ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชาวน์วัศ สุดลาภา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "เชาวน์วัศ.jpg", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย JuTa เพราะ No source specified since 22 February 2020
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักการเมือง
{{กล่องข้อมูล นักการเมือง
| name = เชาวน์วัศ สุดลาภา
| name = เชาวน์วัศ สุดลาภา
| image = เชาวน์วัศ.jpg
| image =
| order = [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]
| order = [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]
| term_start = 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
| term_start = 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:01, 4 มีนาคม 2563

เชาวน์วัศ สุดลาภา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 – 16 เมษายน พ.ศ. 2524
ก่อนหน้าชลอ ธรรมศิริ
ถัดไปพลเรือเอกเทียม มกรานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 15 กันยายน พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าธนา เมตตาริกานนท์
ไสว พัฒโน
ถัดไปวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถวิล ไพรสณฑ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (90 ปี)
พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองกิจสังคม
คู่สมรสคุณกมลทิพย์ สุดลาภา

นายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 ที่มาจากการแต่งตั้ง และยังได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งนับเป็นท่านแรกในทำเนียบผู้ว่ากทม. และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย ในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี และในสมัยนายชวน หลีกภัย 1 เป็นนายกรัฐมนตรี นายเชาวน์ว้ศ สุดลาภา ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) เป็น นายกรัฐมนตรีและเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร (ฯพณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชา) เป็นนายกรัฐมนตรี นายเชาวน์วัศ ยังเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรีและอดีตสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายเชาวน์วัศ สุดลาภายังมีผลงานที่โดดเด่นได้กวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีสำเร็จราบคราบเมื่อสมัยดำรงตำแหน่งพ่อเมืองจังหวัดเพชรบุรีและยังเคยเป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่2 อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรองหัวหน้าพรรคพรรคกิจสังคม นอกจากด้านการเมืองการแล้วนายเชาวน์วัศยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

ด้านการศึกษา

lnstitute of Social Studles ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ด้านการเมือง

นาย เชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย2 ครั้ง ใน 2 สมัย ในรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และในรัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย 1เป็นนายกรัฐมนตรี อดีต ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่7 ที่มาจากการแต่งตั้ง (นับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ได้ดำรงตำแหน่งควบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในเวลาเดียวกันในตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.เมื่อปีพ.ศ. 2523) และเป็นอดีตผู้ว่าราชการและนักการเมืองที่มีบทบาททางการเมืองและการปกครองอย่างมาก เจ้าของนโยบายกรุงเทพสีเขียวโดยการปลูกต้นไม้รอบจังหวัดกรุงเทพมหานครในถนนทุกสาย (สมัยเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผู้ดำเนินการสร้างถนนรัชดาภิเษกและในอีกหลายสาย ผู้ก่อตั้งศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง (ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น) ขณะเป็นผู้ว่าก.ท.ม และเป็นผู้ก่อตั้ง ตลาดนัดจตุจักร สมัยเป็นผู้ว่าก.ท.ม และยังเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในอีกหลายจังหวัด เชาวน์วัศ สุดลาภา ได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร) ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร และได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง ใน 2 สมัย ในรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์และนาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และยังมีผลงานที่โดดเด่นคือการกวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีได้สำเร็จราบคราบในสมัยเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี[1]ได้ทำการปราบปราบแร่เถื่อนที่จังหวัดพังงาสมัยเป็นพ่อเมืองพังงาปราบปรามโจรเรียกค่าไถ่ในจังหวัดลพบุรีและเชาวน์วัศ สุดลาภา ยังได้รับใด้ดำรงตำแหน่งรองปล้ดกระทรวงมหาดไทยก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 และยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ต่อเนื่อง 4 สมัย (สอบได้ที่ 1 ทั้ง 4 สมัยซ้อน) นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ทางด้านสาขาการบริหารและการปกครอง) และยังได้รับการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ สุดลาภา ขึ้นที่ อำเภอกะปงจังหวัดพังงา เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งผู้ว่าคนดี และที่สำคัญนายเชาวน์วัศ สุดลาภาได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[2]

นาย เชาวน์วัศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ พ.ศ. 2515 ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 41 สมัย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2523[3] ซึ่งในขณะนั้นนายเชาวน์วัศยังดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2531 นาย เชาวน์วัศได้ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี และได้รับเลือกตั้ง 4 สมัยต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 - 2538 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (พ.ศ. 2531 - 2535) และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 (พ.ศ. 2535) รายนามรองประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทย ในปี พ.ศ. 2536 เชาวน์วัศได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 สมัยนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย 1) นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งที่ 2

ชีวิตส่วนตัว

นาย เชาวน์วัศ สุดลาภา เกิดวันที่ 1 มิถุนายน 2476 ชีวิตคู่ได้สมรสกับคุณกมลทิพย์ สุดลาภา มีบุตร - ธิดารวม 3 คน ได้แก่

  • นายเกรียงยศ สุดลาภา (ชื่อเล่น: เฮ้ก) อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการ กทม.) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยมหาดไทย ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอดึตสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปทฺ)และดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีบุตร2คน
  • นางพจน์ศิรินทร์ (สุดลาภา) สุวรรณรัฐ (ชื่อเล่น: ปุ้ย) อาชีพ ผู้พิพากษา นักธุรกิจ สมรสกับ พลตรี นิมิตต์ สุวรรณรัฐ มีบุตร1คน
  • นายกาจบดินทร์ สุดลาภา (ชื่อเล่น: กอล์ฟ) อาชีพนักธุรกิจ และอดีตดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์) ในปี พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544 นายกาจบดินทร์สมรสกับ วิภาดา บุนนาค มีบุตร 2 คน

ตำแหน่งสำคัญ

ผลงานสำคัญ

[14]

  • ริเริ่มจัดตั้งศาลหมู่บ้าน หรือศาลประนอมข้อพิพาทและตุลาการหมู่บ้านที่จังหวัดกำแพงเพชร
  • ปราบ "ซุ้มมือปืนเมืองเพชร" สำเร็จราบคราบ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี[15]
  • ผู้ก่อตั้ง "งานพระนครคีรี เทิดทูนราชจักรีวงศ์" เพื่อระลึกถึงพระมหากษัตย์ไทยในสมัยทวาราวดีขณะเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี[16]

ผลงานด้านอื่นๆ

เกียรติยศที่ได้รับ

  • รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522)[17] จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ด้านสาขาการบริหารและการปกครอง)
  • ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[18]
  • ได้รับการจัดสร้างอนุสาวรีย์เชาวน์วัศน์ สุดลาภาขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีที่ประชาชนชาวอำเภอกะปง จังหวัดพังงาสร้างไว้ให้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู่ว่าราชการจังหวัดพังงาท่านนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www2.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=338
  2. บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  4. ทำเนียบรายชื่อผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  6. ประวัติตลาดนัดสวนจตุจักร. (จากเว็บไซต์ chillisiam.com)
  7. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา (เว็บไซต์หมูหินดอตคอม)
  8. http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G7533782/G7533782.html
  9. http://library.tru.ac.th/il/lop/pepp/pep1.html
  10. http://shopping.sanook.com/buy/buy_detail.php?nitemID=3509095
  11. http://www.chaiwit.ac.th/dataschool/data/local/local6.html
  12. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง. ข้อมูลจากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร
  13. ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ศาลพระอิศวร จังหวัดกำแพงเพชร. สารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  14. http://www.sunti-apairach.com/06N/06NZP.htm
  15. http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=338
  16. การจัดงาน พระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 15. (ข่าวจาก ryt9.com วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  17. http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize05.pdf
  18. http://library.tru.ac.th/il/lop/pepp/pep1.html
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)
  20. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

  • หนังสือประวัติ เชาวน์วัศ สุดลาภา
ก่อนหน้า เชาวน์วัศ สุดลาภา ถัดไป
นายชลอ ธรรมศิริ ไฟล์:Seal Bangkok green trans.png
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 16 เมษายน พ.ศ. 2524)
พลเรือเอกเทียม มกรานนท์