ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีบางหว้า"

พิกัด: 13°43′15″N 100°27′29″E / 13.720706°N 100.457991°E / 13.720706; 100.457991
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 156: บรรทัด 156:
|style="border-bottom:solid 1px gray;" valign=top|ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม
|style="border-bottom:solid 1px gray;" valign=top|ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม
|}
|}
เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีบางหว้า และสถานีหลักสอง '''เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าของวันจันทร์-ศุกร์''' รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีบางหว้า จะใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีหลักสอง จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม
เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีบางหว้า และสถานีหลักสอง '''เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าของวันจันทร์-ศุกร์''' รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีบางหว้า จะใช้ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีหลักสอง จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม


=== รายละเอียดสถานี ===
=== รายละเอียดสถานี ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:09, 8 มีนาคม 2563

สถานีบางหว้า เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางหว้า

แม่แบบ:BTS infobox สถานีบางหว้า (อังกฤษ: Bang Wa Station, รหัส S12) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 โดยยกระดับข้างถนนราชพฤกษ์ คร่อมคลองวัดประดู่ เป็นสถานีปลายทางของเส้นทางช่วงวุฒากาศ-บางหว้า โดยสถานีนี้มีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยและโรงจอดย่อยอยู่บริเวณทิศเหนือของสถานี

ที่ตั้ง

ถนนราชพฤกษ์ บริเวณด้านข้างสะพานยกระดับข้ามแยกเพชรเกษม ในพื้นที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน สถานีบางหว้า ยังคงเป็นสถานีปลายทางในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนใต้ จนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยาย บางหว้า-ตลิ่งชัน ขึ้นตามแนวถนนราชพฤกษ์ เพื่อเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมเข้ากับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ที่สถานีตลิ่งชัน ในอนาคตสถานีตลิ่งชันยังเป็นจุดกลางสายสีแดงระหว่างช่วงสายสีแดงตลิ่งชัน-ศาลายา และสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ และสายสีแดงศิริราช-ตลิ่งชัน[1] อย่างไรก็ตามสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า มีแผนศึกษาเส้นทางทับซ้อน ช่วงบางหว้า - ลำสาลี เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบรถไฟฟ้าสายหลักและสายรองถึง 5 สาย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างความชัดเจนในการจัดทำแผนแม่บทและการร่างเส้นทางต่อไป โดยเส้นบางหว้าในอนาคตจะเชื่อมต่อ ตลิ่งชัน-นนทบุรี-บางกะปิ แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะวงแหวน ระยะทาง 42 กม ใช้วงเงินลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านบาท[2] [3][4]

แผนผังของสถานี

ป้ายสถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 แม่แบบ:BTS Lines สถานีปลายทาง
ชานชาลา 4 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางหว้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม, ท่าบางหว้า

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือสถานีหมอชิตถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 3 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 4 ฝั่งตรงข้าม

รูปแบบของสถานี

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (Side Platform Station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนของหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ทางเข้าออกสถานี

  • 1, 2 ถนนราชพฤกษ์, วัดประดู่บางจาก, โรงเรียนวัดประดู่บางจาก, ป้ายรถประจำทางไปบางแวก (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
  • 3 ถนนเพชรเกษม, ซอยเพชรเกษม 34 (บันไดเลื่อน)
  • 4 ป้ายรถประจำทางไปบางแค, คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (ลิฟต์)
  • 5 ท่าเรือบางหว้า ของเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
  • เชื่อมต่อกับสถานีบางหว้าของ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ที่ทางออก 3, 4

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 3 บริเวณใกล้บันไดเลื่อน และทางออก 1,2 บริเวณด้านหน้าลิฟต์

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • สกายวอล์กจากสถานีบางหว้าไปยังท่าเรือคลองภาษีเจริญ

เวลาให้บริการ

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม
สนามกีฬาแห่งชาติ 05.30 00.05
สยาม
(ขบวนสุดท้ายที่ไปทันสายสุขุมวิท
มุ่งหน้าสถานีเคหะฯ ขบวนสุดท้าย)
- 23.36

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีวุฒากาศ
มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีปลายทาง

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีบางหว้า

แม่แบบ:BEM infobox สถานีบางหว้า (อังกฤษ: Bang Wa Station, รหัส BL34) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนเพชรเกษม บริเวณแยกเพชรเกษม แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมได้ที่สถานีนี้ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ที่ตั้ง

ถนนเพชรเกษม บริเวณแยกเพชรเกษม ในพื้นที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

ป้ายสถานีรถไฟฟ้า MRT บางหว้า
U4
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่าน สถานีบางซื่อ)
ชานชาลา 1 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U3
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
U2
ชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส
ทางออก 1-4, ร้านค้า, แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางหว้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีบางหว้า และสถานีหลักสอง เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าของวันจันทร์-ศุกร์ รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีบางหว้า จะใช้ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีหลักสอง จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม

รายละเอียดสถานี

สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่างๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีเชื่อมต่อระบบ

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) ทางวิ่งยกระดับสูง 19 เมตร เพื่อให้วางอยู่เหนือสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

ทางเข้า-ออกสถานี

  • 1 ซอยเพชรเกษม 36, มหาวิทยาลัยสยาม, ไปรษณีย์ มหาวิทยาลัยสยาม, วัดประดู่บางจาก (ลิฟต์)
  • 2 ซอยเพชรเกษม 25/3, คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (บันไดเลื่อน)
  • 3 สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บางหว้า, สำนักงานคุมความประพฤติกรุงเทพมหานคร 3, ตลาดเสนีย์ (บันไดเลื่อน)
  • 4 สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บางหว้า, คอนโดมิเนียม เดอะเพรสซิเดนท์ สาทร-ราชพฤกษ์, ท่าเรือบางหว้า(เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ) (ลิฟต์ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

  • 4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีเตาปูน
  • 3 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • 2 ชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Connection level)
  • 1 ชั้นระดับถนน (Ground level)

เวลาให้บริการ

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
colspan="7" style="background-color:#แม่แบบ:BTS color;color:white; height:25px" | สายเฉลิมรัชมงคล
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:39 23:16
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:58 23:16
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 22:30
BL38 หลักสอง จันทร์ - ศุกร์ 05:42 00:21
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:10 00:21

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีบางไผ่
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีเพชรเกษม 48
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง

ลักษณะพิเศษของสถานี

สถานีบางหว้าเป็นสถานีเชื่อมต่อที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบ และฝั่งบางหว้าของรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นสถานีปลายทาง การก่อสร้างทั้งสองสถานีจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเข้า-ออกระบบมากเป็นพิเศษ ผู้รับเหมาก่อสร้างคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้เสนอให้มีการปรับแบบของทั้งสถานีบางหว้าฝั่งบีทีเอสซึ่งมีผู้รับเหมาเป็นเจ้าเดียวกัน และออกแบบให้สถานีฝั่งรถไฟฟ้ามหานครให้เป็นสถานีที่ใช้โครงสร้างบางส่วนร่วมกัน

กล่าวคือโครงสร้างชั้นขายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส จะเป็นการสร้างฐานชั้นลอยของสถานีฝั่งรถไฟฟ้ามหานครไปในตัว ในขณะที่ชั้นชานชาลาจะใช้วิธีการสร้างของฝั่งบีทีเอสและเร่งการวางรางให้ข้ามสถานีของฝั่งบีทีเอสให้แล้วเสร็จก่อนก่อสร้างชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลาของฝั่งรถไฟฟ้ามหานคร และได้ออกแบบให้ทางออกที่ 3, 4 ของสถานีฝั่งบีทีเอส เป็นทางเข้า-ออกที่ใช้งานร่วมกันด้วย ทำให้เกิดการหมุนเวียนของผู้โดยสารที่ดีและลดความซ้ำซ้อนในการตั้งทางเข้า-ออกโดยไม่จำเป็น

รถโดยสารประจำทาง

  • ถนนเพชรเกษม ไปบางแค : สาย 7 ปอ.สาย 7 7ก 80 80ก 81 84 ปอ.84 84ก 91 91ก 101 146 147 157 165 171 189 509 547
  • ถนนเพชรเกษม ไปท่าพระ : สาย 7 ปอ.สาย 7 7ก 80 80ก 81 84 ปอ.84 84ก 89 91 91ก 101 146 147 157 165 171 189 509 547 710
  • ถนนราชพฤกษ์ : สาย 89 710 751 198

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′15″N 100°27′29″E / 13.720706°N 100.457991°E / 13.720706; 100.457991