรถประโยชน์สูงสุดคือการที่ผู้บริโภคเลือกปริมาณ เพื่อให้ได้ค่าอรรถประโยชน์ สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดว่า ราคาสินค้าทั้งหมดที่ซื้อไม่เกินงบประมาณที่มี หรือ คำตอบ (อาร์กิวเมนต์) ของปัญหานี้ สามารถเขียนออกมาได้รูป และ ซึ่งก็คือฟังก์ชันอุปสงค์ของสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ อุปสงค์ในลักษณะที่เป็นคำตอบของปัญหาการหาค่าอรรถประโยชน์สูงสุดนี้เรียกว่าเป็นอุปสงค์แบบปรกติ หรือบางครั้งเรียกว่าอุปสงค์แบบมาร์แชล (ตามชื่อของอัลเฟรด มาร์แชล) หรืออุปสงค์แบบวาลรัส (ตามชื่อของเลอง วาลรัส)[1]: 50-51 [2]: 21 

ให้ และ หมายถึงราคาสินค้าชนิดที่ 1 ที่แตกต่างกัน กฎของอุปสงค์ที่ระบุว่า ปริมาณอุปสงค์มีความสัมพันธ์สวนทางกันกับราคาของสินค้านั้นๆ สามารถเขียนออกมาได้สำหรับสินค้าชนิดที่ 1 ได้ดังนี้[3]

หรือถ้า สามารถหาอนุพันธ์ได้ กฎของอุปสงค์ก็สามารถเขียนได้ในรูปของอนุพันธ์ว่า

ทฤษฎีผู้ผลิต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mas-Colell, Andreu; Whinston, Michael D.; Green, Jerry R. (1995). Microeconomic theory. Oxford University Press. ISBN 0-19-510268-1.
  2. Jehle, Geoffrey A.; Rehny, Philip J. (2011). Advanced microeconomic theory (3 ed.). Harlow: Financial Times Prentice Hall. ISBN 978-0-273-73191-7.
  3. Jerison, Michael; Quah, John K.-H. (2008). "Law of demand". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_2413-1. ISBN 978-1-349-95121-5.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OpenStax 3.1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OpenStax 3.2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OpenStax 5.1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Core 8.2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Core L7.8.1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม[แก้]

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (อังกฤษ: behavioral economics) เป็นการศึกษาปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ด้วยสมมติฐานเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ที่มีความสมจริงทางจิตวิทยากว่าข้อสมมติมาตรฐานในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมจริงของมนุษย์และแบบจำลองมาตรฐานในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และศึกษาว่าความแตกต่างเหล่านี้มีผลอย่างไรในบริบททางเศรษฐศาสตร์บ้าง

นิยาม[แก้]

สาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมักใช้หมายถึงการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ข้อสมมติทางพฤติกรรมที่มีความสมจริงในทางจิตวิทยามากกว่าข้อสมมติในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก เพื่อให้สามารถอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ได้ดีขึ้น[1][2]

หัวข้อการศึกษา[แก้]

การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน[แก้]

การตัดสินใจแบบมีจุดอ้างอิง[แก้]

การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเวลา[แก้]

ความพอใจเชิงสังคม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Simon, Herbert A. (1987). "Behavioural economics". The new Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_413-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  2. Camerer, Colin F.; Loewenstein, George (2003). "Behavioral economics: Past, present, future". ใน Camerer, Colin F.; Loewenstein, George; Rabin, Matthew (บ.ก.). Advances in behavioral economics. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-11681-5.

เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก[แก้]

เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (อังกฤษ: neoclassical economics)

นิยาม[แก้]

คำเรียกแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบ "นีโอคลาสสิก" ถูกใช้ครั้งแรกโดยทอร์สไตน์ เวเบล็น ในปี 1900 โดยใช้เรียกแนวคิดเศรษฐศาสตร์ของอัลเฟรด มาร์แชล[1] คำว่า "นีโอคลาสสิก" อ้างอิงถึงสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิก ซึ่งหมายถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในลักษณะของเดวิด ริคาร์โดและอดัม สมิธ[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aspromourgos, Tony (1987). "'Neoclassical'". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_723-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  2. Colander, David; Holt, Richard; Rosser, Barkley Jr (2004). "The changing face of mainstream economics". Review of Political Economy. 16 (4): 485–499. doi:10.1080/0953825042000256702.
  3. Lawson, Tony (2013). "What is this 'school' called neoclassical economics?". Cambridge Journal of Economics. 37 (5): 947–983. doi:10.1093/cje/bet027.

ภาษาฝรั่งเศส[แก้]

ภาษาฝรั่งเศส (le français เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: lə fʁɑ̃se) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ประวัติ[แก้]

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ซึ่งหมายถึงภาษาที่มีที่มาจากภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศสวิวัฒนาการมาจากภาษาละตินที่ใช้พูดกันในเขตกอลตอนเหนือ (เทียบได้กับประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือและประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่ชาวโรมันจะเข้ามาปกครองดินแดนกอล ชนชาติที่อาศัยในบริเวณนี้ใช้ภาษากลุ่มเคลต์ที่เรียกว่าภาษากอล หลังจากที่จักรวรรดิโรมันยึดครองดินแดนกอลได้สำเร็จ 52 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของชาวโรมันก็เป็นภาษาที่ใช้การการปกครอง ภาษาละตินในกอลได้รับอิทธิพลในด้านคำศัพท์จากภาษากอล

เคนเนธ แอร์โรว์[แก้]

เคนเนธ โจเซฟ แอร์โรว์ (อังกฤษ: Kenneth Joseph Arrow; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1921 – 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1972 ร่วมกับจอห์น ฮิคส์

ในแวดวงเศรษฐศาสตร์ เขาได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญสำหรับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ยุคนีโอคลาสสิกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้สร้างลูกศิษย์หลายคนจนต่างได้รับรางวัลโนเบลเองด้วย แอร์โรว์ได้สร้างผลกระทบต่อวิชาการเศรษฐศาสตร์อย่างมหาศาล เป็นนักเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิบัติที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา

ผลงานที่โดดเด่นที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการสร้างทฤษฎีทางเลือกของสังคม (social choice theory) ที่สำคัญคือ ทฤษฎีความเป็นไปไม่ได้ของแอร์โรว์ (Arrow's impossibility theorem) และผลงานในการวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไป (general equilibrium)

การศึกษา[แก้]

เคนเนธ แอร์โรว์ เกิดวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1921 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แอร์โรว์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ซิตีคอลเลจออฟนิวยอร์กในปี 1940 โดยได้เลือกศึกษาด้านสังคมศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลังจากนั้น เขาได้เข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยตั้งใจศึกษาด้านคณิตสถิติศาสตร์ และได้รับปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ในปี 1941 ระหว่างศึกษาที่โคลัมเบียนี้เอง แอร์โรว์ได้มีโอกาสได้เรียนคณิตเศรษฐศาสตร์กับแฮโรลด์ โฮเทลลิง และแอร์โรว์ได้ย้ายไปศึกษาต่อในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ตามการสนับสนุนของโฮเทลลิงและภาควิชาเศรษฐศาสตร์[1]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แอร์โรว์ได้พักการศึกษาเพื่อทำหน้าที่นายทหารด้านอุตุนิยมวิทยาให้กับกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐระหว่างปี 1942 ถึง 1946 โดยได้รับยศสูงสุดเป็นร้อยเอก หลังสงคราม แอร์โรว์ได้กลับมาศึกษาที่โคลัมเบีย พร้อมกับการทำงานที่มหาวิทยาลัยชิคาโกและแรนด์คอร์เปอเรชัน แอร์โรว์ได้รับปริญญาเอกจากโคลัมเบียในปี 1951 จากผลงานวิทยานิพนธ์ Social choice and individual values (การเลือกของสังคมกับการให้คุณค่าของปัจเจก)

ผลงานสำคัญ[แก้]

ทฤษฎีการเลือกของสังคม[แก้]

ทฤษฎีสมดุลแบบทั่วไป[แก้]

  1. Arrow, Kenneth J. (2009) [1986]. "Kenneth J. Arrow". ใน Breit, William; Hirsch, Barry T. (บ.ก.). Lives of the laureates: Twenty-three Nobel economists (5 ed.). MIT Press. ISBN 978-0-262-01276-8.