ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคชาติไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เรียบร้อยแล้ว
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 110.170.232.7 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 160: บรรทัด 160:
[[หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2551]]
[[หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2551]]
[[หมวดหมู่:พรรคอนุรักษ์นิยมในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคอนุรักษ์นิยมในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทยพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:พรรคเพื่อไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคกิจสังคม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:15, 18 กุมภาพันธ์ 2563

พรรคชาติไทย
หัวหน้าบรรหาร ศิลปอาชา
เลขาธิการประภัตร โพธสุธน
โฆษกจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
นโยบายสัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล (พ.ศ. 2548)
ยืนหยัด ชัดเจน (พ.ศ. 2550)
คำขวัญสามัคคี ก้าวหน้า มั่นคง
ก่อตั้ง19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ถูกยุบ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551(34 ปี 13 วัน)
ที่ทำการเลขที่ 1 ถนนพิชัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พรรคชาติไทย (อังกฤษ: Chart Thai Party) เป็นอดีตพรรคการเมืองในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับชาติช่วงปี พ.ศ. 2517–2551

ประวัติ

พรรคชาติไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[1] โดยกลุ่มนักการเมืองซอยราชครู (พหลโยธินซอย 5) ที่เป็นเครือญาติกัน และเคยมีความใกล้ชิดกับพรรคเสรีมนังคศิลาในอดีต[2] นำโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร, พล.ต.ศิริ สิริโยธิน และพล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่การเมืองไทยอยู่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตรงกับช่วงที่มีพรรคการเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยที่พรรคชาติไทยมีหัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 คน คือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และนายบรรหาร ศิลปอาชา

พรรคชาติไทยพยายามจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง คือ การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2526 แต่เนื่องจากเป็นพรรคที่ได้รับเลือกมากที่สุดมาเป็นอันดับสอง จึงทำให้พรรคกิจสังคมที่ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ชิงการจัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยมีการสนับสนุนให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคชาติไทยต้องกลายไปเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2531 พรรคชาติไทยได้รับเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่หนึ่ง กอรปกับ พล.อ.เปรม ที่ไม่ประสงค์จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป จึงเป็น พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยได้เป็นนายกรัฐมนตรี[3] และในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ผลการเลือกตั้งคราวนี้ทำให้หัวหน้าพรรค คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้เป็นนายกรัฐมนตรี[4][5]

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2549 พรรคชาติไทยได้ปฏิเสธที่จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง เพื่อเป็นการคว่ำบาตรพรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นการแสดงจุดยืนร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน

บทบาทของพรรคชาติไทย มักถูกวิจารณ์ว่าเป็นพรรคชอบเสียบ โดยมักจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอยู่เสมอ ๆ เพื่อประโยชน์ของตน จึงได้รับฉายาว่า "พรรคปลาไหล"[6] โดยมีที่มาจากสไตล์การเล่นการเมืองของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคคนที่ 2 แต่ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคชาติไทยซึ่งได้เบอร์ 1 ที่นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศก่อนหน้านั้นว่า จะไม่ขอร่วมรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทยอีก และใช้คำขวัญในการหาเสียงครั้งนั้นว่า "สัจจะนิยม"

ในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 อันเป็นช่วงวิกฤติการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคชาติไทยโดยนายบรรหาร เป็นที่จับตามองว่าจะไปร่วมรัฐบาลกับทางฝ่ายพรรคพลังประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางนายบรรหารหัวหน้าพรรค แสดงท่าทีหลายครั้งรวมทั้งได้เคยให้สัมภาษณ์ไปว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมากว่า 30 ปี ผิดหวัง" แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อตรง ๆ แต่ก็รับรู้กันว่า หมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี โดยให้เข้าใจว่าจะไม่ขอร่วมรัฐบาลกับทางพรรคพลังประชาชน แต่หลังการเลือกตั้ง พรรคชาติไทยก็ตอบรับเข้าร่วมรัฐบาลกับทางพรรคพลังประชาชน

พรรคชาติไทยสิ้นสุดบทบาทลง จากการถูกตัดสินให้ยุบพรรคในปลายปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่พรรคทำการทุจริตการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550[7]

ไฟล์:Chart-thai-banharn.jpg
ภาพของนายบรรหาร ศิลปอาชา ในโปสเตอร์ของพรรคชาติไทยในการหาเสียงแบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

รายนามหัวหน้าพรรคชาติไทย

  1. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2517 - 2529) ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2535-2537)
  2. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2529-2534
  3. พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ พ.ศ. 2534-2535
  4. นายบรรหาร ศิลปอาชา พ.ศ. 2537 - 2551 (อายุงาน 14 ปี)

รายนามรองหัวหน้าพรรคชาติไทย

  1. ศิริ ศิริโยธิน (พ.ศ. 2517)[8]

รายนามเลขาธิการพรรคชาติไทย

  1. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2517[8]

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

ดูบทความหลัก: คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น[9]

ภายหลังการยุบพรรคชาติไทยแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค และสมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน โดยมีชุมพล ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค

รายนามกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

  1. บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค
  2. สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรค
  3. วินัย วิริยกิจจา รองหัวหน้าพรรค
  4. จองชัย เที่ยงธรรม รองหัวหน้าพรรค
  5. อนุรักษ์ จุรีมาศ รองหัวหน้าพรรค
  6. กัญจนา ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรค
  7. นิกร จำนงค์ รองหัวหน้าพรรค
  8. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
  9. ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รองหัวหน้าพรรค
  10. ประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรค
  11. เกษม สรศักดิ์เกษม รองเลขาธิการพรรค
  12. ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ รองเลขาธิการพรรค
  13. จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองเลขาธิการพรรคและโฆษกพรรค
  14. นพดล พลเสน รองเลขาธิการพรรค
  15. มณเฑียร สงห์ประชา รองเลขาธิการพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง)
  16. ธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ เหรัญญิกพรรค
  17. กมล จิระพันธุ์วาณิช กรรมการบริหารพรรค
  18. กูเฮง ยาวอหะซัน กรรมการบริหารพรรค
  19. ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ กรรมการบริหารพรรค
  20. ธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ กรรมการบริหารพรรค
  21. บุปผา อังกินันท์ กรรมการบริหารพรรค
  22. บัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย กรรมการบริหารพรรค
  23. ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค
  24. ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ กรรมการบริหารพรรค
  25. ปอรรัชม์ ยอดเณร กรรมการบริหารพรรค
  26. มงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์ กรรมการบริหารพรรค
  27. ยุทธนา โพธสุธน กรรมการบริหารพรรค
  28. รัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
  29. วราวุธ ศิลปอาชา กรรมการบริหารพรรค
  30. วิพัฒน์ คงมาลัย กรรมการบริหารพรรค
  31. วิรัช พิมพะนิตย์ กรรมการบริหารพรรค
  32. วิชิต แย้มบุญเรือง กรรมการบริหารพรรค
  33. ศักดิ์ชัย จินตะเวช กรรมการบริหารพรรค
  34. สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กรรมการบริหารพรรค
  35. สมพัฒน์ แก้วพิจิตร กรรมการบริหารพรรค
  36. สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กรรมการบริหารพรรค
  37. สมชาย ไทยทัน กรรมการบริหารพรรค
  38. สุภัตรา วิมลสมบัติ กรรมการบริหารพรรค
  39. เอกพจน์ ปานแย้ม กรรมการบริหารพรรค
  40. เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล กรรมการบริหารพรรค
  41. อมร อนันตชัย กรรมการบริหารพรรค
  42. กฤชชัย มรรคยาธร กรรมการบริหารพรรค
  43. เสมอกัน เที่ยงธรรม กรรมการบริหารพรรค

สรุปประวัติการทำงานในรัฐสภา

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี เหตุการณ์สำคัญ
1. 26 ม.ค.2518 28 คน ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช -
2. 4 เม.ย.2519 56 คน ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช -
3. 22 เม.ย.2522 42 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลงสมัครในนามกลุ่มชาติไทย
4. 18 เม.ย.2526 73 คน ฝ่ายค้าน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พรรคชาติไทยมีผู้นำฝ่ายค้านคนแรก
5. 27 ก.ค.2529 63 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ -
6. 24 ก.ค.2531 87 คน แกนนำรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
7. 22 มี.ค.2535 74 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร -
8. 13 ก.ย. 2535 77 คน ฝ่ายค้าน นายชวน หลีกภัย พรรคอภิปรายเรื่อง สปก.4-01 ทำให้รัฐบาลยุบสภา
9. 2 ก.ค.2538 92 คน แกนนำรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
10. 17 พ.ย.2539 39 คน ฝ่ายค้าน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ -
19 พ.ย.2540 39 คน ร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัย -
11. 6 ม.ค.2544 41 คน ร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
12. 6 ก.พ.2548 25 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
13. 2 เม.ย. 2549 25 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คว่ำบาตรการเลือกตั้งร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน
14. 23 ธ.ค.2550 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช -
- 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ -
- 15 คน ร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สนับสนุนอภิสิทธิ์ 14 เสียง
พลตำรวจเอกประชา 1 เสียง

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง หน้า 261 วันที่ 18 กันยายน 2518
  2. หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, ชาติชาย ชุณหะวัณ : ทายาทราชครู โดย นรนิติ เศรษฐกิจ. "ส่วนร่วมสังคมไทย". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,340: วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
  3. หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, ชาติชาย ชุณหะวัณ : ทายาทราชครู (2) โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. "ส่วนร่วมสังคมไทย". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,347: วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  4. "บันทึกประเทศไทย 2". ยูทูป. 3 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  5. "ฉากชีวิตทุกจังหวะทางการเมือง 'บรรหาร ศิลปอาชา' ปิดตำนานมังกรสุพรรณ". สำนักข่าวอิศรา. 23 April 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  6. ประชาไท ธนณรงค์, ประชาไททอล์ค F.M. 92.25 MHz: อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  7. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 19/2551 เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคชาติไทย
  8. 8.0 8.1 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/193/1.PDF (หน้า 261)
  9. ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น