ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หิมะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gunofficial1998 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
<br />{{สภาพอากาศ}}
[[ไฟล์:Long_Mynd_snowdrift.jpeg|thumb|หิมะ]]
{{สภาพอากาศ}}
'''หิมะ''' เป็นรูปหนึ่งของ[[วัฏจักรของน้ำ|การตกลงมา]]ของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึก[[น้ำแข็ง]]จำนวนมากเรียก ''เกล็ดหิมะ'' จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0&nbsp;°C (32&nbsp;°F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จาก[[เครื่องสร้างหิมะเทียม]] (snow cannon)
'''หิมะ''' เป็นรูปหนึ่งของ[[วัฏจักรของน้ำ|การตกลงมา]]ของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึก[[น้ำแข็ง]]จำนวนมากเรียก ''เกล็ดหิมะ'' จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0&nbsp;°C (32&nbsp;°F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จาก[[เครื่องสร้างหิมะเทียม]] (snow cannon)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:33, 13 กุมภาพันธ์ 2563


หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon)

รูปทรงของเกล็ดหิมะ

รูปเกล็ดหิมะ โดย วิลสัน เบ็นท์ลีย์ (Wilson Bentley) ค.ศ. 1902

ความสมมาตรของส่วนที่ยื่นออกมาของเกล็ดหิมะนั้น จะเป็นสมมาตรแบบหกด้านเสมอ เนื่องมาจากเกล็ดน้ำแข็งปกตินั้นมีโครงสร้างผลึกหกเหลี่ยม (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ice Ih) บนระนาบฐาน (basal plane)

คำอธิบายถึงความสมมาตรของเกล็ดหิมะนั้นโดยทั่วไป มีอยู่ 2 คำอธิบาย คือ

  1. อาจเป็นไปได้ที่จะมีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนที่ยื่นออกของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของแต่ละก้านนั้นส่งผลถึงกัน ตัวอย่างของรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารนั้นอาจเป็น ความตึงผิว หรือ โฟนอน (phonon)
  2. คำอธิบายที่สองนี้จะค่อนข้างแพร่หลายกว่า คือ แต่ละก้านของเกล็ดหิมะนั้นจะงอกออกโดยไม่ขึ้นแก่กัน ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับขนาดของเกล็ดหิมะแล้วเชื่อว่าสภาพแวดล้อมจะมีสภาพที่เหมือนกันในช่วงขนาดสเกลของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของก้านในแต่ละด้านนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะการงอกออกนั้นเหมือนกัน ในลักษณะเดียวกับที่รูปแบบการเติบโตของวงแหวนอายุในแกนของต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันจะมีรูปร่างเหมือน ๆ กัน ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่ระดับสเกลใหญ่กว่าเกล็ดหิมะนั้นส่งผลให้รูปของเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกัน และหิมะเกิดจากการละอองน้ำในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิต่ำ

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ไม่มีเกล็ดหิมะใดที่มีรูปร่างเหมือนกันนั้นไม่ถูกต้อง เกล็ดหิมะสองเกล็ดนั้นมีโอกาสเหมือนกันได้ เพียงแต่โอกาสนั้นน้อยมาก American Meteorological Societyได้บันทึกการค้นพบเกล็ดหิมะที่มีรูปร่างเหมือนกันโดย แนนซี่ ไนท์ (Nancy Knight) ซึ่งทำงานที่National Center for Atmospheric Research ผลึกที่ค้นพบนั้นไม่เชิงเป็นเกล็ดหิมะซะทีเดียวที่เป็นรูป ปริซึมหกเหลี่ยมกลวง (hollow hexagonal pris)[1]

อ้างอิง

  1. Hobbs, Peter V. (2010). Ice Physics. Oxford: Oxford University Press. p. 856. ISBN 978-0199587711.

แหล่งข้อมูลอื่น