ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
แก้แม่แบบ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
​{{issues|ปรับภาษา=yes|ีคต้องการลอ้างทอิง=yes||ล้าสมัสย=yes}}{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
​{{issues|ปรับภาษา=yes|ต้องการอ้างทอิง=yes||ล้าสมัย=yes}}{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
|ชื่อหน่วยงาน = องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
|ชื่อหน่วยงาน = องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
|ชื่อในภาษาแม่_1 = Thai Public Broadcasting Service
|ชื่อในภาษาแม่_1 = Thai Public Broadcasting Service

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:31, 29 มกราคม 2563

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
Thai Public Broadcasting Service
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 มกราคม พ.ศ. 2551 (16 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณประจำปีจากการจัดเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่เพิ่มเติมในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยไม่เกินปีละ 2,000 ล้านบาท [1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • รศ.ดร.จุมพล รอดคำดี[2], ประธานกรรมการนโยบาย
  • รศ.วิลาสินี พิพิธกุล, ผู้อำนวยการ[3]
  • อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์, รองผู้อำนวยการ (ด้านปฏิบัติการ)
  • สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล, รองผู้อำนวยการ (ด้านยุทธศาสตร์สื่อสาธารณะ)
  • สุวรรณา สมบัติรักษาสุข, รองผู้อำนวยการ (ด้านบริหารกิจการ)
  • พิภพ พานิชภักดิ์, รองผู้อำนวยการ (ด้านเนื้อหาสื่อสาธารณะ)
ต้นสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)
ลูกสังกัด
เอกสารหลัก
เว็บไซต์ThaiPBS.or.th
เชิงอรรถ
มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นนิติบุคคลมหาชน แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน และอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Thai Public Broadcasting Service) หรือเรียกโดยย่อว่า "ส.ส.ท." (อังกฤษ: TPBS) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชน ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีหน้าที่เป็นสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ดำเนินการด้วยทุน ทรัพย์สิน และรายได้ของตน ภายในวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพและคุณธรรมผ่านข่าวสารที่เที่ยงตรง เพื่อผลิตรายการข่าวสารที่มีสารประโยชน์ทางด้านการศึกษาและสาระบันเทิงในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ โดยปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และโดยยึดถือประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นหลังจากการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียึดสัมปทานคลื่นความถี่และเครื่องส่งโทรทัศน์ช่องสัญญาณระบบยูเอชเอฟออกอากาศทางช่อง 29 คืนจาก บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้นำช่องสัญญาณดังกล่าวมาจัดตั้งเป็น สถานีโทรทัศน์สาธารณะ โดยมี กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ดำเนินงานชั่วคราวในลักษณะสถานีโทรทัศน์ของรัฐ และต่อมาองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้รับการจัดตั้งตามกฎหมาย โดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ได้รับโอนกิจการและเข้ามาบริหารงาน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ.2551 และออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังจากผ่านการทดลองออกอากาศเป็นเวลา 1 เดือน

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ให้ไอทีวี กลับไปจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการในช่วงพาร์มไทม์ (เวลาประมาณ 19.30 น.-21.30 น.) ให้มีรายการสาระประโยชน์ร้อยละ 70 ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 หลังจากนั้นไอทีวี ไม่สามารถจ่ายค่าปรับจำนวน 101,000,000,000 บาทดังกล่าวให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้สัมปทานคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกยึดคืนมาเป็นของรัฐ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในระยะแรกรัฐบาล โดยกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 (สำหรับการออกอากาศของสถานีฯได้รับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลา 00.08 น.ของวันถัดไป คือวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551)

ช่วงกลางปี พ.ศ. 2550 ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ และโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ส่งผลให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ยุติการดำเนินการและส่งต่อภารกิจดังกล่าวให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน ต่อมาองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ได้รับโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพันของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551[4][5]

โครงสร้างการบริหาร

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 กำหนดโครงสร้างการบริหารงานของ ส.ส.ท. เป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 58 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนไม่เกิน 5 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย โดยที่การสรรหาคณะกรรมการนโยบายนั้น ให้สรรหาภายใน 180 วันนับแต่วันใช้บังคับ โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการในการสรรหา

คณะกรรมการนโยบาย

คณะกรรมการนโยบาย มีจำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ๆ อีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสื่อสารมวลชน 2 คน ด้านบริหารจัดการองค์กร 3 คน และด้านประชาสังคม 4 คน

มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบในแผนการดำเนินงาน แผนการจัดผังรายการ และแผนงบประมาณขององค์การ กำหนดระเบียบการดำเนินงาน และคุ้มครองสวัสดิภาพ และความอิสระในการทำงานของพนักงานในองค์การ รวมถึงการควบคุมดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการนโยบายมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

คณะกรรมการนโยบายชุดปัจจุบัน

คณะกรรมการนโยบายชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยดังนี้[6][7][8] [9] [10]

ด้านบริหารจัดการองค์กร

  1. รศ. ดร.จุมพล รอดคำดี (ประธานคณะกรรมการนโยบาย) (28 กันยายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
  2. รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (11 กุมภาพันธ์ 2558 - 28 กันยายน 2559 ในด้านส่งเสริมประชาธิปไตยฯ)[11] (อดีตประธานคณะกรรมการนโยบาย) [12] (28 กันยายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
  3. รศ. ดร.ธีรภัทร สงวนกชกร (ไม่ทราบปี,13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนฯ หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือ การส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

  1. นายพิเชฎฐ พัฒนโชติ (28 กันยายน 2559 - ปัจจุบัน)
  2. นายไพโรจน์ พลเพชร (28 กันยายน 2559 - ปัจจุบัน)
  3. นายชัยรัตน์ แสงอรุณ (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
  4. นางเรืองรวี พิชัยกุล (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ถึงวันที่ 28 กันยายน 2563

ด้านสื่อสารมวลชน

  1. นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ (30 พฤศจิกายน 2557 - 29 พฤศจิกายน 2561 และ 13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
  2. นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
อดีตคณะกรรมการนโยบาย

ด้านบริหารจัดการองค์กร

  1. นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป (อดีตประธานกรรมการนโยบายฯ)
  2. นางจินตนา พันธุฟัก
  3. นายศิริชัย สาครรัตนกุล
  4. ศ. ดร.ปราณี ทินกร (ปฏิบัติหน้าที่อดีตประธานคณะกรรมการนโยบายฯ)
  5. นางลดาวัลย์ บัวเอี่ยม (30 พฤศจิกายน 2557 - 29 พฤศจิกายน 2561)

ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนฯ หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือ การส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

  1. นายกมล กมลตระกูล
  2. นางมัทนา หอมลออ
  3. ผศ. ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์
  4. ผศ. ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
  5. ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์
  6. ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก
  7. นางสมศรี หาญอนันทสุข
  8. นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ (30 พฤศจิกายน 2557 - 26 กันยายน 2559)
  9. รศ. ดร. เภสัชกรวิทยา กุลสมบูรณ์ (28 กันยายน 2559 - 29 พฤศจิกายน 2561)
  10. นายสุรพงษ์ กองจันทึก (28 กันยายน 2559 - 29 พฤศจิกายน 2561)

ด้านสื่อสารมวลชน

  1. นายสมชัย สุวรรณบรรณ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - กรกฎาคม 2555)
  2. รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ (อดีตประธานกรรมการนโยบายฯ)
  3. นางสุวรรณา จิตประภัสสร์
  4. นายพิพัทธ์ ชนะสงคราม (30 พฤศจิกายน 2557 - 29 พฤศจิกายน 2561)

คณะกรรมการนโยบายที่พ้นจากตำแหน่ง จำนวน 4 คน ด้วยวิธีการจับฉลาก เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553[13]

  1. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม (ประธาน)
  2. นายจอน อึ๊งภากรณ์
  3. นายสมชัย สุวรรณบรรณ
  4. นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารมีทั้งหมด 11 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการจำนวนไม่เกิน 6 คน และกรรมการบริหารจำนวนไม่เกิน 4 คน ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ ควบคุมการดำเนินงานขององค์การ จัดทำแผนการดำเนินงาน รวมไปจนถึงประเมินคุณภาพของรายการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบาย

คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน

แต่งตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[14][15] โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีดังต่อไปนี้

  1. รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ประธานกรรมการ)
  2. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.[16] (กรรมการ)
  3. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  4. สุวรรณา สมบัติรักษาสุข รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  5. พิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว (กรรมการ)
  7. โยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (กรรมการ)
  8. เจษฎา อนุจารี (กรรมการบริหารอื่น)
  9. พูลประโยชน์ ชัยเกียรติ (กรรมการบริหารอื่น)
  10. สุธีร์ รัตนนาคินทร์ (กรรมการบริหารอื่น)

อดีตคณะกรรมการบริหาร

  1. ผศ. ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ผศ. ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. เถกิง สมทรัพย์
  5. บุญชาย ศิริโภคทรัพย์
  6. พรรณิภา โสตถิพันธุ์
  7. พรพิมล เสนผดุง
  8. สุวิทย์ สาสนพิจิตร์
  9. อโณทัย อุดมศิลป์
  10. ดิษสุวรรณ สามพี่น้อง อดีตรองผู้อำนวยการ ด้านบริหาร
  11. วสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตรองผู้อำนวยการ ด้านปฏิบัติการ
  12. ทักษิณา ชัยอิทธิพรวงศ์
  13. นคร ชมพูชาติ
  14. ผศ.นลินี สีตะสุวรรณ
  15. สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
  16. ยุทธนา วรุณปิติกุล
  17. ดร.วุฒิ ลีลากุศลวงศ์ อดีตรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านพัฒนาธุรกิจ
  18. สมชัย สุวรรณบรรณ อดีตผู้อำนวยการ ส.ส.ท. และอดีตประธานกรรมการบริหาร ส.ส.ท.
  19. มงคล ลีลาธรรม อดีตรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านบริหารและปฏิบัติการ
  20. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านรายการและพัฒนาสื่อสาธารณะ
  21. สุพจ จริงจิตร อดีตรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านข่าว
  22. พุทธิสัตย์ นามเดช
  23. สมถวิล จรรยาวงษ์
  24. สุวิทย์ สาสนพิจิตร์ อดีตรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.
  25. พวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ
  26. กันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม

ทุนขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาณะแห่งประเทศไทย

ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มาตรา 11 นั้น กำหนดแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะใช้ในการบริหารงานขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ไว้ดังต่อไปนี้

  1. เงินบำรุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา 12
  2. เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 57 หรือตามกฎหมายอื่น (ในที่นี้ เงินและทรัพย์สินตามมาตรา 57 คือเงิน และทรัพย์สินของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม)
  3. ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุนตามมาตรา 60 (รัฐประเดิมทุนให้ได้สูงสุดไม่เกิน 2,000 ล้านบาท)
  4. ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ
  5. เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ
  6. รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ
  7. ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ

สำหรับการรับเงินตามข้อ 5 ต้องไม่เป็นการกระทำที่ทำให้องค์การขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน หรือให้กระทำการอันขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และการรับเงินตามข้อ 2 และ 3 ต้องนำไปใช้ในการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพ และให้โอกาสสร้างสรรค์แก่ผู้ผลิตรายการอิสระในอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ดังกล่าว ทั้งนี้ รายได้ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาณะแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ [17]

ที่มาของเงินบำรุงองค์การฯ ตามมาตรา 12

ถือเป็นมิติใหม่ประการหนึ่งของวงการสื่อสารมวลชน จากการที่พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 กำหนดให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพดานสูงสุดของเงินได้ทุกๆ 3 ปี) ถือเป็นการจัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่ค้าและจำหน่ายสุรากับบุหรี่มาให้เป็นเงินบำรุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ดี การจัดเก็บเงินบำรุงองค์การนี้ ให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งรายได้ส่วนนี้เพื่อมาเป็นเงินบำรุงองค์การ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เว้นแต่ว่าจะเกินกว่าที่กำหนด จึงนำส่งส่วนที่เหลือเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป [18]

อาคารสำนักงานใหญ่

ในช่วงระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ได้ใช้พื้นที่ ชั้น 13 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ซึ่งเป็นสำนักงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมาทางองค์การฯ มีดำริที่จะสร้างอาคารสำนักงานถาวร ติดกับสโมสรตำรวจ เริ่มทำงานที่อาคารสำนักงานใหญ่ตั้งแต่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และเริ่มออกอากาศจากอาคารสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ในวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555[19]

อาคารสำนักงานใหญ่ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 หลัง ได้แก่

  • อาคารอำนวยการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอำนวยการ หน่วยงานด้านเทคนิคสารสนเทศ และหน่วยงานด้านสื่อสารสังคม
  • อาคารปฏิบัติการ เป็นที่ตั้งของสำนักข่าว และห้องส่งการออกอากาศ
  • อาคารบริการ เป็นที่ตั้งของห้องอาหาร ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ฟิตเนส ห้องพยาบาล และห้องละหมาด
  • อาคารศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย นิทรรศการสื่อสาธารณะ ห้องฝึกอบรม ห้องฉายภาพยนตร์ และศูนย์ประชุม [20]

หน่วยงานในสังกัด

อัตลักษณ์ของ ส.ส.ท.
แบบที่ชนะเลิศการประกวด

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นสถานีโทรทัศน์ออกอากาศผ่านเสาอากาศภาคพื้นดินแห่งที่ 6 ของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี แต่เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมานั้น ได้ออกอากาศเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ชึ่งเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก่อนออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ในปีเดียวกัน ทางสถานีฯ ได้ส่งสัญญาณออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (ระบบอะนาล็อก แต่ปัจจุบันยุติการออกอากาศในระบบนี้ไปแล้ว) และช่อง 44 (ระบบดิจิตอล) จากกรุงเทพมหานคร และมีสถานีเครือข่ายในภูมิภาค อีกด้วย

สถานีฯ ได้นำเสนอการรายงานข่าวสาร สาระบันเทิง รายการเพื่อเด็กและเยาวชน และรายการความรู้ ที่บริหารด้วยความเป็นไทย มีความสมดุล ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ โดยมุ่งดำเนินการโดยปราศจากอคติทางการเมือง และผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น

สถานีวิทยุไทยพีบีเอส

สถานีวิทยุไทยพีบีเอส เป็นสถานีวิทยุของไทยพีบีเอสที่กระจายเสียงในระบบออนไลน์ ซึ่งเสนอรายการข่าวสาร(บางรายการรับสัญญาณการออกอากาศจากความถี่เสียงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) สาระต่างๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคม โดยสามารถรับฟังการกระจายเสียงของสถานีฯได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaipbsradio.com

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ

เป็นส่วนหนึ่งของ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ที่มีสมาชิก 50 คน ที่คัดเลือกจากผู้สมัครจากแต่ละกลุ่ม มากลุ่มละ 4 คน และคณะกรรมนโยบายมาคัดเลือกอีกทีหนึ่งโดยคัดเลือกให้เลือกเพียง 50 คนที่ กฎหมาย เพื่อเป็นกลไลในการรับฟังความคิด นอกจากนี้ยังผู้ตรวจสอบภายในและศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส เพื่อให้ไทยพีบีเอส วิทยุไทย และสื่อใน องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นสิ่งที่ตอบสนองคนทุกกลุ่มได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม

ศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส

เป็นหน่วยงานที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันตรวจสอบพฤติกรรมการผลิตและดำเนินรายการต่างๆของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ของไทยพีบีเอสไปพร้อมกันกับผู้ชมและผู้ฟังการออกอากาศ

ผลการดำเนินงานขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย [21]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2552

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จากการอภิปรายของ ส.ส. ระหว่างรับทราบรายงานผลการดำเนินงานขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ส.ส.ท. นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ชี้แจงถึงหลักการบริหารจัดการงบประมาณของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย โดยย้ำถึงความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมเปรียบเทียบตัวเลขค่าตอบแทนของพนักงาน การผลิตและการจัดหารายการน้อยกว่าสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ และยืนยันถึงกระบวนการตรวจสอบด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง หากเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น ส่วนเนื้อหาในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผู้อำนวยการ สสท. ยืนยันว่า มีความเป็นอิสระและเกิดประโยชน์กับประชาชน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่สื่ออย่างสร้างสรรค์ แต่ยอมรับว่าระยะเวลาทำงาน 1 ปีที่ผ่านมา ส.ส.ท. ยังไม่สามารถทำหน้าที่สื่อสาธารณะได้อย่างสมบูรณ์ ก่อนหน้านี้ ส.ส. ต่างลุกขึ้นอภิปรายแสดงความเป็นห่วงกรณีความไม่โปร่งใสในการบริหารงบประมาณของทีวีไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2551 กว่า 1,000 ล้านบาท แต่รายงานสรุปที่นำเสนอต่อสภาฯ ไม่ชัดเจน ทั้งเงินเดือนและค่าตอบแทนพนักงาน ค่าลิขสิทธิ์สารคดี และต้นทุนผลิตรายการและการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงวางโครงการก่อสร้างที่ทำการทีวีไทย และยังตั้งข้อสังเกตถึงกรณีการฝากบุคคลเข้าเป็นพนักงาน การห้ามนักการเมืองระดับรองนายกรัฐมนตรีและนักวิชาการบางคนออกรายการของสถานี นอกจากนี้ ส.ส. หลายคนยังได้อภิปรายเสนอแนะให้ทีวีไทยเป็นสื่อที่กล้าแสดงจุดยืนในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเมือง เพราะที่ผ่านมา ทีวีไทย ทำหน้าที่เพื่อเป็นทางออกท่ามกลางความขัดแย้งในสังคมได้ เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[22]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2552

  • วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552[23]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในการพิจารณารับทราบผลการปฏิบัติงานประจำปี 2553 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยมีประธานกรรมการนโยบาย นพ.(พลเดช ปิ่นประทีป) และ นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ส.ส.ท. ชี้แจงผลการปฏิบัติงานประจำปี 2553 โดยย้ำถึงหลักการนำเสนอที่ยึดประโยชน์สาธารณะ แม้จะมีรายการหรือละครที่เข้าข่ายบันเทิงก็ตาม[24] [25] [26]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2555

วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 17:00น.[27]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557[28]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558[29]

รายงานผลการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562[30]

รายงานผลการดำเนินงานต่อวุฒิสภา พ.ศ. 2561

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562[31]

บุคคลสำคัญ

ผู้อำนวยการ

รายนามผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีดังต่อไปนี้

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. เทพชัย หย่อง 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รักษาการผู้อำนวยการสถานี ตามมติคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ส.ส.ท.)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555
2. สมชัย สุวรรณบรรณ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[32]
3. พวงรัตน์ สองเมือง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[33] - 31 มกราคม พ.ศ. 2559(ผู้อำนวยการสำนักรายการ รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.)
4. ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[34] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[35]
5. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ 16 มีนาคม[36]- 15 เมษายน พ.ศ. 2560 (รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ไปพลางก่อน)
6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ 16 เมษายน[37] - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (ผู้อำนวยการสำนักข่าว รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.)
7. รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[38]

รองผู้อำนวยการ

รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีดังต่อไปนี้

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. https://www.change.org/p/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0-%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%AA-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87l
  2. http://www.isranews.org/isranews-short-news/item/49247-thaipbs_49247.html
  3. http://org.thaipbs.or.th/announce/detail/1652 ประกาศแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล)
  4. คำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 เดลินิวส์ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:01 น.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551, เล่ม 125, ตอน 8ก, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
  6. คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  8. ราชกิจจานุเบกษา,แต่งตั้งกรรมการนโยบาย (แทนตำแหน่งที่ว่าง)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม 131, ตอนพิเศษ 228ง, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, หน้า 11
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, เล่ม 133, ตอนพิเศษ 218ง, 28 กันยายน พ.ศ. 2559, หน้า 20
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/038/6.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/109/1.PDF
  13. บอร์ดทีวีไทยจับสลากลากออก-หลังครบวาระ
  14. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  15. คณะกรรมการบริหาร ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน
  16. ประกาศแต่งตั้งรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  17. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551, เล่ม 125, ตอน 8ก, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
  18. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551, เล่ม 125, ตอน 8ก, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
  19. http://www2.thaipbs.or.th/event/newhome/
  20. http://www2.thaipbs.or.th/event/newhome/
  21. รายงานผลการปฏิบัติงาน ส.ส.ท. ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
  22. http://www.thaipbs.or.th/clip/index.asp?content_id=214810&content_category_id=1020 รายงานผลการปฏิบัติงานปีพ.ศ. 2551 ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  23. http://www.thaipbs.or.th/clip/index.asp?content_id=214812&content_category_id=1020 รายงานผลการปฏิบัติงานปีพ.ศ. 2551 ต่อสมาชิกวุฒิสภา
  24. ผู้บริหาร ส.ส.ท.ชี้แจงงบประมาณต่อสภาฯ ย้ำหลักการยึดประโยชน์สาธารณะ
  25. http://www2.thaipbs.or.th/event/GOVReport/images/govReport.pdf สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงาน ส.ส.ท. ประจำปี 2553ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554
  26. http://www2.thaipbs.or.th/event/GOVReport/ ชมคลิปสรุปการรายงานผลการปฏิบัติงาน ส.ส.ท. ประจำปี 2553 ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554
  27. http://org.thaipbs.or.th/report/annualreport/article311010.ece?id=0 สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงาน ส.ส.ท. ประจำปี 2555 ต่อที่ประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556
  28. http://org.thaipbs.or.th/report/annualreport/article621661.ece?id=1 ส.ส.ท. ชี้แจงรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556 ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  29. http://org.thaipbs.or.th/report/annualreport/article740140.ece?id=1 ส.ส.ท. ชี้แจงรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557 ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  30. https://org.thaipbs.or.th/content/2540 ส.ส.ท. ชี้แจงรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ต่อสภาผู้แทนราษฎร
  31. https://org.thaipbs.or.th/content/2553 ส.ส.ท. ชี้แจงรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 ต่อวุฒิสภา
  32. http://org.thaipbs.or.th/content/123 ประกาศเลิกสัญญาจ้าง นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ไทยพีบีเอส)
  33. http://org.thaipbs.or.th/media/document/content/2015/12/16/371_1.pdf ประกาศองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เรื่อง แต่งตั้งรักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.(นางพวงรัตน์ สองเมือง)
  34. http://org.thaipbs.or.th/media/document/content/2016/01/21/756_1.pdf ประกาศแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์)
  35. "นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์" ลาออก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. รับผิดชอบกรณีซื้อตราสารหนี้
  36. http://org.thaipbs.or.th/document/download?1=5&2=1497&3=1 นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.
  37. http://org.thaipbs.or.th/announce/detail/1516 แต่งตั้งพนักงานรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์)
  38. http://org.thaipbs.or.th/announce/detail/1652 ประกาศแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล)
  39. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  40. ประกาศแต่งตั้งรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  41. ประกาศแต่งตั้งรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น