ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคก้าวไกล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายวิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/077/T_0067.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง] </ref>พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกนาย เจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่ <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/D/013/T_0081.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง] </ref>
ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายวิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/077/T_0067.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง] </ref>พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกนาย เจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่ <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/D/013/T_0081.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง] </ref>


หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยก่อนการลงมตินายก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่ และที่ประชุมมีมติเลือกนาย ธนพล พลเยี่ยม และนาย อังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็นพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยอีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่นายธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงสวนหลวง [[เขตสวนหลวง]] [[กรุงเทพมหานคร]] <ref> [https://www.isranews.org/isranews-scoop/86228-isranewss-86228.html ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'] </ref>
หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยก่อนการลงมตินายก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่ และที่ประชุมมีมติเลือกนาย ธนพล พลเยี่ยม และนาย อังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็นพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยอีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่นายธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงอ่อนนุช [[เขตสวนหลวง]] [[กรุงเทพมหานคร]] <ref> [https://www.isranews.org/isranews-scoop/86228-isranewss-86228.html ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'] </ref>


ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคก้าวไกลแทนข้อบังคับพรรคผึ้งหลวง และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกนาย ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และนาง ปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่กลางเดือนกุมภาพันธ์นายราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้นางปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคก้าวไกลแทนข้อบังคับพรรคผึ้งหลวง และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกนาย ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และนาง ปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่กลางเดือนกุมภาพันธ์นายราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้นางปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:21, 8 มีนาคม 2563

พรรคก้าวไกล
หัวหน้าพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
ศักดิ์ชาย พรหมโท
ธนพล พลเยี่ยม
พรรคผึ้งหลวง
ก้องภพ วังสุนทร
พรรคก้าวไกล
ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ (เสียชีวิต)
เลขาธิการพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
สมพร ศรีมหาพรหม
อังกูร ไผ่แก้ว
พรรคผึ้งหลวง
วิรุฬห์ ชลหาญ
เจษฎา พรหมดี
พรรคก้าวไกล
ปีใหม่ รัฐวงษา (รักษาการหัวหน้าพรรค)
ก่อตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
พรรคผึ้งหลวง
19 มกราคม พ.ศ. 2562
พรรคก้าวไกล
19 มกราคม พ.ศ. 2563
จำนวนสมาชิก  (ปี 2562)2,690
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคก้าวไกล พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีนาย ศักดิ์ชาย พรหมโท และนางสาว สมพร ศรีมหาพรหม เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ ๒๙/๒ หมู่ ๑๔ ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พร้อมกับคำขวัญพรรคว่า "ร่วมพัฒนา พาชาติพ้นวิกฤต พิชิตภัยคอร์รัปชั่น ยึดมั่นความเป็นไทย" [1]

ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 นายศักดิ์ชายได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยได้แต่งตั้งนาย สราวุฒิ สิงหกลางพล รองหัวหน้าพรรครักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[2] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนแทนชุดเดิมที่รักษาการอยู่ก่อนหน้านั้นในที่ประชุมมีมติเลือกนาย ธนพล พลเยี่ยม และนาย อังกูร ไผ่แก้ว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากสถานที่เดิมมาอยู่ที่ ๓๑/๑๐๗ หมู่ ๖ ซอยชินเขต ๒ แยก ๑๕ ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเป็น "ร่วมพัฒนา นำประชาให้หลุดพ้น ทำค่าของคนให้เท่าเทียม"[3]

ต่อมานายธนพลได้ลาออกจากตำแหน่งเป็นเหตุให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือทั้ง 8 คนพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[4] ต่อมาพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคจาก พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย เป็น พรรคผึ้งหลวง พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ ๑๖๘/๙ หมู่ ๑๒ ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมจำนวน 10 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย ก้องภพ วังสุนทร และนายวิรุฬห์ ชลหาญ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนคำขวัญพรรคใหม่เป็น "พลิกประวัติศาสตร์ พลิกงบพัฒนา ๙๐% สู่หมู่บ้าน/ชุมชน"[5]

ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายวิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน[6]พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกนาย เจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่ [7]

หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยก่อนการลงมตินายก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่ และที่ประชุมมีมติเลือกนาย ธนพล พลเยี่ยม และนาย อังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็นพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยอีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่นายธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร [8]

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคก้าวไกลแทนข้อบังคับพรรคผึ้งหลวง และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกนาย ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และนาง ปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่กลางเดือนกุมภาพันธ์นายราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้นางปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค

โดยพรรคก้าวไกลได้ปรากฏเป็นข่าวว่าเป็นพรรคการเมืองที่ ส.ส. จำนวน 55 คนของอดีต พรรคอนาคตใหม่ ที่นำโดยนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เตรียมย้ายเข้ามาสังกัดเพราะก่อนหน้าที่จะมีการยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ไม่นานนางปีใหม่ซึ่งเคยร่วมชุมนุมทำกิจกรรมทางการเมืองกับนาย รังสิมันต์ โรม 1 ใน 55 ส.ส. อดีตพรรคอนาคตใหม่ได้เข้ามานั่งบริหารพรรคก้าวไกลในตำแหน่งเลขาธิการพรรค

การเลือกตั้ง

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคก้าวไกลซึ่งในตอนนั้นยังคงเป็นพรรคผึ้งหลวงได้ส่งผู้สมัครของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตแต่ปรากฏว่าทางพรรคไม่ได้ที่นั่งในสภาแม้แต่ที่นั่งเดียว

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

ยุคพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ศักดิ์ชาย พรหมโท 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
2 ธนพล พลเยี่ยม 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ?
7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 19 มกราคม พ.ศ. 2563
- สราวุฒิ สิงหกลางพล (รักษาการ) 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ยุคพรรคผึ้งหลวง

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ก้องภพ วังสุนทร 19 มกราคม พ.ศ. 2562 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ยุคพรรคก้าวไกล

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
- ปีใหม่ รัฐวงษา (รักษาการ) กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค

ยุคพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมพร ศรีมหาพรหม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(รักษาการ)
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
2 อังกูร ไผ่แก้ว 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ?
7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 19 มกราคม พ.ศ. 2563

ยุคพรรคผึ้งหลวง

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 วิรุฬห์ ชลหาญ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
2 เจษฎา พรหมดี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ยุคพรรคก้าวไกล

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ปีใหม่ รัฐวงษา 19 มกราคม พ.ศ 2563 ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย)
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง
  8. ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'

แหล่งข้อมูลอื่น