ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด"

พิกัด: 16°41′59″N 098°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
|[[วิสดอมแอร์เวย์]]
|[[วิสดอมแอร์เวย์]]
|[[ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่]]
|[[ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่]]
|'''ภายในประเทศ'''
|ภายในประเทศ
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:10, 22 กุมภาพันธ์ 2563

16°41′59″N 098°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
  • IATA: MAQ
  • ICAO: VTPM
    MAQตั้งอยู่ในประเทศไทย
    MAQ
    MAQ
    ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์/สนามบินศุลกากร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
สถานที่ตั้งตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล210 เมตร / 690 ฟุต
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
09/27 1,500 4,921 ยางมะตอย
สถิติ (2558)
ผู้โดยสาร144,598
เที่ยวบิน2,816
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด (อังกฤษ: Mae Sot International Airport) ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ท่าอากาศยานแม่สอด เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมเป็นสนามบิน ที่ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ในปี 2473 ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ กองการบินพลเรือน กระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการ ทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่ง ทางอากาศ ขณะนั้นจึงได้ปรับปรุงสภาพสนามบิน และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบินซึงใน ช่วงเวลาดัวกล่าวนี้บริษัทเดินอากาศไทยได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAGOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2513 บริษัทเดินอากาศไทย จึงได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 นี้เองกรมการบินพาณิชย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอด อีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือได้มีการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 และ 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 และได้เปิดให้บริการกับสายการบินและผู้โดยสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในการกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1]

ปัจจุบันกำลังดำเนินการปรับปรุงขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ให้มีความยาวมากขึ้น จากเดิม 1,500 เมตร เป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 และแอร์บัส เอ320 และขยายพื้นที่จอดเครื่องบิน ให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดดังกล่าวได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน รวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[2] ทั้งนี้สายการบินไทยแอร์เอเชียได้แสดงท่าทีว่าพร้อมเปิดเส้นทางบินมายังท่าอากาศยานแม่สอดทันทีที่รันเวย์มีขนาดรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของตน[3]

สายการบินที่ให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[4] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ (เริ่ม 31 มี.ค. 63) ภายในประเทศ


สายการบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
แอร์ฟินิกซ์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
กานต์แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, ตาก (อำเภอเมืองตาก)[5], เชียงใหม่[5] ภายในประเทศ
เดินอากาศไทย ตาก (อำเภอเมืองตาก), เชียงใหม่[6] ภายในประเทศ
บริษัท เดินอากาศ จำกัด ตาก (อำเภอเมืองตาก) (สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง)[6] ภายในประเทศ
นกมินิ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกมินิ ย่างกุ้ง, มะละแหม่ง ระหว่างประเทศ
นกแอร์ ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ
วิสดอมแอร์เวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ภายในประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
  2. โครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานแม่สอด
  3. "ไทยแอร์เอเชียจี้รัฐขยายสนามบินเมืองรอง". ครอบครัวข่าว 3. 12 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightStatusByAirport.do
  5. 5.0 5.1 กาญจนา อาสนะคงอยู่ (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 123. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite report}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |month= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. 6.0 6.1 "ความเป็นมา". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น