ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พงส์ สารสิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
<!----------อื่นๆ---------->
<!----------อื่นๆ---------->
| spouse = คุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์
| spouse = คุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์
| signature = ลายเซ็นพงส์ สารสิน.png
}}
}}
'''นายพงส์ สารสิน''' (เกิด [[16 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2470]]) อดีตรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น]] 2 สมัย และ อดีตเลขาธิการ[[พรรคกิจสังคม]]
'''นายพงส์ สารสิน''' (เกิด [[16 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2470]]) อดีตรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น]] 2 สมัย และ อดีตเลขาธิการ[[พรรคกิจสังคม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:38, 25 มีนาคม 2563

พงส์ สารสิน
ไฟล์:พงส์ สารสิน.jpg
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 (96 ปี)
พรรคการเมืองพรรคกิจสังคม (2518 - 2534)
คู่สมรสคุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นพงส์ สารสิน.png

นายพงส์ สารสิน (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) อดีตรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 2 สมัย และ อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม

ประวัติ

นายพงส์ สารสิน (ชื่อเดิม : พงส์สิริ) เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[1] เป็นบุตรชายคนโตของนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของไทย กับ ท่านผู้หญิงสิริ สารสิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยบอสตัน[2] สมรสกับคุณหญิงมาลินี วรรณพฤกษ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นางพาสินี ลิ่มอติบูลย์ นางวัลลิยา สารสิน และ นายพรวุฒิ สารสิน

การทำงาน

พงส์เริ่มทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาลาออก และทำงานที่กรมประมวลข่าว ช่วงกลางปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2500 จึงลาออกมาอยู่บริษัทไทยน้ำทิพย์เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ

งานการเมือง

พงส์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2516 ต่อมาได้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อตั้งพรรคกิจสังคม และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ใน พ.ศ. 2527

พงส์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 2 สมัย[3]

พงส์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] และพ้นจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พงส์ สารสิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พงส์ สารสิน บนเส้นทางธุรกิจการเมือง
  2. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐) เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๑
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ หน้า ๑