ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิริวร แก้วกาญจน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:


'''ผลงานรวมเล่ม'''
'''ผลงานรวมเล่ม'''

<pre>
พ.ศ. 2537 ถามข่าวถึงแสงตะเกียง (รวมบทกวี)
*พ.ศ. 2537 ถามข่าวถึงแสงตะเกียง (รวมบทกวี)
พ.ศ. 2539 เพลงปีกผีเสื้อ (รวมบทกวี)
*พ.ศ. 2539 เพลงปีกผีเสื้อ (รวมบทกวี)
พ.ศ. 2542 ห้วงน้ำภายใน (รวมบทกวี)
*พ.ศ. 2542 ห้วงน้ำภายใน (รวมบทกวี)
พ.ศ. 2544 โลกที่กระจัดกระจาย (นวนิยาย)
*พ.ศ. 2544 โลกที่กระจัดกระจาย (นวนิยาย)
พ.ศ. 2545 ประเทศที่สาบสูญ (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2547
*พ.ศ. 2545 ประเทศที่สาบสูญ (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546 เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2548
*พ.ศ. 2546 เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2548 เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
*พ.ศ. 2548 เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2548 เมื่อฉันหายไปจากโลกใบหนึ่ง (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์และความเรียง)
*พ.ศ. 2548 เมื่อฉันหายไปจากโลกใบหนึ่ง (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์และความเรียง)
พ.ศ. 2549 กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด (นวนิยาย) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2549
*พ.ศ. 2549 กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด (นวนิยาย) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2549 ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2551
*พ.ศ. 2549 ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550 ลงเรือมาเมื่อวาน (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
*พ.ศ. 2550 ลงเรือมาเมื่อวาน (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551 ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2553
*พ.ศ. 2551 ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2551 บันทึก (ไม่) ปะติดปะต่อ [รวมงานเขียนหลากหลายรูปแบบ]
*พ.ศ. 2551 บันทึก (ไม่) ปะติดปะต่อ [รวมงานเขียนหลากหลายรูปแบบ]
พ.ศ. 2552 มาลีฮวนน่า ฮ่องกง เซินเจิ้น [สารคดี]
*พ.ศ. 2552 มาลีฮวนน่า ฮ่องกง เซินเจิ้น [สารคดี]
พ.ศ. 2553 โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า [นวนิยาย] เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555
*พ.ศ. 2553 โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า [นวนิยาย] เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2553 ช่างซ่อมตุ๊กตาจากอาเคเชีย [นวนิยายขนาดสั้น]
*พ.ศ. 2553 ช่างซ่อมตุ๊กตาจากอาเคเชีย [นวนิยายขนาดสั้น]
พ.ศ. 2555 ความว้าเหว่แห่งเอเชีย [เรื่องสั้นและบทกวี 2 ภาษา]
*พ.ศ. 2555 ความว้าเหว่แห่งเอเชีย [เรื่องสั้นและบทกวี 2 ภาษา]
</pre>


== รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ ==
== รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:11, 24 กุมภาพันธ์ 2563

ศิริวร แก้วกาญจน์
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
นามปากกาศิริวร แก้วกาญจน์
อาชีพจิตรกร, กวี, นักเขียน

ศิริวร แก้วกาญจน์ (มีนาคม พ.ศ. 2511 -) จิตรกร กวี และนักเขียนชาวไทย ผู้มีผลงานโดดเด่นและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์มากที่สุดในประเทศไทย

ศิริวรจบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชเริ่มเข้าสู่โลกการอ่านอย่างจริงจังตอนเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช จากนั้นก็ เข้าไปเป็นทหารอยู่ในกองทัพภาคที่ 4 เป็นเวลา 1 ปี, เข้ากรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2534 รับจ้างทำงานประติมากรรมอยู่ราวๆ ครึ่งปี จากนั้นก็เข้าไปประจำอยู่ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์เล่มหนึ่ง พร้อมกับเขียนบทกวีและเขียนรูปไปด้วย ศิริวรเริ่มเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่อลาออกจากงานประจำที่หนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ฉบับดังกล่าว หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จากนั้นเขาไม่เคยเข้าทำงานประจำที่ไหนอีกเลย

ปัจจุบันมีผลงานมาแล้วหลายเล่ม ทั้งบทกวี ความเรียง เรื่องสั้น และนวนิยาย เคยได้รับรางวัลดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี พ.ศ. 2547 จากรวมเรื่องสั้น เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง รางวัลบทกวีของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2538 จากบทกวีชื่อ ณ ซอกมุมสมัยและใครเหล่านั้น' และปี พ.ศ. 2539 จากบทกวีชื่อ พเนจร

มีผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำประเทศไทย 8 ครั้ง (9 เล่ม) คือ ปี พ.ศ. 2547 กวีนิพนธ์ ประเทศที่สาบสูญ ปี พ.ศ. 2548 รวมเรื่องสั้น เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง ปี พ.ศ. 2549 นวนิยาย กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด ปี พ.ศ. 2550 กวีนิพนธ์ เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก และ ลงเรือมาเมื่อวาน ปี พ.ศ. 2551 รวมเรื่องสั้น ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ และปี พ.ศ. 2553 กวีนิพนธ์ ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง ปี พ.ศ. 2554 รวมเรื่องสั้น 'ความมหัศจจรย์ครั้งยิ่งใหญ่และเรื่องราวอื่นๆ' และปี พ.ศ. 2555 นวนิยาย 'โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า'[1]

ผลงานนวนิยายที่ได้รับการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางคือ เรื่อง กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด (The Murder Case of Tok Imam Storpa Karde) ซึ่งนำเสนอปัญหาเชิงลึกใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ผ่านมุมมองและเสียงเล่าของตัวละครมากกว่าสิบตัว ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านปรัชญา ความเชื่อ เชื้อชาติ ความศรัทธา ช่วงวัย และอุดมคติ-อุดมการณ์ (ส่วนหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ ถูกนำไปคัดย่อเป็นเรื่องสั้น ส่งประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า และถูกกล่าวหาว่าเป็นผลงานที่ทำลายความมั่นคงของชาติ จนถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้รับรางวัลจากการประกวดวรรณกรรมของรัฐสภาไทย) ต่อมา นวนิยายเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย มาร์แซล บารังส์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ PAJONPHAI

ปัจจุบันศิริวรใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ยังคงผลิตงานเขียนทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น สารคดี และ นวนิยายอย่างมุ่งมั่นจริงจัง แม้จะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ศิริวรก็มักจะออกไปเช่าที่พักเพื่อเขียนหนังสือในต่างจังหวัดอยู่เป็นระยะๆ อีกทั้งยังเดินทางท่องเที่ยวไปในแถบประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลมาใช้เขียนหนังสือ และเรียนรู้ชีวิตในแง่มุมใหม่ๆอยู่เสมอ

นอกจากเขียนหนังสือเป็นอาชีพแล้ว ยังเขียนเพลง เขียนภาพประกอบ ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่มหนังสือ และเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจให้กับพ็อกเก็ตบุ๊คควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ ศิริวรยังเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เล็กๆ PAJONPHAI ทั้งยังเป็นบรรณาธิการและผู้ก่อตั้ง BOOKMARX นิตยสารวรรณกรรม (ในเครือสำนักพิมพ์ผจญภัย) ซึ่งวางตลาดเล่มแรกเมื่อปี 2553

รูปแบบและประเภทของผลงาน

ผลงานรวมเล่ม

  • พ.ศ. 2537 ถามข่าวถึงแสงตะเกียง (รวมบทกวี)
  • พ.ศ. 2539 เพลงปีกผีเสื้อ (รวมบทกวี)
  • พ.ศ. 2542 ห้วงน้ำภายใน (รวมบทกวี)
  • พ.ศ. 2544 โลกที่กระจัดกระจาย (นวนิยาย)
  • พ.ศ. 2545 ประเทศที่สาบสูญ (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2547
  • พ.ศ. 2546 เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2548
  • พ.ศ. 2548 เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
  • พ.ศ. 2548 เมื่อฉันหายไปจากโลกใบหนึ่ง (รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์และความเรียง)
  • พ.ศ. 2549 กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด (นวนิยาย) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2549
  • พ.ศ. 2549 ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ (รวมเรื่องสั้น) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2551
  • พ.ศ. 2550 ลงเรือมาเมื่อวาน (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2550
  • พ.ศ. 2551 ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง (รวมบทกวี) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2553
  • พ.ศ. 2551 บันทึก (ไม่) ปะติดปะต่อ [รวมงานเขียนหลากหลายรูปแบบ]
  • พ.ศ. 2552 มาลีฮวนน่า ฮ่องกง เซินเจิ้น [สารคดี]
  • พ.ศ. 2553 โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า [นวนิยาย] เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555
  • พ.ศ. 2553 ช่างซ่อมตุ๊กตาจากอาเคเชีย [นวนิยายขนาดสั้น]
  • พ.ศ. 2555 ความว้าเหว่แห่งเอเชีย [เรื่องสั้นและบทกวี 2 ภาษา]

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

  • รางวัลบทกวี จาก สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2539 รางวัลวรรณกรรมดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี พ.ศ. 2547 จากรวมเรื่องสั้น เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง และรวมเรื่องสั้นเล่มเดียวกันนี้ยังได้รับการบรรจุไว้ในตำราเรียนวิชา วรรณคดีกับสังคมไทยของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

ศิริวร เป็นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ในปัจจุบัน สร้างงานเขียนหลายประเภท ครอบคลุมทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และความเรียง มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แสดงให้เห็นถึงความใฝ่ใจและมานะในอาชีพนักเขียน ศิริวร ทำงานเขียนอย่างต่อเนื่องจริงจังและมีพัฒนาการทางด้านฝีมืออยู่เสมอ เขาพยายาม แสวงหาวิธีการเขียนใหม่ๆ มาสร้างสรรค์นวลักษณ์ให้แก่เรื่องเล่าสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ และมีความใส่ใจที่จะเพ่งมองชีวิตและสังคมอย่างครุ่นคิดพิจารณา งานเขียนในช่วงหลังของเขาจึงมีสีสันในแง่ของการนำเสนอโลกทัศน์ ต่อชีวิต สังคมและโลกที่ลุ่มลึกมากขึ้น พร้อมทั้งมีกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาน่าสนใจ

การทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม

อ้างอิง

ดูเพิ่ม