ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้องกัน "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ" แล้ว: สงครามการแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์ ([แก้ไข=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 10:58, 25 มกราคม 2563 (UTC)) [ย้าย=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 10:58, 25 มกราคม 2563 (UTC)))
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| dynasty = [[ราชวงศ์จักรี]]
| dynasty = [[ราชวงศ์จักรี]]
}}
}}
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ''' (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) พระนามเดิม '''พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา''' เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 7 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กับพระองค์แรกใน[[เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4|เจ้าจอมมารดาเที่ยง]]
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ''' (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) พระนามเดิม '''พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา''' เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 7 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กับพระองค์แรกใน[[เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4|เจ้าจอมมารดาเที่ยง]]


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
ใน[[พระราชพิธีฉัตรมงคล]] พ.ศ. 2446 ซึ่งเป็นวาระที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ดำรงสิริราชสมบัติครบสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริที่จะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าต่างกรมเพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า ''พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ'' เมื่อ พ.ศ. 2446<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/034/590.PDF ประกาศตั้งกรมพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี], เล่ม ๒๐, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๕๙๐</ref>
ใน[[พระราชพิธีฉัตรมงคล]] พ.ศ. 2446 ซึ่งเป็นวาระที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ดำรงสิริราชสมบัติครบสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริที่จะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าต่างกรมเพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า ''พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ'' เมื่อ พ.ศ. 2446<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/034/590.PDF ประกาศตั้งกรมพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี], เล่ม ๒๐, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๕๙๐</ref>


พระองค์เจ้าโสมาวดีทรงเป็นอธิบดีบังคับบัญชาการรักษาพระราชวังฝ่ายในและทรงดูแลกรมโขลน<ref>[http://web.archive.org/20040528163039/www.geocities.com/roy_bilan222/story_wang1.htm ประเพณีวัง 1]</ref> อีกทั้งยังทรงรับเลี้ยง[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร]] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดูแลรักษากุญแจ[[พระบรมมหาราชวัง]]ชั้นใน มาตลอดรัชกาล
พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดีทรงเป็นอธิบดีบังคับบัญชาการรักษาพระราชวังฝ่ายในและทรงดูแลกรมโขลน<ref>[http://web.archive.org/20040528163039/www.geocities.com/roy_bilan222/story_wang1.htm ประเพณีวัง 1]</ref> อีกทั้งยังทรงรับเลี้ยง[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร]] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดูแลรักษากุญแจ[[พระบรมมหาราชวัง]]ชั้นใน มาตลอดรัชกาล


ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ได้กราบบังคมทูลลาออกไปประทับ ณ [[วังวรดิศ]] ซึ่งเป็นวังของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ซึ่งทรงนับเนื่องเป็นพี่น้องต่างมารดา และลูกพี่ลูกน้องกัน เนื่องจากเจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นพี่สาวของ[[เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4]] พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ได้กราบบังคมทูลลาออกไปประทับ ณ [[วังวรดิศ]] ซึ่งเป็นวังของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ซึ่งทรงนับเนื่องเป็นพี่น้องต่างมารดา และลูกพี่ลูกน้องกัน เนื่องจากเจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นพี่สาวของ[[เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4]] พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:34, 27 มกราคม 2563

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
พระองค์เจ้าชั้นเอก
กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
ไฟล์:พระองค์เจ้าโสมาวดี.jpg
ประสูติ19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395
สิ้นพระชนม์5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (78 ปี)
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระองค์แรกในเจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 7 และเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง (สกุลเดิม โรจนดิศ) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 1214 ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้ารุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหนึ่งในสามพระองค์ที่ได้รับพระราชทานสร้อยพระนาม โดยอีกสองพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา และ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี[1] นอกจากนี้ พระนามของทั้งสามพระองค์ยังสอดคล้องกันโดยเรียงตามพระชันษา ได้แก่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระองค์เจ้าทักษิณชา พระองค์เจ้าโสมาวดี[2] ทั้งนี้พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครมเหสีของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[3]

ในพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2446 ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรงสิริราชสมบัติครบสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริที่จะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าต่างกรมเพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ เมื่อ พ.ศ. 2446[4]

พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดีทรงเป็นอธิบดีบังคับบัญชาการรักษาพระราชวังฝ่ายในและทรงดูแลกรมโขลน[5] อีกทั้งยังทรงรับเลี้ยงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดูแลรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นใน มาตลอดรัชกาล

ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ได้กราบบังคมทูลลาออกไปประทับ ณ วังวรดิศ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงนับเนื่องเป็นพี่น้องต่างมารดา และลูกพี่ลูกน้องกัน เนื่องจากเจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นพี่สาวของเจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4 พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ สิ้นพระชนม์ที่วังวรดิศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอังคาร เดือน 6 แรม 4 ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช 1293 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 พระชนมายุ 80 ปี[6]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[7]

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
การทูลใต้ฝ่าข้าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446)
  • พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[6]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, สำนักพิมพ์มติชน, 2546, หน้า 31 (ISBN 974-322-964-7)
  2. จุลลดา ภักดีภูมินทร์,พระราชพิธีถวายโถข้าวยาคู, สกุลไทย, ฉบับที่ 2652, ปีที่ 51, 16 สิงหาคม 2548
  3. 3.0 3.1 ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรมพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี, เล่ม ๒๐, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๕๙๐
  5. ประเพณีวัง 1
  6. 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๔๘, ตอน ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔, หน้า ๔๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน ๐ ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตนราชวราภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๔๓๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๒๕๕๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๑๑๔
  14. ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
  15. ประวัติพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) บิดาของเจ้าจอมมารดาถึง 2 รัชกาล. จากเว็บไซต์เรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 15-03-57.
  16. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113