ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิเชษฐ์ ตันเจริญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เรียบร้อยแล้ว
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 110.170.232.7 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Nullzerobot
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:พรรคเพื่อไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:06, 18 กุมภาพันธ์ 2563

พิเชษฐ์ ตันเจริญ
ไฟล์:พิเชษฐ์ ตันเจริญ.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าอรนุช โอสถานนท์
ถัดไปบรรยิน ตั้งภากรณ์
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย
คู่สมรสนางสุธาทิพย์ ตันเจริญ

พิเชษฐ์ ตันเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช

ประวัติ

พิเชษฐ์ ตันเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นพี่ชายของนายสุชาติ ตันเจริญ แกนนำ ส.ส. กลุ่มบ้านริมน้ำ สมรสกับนางสุธาทิพย์ ตันเจริญ มีบุตรเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายณัชพล ตันเจริญ

พิเชษฐ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ จากวิทยาลัยลุ่มน้ำปิง (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น) จังหวัดตาก

งานการเมือง

พิเชษฐ์ ตันเจริญ เข้าสู่งานการเมืองด้วยการสนับสนุนของนายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ให้ลงสมัคร ส.ส. จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้รับการผลักดันให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ในปี พ.ศ. 2551 แทนนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์

นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน แต่ลาออกก่อนที่จะถูกตัดสินยุบพรรค ทำให้ไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

ในการร่วมรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปลายปี พ.ศ. 2551 พิเชษฐ์ ตันเจริญ ไม่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยโควตาของกลุ่มบ้านริมน้ำเป็นของ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ต่อมาภายพิเชษฐ์ ได้หันมาร่วมกิจกรรมทางการเมือง และลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[1]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 12[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ตระกูลดัง-ผู้มีชื่อเสียง แห่ลงสมัคร ส.ส.แปดริ้ว แน่น
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2554
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2552
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2551