ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาคำโสม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ราชโอรส-ธิดา: แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อ
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
|วันพิราลัย= [[พ.ศ. 2337]] (50 พรรษา)
|วันพิราลัย= [[พ.ศ. 2337]] (50 พรรษา)
|พระอิสริยยศ = พระยานครลำปาง
|พระอิสริยยศ = พระยานครลำปาง
|พระบิดา = [[เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]]
|พระบิดา = [[เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]]
|พระมารดา= แม่เจ้าจันทาราชเทวี
|พระมารดา= แม่เจ้าจันทาราชเทวี
|พระมเหสี = * แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี<br>* แม่เจ้าจันทรา<br>* แม่เจ้าจอมแก้ว
|พระมเหสี = * แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี<br>* แม่เจ้าจันทรา<br>* แม่เจ้าจอมแก้ว
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
|}}
|}}


'''พระยาคำโสม''' ([[พ.ศ. 2287]] - [[พ.ศ. 2337]])<ref>หนานอินแปง. '''พระราชชายา เจ้าดารารัศมี.''' กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546</ref> หรือ '''เจ้าคำสม''' เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของ[[เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]] ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือ[[พระเจ้ากาวิละ]] ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2337 เสด็จพิราลัยในขณะมีพระชนมายุได้ 50 ชันษา
'''พระยาคำโสม''' ([[พ.ศ. 2287]] - [[พ.ศ. 2337]])<ref>หนานอินแปง. '''พระราชชายา เจ้าดารารัศมี.''' กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546</ref> หรือ '''เจ้าคำสม''' เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของ[[เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว]] ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือ[[พระเจ้ากาวิละ]] ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2337 เสด็จพิราลัยในขณะมีพระชนมายุได้ 50 ชันษา


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:00, 25 มกราคม 2563

พระยาคำโสม

พระยาคำโสม
พระยานครลำปาง
ครองราชย์พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337
รัชสมัย13 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้ากาวิละ
รัชกาลถัดไปพระเจ้าดวงทิพย์
ประสูติพ.ศ. 2287
พิราลัยพ.ศ. 2337 (50 พรรษา)
พระมเหสี
  • แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี
    * แม่เจ้าจันทรา
    * แม่เจ้าจอมแก้ว
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
พระมารดาแม่เจ้าจันทาราชเทวี

พระยาคำโสม (พ.ศ. 2287 - พ.ศ. 2337)[1] หรือ เจ้าคำสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือพระเจ้ากาวิละ ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2337 เสด็จพิราลัยในขณะมีพระชนมายุได้ 50 ชันษา

พระประวัติ

พระยาคำโสม ประสูติเมื่อปีชวด พ.ศ. 2287 มีพระอนุชาและพระขนิษฐารวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[2]

  • พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 (นับเป็น "พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3" ใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)")
  • พระยาคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
  • พระยาธรรมลังกา พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  • พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
  • เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  • เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  • เจ้าอุปราชหมูหล้า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
  • พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  • เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
  • พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

พระเจ้าคำโสม อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงปทุมมา ต่อมาคือ แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี และมีชายาอีกหลายพระองค์ อาทิ แม่เจ้าจันทรา แม่เจ้าจอมแก้ว

ราชโอรส-ธิดา

พระเจ้าคำโสม มีพระราชโอรสหลายพระองค์ ซึ่งมีพระองค์ที่ได้ขึ้นครองนคร ได้แก่

  1. พระยาไชยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 6 เป็นโอรสองค์ที่ 1
  2. พระยาขัติยะ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 7 เป็นโอรสองค์ที่ 2
  3. พระยาน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3 เป็นโอรสองค์ที่ 3
  4. เจ้าราชวงศ์คำแสน ณ ลำปาง, เจ้าราชวงศ์นครลำปาง
  5. เจ้าหลวงมหาวงศ์ (เจ้าน้อยพุทธวงศ์ ณ ลำปาง) พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 1
  6. เจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9 เป็นโอรสองค์ที่ 4
  7. เจ้าหลวงมหายศ (เจ้าน้อยมหายศ ณ ลำปาง), พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 2
  8. เจ้าราชวงศ์แก้วมนุษย์ ณ ลำปาง, เจ้าราชวงศ์เมืองพะเยา
  9. เจ้าอุปราชหนานยศ ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชเมืองงาว
  10. เจ้าสุริยวงศ์คำลือ ณ ลำปาง, เจ้าสุริยวงศ์เมืองงาว
  11. เจ้าราชบุตรคำเครื่อง ณ ลำปาง, เจ้าราชบุตรนครลำปาง
  12. แม่เจ้าอุบลวรรณาเทวี (ณ ลำปาง) ใน เจ้าหลวงฟ้าเมืองแก้วขัตติยะ (ศีติสาร) , พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 3

พระราชกรณียกิจ

เมื่อปี พ.ศ. 2307 เจ้าฟ้าแก้ว ได้ครองนครลำปาง และเจ้าคำโสม ได้ช่วยงานราชการนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2309 เจ้าคำโสม ได้นำกำลังไพร่พลจากนครลำปางเข้าสมทบกองทัพพม่าที่เกณฑ์กำลังหัวเมืองขึ้นทั้งปวงของพม่าในเวลานั้น เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

ในปี พ.ศ. 2317 พระยาคำโสม ได้รับพระราชทานอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาราชวงศ์นครลำปาง[3] และในปี พ.ศ. 2325 พระเจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาจากพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้เป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้าคำโสมได้เป็น "พระยาคำโสม" เจ้าเมืองลำปาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2336 พระยาคำโสม ร่วมกับพระเจ้ากาวิละ และเจ้าพี่น้องรวมกัน 7 คน (ภายหลังได้รับสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") และกองทัพเมืองแพร่ เมืองน่าน มีไพร่พล 10,000 ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนล้อมเมืองอยู่ 2 เดือน จึงยึดเมืองได้

พระเจ้าคำโสม เมื่อว่างจากราชการสงครามได้ทำนุบำรุงพระศาสนาในนครลำปาง อาทิ สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระเจ้าตนหลวง) การสร้างวัดหลวงกลางเวียง วิหารวัดป่าดัวะ วิหารวัดศรีเกิด วิหารวัดหมื่นกาด วิหารวัดปงสนุก วิหารวัดป่าพร้าว รวมทั้งสิ้น 8 วัด และสร้างรั้วรอบพระธาตุลำปางหลวง และพระธาตุเสด็จ[4]

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546
  2. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
  3. วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
  4. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
ก่อนหน้า พระยาคำโสม ถัดไป
พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337)
พระเจ้าดวงทิพย์