ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


== ประวัติสโมสร ==
== ประวัติสโมสร ==
[[|thumb|200px|สัญลักษณ์สโมสรเก่า พ.ศ. 2546–2547]]
สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มต้นมาจากการต่อยอดให้นักเตะเยาวชนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน[[กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 12]] (พ.ศ. 2539) ที่[[จังหวัดกำแพงเพชร]] ที่ประกอบด้วยผู้เล่นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด อาทิ คำภีร์ ปิ่นฑะกูล, กฤษณะ ภูผา และสถาพร วาจาขำ (ปัจจุบันรับบทบาทผู้ช่วยโค้ชให้กับทีมสุพรรณบุรี) ทำให้[[บรรหาร ศิลปอาชา]] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี มอบหมายให้เกรียง นักพาณิชย์ ก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี 2540 เพื่อให้นักเตะชุดนี้ได้ลงทำการแข่งขัน[[ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.]] โดยใช้สิทธิ์ของสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีลงทำการแข่งขัน และใช้ชื่อทีมว่า “สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี” มีสัญลักษณ์เป็นรูปประตูเมือง ตรงกลางเป็นรูปลูกบอลและมีแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ด้านใน สีประจำทีมคือ สีส้มและสีกรมท่า และได้รับฉายานามว่า "ทีมขุนแผนสุพรรณฯ" ซึ่งในขณะนั้น ชนะ ยอดปรางค์ เป็นผู้ฝึกสอนของทีม
สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มต้นมาจากการต่อยอดให้นักเตะเยาวชนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน[[กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 12]] (พ.ศ. 2539) ที่[[จังหวัดกำแพงเพชร]] ที่ประกอบด้วยผู้เล่นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด อาทิ คำภีร์ ปิ่นฑะกูล, กฤษณะ ภูผา และสถาพร วาจาขำ (ปัจจุบันรับบทบาทผู้ช่วยโค้ชให้กับทีมสุพรรณบุรี) ทำให้[[บรรหาร ศิลปอาชา]] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี มอบหมายให้เกรียง นักพาณิชย์ ก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี 2540 เพื่อให้นักเตะชุดนี้ได้ลงทำการแข่งขัน[[ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.]] โดยใช้สิทธิ์ของสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีลงทำการแข่งขัน และใช้ชื่อทีมว่า “สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี” มีสัญลักษณ์เป็นรูปประตูเมือง ตรงกลางเป็นรูปลูกบอลและมีแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ด้านใน สีประจำทีมคือ สีส้มและสีกรมท่า และได้รับฉายานามว่า "ทีมขุนแผนสุพรรณฯ" ซึ่งในขณะนั้น ชนะ ยอดปรางค์ เป็นผู้ฝึกสอนของทีม


บรรทัด 61: บรรทัด 60:


<center>
<center>
<gallery widths="100" heights="100" caption="ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร">
<gallery caption="ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร" widths="100px" heights="100px">
ไฟล์:Suphan Warrior.gif|(2546-2557)
ไฟล์:Suphan Warrior.gif|(2546-2547)
ไฟล์:สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี.png|(2548-2553)
ไฟล์:สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี.png|(2548-2553)
ไฟล์:SuphanburiFC-Logo.png|(2556-2557)
ไฟล์:SuphanburiFC-Logo.png|(2556-2557)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:47, 29 มกราคม 2563

สุพรรณบุรี
Suphanburi
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี
ฉายาช้างศึกยุทธหัตถี
ก่อตั้งพ.ศ. 2540
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี
Ground ความจุ25,000
เจ้าของบริษัท สุพรรณบุรี ฟุตบอลคลับ จำกัด
ประธานวราวุธ ศิลปอาชา
ผู้จัดการพ.ต.อ.เกรียงไกร วุฒิพานิช
ผู้ฝึกสอนอเดบาโย กาเดโบ
ลีกไทยลีก
2562ไทยลีก, อันดับที่ 14
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยจากจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในไทยลีก

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มต้นมาจากการต่อยอดให้นักเตะเยาวชนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2539) ที่จังหวัดกำแพงเพชร ที่ประกอบด้วยผู้เล่นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด อาทิ คำภีร์ ปิ่นฑะกูล, กฤษณะ ภูผา และสถาพร วาจาขำ (ปัจจุบันรับบทบาทผู้ช่วยโค้ชให้กับทีมสุพรรณบุรี) ทำให้บรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี มอบหมายให้เกรียง นักพาณิชย์ ก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี 2540 เพื่อให้นักเตะชุดนี้ได้ลงทำการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. โดยใช้สิทธิ์ของสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีลงทำการแข่งขัน และใช้ชื่อทีมว่า “สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี” มีสัญลักษณ์เป็นรูปประตูเมือง ตรงกลางเป็นรูปลูกบอลและมีแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ด้านใน สีประจำทีมคือ สีส้มและสีกรมท่า และได้รับฉายานามว่า "ทีมขุนแผนสุพรรณฯ" ซึ่งในขณะนั้น ชนะ ยอดปรางค์ เป็นผู้ฝึกสอนของทีม

ต่อมาในปี 2542 สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เข้าร่วมโปรวินเชียลลีกของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยผลงานในลีกฤดูกาลแรก สุพรรณบุรีจบฤดูกาลในฐานะรองแชมป์ ต่อมาในปี 2545 สุพรรณบุรีคว้าแชมป์โปรลีกได้สำเร็จ ต่อมาในโปรลีก 2546 สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์" และจบฤดูกาลในฐานะรองแชมป์ โดยผลงานภายใต้ชื่อ "สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์" นั้น สามารถคว้าแชมป์ได้ในปี 2547 และรองแชมป์ในปี 2548 ทำให้ได้สิทธิ์ลงเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 โดยสถิติการลงเล่นในโปรวินเชียลลีกนั้น ชนะเลิศถึง 2 ครั้ง และรองชนะเลิศ 4 ครั้ง

ในลีกสูงสุดฤดูกาลแรก สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์ ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น “สุพรรณบุรี เอฟซี” และมีฉายาว่า “ช้างศึกยุทธหัตถี” ต่อมาในฤดูกาล 2554 บรรหาร ศิลปอาชา ได้เข้ามาทำทีมในตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของสโมสร และมอบหมายให้วราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของเขา เป็นประธานสโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี โดยมีบุญชู จันทร์สุวรรณ เป็นประธานสโมสรกิตติมศักดิ์ และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสนามเหย้า แทนที่สนามเดิมคือโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี

ในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 สุพรรณบุรีจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สาม ทำให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2559 อย่างไรก็ตาม สนามเหย้าของสโมสรไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานของเอเอฟซี ส่งผลให้ชลบุรีซึ่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันแทน

ในไทยลีก ฤดูกาล 2562 ซึ่งมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 16 สโมสร สุพรรณบุรีจบอันดับที่ 14 ของตาราง โดยปกตินั้นจะต้องตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563 แต่เนื่องจากสโมสรฟุตบอลพีทีที ระยองได้ประกาศขอพักทีมในฤดูกาล 2563 และตามกฎระเบียบของการแข่งขันไทยลีก ระบุเอาไว้ว่าหากมีสโมสรใดสโมสรหนึ่งตัดสินใจไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันก็จะทำให้จำนวนทีมตกชั้นลดลงไป ดังนั้นทำให้จากเดิมที่จะตกชั้น 3 ทีม ก็จะเหลือแค่ 2 ทีมเท่านั้น[1]

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF ไทย วสันต์ ฮมแสน
4 DF ไทย ณัฐพงษ์ สมณะ (รองกัปตันทีม)
5 DF ไทย อาทิตย์ ดาวสว่าง
6 DF อิสราเอล มีกี ซีโรชไตน์
8 MF ไทย ประสิทธิ์ จันทุม
9 MF ไทย ชุติพนธ์ ทองแท้
10 FW บราซิล เดลาตูร์เร
11 FW ฟิลิปปินส์ แพทริค ไรเซลท์
13 DF ไทย สุประวีณ์ มีประทัง
16 MF เกาหลีใต้ คิม ซ็อง-ฮวัน
20 DF ไทย มีโชค มหาศรานุกุล
22 MF ไทย ปาณเดชา เงินประเสริฐ
23 FW บราซิล เคลย์ตง ซิลวา
24 FW ไทย กษิดิ์เดช เวทยาวงศ์
26 DF ไทย สุพรรณ ทองสงค์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
32 MF ไทย วัศพล เจือพันธ์
33 DF ไทย ทินกร อสุรินทร์
34 DF ไทย ภัทรภณ กางโสภา
38 FW ไทย ศิริมงคล จิตบรรจง
40 GK ฟิลิปปินส์ ปาทริก เดย์โต
44 DF ไทย นันธชัย วัฒนกูล
55 MF ไทย ทศวี ดีประเสริฐ
FW บราซิล เอลียังดรู
MF ไทย อภิศร ภูมิชาติ
DF ไทย จิรวัฒน์ ทองแสงพราว
GK ไทย สหวิช ขำเปี่ยม
MF ไทย นฤพน พุฒซ้อน
MF สิงคโปร์ ซูลฟาห์มี่ อารีฟิน
DF บราซิล เอเลฟ วิเอร่า ซานโตส
MF ญี่ปุ่น ริวทาโระ คารูเบะ
FW บราซิล เฟลิเป้ ดา ซิลวา

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

เกียรติประวัติ

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

ฤดูกาล ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ
2542-43 โปรวินเชียลลีก 22 15 1 6 63 32 46 อันดับ 2
2543-44 โปรวินเชียลลีก 22 15 2 5 51 24 47 อันดับ 2
2545 โปรวินเชียลลีก 10 7 1 2 31 12 22 ชนะเลิศ
2546 โปรวินเชียลลีก 22 14 3 5 67 29 45 อันดับ 2
2547 โปรวินเชียลลีก 18 10 6 2 40 23 36 ชนะเลิศ
2548 โปรวินเชียลลีก 22 15 4 3 65 23 49 อันดับ 2
2549 ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 22 4 4 14 18 34 16 อันดับ 12
2550 ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 30 9 8 13 37 45 35 อันดับ 13
2551 ไทยลีก ดิวิชัน 1 30 11 8 11 48 47 41 อันดับ 7
2552 ไทยลีก ดิวิชัน 1 30 9 6 15 40 50 33 อันดับ 12
2553 ไทยลีก ดิวิชัน 1 30 5 8 17 31 53 23 อันดับ 15
2554 ไทยลีก ดิวิชัน 1 34 10 14 10 40 37 44 อันดับ 10
2555 ไทยลีก ดิวิชัน 1 34 23 6 5 58 17 75 อันดับ 2
2556 ไทยพรีเมียร์ลีก 32 14 9 9 40 31 51 อันดับ 4
2557 ไทยพรีเมียร์ลีก 38 17 8 13 55 49 59 อันดับ 6
2558 ไทยพรีเมียร์ลีก 34 16 11 7 60 39 59 อันดับ 3
2559 ไทยลีก 31 10 8 13 33 35 38 อันดับ 10
2560 ไทยลีก 34 11 10 13 52 58 43 อันดับ 11
2561 ไทยลีก 34 11 13 10 43 35 46 อันดับ 10
2562 ไทยลีก 30 7 11 12 29 24 32 อันดับ 14
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

รายละเอียดการแข่งขันฟุตบอลลีก

  • 2542/43 - โปรลีก - อันดับ 2
  • 2545 - โปรลีก - ชนะเลิศ
  • 2546 - โปรลีก - อันดับ 2
  • 2547 - โปรลีก - ชนะเลิศ
  • 2548 - โปรลีก - อันดับ 2
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 12
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 13 (ตกชั้นไปเล่น ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
  • 2551 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับ 7
  • 2552 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับ 12
  • 2553 - ไทยลีก ดีวิชั่น 1 - อันดับ 15 (จาก16ทีม) เพลย์อ๊อฟชนะสระบุรี 3-2(2-1,1-1) ได้อยู่ไทยลีก ดีวิชั่น 1 ต่อ
  • 2554 - ไทยลีก ดีวิชั่น 1 - อันดับ 10 (จาก18ทีม)
  • 2555 - ไทยลีก ดีวิชั่น 1 - อันดับ 2 (จาก18ทีม) ราชบุรีFC สุพรรณบุรีFC และแบงค็อก ยูไนเต็ด ขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก2013
  • 2556 - ไทยพรีเมียร์ลีก 2013 - อันดับ 4
  • 2557 - ไทยพรีเมียร์ลีก 2014 - อันดับ 6
  • 2558 - ไทยพรีเมียร์ลีก 2015 - อันดับ 3 ได้สิทธ์ไปเพลย์ออฟ AFC Champions League ฤดูกาล 2016 (สละสิทธิ์ให้สโมสรชลบุรีเอฟซีที่จบอันดับ 5 ไปเล่นแทน เนื่องจาก ไม่ได้ส่งเอกสารคลับไลเซนซึ่งได้ทันตามกำหนด )
  • 2559 - ไทยลีก 2016 - อันดับ 10
  • 2560 - ไทยลีก 2017 - อันดับ 11
  • 2561 - ไทยลีก 2018 - อันดับ 10
  • 2562 - ไทยลีก 2019 - อันดับ 14

สโมสรพันธมิตร

สปอนเซอร์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น