ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบ้านผือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
* วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลน้ำโสม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/D/088/3050.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลน้ำโสม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/D/088/3050.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 12 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลน้ำโสม ตำบลหนองแวง และตำบลนายูง อำเภอบ้านผือ มาตั้งเป็น '''กิ่งอำเภอน้ำโสม''' ขึ้นกับอำเภอบ้านผือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/044/1728.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/067/2277.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ</ref>
* วันที่ 12 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลน้ำโสม ตำบลหนองแวง และตำบลนายูง อำเภอบ้านผือ มาตั้งเป็น '''กิ่งอำเภอน้ำโสม''' ขึ้นกับอำเภอบ้านผือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/044/1728.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/067/2277.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ</ref>
* วันที่ 5 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหายโศก แยกออกจากตำบลบ้านผือ ตั้งตำบลคำบง แยกออกจากตำบลเขือน้ำ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/073/2401.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 5 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหายโศก แยกออกจากตำบลบ้านผือ ตั้งตำบลคำบง แยกออกจากตำบลเขือน้ำ กุดเม็ก โพธิ์
คำบง สะคุ เจริญสุข หนองหัวคู ยางโกน ดงหมู ชัยเจริญ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/073/2401.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลหนองแวง และตำบลน้ำโสม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2513/D/092/2905.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีบุญเรือง และกิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลหนองแวง และตำบลน้ำโสม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2513/D/092/2905.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีบุญเรือง และกิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลนาแค แยกออกจากตำบลนายูง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/120/3137.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภาวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอโนนสัง อำเภอบ้านตุง กิ่งอำเภอศรีธาตุ และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี</ref>
* วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลนาแค แยกออกจากตำบลนายูง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/120/3137.PDF]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภาวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอโนนสัง อำเภอบ้านตุง กิ่งอำเภอศรีธาตุ และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:33, 14 กุมภาพันธ์ 2563

อำเภอบ้านผือ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Phue
คำขวัญ: 
มหาธาตุเจดีย์ ประเพณีงานกฐิน ล้วนถิ่นพระเถระ ไหว้พระหลวงพ่อนาค หลากหลายสวนหิน ถิ่นอารยธรรมไทยพวน
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอบ้านผือ
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอบ้านผือ
พิกัด: 17°41′15″N 102°28′22″E / 17.68750°N 102.47278°E / 17.68750; 102.47278
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุดรธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด991.2 ตร.กม. (382.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด110,461 คน
 • ความหนาแน่น111.44 คน/ตร.กม. (288.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 41160
รหัสภูมิศาสตร์4117
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านผือ ถนนชนบทบำรุง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านผือ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี

ประวัติ

อำเภอบ้านผือ สำเนียงภาษาท้องถิ่นชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านปรือ ด้วยมีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่าเดิมทีบริเวณแห่งนี้มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งชื่อ หนองปรือ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันก็คงมีอยู่ แต่ขนาดเล็กลงไป ประชาชนในบริเวณนี้และใกล้เคียงได้อาศัยน้ำจากหนองนี้เป็นประจำ เห็นจะเป็นประโยชน์ด้วย หนองน้ำนี้มีประโยชน์ต่อชาวบ้าน การตั้งหมู่บ้านจึงได้ตั้งตามชื่อหนองว่า หนองปรือ นานวันเสียงพูดก็เพี้ยนเป็น บ้านผือ จนปัจจุบัน ตามหลักฐานปรากฏว่า ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 บริเวณบ้านถ่อน หมู่ 3 ตำบลบ้านผือ โดยมีพระบริบาลภูมิเขตต์ เป็นนายอำเภอคนแรก อยู่ได้ 18 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2473 ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านศรีสำราญ หมู่ 8 ตำบลบ้านผือ เหตุที่ย้ายเนื่องมาจากบริเวณดังกล่าวขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอบ้านผือเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2513 จนกระทั่งวันที่ 12 ตุลาคม 2535 จึงได้เปิดใช้อาคารหลังปัจจุบัน

  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2468 ยุบตำบลข้าวสาร และแยกเอาหมู่บ้านไปรวมขึ้นกับตำบลจำปาโมง และตำบลบ้านเม็ก[1]
  • วันที่ 16 พฤษภาคม 2469 โอนพื้นที่ตำบลกุดจับ อำเภอบ้านผือ ไปขึ้นกับ อำเภอหมากแข้ง[2]
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2496 ตั้งตำบลนายูง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[3]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านผือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านผือ[4]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลข้าวสาร แยกออกจากตำบลบ้านเม็ก[5]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[6]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลน้ำโสม ตำบลหนองแวง และตำบลนายูง อำเภอบ้านผือ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอน้ำโสม ขึ้นกับอำเภอบ้านผือ[7][8]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหายโศก แยกออกจากตำบลบ้านผือ ตั้งตำบลคำบง แยกออกจากตำบลเขือน้ำ กุดเม็ก โพธิ์

คำบง สะคุ เจริญสุข หนองหัวคู ยางโกน ดงหมู ชัยเจริญ[9]

  • วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลหนองแวง และตำบลน้ำโสม[10]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลนาแค แยกออกจากตำบลนายูง[11]
  • วันที่ 16 มกราคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลนางัว ในท้องที่บางส่วนของตำบลนางัว[12]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2517 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ เป็น อำเภอน้ำโสม[13]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2518 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอหนองวัวซอ[14]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลคำด้วง แยกออกจากตำบลกลางใหญ่[15]
  • วันที่ 13 กันยายน 2534 ตั้งตำบลหนองหัวคู แยกออกจากตำบลคำบง[16]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลบ้านค้อ แยกออกจากตำบลบ้านผือ[17]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลข้าวสาร[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านผือ เป็นเทศบาลตำบลบ้านผือ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบ้านผือตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ลักษณะทั่วไป

เป็นที่ราบสูงเชิง เขาภูพาน ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้ ภูเขา พื้นที่เหมาะแก่การทำนา ทำไร่ ลำน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงพื้นที่มีหลายสาย แต่เป็นสายเล็กๆ ที่สำคัญมีห้วยน้ำโมง หรือลำน้ำโมง ไหลแต่ภูเขาภูพานผ่านตำบลจำปาโมง ตำบลบ้านผือ ตำบลกลางใหญ่ ผ่านอำเภอท่าบ่อไปออกแม่น้ำโขง และมีลำน้ำสายเล็กอีกหลายสาย เช่น ลำน้ำฟ้า ลำน้ำงาว ลำน้ำซีด ลำน้ำสวย ห้วยคุก

พื้นที่ ของอำเภอบ้านผือมีเทือกเขาภูพานเป็นเทือกเขาหินทราย เกิดในยุคที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง (MESOZOIC - CRETACEOUS) เมื่อธารน้ำแข็งละลายและเคลื่อนตัวลงตามแรงดึงดูดของโลก เมื่อประมาณ 180 ล้านปีมาแล้ว เกิดการกัดกร่อนเทือกเขาภูพาน ส่วนนี้จึงเกิดเป็นเพิงหินรูปร่างแปลกๆ งดงาม เช่น ภูพระบาท หรือภูกูเวียนแต่เดิม ภูพระบาทเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยหินลาด ห้วยด่านใหญ่ ห้วยหินร่อง และห้วยนางอุสา ซึ่งไหลลงไปแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าบ่อ ภูพระบาทมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 320 - 350 เมตร

ความอุดมสมบูรณ์ ของต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ และบริเวณที่ราบรอบๆ ภูเขา จึงเกิดมีชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มากมายตามเพิงหินบนภูพาน ส่วนใหญ่ในอำเภอบ้านผือ ไม่ว่าจะเป็นภูพระบาท บ้านกลางใหญ่ พระพุทธบาทบัวบาน ภูสูง จนถึงอำเภอสุวรรณคูหา ต่อมาเมื่อมีศาสนาเข้ามานับแต่สมัยทวารวดี ไม่ว่ากระแสธารแห่งอารยธรรมจะมาจากสายแม่น้ำโขง หรือจากภายในก็ตาม อิทธิพลของวัฒนธรรมฮินดูเข้ามาสู่บริเวณนี้ บริเวณเพิงผาหลายแห่งถูกใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชุมชน การปักเสมาเป็นการกำหนดเขตการกระทำสังฆกรรม ตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่ปรากฏในความเชื่อของคนอีสานบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรล้านช้าง การจำหลักรูปพระพุทธรูปหินทรายที่เพิงผา ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนบริเวณนี้ และการติดต่อเกี่ยวพันกับชุมชนอื่นในภูมิภาคเดียวกัน นอกจากจะเป็นอารยธรรมฮินดูและพุทธแล้ว อารยธรรมขอมก็ได้เข้ามามีอิทธิพลในแถบบ้านผือบนภูพระบาทเป็นอย่างมาก การสร้างประติมากรรมหินทรายนูนสูงที่ผนังถ้ำพระบนภูพระบาท การจำหลักหินทรายขนาดใหญ่เป็นรูปเทพเจ้า หรือเรื่องชาดก ภาพบุคคลที่พบที่พระพุทธบาทบัวบาน บ้านหนองกาลึม บ้านกาลึม ก็ตาม ล้วนแสดงถึงศิลปะสมัยลพบุรีเข้ามามีอิทธิพลในแถบนี้

เขตอำเภอบ้านผือ บริเวณเทือกเขาภูพานมีการปักใบเสมา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ไม่ปรากฏภาพจำหลัก เป็นการโกลนหินทรายปักล้อมรอบเพิงหินธรรมชาติ ไม่กำหนดรูปแบบแน่นอน บางหลักกลม บางหลักเหลี่ยม บางหลักแบน ขนาดความสูงไม่แน่นอน บางกลุ่มสูงมากกว่า 3 เมตร เช่น กลุ่มที่อยู่ที่กี่นางอุสา บางหลักเป็นแบบสี่เหลี่ยม ยอดมนกลมก็มี กำหนดรูปแบบตามพระพุทธรูปที่เพิงผาว่าเป็นสมัยทวารวดี

กลุ่มที่ 2 อยู่ที่ราบเชิงเขาภูพาน มีลักษณะเป็นแบบแผ่นหิน มีความสูงมาก ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นรูปจำหลักนูนต่ำ เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับเหนืออาสน์อยู่ตรงกลาง ด้านข้าง 2 ด้าน จะมีอีก 2 องค์ นั่งเหนืออาสน์แต่อยู่ในระดับต่ำกว่าองค์กลาง ลักษณะเป็นศิลปลพบุรีตอนต้น ลักษณะเทวรูป หรือพระโพธิสัตว์มีเค้าหน้าทวารวดีท้องถิ่น

ประชากร ประชากร ส่วน ใหญ่ของบ้านผือเป็นไทพวน อพยพจากแคว้นเชียงขวาง หรือทรานนินห์ มาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น พวนกลางใหญ่ถูกต้อนมาตั้งแต่ครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ และไม่ยอมลงไปอยู่ภาคกลาง ขอตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางใหญ่มาจนทุกวันนี้ อีกพวกอพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาครั้งศึกฮ่อ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2428 - 2436 พวนพวกนี้จะตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบ้านผือ บ้านหายโศก บ้านลาน บ้านม่วง บ้านค้อ บ้านเมืองพาน บ้านติ้ว บ้านกาลึม พวนพวกนี้อพยพมาจากเมืองแมด เมืองกาสี สบแอด เชียงค้อ และอีกพวก คือ พวนที่อพยพหาที่ทำกินจากอำเภอทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาสีดา นอกจากนี่ยังมีพวกลาวเวียง (เวียงจันทน์) ที่อพยพเข้ามาอยู่รอบๆ กับพวน และไทอีสานอื่น ปัจจุบันมีพวกลาวจากอำเภอวังสะพุง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านใหม่ บ้านกาลึม บ้านหนองกาลึม เข้ามาปะปน เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมที่มั่นคงอันได้แก่ วัฒนธรรมพวน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม และภาษา

บ้านผือมิได้เป็นแต่เพียงแหล่งที่ตั้งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ความสำคัญของบ้านผือนั้น ยังเคยเป็นชุมชนที่ล้านช้างเข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก เคยอยู่ในอำนาจล้านช้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เคยเป็นเส้นทางเดินทัพของล้านช้าง และเป็นเส้นทางการปฏิวัติรัฐประหารของล้านช้างมาก่อน วัฒนธรรมของล้านช้างจึงมีอยู่มากมายในบ้านผือ บ้านกาลึมเคยเป็นที่เกิดของสังฆราชที่ยิ่งใหญ่ของล้านช้าง คือญาคูโพนเสม็ด (ญาคูลืมบอง) ชาวบ้านกาลึมเป็นลูกศิษย์ของญาคูลืมบอง ได้ไปบวชเรียนในอาณาจักรล้านช้าง คือเวียงจันทน์ และได้ช่วยให้เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าชายล้านช้าง ได้ขึ้นเสวยราชเป็นพระเจ้าล้านช้าง เป็นผู้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ศาสนสถานมากมายในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งแต่เวียงจันทน์ขึ้นไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ และเลยเข้าไปในแดนเขมร

ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อทรงหลบราชภัยจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ที่ยกทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบางได้ ก็ใช้เส้นทางจากเวียงจันทน์เข้าศรีเชียงใหม่ โพธิ์ตาก บ้านผือ และไปหลบซ่อนส้อมสุมกำลังพลที่สุวรรณคูหา ขอให้ดูลักษณะศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เสมา การจำหลัก เจดีย์ต่างๆ และยังปรากฏจารึกที่เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีว่า พระองค์ทรงประกาศกัลปนาที่บริเวณวัดถ้ำถวายแด่พระศาสนา การหลบลี้หนีพระราชภัยของ พระวอ พระตา ที่หลบหนีพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ก็อาศัยเส้นทางจากศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ มาบ้านผือ และเข้าไปตั้งชุมชนอยู่ที่หนองบัวลำภู หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อพระตาเสียชีวิตในการรบ พระวอจึงหนีไปอยู่ที่ดอนมดแดง อุบลราชธานี และถูกฆ่าที่ดอนมดแดง เป็นเหตุให้เจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และได้เวียงจันทน์ไว้ในอำนาจแต่นั้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบ้านผือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 160 หมู่บ้าน

1. ตำบลบ้านผือ (Ban Phue) 14 หมู่บ้าน 8. ตำบลกลางใหญ่ (Klang Yai) 13 หมู่บ้าน
2. ตำบลหายโศก (Hai Sok) 17 หมู่บ้าน 9. ตำบลเมืองพาน (Mueang Phan) 16 หมู่บ้าน
3. ตำบลเขือน้ำ (Khuea Nam) 15 หมู่บ้าน 10. ตำบลคำด้วง (Kham Duang) 10 หมู่บ้าน
4. ตำบลคำบง (Kham Bong) 10 หมู่บ้าน 11. ตำบลหนองหัวคู (Nong Hua Khu) 11 หมู่บ้าน
5. ตำบลโนนทอง (Non Thong) 11 หมู่บ้าน 12. ตำบลบ้านค้อ (Ban Kho) 6 หมู่บ้าน
6. ตำบลข้าวสาร (Khao San) 10 หมู่บ้าน 13. ตำบลหนองแวง (Nong Waeng) 10 หมู่บ้าน
7. ตำบลจำปาโมง (Champa Mong) 17 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบ้านผือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านผือ
  • เทศบาลตำบลคำบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำบงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกลางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านผือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านผือ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหายโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหายโศกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขือน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขือน้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข้าวสารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาโมงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองพานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำด้วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำด้วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัวคูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านค้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล

สถานศึกษา

  • วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี (บ้านผือพิทยาสรรค์) เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนประจำอำเภอ
  • โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์
  • โรงเรียนเทคโนโลยีภูมิบัณฑิต
  • โรงเรียนอนุบาลบ้านผือ
  • โรงเรียนญาริดา
  • โรงเรียนศศิกานต์วิทยา
  • โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร
  • โรงเรียนภูพระบาทวิทยา
  • โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์
  • โรงเรียนคำบงเจริญสุข
  • โรงเรียนยางโกนวิทย์

สถานที่สำคัญ

อ้างอิง

  1. [1]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งยุบและแยกไปรวมขึ้นตำบลจำปาโมงและตำบลบ้านเม็ก ท้องที่อำเภอเดียวกัน
  2. [2]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลกุดจับ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งโอนไปรวมขึ้นอำเภอหมากแข้งจังหวัดเดียวกัน
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  8. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  9. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีบุญเรือง และกิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  11. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภาวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอโนนสัง อำเภอบ้านตุง กิ่งอำเภอศรีธาตุ และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
  12. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนางัว กิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  13. [13]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗
  14. [14]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๑๘
  15. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีธาตุ อำเภอหนองวัวซอ อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอวังสามหมอ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ และอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี
  16. [16]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเพ็ญ และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  17. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานีและอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  18. [18]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี