ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
* ภาษาจีน
* ภาษาจีน
** [[ภาษาจีนกลาง]]
** [[ภาษาจีนกลาง]]
** [[ภาษาหวู่]] [[ภาษาเซี่ยงไฮ้]]
** [[ภาษาอู๋]] [[ภาษาเซี่ยงไฮ้]]
** [[ภาษาจีนกวางตุ้ง]] [[ภาษาผิง]]
** [[ภาษาจีนกวางตุ้ง]] [[ภาษาผิง]]
** [[ภาษาหมิ่น]] [[ภาษาไต้หวัน]]
** [[ภาษาหมิ่น]] [[ภาษาไต้หวัน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:08, 19 มกราคม 2563

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
โพ้นหิมาลัย
ภูมิภาค:เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้ และเอเชียกลาง
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:sit
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:79- (phylozone)
กลอตโตลอก:sino1245
{{{mapalt}}}
สาขาหลักของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต:

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (อังกฤษ: Sino-Tibetan languages) หรือบางแห่งเรียกว่า ตระกูลภาษาโพ้นหิมาลัย (Trans-Himalayan languages) เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออก มีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต์

การจัดจำแนก

การจัดจำแนกของ James Matisoff

การจัดจำแนกของ George van Driem

การจัดแบ่งแบบนี้ให้ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าขึ้นมาเป็นตระกูลใหญ่ และให้ภาษาจีนเป็นกลุ่มย่อย เป็นดังนี้

  • พราหมาปูตรัน ได้แก่ ภาษาธิมิล ภาษาโบโด-กอซ (รวมภาษาตรีปุระ ภาษากาโร) กลุ่มกอนยัค (รวมภาษานอคต์) กลุ่มกะชีน (รวมภาษาจิ่งเผาะ)
  • กลุ่มทิเบต-พม่าใต้ ได้แก่กลุ่มโลโล-พม่า กลุมกะเหรี่ยง
  • กลุ่มจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาจีน ภาษากลุ่มทิเบต-หิมาลัย (รวมภาษาทิเบต) ภาษากลุ่มกิรันตี ภาษากลุ่มตามันกิก และอื่นๆ
  • ภาษากลุ่มอื่นๆที่เป็นกลุ่มหลักของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าเดิม เช่น ภาษาเนวารี ภาษาเกวียง ภาษานุง ภาษามาคัร

การจัดแบ่งแบบนี้เรียกสมมติฐานจีน-ทิเบต โดยถือว่าภาษาจีนและภาษาทิเบตมีความใกล้เคียงกัน

สมมติฐานจีน-ทิเบต

เหตุผลที่จัดภาษาจีนเข้าเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เพราะมีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษาจีนกับภาษาทิเบต เช่นลักษณะคู่ขนานระหว่างภาษาจีนโบราณกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ และมีรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้มีข้อโต้แย้งคือ ความชัดเจนของรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษากลุ่มทิเบตยังไม่ชัดเจนพอ และจากการสร้างภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมโดยใช้ข้อมูลจากวรรณคดีภาษาทิเบตและพม่า และข้อมูลจากภาษาจิ่งโปและภาษาไมโซ พบว่าภาษาจีนมีลักษณะที่จะเป็นภาษาลุกหลานของภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมน้อย สมมติฐานนี้จึงยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย