ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า โคโรน่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit.pex (คุย | ส่วนร่วม)
ความหมาย
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
โคโรน่า โฉมที่ 1-6 จัดอยู่ในประเภท[[ประเภทของรถยนต์|รถยนต์นั่งขนาดเล็ก]] (Compact Car) และโฉมที่ 7-11 จัดอยู่ในประเภท[[ประเภทของรถยนต์|รถยนต์นั่งขนาดกลาง]] (Mid-size Car)
โคโรน่า โฉมที่ 1-6 จัดอยู่ในประเภท[[ประเภทของรถยนต์|รถยนต์นั่งขนาดเล็ก]] (Compact Car) และโฉมที่ 7-11 จัดอยู่ในประเภท[[ประเภทของรถยนต์|รถยนต์นั่งขนาดกลาง]] (Mid-size Car)


ชื่อ โคโรน่า เป็นภาษาละติน แปลว่า มงกุฎ ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับคำว่า คราวน์ (Crown) ดังนั้น โคโรน่า จึงเป็น[[โตโยต้า คราวน์]] ย่อส่วน ตลอดช่วงการผลิต 45 ปี โคโรน่า มีวิวัฒนาการทั้งหมด 10 Generation (โฉม) ตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ ดังนี้
ชื่อ โคโรน่า เป็นภาษาละติน แปลว่า มงกุฎ และเป็นชือเรียกไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากอู่ฮั่น ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับคำว่า คราวน์ (Crown) ดังนั้น โคโรน่า จึงเป็น[[โตโยต้า คราวน์]] ย่อส่วน ตลอดช่วงการผลิต 45 ปี โคโรน่า มีวิวัฒนาการทั้งหมด 10 Generation (โฉม) ตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ ดังนี้


== Generation ที่ 1 ([[พ.ศ. 2500]] - [[พ.ศ. 2503|2503]]) ==
== Generation ที่ 1 ([[พ.ศ. 2500]] - [[พ.ศ. 2503|2503]]) ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:36, 3 มีนาคม 2563

โตโยต้า โคโรน่า
โตโยต้า โคโรน่า รุ่นที่ 10
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2500 - 2545
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (รุ่นที่ 1 - 6)
รถยนต์นั่งขนาดกลาง (รุ่นที่ 7 - 11)
รูปแบบตัวถังรถซีดาน 2,4 ประตู
วาก้อน 3,5 ประตู
กระบะ 2 ประตู
คูเป้ 2 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียนา
มิตซูบิชิ กาแลนต์
มาสด้า 626
ฮุนได โซนาต้า
โฟล์กสวาเกน พาสสาต
ซูบารุ เลกาซี
ฟอร์ด ทอรัส
คาดิแลค ซีทีเอส
เมอร์คิวรี มิลาน
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี
รุ่นต่อไปโตโยต้า พรีมิโอ (ญี่ปุ่น)
โตโยต้า อเวนซิส (ยุโรป)
โตโยต้า คัมรี่(ตลาดอื่นๆ)

โตโยต้า โคโรน่า (Toyota Corona) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ โตโยต้า ผลิตขึ้น เพื่อเป็นรถครอบครัว เริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งในประเทศไทย ครั้งหนึ่ง มันเคยเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ นิสสัน บลูเบิร์ด (รวมไปถึง นิสสัน เซฟิโร่ ในบางช่วง) รวมถึงคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งระดับรอง เช่น มิตซูบิชิ กาแลนต์ ,มาสด้า 626 ,ฮุนได โซนาต้า ,ซูบารุ เลกาซี ,เปอโยต์ 405 ,แดวู เอสเปอโร ,ฟอร์ด มอนดิโอและซีตรอง BX แต่โคโรน่ามีจุดเสียเปรียบสำคัญเรื่องขนาดที่เล็กกว่าแอคคอร์ดและคู่แข่งอื่นๆ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2536 โตโยต้าประเทศไทย จึงเปลี่ยนเอา โตโยต้า คัมรี่ ขึ้นมาแข่งกับแอคคอร์ดและคู่แข่งอื่นๆ แทนโคโรน่า หลังจากนั้น ก็เป็นช่วงขาลงของโคโรน่า จนในที่สุด ก็เลิกขายในประเทศไทยใน พ.ศ. 2542 และเลิกผลิตทั่วโลกถาวรไปใน พ.ศ. 2545

โคโรน่า โฉมที่ 1-6 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) และโฉมที่ 7-11 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-size Car)

ชื่อ โคโรน่า เป็นภาษาละติน แปลว่า มงกุฎ และเป็นชือเรียกไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากอู่ฮั่น ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับคำว่า คราวน์ (Crown) ดังนั้น โคโรน่า จึงเป็นโตโยต้า คราวน์ ย่อส่วน ตลอดช่วงการผลิต 45 ปี โคโรน่า มีวิวัฒนาการทั้งหมด 10 Generation (โฉม) ตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ ดังนี้

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2500 - 2503)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 1

เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 รหัสตัวถัง T10 ในสมัยนั้น โคโรน่า ยังใช้ชื่อนำหน้าว่า โตโยเพ็ท (Toyopet) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตโยต้าในภายหลัง ดังนั้น โคโรน่า โฉมนี้ จึงใช้ชื่อในตลาดว่า โตโยเพ็ท โคโรน่า (Toyopet Corona) ซึ่งโฉมแรกนี้ ออกแบบมาโดยมี โตโยต้า คราวน์ เป็นต้นแบบ ซึ่งมีการนำโคโรน่าโฉมนี้ไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนพอสมควร

มิติตัวถัง ยาว 3.91 เมตร , กว้าง 1.47 เมตร , สูง 1.555 เมตร ขนาดลูกสูบเพียง 997 ซีซี (รถสมัยนั้นเล็กมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเทียบกับยุคเดียวกัน โคโรน่าถือว่าใหญ่เอาการ) แรงม้าเพียง 45 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 7 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,200 รอบต่อนาที ความเร็วสูงสุด 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับเคลื่อนล้อหลัง ใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งมีเพียง 3 สปีด ราคาขายในช่วงนั้นตั้งไว้ที่ 648,000 เยน

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2503 - 2507)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 2

เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 รหัสตัวถัง T20 โฉมนี้ โคโรน่า มีรูปทรงที่เหลี่ยมคมมากขึ้น กระจกหน้า-หลัง ตั้งชันมากขึ้นตามสไตล์รถแบบอเมริกันในยุคนั้น และโฉมนี้ มีเข้ามาขายในไทย แต่ได้ใช้ชื่อรุ่นว่า เทียร่า (Tiara) ไม่ใช่ โคโรน่า

มิติตัวถัง ยาว 3.99 - 4.03 เมตร , กว้าง 1.49 เมตร , สูง 1.445 - 1.455 เมตร (แล้วแต่ตัวถัง) ในช่วงแรก ใช้เครื่องยนต์สี่สูบ 997 ซีซี 45 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 7 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,200 รอบต่อนาที ต่อมา มีการนำเครื่องยนต์ที่แรงกว่ามาใช้ โดยเป็นเครื่องสี่สูบ 1,453 ซีซี 62 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 11.2 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 3 สปีด

Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2507 - 2513)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 3

เปิดตัวในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 รหัสตัวถัง T40 โฉมนี้ โคโรน่าถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงแบบ Arrow Line (หัวลูกศร) และมีการสร้างความสนใจให้กับประชาชน โดยนำโคโรน่าไปทดสอบวิ่งอย่างต่อเนื่องบนทางด่วนเป็นระยะทาง 100,000 กิโลเมตรโดยไม่ดับเครื่อง ด้วยอัตราเร็ว 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างชื่อเสียงให้โตโยต้าเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในเรื่องของเทคโนโลยีและมาตรฐานของการผลิตรถยนต์จนถึงปัจจุบัน

โคโรน่าโฉมนี้ นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้โตโยต้าแล้ว ยังมีการนำไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนมาก เพราะมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าอึดจริง และจนถึงปัจจุบัน รถรุ่นนี้หลายคันก็ยังสามารถวิ่งได้ แม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งจนถึง พ.ศ. 2546 ก็ยังมีการพบเห็นว่ามีแท๊กซี่ที่เป็นโคโรน่า Generation นี้วิ่งอยู่ที่พระราม 4 และใต้ทางด่วนราษฎร์บูรณะ

ช่วงแรกที่เปิดตัว มีตัวถังแบบเดียว คือ sedan 4 ประตู 1,198 ซีซี 55 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 8.8 กิโลกรัมเมตร ที่ 2,800 รอบต่อนาที และต่อมาก็มีการเพิ่มรุ่นพิเศษอีกมากมาย ทั้งเครื่องยนต์รุ่นพิเศษที่แรงกว่า และมีการเพิ่มตัวถัง hardtop coupe , station wagon , กระบะ และ hatchback

ยังเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง มีเกียร์ธรรมดา 3 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีดให้เลือก มีมิติยาว 4.065 - 4.11 เมตร , กว้าง 1.55 เมตร , สูง 1.42 เมตร

Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2513 - 2517)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 4

เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 รหัสตัวถัง T80 โคโรน่าโฉมที่แล้ว แทบจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จล้นหลามในแถบเอเชีย แต่ว่า โคโรน่าโฉมนี้ ประสบความสำเร็จในแถบอเมริกันด้วย คาดว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความนิยมที่เริ่มประหยัดของชาวอเมริกัน จึงเริ่มหันมาซื้อรถจากเอเชียที่ราคาถูกกว่า โคโรน่าโฉมนี้ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ลูกสูบ 1.5 , 1.6 , 1.7 , 1.9 และ 2.0 ลิตร

Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2517 - 2521)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 5

โคโรน่าโฉมนี้ รหัสตัวถัง T100 ถึง T120 ลูกสูบ 1.6 และ 2.0 ลิตร ยกเว้นในอเมริกาเหนือที่ใช้เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร และเริ่มมีการใช้เครื่องยนต์แบบ Twin Cam และขายเฉพาะในญี่ปุ่น ส่วนในอเมริกัน โดยรวมโฉมนี้ก็ถือว่ายังประสบความสำเร็จ แต่ไม่เท่าโฉมที่ 4

Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2521 - 2526)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 6

รหัสตัวถัง T130 เครื่องยนต์ลูกสูบ 1.6 และ 2.0 ลิตรเหมื่อนเดิม อเมริกาใช้ลูกสูบ 2.2 ลิตรเหมื่อนเดิม ซึ่งเครื่อง 2.2 ลิตรนี้ โตโยต้า เซลิก้า รถสปอร์ตของโตโยต้าในยุคนั้นก็ใช้ โคโรน่าโฉมนี้ในอเมริกาจึงมีความเป็นรถสปอร์ตอยู่บ้าง ต่างจากโคโรน่าในเอเชียซึ่งเน้นเป็นรถครอบครัว แต่โคโรน่าโฉมนี้ เป็นโคโรน่าโฉมสุดท้ายที่มีขายในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่โตโยต้าจะส่ง โตโยต้า คัมรี่ เข้ามาแทน ในขณะที่ตลาดเอเชียโดยส่วนใหญ่จะยังใช้โคโรน่าทำตลาดต่อไป

Generation ที่ 7 (พ.ศ. 2524 - 2532)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 7

รหัสตัวถัง T140 เป็นอีกโฉมหนึ่งที่คนไทยรู้จักดี ในฐานะรถโคโรน่าขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นรองสุดท้าย (ขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นสุดท้ายเป็นโฉมที่ 10 แต่ไม่เป็นที่นิยม) กลุ่มผู้ค้ารถในไทยเรียกชื่อว่า "โฉมหน้าแหลม" เพราะกระจังหน้ามีการหักมุมตรงกลาง ทำให้มีลักษณะแหลม ในฮ่องกง มาเก๊า และสิงคโปร์ มีการนำรถรุ่นนี้ไปทำแท็กซี่เป็นจำนวนมาก โฉมหน้าแหลมเป็นโฉมที่ผลิตเป็นระยะเวลานานที่สุดของโคโรน่า ปัจจุบันยังพอมีเห็นได้บ้างตามท้องถนน แต่ไม่มากนัก

Generation ที่ 8 (พ.ศ. 2526 - 2532)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 8

รหัสตัวถัง T150 และ T160 โฉมนี้ โคโรน่าเริ่มเสื่อมถอยความนิยมลงในออสเตรเลีย เพราะคัมรี่ เริ่มเข้าไปเป็นที่นิยมแทนโคโรน่า แต่ในประเทศไทย คัมรี่ยังไม่เป็นที่รู้จัก (คัมรี่ เข้ามาในไทยในช่วงที่โคโรน่าอยู่ในโฉมที่ 10) โคโรน่าจึงยังครองความนิยมในไทยต่อไป แต่ในวงรวมทั่วโลก ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า โคโรน่า อาจจะถึงจุดจบในไม่ช้า

โฉมนี้ กลุ่มพ่อค้ารถในไทย เรียกว่า "โฉมตู้เย็น"

Generation ที่ 9 (พ.ศ. 2529 - 2535)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 9
โตโยต้า โคโรน่า รุ่น 1.6 GL โฉมแป๊ะยิ้ม

เจเนอเรชันนี้ มี 2 รุ่น คือ รุ่น โฉมหน้ายักษ์ และรุ่น โฉมหน้ายิ้ม รูปที่แสดงนี้เป็นรูปโฉมหน้ายิ้ม สองรุ่นนี้ สร้างขึ้นจากโครงเดียวกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดบางประการ เช่น กระจังหน้าและไฟท้าย โดยไปท้ายหน้ายิ้มจะยาวแถวเดียว หน้ายักษ์แยกเป็นสองก้อน กระจังหน้ารุ่นหน้ายิ้มออกแนวตั้ง หน้ายักษ์แนวนอน สองรุ่นยังไม่ใช้โลโก้สามห่วง ในประเทศไทย เปิดตัวครั้งแรกด้วยรุ่นหน้ายักษ์ มีตัวเลือกทั้งหมด 4 รุ่น คือ

  • 1.6XL เป็นรุ่นต่ำสุด ราคาประหยัด ใช้เครื่องยนต์ 4A-F คาร์บูเรเตอร์ 1600 ซีซี เกียร์ธรรมดา 4 สปีด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่ต่างจากรถระดับต่ำกว่า (เช่น โตโยต้า โคโรลล่า, ฮอนด้า ซีวิค, นิสสัน ซันนี่, มิตซูบิชิ แลนเซอร์) ในยุคนั้น คือ เบาะพลาสติก, หน้าต่างหมุนมือ, กระจกข้างปรับมือ/พับมือ, ไม่มีไล่ฝ้ากระจกหลัง ล้อกระทะเหล็กไม่มีฝาครอบ ยางขนาด 175/70R13
  • 1.6GL ใช้เครื่องยนต์ 4A-F แบบเดียวกับรุ่น XL แต่จะใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด รวมถึงได้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากเกือบเท่ารุ่นท็อป คือ เบาะกำมะหยี่พร้อมที่ท้าวแขนกลางเบาะหลัง พร้อมแผงประตูบุกำมะหยี่, เบาะคนขับ ปรับดันหลัง และปรับพนักหนุนศีรษะในแนวหน้า-หลังได้, หน้าต่างไฟฟ้า, กล่องเก็บของระหว่างเบาะคู่หน้า, พวงมาลัย 3 ก้าน, ลวดละลายฝ้ากระจกหลัง, วิทยุเทป 4 ลำโพง, ล้อกระทะเหล็ก 13 นิ้ว พร้อมฝาครอบแบบเต็ม, กันชนสีเดียวกับตัวรถ, ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ถือว่ามากกว่ารถระดับต่ำกว่าทั้ง 4 รุ่นหลักๆ ในเมืองไทย ณ ขณะนั้น ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว แม้แต่ในรุ่นสูงสุดก็ตาม
  • 2.0GL ใช้เครื่องยนต์ 3S-F 2000 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ มีให้เลือกเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด อุปกรณ์ที่ได้เพิ่มจากรุ่น 1.6GL ได้แก่ ที่เก็บของระหว่างเบาะคู่หน้าแบบบุฟองน้ำใช้ท้าวแขนได้นุ่ม, พวงมาลัยมีพาวเวอร์ผ่อนแรง, กระจกข้างปรับไฟฟ้า, ล้ออัลลอย 14 นิ้ว ยางขนาด 195/60R14 น็อตล้อ 5 ตัว
  • 2.0GLi เป็นรุ่นท็อปสุด มีเฉพาะเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เครื่องยนต์3S-FE 2000 ซีซี หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นนวัตกรรมเครื่องยนต์แบบใหม่ ซึ่งมีเฉพาะในรถซาลูนหรู เช่น เมอร์เซเดส เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู เท่านั้น เทคโนโลยีเครื่องยนต์หัวฉีดเริ่มใช้กับรถญี่ปุ่นในขณะนั้น มีเพียงรถระดับโคโรน่า และคู่แข่งอย่างแอคคอร์ด กาแลนต์ บลูเบิร์ด และเซฟิโร่เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาเต็มพิกัด เช่น วิทยุแสดงผลแบบดิจิตอล, เบาะคนขับปรับ 14 ทิศทาง (หน้า-หลัง/พนักพิงนอน-ตั้ง/เบาะรองนั่งสูง-ต่ำ/พนักพิงดันหลังมาก-น้อย/ปีกเบาะโอบมาก-น้อย/พนักพิงศีรษะปรับสูง-ต่ำ/พนักพิงศีรษะปรับดันศีรษะมาก-น้อย) ในขณะที่รถคู่แข่งมักมี 6, 8 หรือ 10 ทิศทางเท่านั้น นอกจากนี้ ในช่วงที่เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์เข้าประเทศไทยนั้น โตโยต้ายังได้รับรองอย่างเป็นทางการให้เครื่องยนต์ 3S-FE ในรุ่น 2.0GLi สามารถรองรับเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ 95 ได้[1], รวมถึงได้ดิสก์เบรก 4 ล้ออีกด้วย

ต่อมา ได้ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เป็นรุ่นหน้ายิ้ม และได้มีการปรับอุปกรณ์ดังนี้

  • 1.6XL เปลี่ยนไปใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด
  • 1.6GL ลดอุปกรณ์ลง โดยเบาะนั่งจะเป็นกำมะหยี่สลับพลาสติก, กันชนสีดำ
  • 2.0GL ตัดรุ่นเกียร์อัตโนมัติออก เหลือเฉพาะเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เพิ่มระบบปรับอากาศแบบปุ่มกด
  • 2.0GLi เพิ่มรุ่นเกียร์อัตโนมัติเข้ามา จึงมีตัวเลือกว่าจะซื้อรุ่นท็อปแบบเกียร์ธรรมดาหรืออัตโนมัติ เพิ่มระบบปรับอากาศแบบปุ่มกด

โคโรน่ารุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่โตโยต้าประเทศไทย วางไว้เป็นคู่แข่งกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด, นิสสัน บลูเบิร์ด, มิตซูบิชิ กาแลนต์ โดยตรง โคโรน่ารุ่นหลังจากนี้ไป จะไม่ใช่รถระดับเดียวกับคู่แข่งกลุ่มนี้อีกต่อไป รวมถึงนิสสันที่ตัดสินใจเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาดจากที่ให้นิสสัน บลูเบิร์ด เป็นคู่แข่งกับรถ D-Segment ทั่วไป มาเป็นรถระดับเดียวกันกับโคโรน่า รวมถึงยกเลิกการขึ้นสายการประกอบในประเทศด้วย โดยให้นิสสัน เซฟิโร่ มาแข่งกับรถ D-Segment ทั่วไปแทน

Generation ที่ 10 (พ.ศ. 2535 - 2541)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 10

ที่ผ่านมา รถญี่ปุ่น มักจะถูกออกแบบโดยจำกัดความกว้างไว้ไม่ให้เกิน 1.7 เมตร และเครื่องยนต์พิกัดไม่เกิน 2000 ซีซี ด้วยเหตุผลทางภาษีในประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเติบโต คู่แข่งทั้งหมดต่างพัฒนารถของตนออกมามีแนวโน้มใหญ่ขึ้น และในที่สุดคู่แข่งรายใหญ่อย่างฮอนด้า แอคคอร์ด และมิตซูบิชิ กาแลนต์ ก็ยอมจ่ายภาษีแพงโดยเพิ่มความกว้างและเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ออกไปเกินพิกัดดังกล่าว รวมถึงนิสสันก็ส่ง เซฟิโร่ ซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาเช่นกัน แต่โตโยต้าประเทศไทยเลือกที่จะนำเข้า โตโยต้า คัมรี่ จากออสเตรเลียซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆ แล้วให้โคโรน่ายังตรึงขนาดอยู่ที่พิกัดเดิม

เมื่อคู่แข่งทั้งตลาดต่างล้วนเพิ่มขนาดเกินพิกัด ยกเว้นเพียงโคโรน่ารุ่นเดียว ทำให้โคโรน่าหลุดจากสถานะเดิมไปโดยปริยาย โดยสถานะเดินที่โคโรน่าเคยอยู่นั้นมีคัมรี่มาแทนที่ ส่วนโคโรน่าถูกลดสถานะกลายเป็นรถที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง โคโรลล่า (C-Segment) กับ คัมรี่ (D-Segment) หรือบางครั้งมักจะถูกเรียกว่า C-D Segment จึงถือว่าโคโรน่าโฉมนี้อยู่ในสถานะที่ต่ำกว่ารุ่นก่อนๆ ที่ผ่านมา ทำให้ผู้สนใจในยานยนต์ที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลรถรุ่นก่อนปี 2536 มักจะเข้าใจแบบเหมารวมว่า โคโรน่า ไม่ใช่และไม่เคยเป็นรถระดับเดียวกับแอคคอร์ด กาแลนต์และมาสด้า 626 ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว ครั้งหนึ่งโคโรน่าและบลูเบิร์ดเคยอยู่ในระดับเดียวกันกับคู่แข่งเหล่านั้น แต่มาเปลี่ยนในช่วงรุ่นนี้เท่านั้น

รหัสตัวถัง T190 เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ประเทศไทย มาใน พ.ศ. 2536 โดยรุ่นแรก ตลาดรถจะเรียกว่า "ท้ายโด่งไฟแถบ" มีตัวเลือก 3 รุ่น คือ

  • 1.6XLi เป็นรุ่นต่ำสุด เครื่องยนต์ 4A-FE เกียร์ธรรมดา 5 สปีด เบาะพลาสติก ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ล้อกระทะเหล็ก 14 นิ้ว ฝาครอบแบบเต็ม ยางขนาด 185/65R14
  • 1.6GLi เป็นรุ่นกลาง เครื่องยนต์ 4A-FE เกียร์ธรรมดา 5 สปีด เบาะพลาสติกสลับกำมะหยี่ พนักพิงศีรษะเบาะหลังปรับสูงต่ำได้, ลิ้นชักใต้เบาะคู่หน้า, ไฟอ่านแผนที่, พวงมาลัยพาวเวอร์ผ่อนแรง
  • 2.0GLi เป็นรุ่นท็อป เครื่องยนต์ 3S-FE เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และอัตโนมัติ 4 สปีด เบาะกำมะหยี่ล้วน, ไฟหน้าเปิด-ปิดอัตโนมัติ, กล่องเก็บของกลางเบาะคู่หน้าแบบ 2 ชั้น, กระจกข้างปรับไฟฟ้า, แผงควบคุมระบบประอากาศแบบปุ่มกด, ดิสก์เบรก 4 ล้อ, ไฟตัดหมอกหน้า, ล้ออัลลอย 14 นิ้ว ยางขนาด 195/60R14, ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS)

ต่อมาได้ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เป็นรุ่น "ท้ายโด่ง ไฟแยก" เพิ่มตัวเลือกรุ่น 1.6GLi เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เป็นตัวเลือก ที่เหลือเหมือนเดิม และโคโรน่ารุ่นนี้ถือเป็นรถรุ่นเดียวในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดสดงานเปิดตัวผ่านโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2535 หากไม่นับการเปิดตัวรถยนต์ที่เสนอข่าวในข่าวธุรกิจ หรือข่าวก่อนละคร

จุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 2539 ที่มีการปรับโฉมอีกครั้ง และตั้งชื่อรุ่นเป็น Corona Exsior มีจุดเด่นที่ให้ความปลอดภัย ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกและถุงลมนิรภัยด้านผู้ขับขี่มาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นต่ำสุด ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงรถนำเข้าเท่านั้นที่จะมีความปลอดภัยดังกล่าวนี้ โตโยต้าบุกเบิกการติดตั้งระบบความปลอดภัยในรถระดับล่างประกอบในประเทศเป็นเจ้าแรก หลังจากนั้นเราจึงได้เริ่มเห็นยี่ห้ออื่นที่ประกอบในประเทศเช่น Galant Ultima ,Primera และ Cefiro A32 ติดตั้งตามมา โดยโคโรน่า เอ็กซ์ซิเออร์ มีตัวเลือกดังต่อไปนี้

  • 1.6GXi Manual / 1.6GXi Automatic
  • 2.0GXi Manual
  • 2.0SE.G Manual / 2.0SE.G Autonatic

นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2541 ยังได้มีการปรับเพิ่มอุปกรณ์ให้โคโรน่า โดยเพิ่มไฟหน้าฮาโลเจนมัลติรีเฟลกเตอร์, ลายไม้ในห้องโดยสาร, พวงมาลัย 3 ก้านแบบสปอร์ต และถุงลมนิรภัยฝั่งผู้โดยสาร แต่ราคาอยู่ที่ 9.5 แสนบาทซึ่งใกล้เคียงกับคัมรี่ ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อคัมรี่มากกว่าจึงต้องระงับการผลิตไปในปลายปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากคู่แข่งได้เริ่มนำรถ D-Segment ขนาดใหญ่ขึ้นมาทำตลาด ทั้ง Honda Accord และ Nissan Cefiro A32 ในขณะที่มิตซูบิชิและมาสด้าต้องถอนตัวออกจากตลาดจากสภาพเศรษฐกิจที่รุนแรงในยุคนั้น และโตโยต้าก็นำเข้าคัมรี่จากออสเตรเลียมาจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถ้าหากขายโคโรน่า เอ็กซิเออร์ต่อไปก็จะไปแย่งลูกค้ากับคัมรี่และโคโรลล่า จึงต้องปิดสายการผลิตไป

Generation ที่ 11 (พ.ศ. 2539 - 2545)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 11

รหัสตัวถัง T210 และ T220 เป็นโคโรน่าโฉมสุดท้ายที่ผลิต มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น ไม่มีการส่งออกหรือผลิตโฉมนี้ในประเทศอื่น มีการนำไปทำแท๊กซี่อยู่บ้าง ในช่วงสุดท้ายนี้ มีการผลิตโคโรน่ารุ่นพิเศษ คือ Toyota Corona Premio ซึ่งต่อมา Premio ก็ได้รับความนิยม และแตกหน่อแยกตัวออกมาเป็นอิสระ กลายเป็น Toyota Premio ซึ่งยังผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

โคโรน่า เมื่อ Premio แยกตัวออกไปแล้ว ยุคของโคโรน่าก็หมดลง คัมรี่ เข้ามาเป็นรถครอบครัวแทนโคโรน่าอย่างสมบูรณ์ จนในที่สุด ก็ปิดฉากการผลิตโคโรน่าลงใน พ.ศ. 2545 รวมระยะเวลาการผลิต 45 ปี

จะเห็นได้ว่า แม้คัมรี่จะได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน แต่คัมรี่ก็เริ่มเข้ามาแข่งกับโคโรน่าในช่วงที่โคโรน่าเป็นโฉมที่ 7 แต่กว่าจะสามารถเอาชนะได้ก็กินเวลากว่า 20 ปี แต่ยุคทองที่โคโรน่าได้รับความนิยมสุดขีดแบบไม่มีสิ่งใดขวางกั้นนั้น ยาวนานเกือบ 20 ปีเช่นกัน

อ้างอิง