ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอแจ้ห่ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เพิ่มคำ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
| image_map = Amphoe 5206.svg
| image_map = Amphoe 5206.svg
| coordinates = {{Coord|18|42|46|N|99|33|27|E|type:admin2nd_region:TH}}
| coordinates = {{Coord|18|42|46|N|99|33|27|E|type:admin2nd_region:TH}}
| คำขวัญ = พญาลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง<br/>เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี
| คำขวัญ = พญาคำลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง<br/>เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี
| capital = ที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้ห่ม-ลำปาง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52120
| capital = ที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้ห่ม-ลำปาง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52120
| phone = 0 5427 1216-7, 0 5427 1471-2
| phone = 0 5427 1216-7, 0 5427 1471-2
| fax = 0 5427 1216-7, 0 5436 9211
| fax = 0 5427 1216-7, 0 5436 9211
}}
}}
'''แจ้ห่ม''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:Lanna-Cha Hom.png|50px]]}}) เป็นหนึ่งใน 13 [[อำเภอ]]ของ[[จังหวัดลำปาง]] และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสาม ของจังหวัดลำปาง รองจาก[[อำเภองาว]]และ[[อำเภอเถิน]]
'''แจ้ห่ม''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:Lanna-Cha Hom.png|50px]]}}) เป็นหนึ่งใน 13 [[อำเภอ]]ของ[[จังหวัดลำปาง]] และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสาม ของจังหวัดลำปาง รองจาก[[อำเภองาว]]และ[[อำเภอเถิน]]


== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:29, 13 มีนาคม 2563

อำเภอแจ้ห่ม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chae Hom
คำขวัญ: 
พญาคำลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง
เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแจ้ห่ม
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแจ้ห่ม
พิกัด: 18°42′46″N 99°33′27″E / 18.71278°N 99.55750°E / 18.71278; 99.55750
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,349.1 ตร.กม. (520.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด39,155 คน
 • ความหนาแน่น29.02 คน/ตร.กม. (75.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52120
รหัสภูมิศาสตร์5206
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้ห่ม-ลำปาง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แจ้ห่ม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสาม ของจังหวัดลำปาง รองจากอำเภองาวและอำเภอเถิน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอแจ้ห่มตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ประวัติอำเภอแจ้ห่ม ตามตำนานพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าในราวพ.ศ. 1801 สมัยพระยางำเมืองได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติแว่นแคว้นพะเยานครซึ่งในประวัติศาสตร์อำเภอแจ้ห่มได้กล่าวว่าในปีนั้นได้ส่งพญาคำแดงผู้ราชบุตรมาครองเมืองแจ้ห่มในฐานะพระยุพราชพญาคำแดงผู้ราชบุตรได้ครองเมืองพะเยาเป็นอันดับที่ 13 ของราชวงศ์พะเยา และส่งพญาคำลือผู้ราชบุตรให้มาครองเมืองแจ้ห่ม ในฐานะพระยุพราชเช่นเดียวกันจากการตรวจสอบทั้งด้านภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ เอกสารตำนานและนิทานพื้นบ้านต่างๆ อาจสรุปได้ถึงลักษณะเมืองแจ้ห่มโบราณว่า ในพื้นที่ดังกล่าว น่าจะมีเมืองลัวะที่สร้างขึ้นบนดอยเตี้ยๆใกล้บ้านสบมอญซึ่งมีคูคัน-ดินแบบอาศัยธรรมชาติเป็นรูปทรงของเมืองหลังจากที่เมืองถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าไปแล้ว ได้เกิดการสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัยพ่อขุนจอมธรรมและมีสถานะภาพเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองอุปราชของเมืองพะเยา เพราะเมื่อกษัตริย์ที่เมืองพะเยาสวรรคตแล้ว เจ้าเมืองที่ได้มาครองเมืองแจ้ห่มทุกพระองค์จะต้องเสด็จไปครองราชย์ที่เมืองพะเยาเสมอ เมืองแจ้ห่มอาจล่มสลายไปครั้งหนึ่งเพราะเหตุอุทกภัย แล้วสร้างขึ้นใหม่ อยู่สืบต่อมาจนอาณาจักรล้านนา ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมืองแจ้ห่มก็น่าที่จะตกอยู่ในการปกครองของพม่าด้วย ดังปรากฏร่องรอยของสถาปัตยกรรมแบบพม่าขึ้นหลายแห่งที่อำเภอแจ้ห่ม ภายหลังจากที่อาณาจักรล้านนาเป็นอิสระจากการปกครองของพม่า เมืองแจ้ห่มจึงกลับมาอยู่ในความปกครองของนครลำปาง เจ้านครลำปางได้ตั้งให้ญาติวงศ์มาประจำอยู่เมืองแจ้ห่ม คอยดูแลเก็บส่วยต่างๆส่งเข้าไปถวายเจ้าผู้ครองทุกปี เช่น ส่วยเหมี้ยง,ขี้ผึ้ง เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ประกาศใช้บังคับ ก็ได้มีการตั้งเมืองแจ้ห่ม เป็นอำเภอแจ้ห่ม และได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม หลังแรกขึ้น ณ สถานที่บ้านป่าแดด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า หนองม่วงขอ โดยมี นายเป้า (พระภูธรธุรรักษ์) เป็นนายอำเภอคนแรก สมัยนั้นชาวบ้านเรียก ที่ว่าการอำเภอว่า ศาลอำเภอ เรียกนายอำเภอว่า เจ้าอำเภอ ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาสร้างขึ้นใหม่ตำบลแจ้ห่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลแจ้ห่ม

ประวัติศาสตร์วินิจฉัยแจ้ห่ม เมือง 912 ปี (อ้างอิง พ.ศ. 2551)

โดย จิตรกร แต้มคล่อง การเขียนประวัติศาสตร์วินิจฉัยแจ้ห่ม เมือง 912 ปี ผู้เขียนร่วมกับนายรุ่งรพ ใจวงค์ษา (พระมหารุ่งรพ สิริปัญโย) ที่มีความถนัดด้านภาษาลานนา ได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต้นฉบับหลายเล่มเพื่อยืนยันข้อสงสัยบางประการร่วมสิบปี บางเอกสารมีข้อความที่ไม่ตรงกันทั้งชื่อบุคคล ชื่อเมือง การระบุวันเวลา ด้วยเวลาและพื้นที่ขนาดหนังสือนี้ที่มีอย่างจำกัด การเขียนเนื้อหาเพื่อให้ครบถ้วนและการอ้างอิงอาจผิดพลาดบ้าง แต่อย่างไรก็ตามบทความนี้หากมีคุณความดีต่อชาวแจ้ห่มประการใด ผู้เขียนขออุทิศให้กับผู้วายชนม์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อบุญทัน ถ้ำทอง 18 ธันวาคม 2551

บนหลวงหมายเลข 1035 ระหว่างทาง 52 กิโลเมตรแรก เป็นเส้นทางที่คดเคี้ยวสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นระยะ ๆ ของสันเขาผีปันน้ำ มีป่าไม้นานาพันธุ์ปกคลุมตลอดสองข้างทาง บางช่วงมีพืชไร่ พืชสวนของเกษตรกร ขณะเดินทางผ่านสันเขาเราจะมองเห็นที่ราบคล้ายแอ่งกระทะอยู่ข้างหน้า มีหมู่บ้านเรียงรายขึ้นไปทางทิศเหนือ

พื้นที่ดังกล่าวหนังสือลิลิตยวนพ่าย เขียนว่า แซ่ห่ม หนังสือพงศาวดารโยนก เขียนว่า แจ้หม จากชื่อดังกล่าวสรัสวดี อ๋องสกุล เขียนลงหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ว่า “แจ้” แปลว่า “เมือง” คำว่า “แซ่ห่ม”, แจ้หม, แจ้ห่ม เป็นคำเดียวกัน สอดคล้อง ดร.ระณี เลิศเลื่อมใส ที่เขียนลงหนังสือฟ้าขวัญเมือง ว่า แจ้ หมายถึง เชียง และอาจารย์ศักดิ์เสริญ รัตนชัย อธิบายว่า คำว่า เมืองเป็นชื่อเรียกที่เกิดขึ้นภายหลังคำว่า แจ้ ที่มีความหมายเดียวกันกับ “เจียงหรือเชียง” ดังนั้น แจ้ห่ม ย่อมเกิดก่อนเชียงใหม่ที่พ่อขุนเม็งรายก่อตั้งปี 1839

จากคำว่า แจ้ห่ม ย่อมหมายถึง เมืองห่ม ทั้งนี้คำว่า ห่ม หมายถึง การปกคลุม แสดงกิริยาหลบซุกอยู่ภายใน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการขุดค้นหลักฐานอย่างจริงจังเพื่อวินิจฉัยแสดงความเห็น แต่อย่างไรก็ตามยังพอมีเค้าลางที่สามารถบ่งบอกบางอย่าง ดังนี้

คนแจ้ห่มเป็นใคร?

คนแจ้ห่มเป็นใคร? ศูนย์มานุษยวิทยา กรุงเทพฯ ระบุว่ามีแหล่งชุมชนยุคประวัติศาสตร์ลำปางมี 3 แห่ง คือ 1) ชุมชนบ้านใหม่ผ้าขาว 2) ชุมชนอักโขชัยคีรี 3) ชุมชนบ้านสบมอญ จากชุมชนดังกล่าว ปัจจุบันพบหลักฐานที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น แหล่งชุมชนอักโขชัยคีรี (บ้านสวนดอกคำ) มีกำแพงดินเรียงรายเป็นหย่อม ๆ กลางทุ่งนา ผู้เขียนกับเพื่อนๆ ขณะเป็นเด็กเคยปีนขึ้นไปเล่นซ่อนแอบกันอย่างสนุก ส่วนด้านทิศใต้ของวัดพบคูน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่าห้วยม่วง และแหล่งชุมชนบ้านสบมอญ พบร่องน้ำบริเวณชายป่าบ้านทุ่งทอง ชาวบ้านเรียกว่า “คูลั๊วะ”

คำว่า ลั๊วะ ในเอกสารตำนานพื้นเมืองที่จารด้วยอักษรล้านนา เช่น ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ตำนานพุทธจารีต ตำนานพุทธจาริก ต่างระบุว่าแจ้ห่มเป็นแหล่งที่อยู่ของชาวลั๊วะ ผู้ปกครองเมืองคือพญาอาฬวี มีนิสัยโหดร้าย ต่อมาถูกพระพุทธเจ้าเทศนาสั่งสอนจนกลับใจ และได้ประทับรอยพระบาทไว้บนดอยพระบาท และบรรจุพระเกศาธาตุไว้ตามวัดต่าง ๆ ใน อ.แจ้ห่ม อ.เมืองปาน เช่น วัดดงนั่ง วัดทุ่งทอง วัดอักโขชัยคีรี เป็นต้น หลังจากเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์สาวกนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ทุกแห่ง

และจากตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทร์แดง ฉบับพงศาวดารโยนก ถอดความโดยพระมหารุ่งรพ สิริปัญโญ (รุ่งรพ ใจวงค์ษา) มีดังนี้ พระแก่นจันทร์แดงเป็นพระยืน มีแท่นสูง 6 นิ้ว ส่วนองค์พระสูง 22 นิ้ว วัดโดยรอบได้ 23 นิ้วครึ่ง หนังแปดพันน้ำ จากความในตำนานกล่าวว่าเป็นของโบราณเมืองสุวรรณภูมิ ภายหลังเมืองเกิดศึกสงคราม ราชบุตรเจ้าสุวรรณภูมิสองพี่น้องพากันหนีข้าศึก พระอนุชาชื่อว่าจันทรราชกุมารได้นำพระบรมธาตุมาไว้ที่ตำบลลำปาง แคว้นเขลางค์นคร พระเชษฐาชื่อว่าอาทิตยราชนำพระแก่นจันทร์แดงมาไว้ที่เมืองแจ้ตาก พระแก่นจันทร์อยู่ที่เมืองแจ้ตากประมาณ 300 ปีต่อมาเมืองแจ้ตากเกิดภัยพิบัติพระพุทธรักขิตะมหาเถระจึงได้ไปอัญเชิญมาไว้ที่เมืองแจ้หมปลายแม่น้ำวัง มีพระยาหลวงคำแดงเจ้าเมืองแจ้หมรับอุปัฏฐากไว้ ครั้นพระยาหลวงคำแดงถึงแก่อนิจกรรม พระยาคำลือที่เป็นสหายท้าวตาแหวนนายบ้านสบสอยเป็นผู้สืบครองเมือง ท้าวตาแหวนได้นำไม้แก่นจันทร์ที่มีค่าแสนคำ นำมาขอแลกเปลี่ยนพระแก่นจันทร์แดงเพื่อนำไปบูชา ณ ตำบลสบสอย

พระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์แดงอยู่ที่เมืองแจ้หมได้ 10 ปี จึงย้ายไปบ้านสบสอย 10 ปี พระสีโวหะเถระหรือพระสีวัตตะเถระพระมหาเถระเมืองแจ้ตากขออาราธนากลับไปไว้ตำบลบ้านพลูแขวงเมืองแจ้ตาก ที่อารามตำบลกิ่วหมิ่นนาน 73 ปี ต่อมาเมืองแจ้ตากเกิดศึกสงคราม ปู่เมาจึงไปอาราธนามาไว้ที่วัดหนองบัวแขวงเมืองพะเยาได้ 30 ปี ขณะนั้นพระยาเชลียงที่มาสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกมหาราชและทรงมอบให้ครองเมืองพะเยา สร้างวัดดอนไชยขึ้นจึงได้อาราธนาพระแก่นจันทร์แดงมาประดิษฐานไว้ที่วิหารวัดดอนไชย กิตติศัพท์ทราบถึงพระเจ้าติโลกมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ จึงโปรดให้พระธรรมเสนามาอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดอโศการามนครเชียงใหม่15 ปี ครั้นถึงแผ่นดินพระยอดเชียงรายเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ หมื่นหน่อเทพครูเชื้อพระวงค์พระยาเชลียงอุทิศเจียงทูลขอกลับคืนไปไว้เมืองพะเยาดังเดิม และในสมัยพระเมืองแก้วเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้นำกลับไปไว้ ณ วัดศรีภูมิ และภายหลังย้ายมาประดิษฐานที่โบสถ์วัดโพธาราม เมื่อจุลศักราช 887 ปีระกา สัปตศกวันพุธ เดือน 7 ทุติยาสาฒ ขึ้น 9 ค่ำ

การถูกระบุว่าเป็นชาวลั๊วะหรือละว้า ยังสอดคล้องกับความสัมพันธ์กับพะเยา โดยมีหลักฐานชาติพันธุ์พ่อขุนจอมธรรมที่ระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงค์ลวะจักราชหรือราชวงค์ชาวลั๊วะแห่งเมืองหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) จ.ศ. 458 (พ.ศ. 1639) มีโอรสชื่อขุนเจืองธรรมิกราช ครองเมืองภูคามยาว (พะเยา) จ.ศ. 482 (พ.ศ. 1663) ดังความปรากฏในพงศาวดาร โยนกฉบับของพระยาประชากิจรจักร์ (หน้า 236) ว่า ลำดับนั้นขุนเจืองราชโอรสได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัตินครพะเยา ครั้นล่วงมาได้ 6 ปี มีศึกแกว (ญวนอานาม) มาติดเมืองหิรัญนครเงินยาง ขุนชิณพระเชษฐาขุนจอมธรรมผู้มีศักดิ์เป็นลุงขุนเจืองผู้ครองหิรัญนครเงินยางได้มีราชสาส์นให้หมื่นเจตรหรือพิจิตร เชิญมาถึงขุนเจือง ว่าบัดนี้ท้าวกาวและเองกายยกรี้พลมามากนัก ขอเชิญขุนเจืองหลานเรารีบยกกำลังมาช่วย…ขุนเจืองจึงให้เกณฑ์พลเมืองพะเยา และหัวเมืองขึ้นทั้งปวง คือ เมืองพร้าว เมืองลอ เมืองเทิง…แจ้หลวง แจ้เหียน แจ้ลุง แจ้หม เมืองวัง สิริรวมคนได้ 133,000 คน ช้างเครื่อง 700 ม้า 3,000 ยกทัพไปทางเมืองคัว เมืองเชียงตั้ง เชียงช้าง ไปถึงเมืองหิรัญนครเงินยาง...

จากข้อความที่ปรากฏในหนังสือลิลิตยวนพ่าย สอดคล้องกับพงศาวดารโยนก หน้า 340 กล่าวว่า จุลศักราช 836 (พ.ศ. 2017) ปีมะเมีย ฉศก หมื่นด้งผู้กินเมืองเชียงชื่นถึงแก่กรรม โปรดให้หมื่นแคว้นผู้กินเมืองแจ้หมไปกินเมืองเชียงชื่นแทน และให้หมื่นกองผู้กินเชียงเรือกมาครองเมืองนคร (เขลางค์นคร) และในปีเดียวกันนั้นพระยาหลวงศุภโขไทยยกพลศึกขึ้นมาตีปล้นเอาเมืองเชียงชื่นได้และได้ฆ่าหมื่นแคว้นตาย หลังจากนั้นชื่อเมืองแจ้หมไม่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอีกเลย ต่อมาประมาณต้นปี พ.ศ. 2400 เศษ คำว่า แจ้ห่ม จึงปรากฏขึ้นอีกครั้งในฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของลำปางโดยมีนายเป้า (พระภูธรารักษ์) เป็นนายอำเภอคนแรก (ราวปี พ.ศ. 2445 – 2447)

สรุป จากหลักฐานที่ระบุคำว่าแจ้ห่ม โดยนับจากปีพ.ศ. 1639 สมัยพ่อขุนจอมธรรมกษัตริย์พะเยา จนถึงปีปัจจุบัน พ.ศ. 2551 ระยะเวลาที่ผ่านมาชื่อแจ้ห่มก็ยังไม่เคยเรียกเป็นอย่างอื่น

เอกสารหลักเพื่อการเปรียบเทียบกับเอกสารอื่น

    1. พระมหารุ่งรพ สิริปัญโญ ถอดความจาก ธรรมพุทธจาริก (ตำนานดอยดงนั่ง เมืองอาฬวี) ผูกถ้วน 7 ฉบับวัดศรีหลวง
    2. พระยาประชากิจจักร์ พงศาวดารโยนก (ตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทร์)
    3. แสง โชติรัตน์ กาลมาลีปกรณ์ (ตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทร์)
    4. ลัลลนา ศิริเจริญ “ลิลิตยวนพ่าย” (ถอดความ)

เพลงประจำเมืองแจ้ห่ม

ถิ่นเหนือ ณ.แดนแจ้ห่ม ธรรมชาติชวนชม งามสุดสมคำอ้าง แนววนาป่าดงพงกว้าง แลเหลียวไปทุกทาง ทิวทัศน์หว่างภูผา เทือกเขา ลำเนาแมกไม้ ดารดาษดื่นไป มวลดอกไม้ในป่า ลมโชย กลิ่นโรยนาสา ธารน้ำเซาะซ่านซ่า เป็นสัญญาเพลงไพร ลำแม่มอญ ล่องลอย ร่วมแม่สอย เซาะตีนดอยหลั่งรินไหล ไหลลงแม่วัง เลียบฝั่งสองข้างวิไล วัดดอยม่อนอักโขชัย มิ่งขวัญใจของชาวแจ้ห่ม หนุ่มสาวก็งามเหลือเอ่ย ชวนพิศน่าชมเชย สุดเฉลยคำชม ปวงประชาก็น่านิยม งามเหลือแดนแจ้ห่ม ชมแล้วพาเพลินใจ

ประชากร

มีประชากร 13,483 ครัวเรือน จำนวน 42,410 คน แยกเป็นชาย 20,602 คน หญิง 20,808 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ย 35,724 บาท/คน/ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอแจ้ห่มแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. แจ้ห่ม Chaehom 10 3,129 8,459
2. บ้านสา Ban Sa 7 1,602 5,164
3. ปงดอน Pong Don 8 1,584 4,942
4. แม่สุก Mae Suk 11 2,278 7,279
5. เมืองมาย Mueang Mai 5 941 3,332
6. ทุ่งผึ้ง Thung Phueng 6 1,423 4,033
7. วิเชตนคร Wichet Nakhon 11 2,673 8,046

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอแจ้ห่มประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแจ้ห่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแจ้ห่ม
  • เทศบาลตำบลบ้านสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งผึ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจ้ห่ม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองมายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิเชตนครทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงดอนทั้งตำบล

สถานศึกษา

อำเภอแจ้ห่ม มีสถานศึกษาหลัก คือ

  • โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา เปิดสอนในระดับมัธยม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4
  • โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม
  • โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม (วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาเขตแจ้ห่ม)

ธนาคาร

บุคคลที่มีชื่อเสียง

สถานที่ท่องเที่ยว

เขื่อนกิ่วคอหมา
  • วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ (วัดดอยพระบาทปู่ผาแดง) มีถ้ำหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ดอยผาแดง รอยพระพุทธบาท และดอยปู่ยักษ์ เส้นทางใช้เส้นทางทางเข้าบ้านใหม่เหล่ายาว หมู่ที่ 8 ตำบลวิเชตนคร มีจุดชมวิวบนยอดดอยสูงสุดของดอยพระบาทที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองแจ้ห่มและเมืองปานได้อย่างชัดเจน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 815 เมตร
  • วัดอักโขชัยคีรี วัดเก่าแก่คู่อำเภอแจ้ห่ม ตั้งสง่าอยู่บนเขาติดถนน ลำปาง-แจ้ห่ม เมื่อเข้ามาที่วัดจะสามารถชมทัศนียภาพทั่วเมืองแจ้ห่ม มีพระนอน และอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาคำลือผู้ปกครองเมืองแจ้ห่มในอดีตให้เคารพสักการะ และยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเงาพระธาตุกลับหัวให้รับชม
  • หมู่บ้านสำเภาทอง หมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ติดแม่น้ำวัง เหนือเขื่อนกิ่วลม ถนนลำปาง-แจ้ห่ม กม.32 ตั้งอยู่บนพื้นที่ ต.บ้านสา สามารถเดินทางมาพักผ่อนที่โฮมสเตย์ ของชาวบ้าน เป็นท่าลงแพอีกฝั่งหนึ่งนอกเหนือจากสันเขื่อนกิ่วลม มีบริการล่องแพ ไปตามบริเวณอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ในฤดูหนาว จะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งมีบรรยากาศคล้ายๆ กับเมืองกุ้ยหลิน ประเทศจีน
  • เขื่อนกิ่วคอหมา เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำวัง สร้างเสร็จเมื่อปี 2551 เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่สามารถชมทัศนียภาพบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำได้
  • น้ำตกตาดหมอก เป็นน้ำตกธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ในพื้นที่บ้านนาไหม้ หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองมาย ระยะทางจากหมู่บ้านถึงน้ำตกประมาณ 12 กม. เส้นทางเข้าสู่น้ำตกลำบากมากในช่วงฤดูฝน เข้าไปเที่ยวชมได้ง่ายในฤดูแล้ง
  • น้ำตกตาดเหมย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท น้ำตกมีทั้งหมด 9 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน จะสวยงามมาก การเดินทางเข้าสู่น้ำตกตาดเหมยใช้เส้นทางจากบ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งผึ้ง-น้ำตกตาดเหมย ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ควรใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ บริเวณน้ำตกตาดเหมยเป็นที่ตั้งของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทที่ 3(น้ำตกตาดเหมย) มีพื้นสนามที่กว้างขวาง เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • วัดศรีหลวง เป็นวัดเก่าแก่ในตัวเมืองแจ้ห่ม มีพระพุทธรูปสำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวแจ้ห่ม
  • พิพิธภัณฑ์สถานศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอแจ้ห่ม เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติความเป็นมา และภูมิปัญญาของชาวแจ้ห่มตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้ได้รับชม ตั้งอยู่ในอาณาเขตของโรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

อ้างอิง

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย