ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)"

พิกัด: 12°40′47″N 101°00′18″E / 12.67972°N 101.00500°E / 12.67972; 101.00500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 104: บรรทัด 104:
== การคมนาคม ==
== การคมนาคม ==
=== รถยนต์ ===
=== รถยนต์ ===
ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้เส้นทาง [[ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง]] ([[มอเตอร์เวย์]]) , ถนนบางนา-ตราด หรือ ถนนเส้นทางยุทธศาสตร์ (331) ที่แยกตัดออกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ในช่วงที่ต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)
ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้[[ถนนสุขุมวิท]], [[ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย|ทางหลวงพิเศษ]][[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7|หมายเลข 7]], [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331|ถนนเส้นทางยุทธศาสตร์ (331)]] ที่แยกตัดออกมาจาก[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36]] ในช่วงที่ต่อกับมอเตอร์เวย์

=== รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ===
=== รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ===
{{บทความหลัก|รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน}}
{{บทความหลัก|รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน}}
เป็นเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีกลางบางซื่อ) - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา 1 ชั่วโมง 40 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เป็นเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีกลางบางซื่อ) - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา 1 ชั่วโมง 40 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2567


== อุปสรรคและการวิพากษ์วิจารณ์ ==
== อุปสรรคและการวิพากษ์วิจารณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:54, 8 มีนาคม 2563

12°40′47″N 101°00′18″E / 12.67972°N 101.00500°E / 12.67972; 101.00500

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง–พัทยา
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานเชิงพาณิชย์/สาธารณะ/เชิงทหาร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา ประเทศไทย
ฐานการบินไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พัทยาแอร์เวย์
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล13 เมตร / 42 ฟุต
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
18/36 3,505 11,500 ยางมะตอย
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2]
Airbus A380 ของสายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน์ ลำที่ทำการบินขึ้นลงที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเนื่องจากสภาพอากาศท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง–พัทยา (อังกฤษ: U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) หรือมักเรียกกันว่า สนามบินอู่ตะเภา เป็นสนามบินตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 13 เมตร ห่างจากจังหวัดระยองประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากเมืองพัทยาประมาณ 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 190 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองการบินทหารเรือ, กองเรือยุทธการ และกองการสนามบินอู่ตะเภา

ประวัติ

สนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของกองทัพเรือไทย ริเริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากกองทัพเรือต้องการก่อสร้างสนามบินทหารเรือ จึงดำเนินการสำรวจพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ณ เวลานั้น กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้ฝูงบินทหารเรือสังกัดกองเรือยุทธการ โดยใช้สนามบินกองทัพอากาศดอนเมืองเป็นสนามบินชั่วคราว

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดอนุมัติสร้างสนามบินแห่งใหม่ของกองทัพเรือบริเวณหมู่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยอง โดยเป็นทางวิ่งลาดยางความยาว 1,200 เมตร เมื่อการก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อย ในขณะนั้น ได้เกิดการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และประเทศลาว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นว่าต้องสร้างสนามบินขนาดใหญ่ในประเทศไทยเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลไทย และสหรัฐอเมริกา ได้มีโครงการร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาในปี พ.ศ. 2508 เพื่อเป็นหน่วยในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่างๆภายในประเทศ การก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะเวลาประมาณ 1 ปี จอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลานั้น มีคำสั่งให้สนามบินแห่งนี้ให้กองทัพเรือใช้ในราชการ และดูแลรักษาสนามบิน โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินอู่ตะเภา"

ในปี พ.ศ. 2519 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทย รวมทั้งสนามบินอู่ตะเภาด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง

หลังจากการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาโดยกรมการบินพาณิชย์ คณะรัฐมนตรีเห็นว่าควรใช้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภามากขึ้น จึงพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานสากล โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินนานาชาติระยอง–อู่ตะเภา" ภายใต้สังกัดของกองทัพเรือ โดยให้พัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์ร่วมกับกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

การบินไทยได้ตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานลำตัวกว้างแห่งที่สองขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภา โดยศูนย์ซ่อมนี้สามารถรองรับเครื่องบิน ตระกูล Boeing 737, 747 และ 777 และเครื่องบินตระกูล Airbus A380, A300, A330 และ A340

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีการเปิดให้ใช้สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ในการระบายผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย แทนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองที่ถูกคำสั่งปิดเนื่องจากมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ แห่งที่ 3

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561 สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เปิดเส้นทางใหม่บินตรงจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา พัทยา ถึงท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ แบบเที่ยวบินประจำ 6 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ โดยให้บริการทำการบินด้วยเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737-800 (WL)

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การบินไทย ได้ลงนามสัญญาระหว่าง บริษัท การบินไทย และ บริษัท แอร์บัส เพื่อจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานของบริษัทแอร์บัส ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา[3]

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 การบินไทยทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวบิน TG8419 มาที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อทดสอบภายหลังซ่อมเครื่องบินทะเบียน HS-TGF[4]

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สายการบิน อูซ แอร์ เที่ยวบินที่ ZF7721 ทำการบินไปกลับจากเมืองมอสโก มายัง ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2562 เที่ยวบินที่ทำการบินไกลที่สุดได้แก่ สายการบิน TUI Airways เที่ยวบิน TOM456/TOM457 ทำการบินจากเบอร์มิงแฮม เที่ยวบิน TOM162/TOM163 ทำการบินจากท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก และเที่ยวบิน TOM276/TOM277 ทำการบินจากเมืองแมนเซสเตอร์[5]

สายการบินที่ทำการบินในปัจจุบัน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[6] หมายเหตุ
การบินไทย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวบินสำหรับฝึกฝนนักบินพาณิชย์
บางกอกแอร์เวย์ ภูเก็ต, เกาะสมุย ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย อุดรธานี, เชียงใหม่, หาดใหญ่, ภูเก็ต, ขอนแก่น ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย มาเก๊า, ไหโข่ว ระหว่างประเทศ
นกแอร์ นานฉาง, ฉางชา, ยี่ซาง, ชูบู้หลิง , เหอถง , เมลัน , เบาเตา ระหว่างประเทศ
ไหหนานแอร์เวย์ ซานย่า ไหโข่ว ระหว่างประเทศ
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ กว่างโจว ระหว่างประเทศ
นิวเจนแอร์เวย์ เจิ้งโจว ระหว่างประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ ฉางชา ระหว่างประเทศ
ดงไห่แอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาติเจิ้งโจวซินเจิ้ง ระหว่างประเทศ
ไทยเวียตเจ็ท โฮจิมินห์ ซิตี้ ระหว่างประเทศ

สายการบินที่เคยทำการบินในอดีต

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
ไทยแอร์เอเชีย สิงคโปร์, อุบลราชธานี, หนานหนิง, เฉิงตู, กุ้ยหยาง ยกเลิกทำการบิน
กานต์แอร์ เชียงใหม่, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ขอนแก่น, หัวหิน, ดอนเมือง, สุราษฎร์ธานี, หาดใหญ่ ยกเลิกทำการบิน เนื่องจากปัญหาด้านใบอนุญาตทำการบิน
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา ยกเลิกทำการบิน

การคมนาคม

รถยนต์

ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้ถนนสุขุมวิท, ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7, ถนนเส้นทางยุทธศาสตร์ (331) ที่แยกตัดออกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ในช่วงที่ต่อกับมอเตอร์เวย์

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

เป็นเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานคร (สถานีกลางบางซื่อ) - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา 1 ชั่วโมง 40 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2567

อุปสรรคและการวิพากษ์วิจารณ์

สนามบินอู่ตะเภา สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เช่น Boeing 747 หรือ A380 ได้ แต่ที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จึงทำให้ไม่มีเที่ยวบินประจำมากนัก เที่ยวบินระหว่างประเทศที่มาใช้บริการเป็นแบบเช่าเหมาลำส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากประเทศรัสเซียเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 เนื่องจากฝนตกหนักเที่ยวบิน EK418 ได้ทำการบินมาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา นับเป็นครั้งแรกที่ เครื่องบินA380 สายการบินต่างชาติ ได้แก่เอมิเรตส์แอร์ไลน์ ทำการบินลงที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาก่อนที่จะทำการบินต่อไปยัง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สนามบินอู่ตะเภาได้แสดงศักยภาพอีกครั้งเมื่อเหตุการณ์บุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2551 แต่เนื่องด้วยมีอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก และ อุปกรณ์ภาคพื้นไม่เพียงพอ ทำให้มีสภาพแออัดในช่วงเวลาดังกล่าว

นอกจากนี้สนามบินอู่ตะเภา ยังใช้งานในภารกิจเที่ยวบินทางทหาร และเที่ยวบินขนส่งเพื่อมนุษยธรรม ในเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

โครงการในอนาคต

ภายหลังเหตุการณ์บุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง จนเป็นเหตุทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาต้องกลับมาเปิดทำการและประสบปัญหาการแออัดของท่าอากาศยาน รัฐบาลได้เห็นความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อใช้งานเป็นท่าอากาศยานหลักแห่งที่ 3 ของประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดให้มากขึ้น รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อศึกษาแผนการจัดสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเดิมให้อยู่ในสภาพที่พร้อมรองรับการใช้งานที่มากขึ้น โดยโครงการได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนกระทั่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้หยิบแผนศึกษากลับมาพิจารณาและบรรจุเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใน พ.ศ. 2561

ต่อมา สกพอ. มีมติให้แยกแผนการดำเนินการออกเป็นสองส่วน ได้แก่เมืองการบินและอาคารผู้โดยสาร ให้กองทัพเรือเป็นผู้จัดหาเอกชนเข้ามาดำเนินการภายใต้รูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ให้การบินไทยเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับกองทัพเรือ โดยการบินไทยได้ลงนามความร่วมมือระหว่างสายการบินและแอร์บัส เพื่อจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐานของแอร์บัสแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประมูล

กองทัพเรือได้จัดให้มีการประมูล โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในส่วนของเมืองการบินและอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ด้วยวิธีการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยมีเอกชนเข้าร่วมยื่นข้อเสนอเป็น 3 กิจการร่วมค้า ได้แก่

  1. กิจการร่วมค้า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) และ Fraport AG Frankfurt Airport Service Worldwide)
  2. กิจการร่วมค้าบีบีเอส (บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน))
  3. กิจการร่วมค้าแกรนด์แอสเซทคอนซอร์เทียม (บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น จำกัด (มหาชน), บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน))

ภายหลังกองทัพเรือได้ตัดสิทธิ์การประมูลของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เนื่องจากนำส่งข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนอด้านการเงินช้ากว่ากำหนด โดยทางกลุ่มได้ยื่นขอความคุ้มครองการประมูลและยื่นฟ้องกองทัพเรือต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกรับข้อเสนอที่ส่งช้าเกินเวลาเข้าพิจารณา ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกมีกรอบเวลาในการคัดเลือกที่ชัดเจนเพื่อให้การแข่งขันในการยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัน อันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการในฐานะผู้ทำหน้าที่คัดเลือกคู่สัญญาจะต้องวางตัวเป็นกลางและรักษากติกา กล่าวคือต้องดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกมีมติยืนมติเดิมคือไม่รับข้อเสนอทั้งชุดของกลุ่มธนโฮลดิ้ง และดำเนินการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค (ซองที่ 2) และข้อเสนอด้านการเงิน (ซองที่ 3) ต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ศาลปกครองสูงสุดมีมติพิพากษากลับและออกคำสั่งคุ้มครองการประมูล โดยให้คณะกรรมการรับซองของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร ที่เกินเวลาเข้าร่วมพิจารณา โดยศาลปกครองมีคำสั่งพิพากษาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563 ว่าให้กรรมการรับซองของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร กลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณา เนื่องจากถือเป็นกระบวนการทางธุรกรรม ไม่ได้มีผลต่อห้วงเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้คณะกรรมการต้องรับซองของกลุ่มธนโฮลดิ้งกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณา

ผลการประมูลอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการฯ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการผ่านหนังสือที่ กพอ.ทร. 79/2563 ว่ากลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส นำโดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอและผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่รัฐฯ[8] โดยหลังจากนี้ คณะกรรมการจะตรวจสอบเอกสารทั้งหมด ก่อนเปิดเจรจากับกลุ่มบีบีเอส เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนต่อไป

แนวทางการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. โครงการในความรับผิดชอบของเอกชน (กิจการร่วมค้าบีบีเอส)
    1. อาคารผู้โดยสาร 3
    2. ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน
    3. ศูนย์ธุรกิจการค้า
    4. คลังสินค้า และเขตประกอบการค้าเสรี
    5. ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติก
  2. โครงการในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ
    1. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (ดำเนินการร่วมกับการบินไทย)
    2. ศูนย์ฝึกอบรมอากาศยาน
    3. อาคารผู้โดยสาร 1 และ 2

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น