ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเนกขัมมาราม (จังหวัดราชบุรี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


==ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (แดง)==
==ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (แดง)==

ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง( หลวงปู่แดง ) หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักขึ้นจากศิลาแลง (ศิลาแดง) หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๖๙ นิ้ว ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง แต่ได้สันนิษฐานกันตามพุทธลักษณะว่า เป็นพระพุทธรูปโบราณ แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า “ หลวงปู่แดง ” ตามพุทธลักษณะของท่าน และอีกประการหนึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยานั้น พวกพม่าได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเงินทอง แม่กระทั่งพระพุทธรูปต่างๆ พม่าก็นำไปเผาไฟ เพื่อหลอมเอาทองคำที่หุ้มองค์พระนำกลับไปพม่า ที่นำไปไม่ได้ก็ทุบทำลายเสียหายเป็นอันมาก มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเห็นการกระทำของพม่า จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่สลักด้วยศิลาแลง (ศิลาแดง) หลายองค์ลงเรือสำเภาใหญ่หนีมาถึงเมืองราชบุรี และมาเกยตื้นที่โคกหลวง และได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดโคกหลวง และนำพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาด้วยนั้นขึ้นประดิษฐานที่วัดโคกหลวงนี้ หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ได้ประดิษฐานอยู่ที่หน้าอุโบสถ และหลวงพ่อศรีโสภิส ได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ (ปัจจุบันวัดอมรญาติสมาคม ได้อัญเชิญไปเป็นพระประธานอุโบสถ เมื่อครั้งวัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง) หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มีพระพักตร์กลมอิ่มยิ้มละมัย ในส่วนของพระเมาลีตอนโคนสุดเป็นรูปกลีบบัว ส่วนปลายแหลมเป็นเปลวเพลิง ตรงกลางเป็นรูปอุณาโลม เม็ดพระศกขมวดปลายแหลมเป็นก้นหอย พระกรรณ (หู) ยาวจรดพระอังสา (บ่า) พระเพลาเป็นแบบสมาธิ พระหัตถ์ขวาคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา ซึ่งเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า “ ชนะมาร – สดุ้งมาร – มารวิชัย ” ลำพระองค์ได้สัดส่วน ห่อหุ้มด้วยทองคำเปลวซึ่งสาธุชนทั่วไปได้มาปิดทองถวาย ลักษณะอ่อนช้อยงดงาม ต่อมา วัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พระธรรมวิรัตสุนทร (หลวงพ่อเชย) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการาม เจ้าคณะอำเภอดำเนินสะดวก และพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดเนกขัมมาราม ได้ทำพิธีอัญเชิญองค์หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มาประดิษฐานที่วิหารหน้าวัดเนกขัมมาราม ริมคลองขุดลัดราชบุรี ซึ่งในระยะแรกนั้น ได้ปลูกวิหารเป็นไม้ มุงสังกะสี พอกันแดดกันฝนให้องค์พระ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๖ เวลา ๐๙.๓๙ น. พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระครูวินัยธรชุ่ม สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาส และคณะกรรมการ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างวิหารจตุรมุขหลังใหม่อันงามสง่าสมศักดิ์ศรี เพื่อเป็นที่ประทับประดิษฐานหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ให้เป็นที่ถาวรสืบไป
ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง( หลวงปู่แดง )

หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักขึ้นจากศิลาแลง (ศิลาแดง) หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๖๙ นิ้ว ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง แต่ได้สันนิษฐานกันตามพุทธลักษณะว่า เป็นพระพุทธรูปโบราณ แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า “ หลวงปู่แดง ” ตามพุทธลักษณะของท่าน และอีกประการหนึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยที่พม่ายกทัพมาตี[[กรุงศรีอยุธยา]]นั้น พวกพม่าได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเงินทอง แม้กระทั่งพระพุทธรูปต่างๆ พม่าก็นำไปเผาไฟ เพื่อหลอมเอาทองคำที่หุ้มองค์พระนำกลับไปพม่า ที่นำไปไม่ได้ก็ทุบทำลายเสียหายเป็นอันมาก มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเห็นการกระทำของพม่า จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่สลักด้วยศิลาแลง (ศิลาแดง) หลายองค์ลงเรือสำเภาใหญ่หนีมาถึงเมืองราชบุรี และมาเกยตื้นที่โคกหลวง และได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า[[วัดโคกหลวง]] และนำพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาด้วยนั้นขึ้นประดิษฐานที่วัดโคกหลวงนี้ หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ได้ประดิษฐานอยู่ที่หน้าอุโบสถ และหลวงพ่อศรีโสภิส ได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ (ปัจจุบัน[[วัดอมรญาติสมาคม]] ได้อัญเชิญไปเป็นพระประธานอุโบสถ เมื่อครั้งวัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง)

หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มีพระพักตร์กลมอิ่มยิ้มละมัย ในส่วนของพระเมาลีตอนโคนสุดเป็นรูปกลีบบัว ส่วนปลายแหลมเป็นเปลวเพลิง ตรงกลางเป็นรูปอุณาโลม เม็ดพระศกขมวดปลายแหลมเป็นก้นหอย พระกรรณ (หู) ยาวจรดพระอังสา (บ่า) พระเพลาเป็นแบบสมาธิ พระหัตถ์ขวาคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา ซึ่งเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า “ ชนะมาร – สดุ้งมาร – มารวิชัย ” ลำพระองค์ได้สัดส่วน ห่อหุ้มด้วยทองคำเปลวซึ่งสาธุชนทั่วไปได้มาปิดทองถวาย ลักษณะอ่อนช้อยงดงาม

ต่อมา วัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พระธรรมวิรัตสุนทร (หลวงพ่อเชย) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการาม เจ้าคณะอำเภอดำเนินสะดวก และพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดเนกขัมมาราม ได้ทำพิธีอัญเชิญองค์หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มาประดิษฐานที่วิหารหน้าวัดเนกขัมมาราม ริมคลองขุดลัดราชบุรี ซึ่งในระยะแรกนั้น ได้ปลูกวิหารเป็นไม้ มุงสังกะสี พอกันแดดกันฝนให้องค์พระ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๖ เวลา ๐๙.๓๙ น. พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระครูวินัยธรชุ่ม สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาส และคณะกรรมการ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างวิหารจตุรมุขหลังใหม่อันงามสง่าสมศักดิ์ศรี เพื่อเป็นที่ประทับประดิษฐานหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ให้เป็นที่ถาวรสืบไป


==เจ้าอาวาส==
==เจ้าอาวาส==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:52, 24 กุมภาพันธ์ 2563

วัดเนกขัมมาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเนกขัมมาราม
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 82 หมู่ 4 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ (ชุ่ม สมฺปนฺโน)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติวัดเนกขัมมาราม

วัดเนกขัมมาราม เลขที่ 82 หมู่ 4 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 70 ไร่เศษ ถนนลาดยางสายโคกวัดและตลาดเสรีผ่านหน้าวัด คลองขุดลัดราชบุรีผ่านหลังวัด ประมาณปี พ.ศ. 2486 พระเดชพระคุณ พระธรรมวิรัตน์สุนทร (หลวงพ่อเชย) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการาม ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะอำเภอดำเนินสะดวก ท่านดำริที่จะจัดตั้งวัดขึ้น เพื่อความสะดวกของประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร จะได้ทำบุญสร้างกุศลตามสภาพท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ ณ บ้านหมู่ 4 ตำบลแพงพวยนี้ โดยมีคุณแม่อุบาสิกาทองดี แซ่กัว จัดซื้อที่ดิน จำนวน 11 ไร่เศษ นำไปถวายหลวงพ่อเชย จึงจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นก่อน เรียกว่า สำนักสงฆ์เนกขัมมาราม ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2492 จึงได้ประกาศตั้งเป็นวัดชื่อ วัดเนกขัมมาราม มีคำสั่งแต่งตั้ง พระภิกษุถนอม อตฺตนาโถ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ วัดปรกเจริญ ตำบลขุนพิทักษ์ อำเภอดำเนินสะดวก มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นับเป็นรูปแรกของวัดเนกขัมมารามนี้

ในสมัยที่หลวงพ่อพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึงปี พ.ศ. 2522 นั้น ท่านได้พัฒนาสร้างถาวรวัตถุด้านศาสนา และด้านการศึกษาต่างๆ หลวงพ่อพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ มรณภาพเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2522 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุได้ 64 ปี นับว่าท่านได้สร้างความเจริญให้กับวัดเนกขัมมารามนี้ เป็นอย่างมาก คณะสงฆ์ คณะกรรมการและคณะศิษยานุศิษย์ จึงได้พร้อมกัน จัดงานบำเพ็ญกุศลถวาย ในวันคล้ายวันมรณภาพ ให้กับหลวงพ่อพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ ในวันที่ 4 กันยายน ของทุกปี

ต่อมาคณะกรรมการวัดฯ จึงได้ไปอาราธนาพระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ ( ในขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระครูสังฆรักษ์ชุ่ม สมฺปนฺโน ) ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มาดำรง ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม ในปี พ.ศ.2523 นับเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 สืบต่อมาถึงปัจจุบัน

นับว่าหลวงพ่อพระครูไพศาลพัฒนาภรณ์นี้ ท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านพัฒนาทั้งทางโลก และทางธรรมควบคู่กันไป เห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นที่สุด ท่านถือคติที่ว่า รากฐานของตึก อยู่ที่อิฐ รากฐานของชีวิต อยู่ที่การศึกษา นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเยาวชนอย่างยิ่ง โดยการจัดซื้อที่ดิน เพื่อจัดสร้าง โรงเรียนมัธยมประจำตำบลขึ้น เป็นการขยายระดับการศึกษา ต่อจากชั้นประถมศึกษาเป็นมัธยมศึกษาและก.ศ.น. พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ เป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยราชการระดับจังหวัดและส่วนกลาง เพื่อจัดสร้าง มัธยม”เนกขัมวิทยา” พร้องทั้งยังเป็น องค์อุปถัมภ์อุปการะโรงเรียน และนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยการมอบทุนการศึกษา จัดตั้งมูลนิธิสนับสนุนการศึกษาเนกขัมฯ ตั้งแต่เริ่มจัดสร้างโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.2527 จนถึงปัจจุบัน

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า หลวงพ่อพระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ ท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้เริ่มสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก “เนกขัมเจริญวัย” ขึ้นอีก ในปีพ.ศ. 2532 ท่านได้อุปการะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเนกขัมเจริญวัยแห่งนี้ และได้รับการสนับสนุนจากญาติโยม หลวงพ่อพระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ ท่านได้สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นเป็นอย่างมาก นับเป็นเวลา กว่า 31 ปี ที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านบูรณปฏิสังขรณ์วัดเนกขัมมาราม ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ดังที่ปรากฏแล้วว่า แต่เดิมวัดเนกขัมมาราม อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ท่านก็ได้มาปรับปรุงจัดระเบียบ ปรับปรุงเคลื่อนย้ายกุฏิสงฆ์ หอฉันหอสวดมนต์ จากเดิมชั้นเดียว และยกเป็น 2 ชั้น จัดเป็นระเบียบ เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ยกและย้ายอาคารโรงเรียน สร้างกำแพงวัด สร้างซุ้มประตูร่มเกล้า สร้างศาลาอเนกประสงค์ เพิ่มอีก 2 หลัง พร้อมทั้งทาสีถาวรวัตถุของวัดให้ใหม่สวยสดงดงาม อีกทั้งยังได้ก่อสร้าง เรือนรับรอง เพื่อเป็นที่รับรองพระสงฆ์ หรือคณะพุทธศาสนิกชน ที่ได้เดินทางมายังวัดเนกขัมมาราม เพื่อประกอบบุญพิธีในด้านต่างๆ และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวัด มีการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น และมีการเผยแผ่คติธรรมคติพจน์ คำกลอน ตามต้นไม้ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (แดง)

ประวัติหลวงพ่ออู่สำเภาทอง( หลวงปู่แดง )

หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักขึ้นจากศิลาแลง (ศิลาแดง) หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๖๙ นิ้ว ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง แต่ได้สันนิษฐานกันตามพุทธลักษณะว่า เป็นพระพุทธรูปโบราณ แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า “ หลวงปู่แดง ” ตามพุทธลักษณะของท่าน และอีกประการหนึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยานั้น พวกพม่าได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเงินทอง แม้กระทั่งพระพุทธรูปต่างๆ พม่าก็นำไปเผาไฟ เพื่อหลอมเอาทองคำที่หุ้มองค์พระนำกลับไปพม่า ที่นำไปไม่ได้ก็ทุบทำลายเสียหายเป็นอันมาก มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเห็นการกระทำของพม่า จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่สลักด้วยศิลาแลง (ศิลาแดง) หลายองค์ลงเรือสำเภาใหญ่หนีมาถึงเมืองราชบุรี และมาเกยตื้นที่โคกหลวง และได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดโคกหลวง และนำพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาด้วยนั้นขึ้นประดิษฐานที่วัดโคกหลวงนี้ หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ได้ประดิษฐานอยู่ที่หน้าอุโบสถ และหลวงพ่อศรีโสภิส ได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ (ปัจจุบันวัดอมรญาติสมาคม ได้อัญเชิญไปเป็นพระประธานอุโบสถ เมื่อครั้งวัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง)

หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มีพระพักตร์กลมอิ่มยิ้มละมัย ในส่วนของพระเมาลีตอนโคนสุดเป็นรูปกลีบบัว ส่วนปลายแหลมเป็นเปลวเพลิง ตรงกลางเป็นรูปอุณาโลม เม็ดพระศกขมวดปลายแหลมเป็นก้นหอย พระกรรณ (หู) ยาวจรดพระอังสา (บ่า) พระเพลาเป็นแบบสมาธิ พระหัตถ์ขวาคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา ซึ่งเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า “ ชนะมาร – สดุ้งมาร – มารวิชัย ” ลำพระองค์ได้สัดส่วน ห่อหุ้มด้วยทองคำเปลวซึ่งสาธุชนทั่วไปได้มาปิดทองถวาย ลักษณะอ่อนช้อยงดงาม

ต่อมา วัดโคกหลวงนี้ได้เป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พระธรรมวิรัตสุนทร (หลวงพ่อเชย) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการาม เจ้าคณะอำเภอดำเนินสะดวก และพระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดเนกขัมมาราม ได้ทำพิธีอัญเชิญองค์หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) มาประดิษฐานที่วิหารหน้าวัดเนกขัมมาราม ริมคลองขุดลัดราชบุรี ซึ่งในระยะแรกนั้น ได้ปลูกวิหารเป็นไม้ มุงสังกะสี พอกันแดดกันฝนให้องค์พระ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๖ เวลา ๐๙.๓๙ น. พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระครูวินัยธรชุ่ม สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาส และคณะกรรมการ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างวิหารจตุรมุขหลังใหม่อันงามสง่าสมศักดิ์ศรี เพื่อเป็นที่ประทับประดิษฐานหลวงพ่ออู่สำเภาทอง (หลวงปู่แดง) ให้เป็นที่ถาวรสืบไป

เจ้าอาวาส

  • พระธรรมธรถนอม อตฺตนาโถ พ.ศ.2500 - 2522
  • พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ (ชุ่ม สมฺปนฺโน)พ.ศ.2523 - ปัจจุบัน

เสนาสนะ

  • อุโบสถ
  • วิหาร หลวงพ่ออู่สำเภาทอง (แดง)
  • วิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
  • ศาลาการเปรียญ
  • กุฎิสงฆ์
  • ฌาปนสถาน
  • ศาลาเอนกประสงค์
  • ศาลาเลศงาม
  • เรือนรับรอง
  • หอระฆัง
  • ซุ้มประตู


กิจกรรมภายในวัด

  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน วันมาฆบูชา
  • บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 1-30 เมษายน
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม วันสงกรานต์ 13 เมษายน
  • งานประจำปีปิดทอง สรงน้ำ หลวงพ่ออู่สำเภาทอง 16-18 เมษายน
  • งานทำบุญวันคล้ายวันเกิดเจ้าอาวาส 6 พฤษภาคม
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน วันวิสาขบูชา
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม วันเข้าพรรษา
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ทุกวันพระ ตลอดพรรษา
  • งานทำบุญวันมรณภาพอดีตเจ้าอาวาส 4 กันยายน
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม วันออกพรรษา
  • ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ฟังธรรม วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก
  • งานทอดผ้ากฐินสามัคคี (วันอาทิตย์แรกหลังจากออกพรรษา)
  • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม และทอดผ้าป่าสามัคคี วันลอยกระทง
  • สวดมนต์ข้ามปี ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นนต้นไป 31 ธันวาคม

อ้างอิง