ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบู่ทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{ความหมายอื่น|นิทานพื้นบ้าน|ปลาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata|ปลาบู่ทอง (สัตว์)}}
{{ความหมายอื่น|นิทานพื้นบ้าน|ปลาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata|ปลาบู่ทอง (สัตว์)}}


== ำพไะฟพ เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดย'''เศรษฐีทารก''' ''(อ่านว่า ทา-ระ-กะ)'' ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อ'''ขนิษฐา''' มีลูกสาวชื่อ '''เอื้อย''' ส่วนคนที่สองชื่อ '''ขนิษฐี''' มีลูกสาวชื่อ '''อ้าย''' และ '''อี่'''==
== ำพไฟพ เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดย'''เศรษฐีทารก''' ''(อ่านว่า ทา-ระ-กะ)'' ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อ'''ขนิษฐา''' มีลูกสาวชื่อ '''เอื้อย''' ส่วนคนที่สองชื่อ '''ขนิษฐี''' มีลูกสาวชื่อ '''อ้าย''' และ '''อี่'''==


วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง
วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:15, 21 กุมภาพันธ์ 2563

ำพไฟพ เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดยเศรษฐีทารก (อ่านว่า ทา-ระ-กะ) ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อขนิษฐา มีลูกสาวชื่อ เอื้อย ส่วนคนที่สองชื่อ ขนิษฐี มีลูกสาวชื่อ อ้าย และ อี่

วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกทำเป็นไม่รับรู้และไม่สนใจ

เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับปลาบู่ทองซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ของตนก็ได้นำข้าวสวยและรำมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน

นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยดูมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงไปแอบสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐีก็ไปจับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว

เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก นางนำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือ เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อนางขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็จัดการโค่นต้นมะเขือ และเด็ดลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน

เอื้อยแอบเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้ขอแม่ไปเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้

อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง เห็นว่าสวยงามยิ่งนัก จึงโปรดให้ทหารนำไปปลูกไว้ในวัง แต่กลับไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองนี้ได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่า หากผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม

ผู้คนมากมายต่างมาร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองรวมถึง นางขนิษฐีและอ้ายกับอี่ก็มาเข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วย แต่ก็ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและได้อธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงสามารถถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จอย่างง่ายดาย

พระเจ้าพรมทัตมีจิตปฏิพัทธ์ต่อเอื้อย จึงชวนเอื้อยเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี ฝ่ายนางขนิษฐีและลูกสาวทั้งสองรู้สึกอิจฉาเอื้อยอย่างมากจึงวางแผนส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกบิดานั้นป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน

เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้อน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย นางขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต

เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็นนกแขกเต้า เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว นางอ้ายใจบาปเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ จึงสั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน

แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าจนหมดและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ เอื้อยในร่างนกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูแลจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินหนีเข้าป่าไปจนเจอกับพระฤๅษี

พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานอันแก่กล้าพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิด และได้รู้ถึงชะตาชีวิตอันแสนรันทดของเอื้อย พระฤๅษีเกิดเวทนาจึงช่วยเสกนกแขกเต้ากลายเป็นคนตามเดิม และได้วาดรูปเด็กชายขึ้นมารูปหนึ่งแล้วเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กชายนั้นโตขึ้นก็ขอแม่เดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงต้องจำยอมเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังและร้อยพวงมาลัยฝากให้บุตรชายนำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและได้เห็นพวงมาลัย ก็จำได้ว่าเป็นฝีมือของเอื้อย พระองค์จึงขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยนี้มาได้อย่างไร เด็กน้อยจึงเล่าเรื่องที่ได้ฟังจากแม่ให้พระองค์สดับ เมื่อพระเจ้าพรมทัตได้ทราบเรื่องทั้งหมด จึงได้ทรงสั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และนางขนิษฐีจนหมดสิ้น และเสด็จไปรับเอื้อยกลับมาครองรักด้วยกันอีกครั้งอย่างมีความสุขตลอดไป [1]

การดัดแปลง

ปลาบู่ทองถูกนำมาสร้างครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. สร้างโดย เทพกรภาพยนตร์ โดย กิติมา เศรษฐภักดี เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับโดย อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) ออกฉายครั้งแรกวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ต่อมาปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2510 เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของ ดาราฟิล์ม กำกับโดย ไพรัช สังวริบุตร บทโดย ประสม สง่าเนตร มีเพลงนำเรื่องขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 นำมาเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ออกฉายในชื่อเรื่อง "แม่ปลาบู่" โดย วนิชศิลปภาพยนตร์ ของ อนันต์ ชลวนิช ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 โดยฉายที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์

ปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์อีก 3 ครั้ง

  • ในปี พ.ศ. 2522 กำกับโดย ชิต ไทรทอง สร้างโดย ศิริมงคลโปรดัคชั่น อำนวยการสร้างโดย ชาญชัย เนตรขำคม เข้าฉายเมื่อ 7 กรกฎาคม
  • ในปี พ.ศ. 2527 กำกับโดย วิเชียร วีระโชติ อำนวยการสร้างโดย วิษณุ นาคสู่สุข สร้างโดย วิษณุภาพยนตร์
  • ในปี พ.ศ. 2537 สร้างโดย กรุ๊ฟโฟร์ โปรดักชั่น กำกับโดย สิทธิชัย พัฒนดำเกิง บทภาพยนตร์โดย อาทิตย์ เข้าฉาย 8 พฤศจิกายน

และถูกนำมาทำเป็นละครโทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2537 สร้างโดย บริษัท สามเศียร จำกัด และ บริษัท ดาราวีดีโอ จำกัด กำกับโดย สยม สังวริบุตร และ สมชาย สังข์สวัสดิ์ บทโทรทัศน์โดย รัมภา ภิรมย์ภักดี (ภาวิต) และ ลุลินารถ สุนทรพฤกษ์ และในปี พ.ศ. 2552 สร้างโดย บริษัท สามเศียร จำกัด กำกับโดย คูณฉกาจ วรสิทธิ์ บทโทรทัศน์โดย รัมภา ภิรมย์ภักดี (พิกุลแก้ว) ออกอากาศ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นักแสดง

ปี พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2552
รูปแบบ ภาพยนตร์ 16 มม. ภาพยนตร์ทีวี ช่อง 7
ภาพยนตร์ 35 มม.
ละคร ช่อง 7 ภาพยนตร์ 35 มม. การ์ตูน ช่อง 3 ละคร ช่อง 7
ผู้สร้าง เทพกรภาพยนตร์ ดาราฟิล์ม ศิริมงคลโปรดัคชั่น วิษณุภาพยนตร์ สามเศียร กรุ๊ฟโฟร์ บรอดคาซท์ สามเศียร
ผู้กำกับ เนรมิต ไพรัช สังวริบุตร ชิต ไทรทอง วิเชียร วีระโชติ สยม สังวริบุตร
สมชาย สังข์สวัสดิ์
สิทธิชัย พัฒนดำเกิง พี่นัส พี่เปี๊ยก
และพรรคพวก
คูณฉกาจ วรสิทธิ์
เอื้อย/อ้าย ภาวนา ชนะจิต เยาวเรศ นิศากร ลลนา สุลาวัลย์ เพ็ญยุพา มณีเนตร อัจฉรา ทองเทพ นวพร อินทรวิมล นัยนา ทิพย์ศรี พีชญา วัฒนามนตรี
พระเจ้าพรหมทัต/พระโอรสพรหมทัต (พ่อพรหม) ไชยา สุริยัน พัลลภ พรพิษณุ ปฐมพงษ์ สิงหะ สุริยา ชินพันธุ์ ปริญญา ปุ่นสกุล เกรียง ไกรมาก สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา
พระเจ้าสีหนุราช (พระบิดาของพระเจ้าพรหมทัต) ไพโรจน์ สังวริบุตร
สุริยะ ปานรวัฐ ลิ่มรัตนาอาภรณ์
ยอดชาย เมฆสุวรรณ
รุ้งลาวัลย์ ศรีปฏิมากูร
อำมาตย์ เด๋อ ดอกสะเดา
เศรษฐีทารก/เศรษฐีพาทิกะ (พ่อ) สมควร กระจ่างศาสตร์ สุวิน สว่างรัตน์ สมควร กระจ่างศาสตร์ สมภพ เบญจาธิกุล ชาตรี พิณโณ สรพงษ์ ชาตรี ธงชัย ชาญชำนิ อัมรินทร์ สิมะโรจน์
ขนิษฐา (แม่เอื้อย) วิไลวรรณ วัฒนพานิช น้ำเงิน บุญหนัก รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อัมพวัน ศรีวิไล ปัทมา ปานทอง ขวัญภิรมย์ หลิน จุฑามาศ ชวนเจริญ ทราย เจริญปุระ
ขนิษฐี (แม่อ้าย) ปรียา รุ่งเรือง ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ อรสา พรหมประทาน พิศมัย วิไลศักดิ์ อรุโณทัย นฤนาท ปาลีรัฐ ศศิธร นัยนา ทิพย์ศรี น้ำทิพย์ เสียมทอง
พระมเหสีพระเจ้าสีหนุราช วนิษฐา วัชโรบล
ยายสม เยาวเรศ นิสากร
เอื้อย/อ้าย (วัยเด็ก) ด.ญ. สาวิกา ไชยเดช ด.ญ. กิ่งกาญจน์ บุญสุข
พระเจ้าพรหมทัต (วัยเด็ก) ด.ช. นราธิษณ์ น้ำค้าง
ดอน จมูกบาน
ธรมมศักดิ์ สุริยัน
ไกรสีห์ แก้ววิมล
ไพนลิน นิลฉ่ำ
จิราวรรณ อินมา
วิลาวัลย์ โพธิ์เก่ง
วัชระเดช สิทธิ์กูล
เสกสรรค์ รอกประเสริฐ
วรพงษ์ ปิ่นแก้ว
ทัศนีย์ สีดาสมุทร์
ชัยวรงค์ ช่างเกิด
ลัดดาวรรณ มั่นคงดี
ทัศนีย์ สีดาสมุทร์
ชัยวรงค์ ช่างเกิด
กุมารี ด.ญ.ปานรดา คเชนทร์นุกูล
ลบกุมาร ด.ช.ศิรวิชญ์ สังวริบุตร ด.ช.ชญานิน เต่าวิเศษ

อ้างอิง

  1. "ปลาบู่ทอง". กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.