ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านหวั่งหลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


==ประวัติ==
==ประวัติ==
บ้านหวั่งหลีนี้ เดิมเป็นโรงเรียนเด็กกำพร้า [[พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น)]] ต้นตระกูลพิศาลบุตร ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแลบ้านหลังนี้ จึงได้ทำการบูรณะตัวบ้านใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เพราะลูกหลานของตระกูลต่างแยกย้ายกันออกไปหาที่อยู่อาศัยข้างนอกกันหมด บ้านหลังนี้จึงเปิดใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีสำคัญของตระกูลเท่านั้น ซึ่งมีเพียงปีละ 2-3 ครั้ง และได้รับรางวัล[[อาคารอนุรักษ์]]ดีเด่น จาก[[สมาคมสถาปนิกสยาม]] ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ [[พ.ศ. 2527]]
บ้านหวั่งหลีนี้ เดิมเป็นท่าเรือเก่า [[พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น)]] ต้นตระกูลพิศาลบุตร ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแลบ้านหลังนี้ จึงได้ทำการบูรณะตัวบ้านใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เพราะลูกหลานของตระกูลต่างแยกย้ายกันออกไปหาที่อยู่อาศัยข้างนอกกันหมด บ้านหลังนี้จึงเปิดใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีสำคัญของตระกูลเท่านั้น ซึ่งมีเพียงปีละ 2-3 ครั้ง และได้รับรางวัล[[อาคารอนุรักษ์]]ดีเด่น จาก[[สมาคมสถาปนิกสยาม]] ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ [[พ.ศ. 2527]]


==สถาปัตยกรรม==
==สถาปัตยกรรม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:26, 16 มีนาคม 2563

บ้านหวั่งหลี
บ้านหวั่งหลี

บ้านหวั่งหลี เป็นบ้านประจำตระกูลหวั่งหลี มีอายุกว่า 130 ปี ตั้งอยู่สุดถนนเชียงใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

บ้านหวั่งหลีนี้ เดิมเป็นท่าเรือเก่า พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูลพิศาลบุตร ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแลบ้านหลังนี้ จึงได้ทำการบูรณะตัวบ้านใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เพราะลูกหลานของตระกูลต่างแยกย้ายกันออกไปหาที่อยู่อาศัยข้างนอกกันหมด บ้านหลังนี้จึงเปิดใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีสำคัญของตระกูลเท่านั้น ซึ่งมีเพียงปีละ 2-3 ครั้ง และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2527

สถาปัตยกรรม

ลักษณะอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีน หันหน้าออกมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และมีลานโล่งกว้างบริเวณหน้าบ้าน ซึ่งตอนนี้ถูกปรับให้เป็นสวนขนาดย่อมช่วยเพิ่มความสวยงามสบายตาจากเดิมที่เคยเป็นเพียงแค่ลานปูนเท่านั้น สิ่งก่อสร้างภายในประกอบด้วยอาคารสำคัญสามหลัง ตึกตรงกลางเป็นเรือนประธาน ซึ่งหันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า "ศาลเจ้าแม่หมาโจ้ว" มีตึกแถวสองชั้น เพดานสูง หลังคาแบบจีน สร้างขนาบสองด้าน ตรงกลางระหว่างอาคารเป็นลานโล่ง ใช้ประกอบพิธีกรรมของตระกูลหวั่งหลี ในวันสำคัญตามประเพณีจีน

ดูเพิ่ม