ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นครรัฐน่าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saranphat chaiphet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Saranphat chaiphet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| event2 =
| event2 =
| date_event2 =
| date_event2 =
| p1 = [[นครเมืองน่าน]]
| p1 =
| s1 = อาณาจักรล้านนา
| s1 = อาณาจักรล้านนา
| capital = เมืองย่าง<br>[[อำเภอปัว|เมืองปัว]] (1825-1902)<br>เมืองภูเพียงแช่แห้ง (1902-1911)<br>[[เมืองน่าน]] (1911-1991)
| capital = เมืองย่าง<br>[[อำเภอปัว|เมืองปัว]] (1825-1902)<br>เมืองภูเพียงแช่แห้ง (1902-1911)<br>[[เมืองน่าน]] (1911-1991)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:46, 18 มกราคม 2563

นครรัฐน่าน
พุทธศตวรรษที่ 18–พ.ศ. 1992
สถานะนครรัฐ[1][2][3]
เมืองหลวงเมืองย่าง
เมืองปัว (1825-1902)
เมืองภูเพียงแช่แห้ง (1902-1911)
เมืองน่าน (1911-1991)
การปกครองราชาธิปไตย
เจ้าผู้ครอง 
• 1825-2004[3]
ราชวงศ์ภูคา
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พุทธศตวรรษที่ 18
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
พ.ศ. 1992
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

นครรัฐน่าน[3][4][5] บ้างเรียก อาณาจักรน่าน[6] หรือ รัฐปัว[7] เป็นนครรัฐอิสระ[1]ขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน[2] เดิมเรียกว่าเมืองกาว, แคว้นกาว, รัฐกาว, กาวเทศ[8] หรือ กาวน่าน[9]

แต่ด้วยอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์เนื่องด้วยตั้งอยู่ในหุบเขาขนาดเล็กจึงมีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่ารัฐอื่น ๆ ที่ตั้งในแถบลุ่มน้ำปิงและวัง[10] ด้วยเหตุนี้น่านจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพะเยาช่วงต้นถึงปลายศตวรรษที่ 19, ล้านนาในปี พ.ศ. 1993 และพม่าในปี พ.ศ. 2103

ประวัติ

แรกก่อตั้งและการยึดครองของพะเยา

นครรัฐน่านถูกสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยการนำของพญาภูคา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน)[2] ขณะที่ ราชวงษปกรณ์ พงศาวดารน่าน ที่รวบรวมโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชช่วงรัตนโกสินทร์เพียงฉบับเดียว ที่ระบุว่า ราชวงศ์กาวนี้สืบเชื้อสายมาจากพญาลาวกอ โอรสพญาลวจังกราช เมื่อปี พ.ศ. 1220[5] ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับตอนที่สองจนถึงยุคพระเจ้าสุริยวงษ์ผริตเดชโดยไม่กล่าวถึงราชวงศ์ลวจังกราชอีกเลย[11]

ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว[note 1] และองค์น้องไปสร้างเมืองปัว (หรือ วรนคร)[12] ปกครองชาวกาว[13]

ครั้นขุนฟองพิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงครองเมืองปัวสืบมา ส่วนพญาภูคาเองก็มีชนมายุมาก มีพระราชประสงค์ให้พระนัดดามากินเมืองต่อ จึงส่งเสนาอำมาตย์ไปอัญเชิญ ด้วยเจ้าเก้าเถื่อนเกรงพระทัยพระอัยกาจึงเสด็จครองเมืองย่างต่อ โดยให้นางพญาแม่ท้าวคำพินครองเมืองปัวแทน[2] ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองปัวกำลังอ่อนแอ พญางำเมืองเจ้าผู้ครองนครรัฐพะเยา จึงสบโอกาสยกทัพมาปล้นเมืองปัว หลังจากนั้นก็ให้นางอั้วสิม พระชายา และเจ้าอามป้อม ราชบุตร มากินเมืองปัว[14] ในช่วงเวลาเดียวกับที่พญางำเมืองตีเมืองปัวนั้น นางพญาแม่ท้าวคำพินผู้ทรงพระหน่อได้เสด็จลี้ภัยไปที่บ้านห้วยแร้งแล้วให้กำเนิดโอรสชื่อเจ้าขุนใส เมื่อเจ้าขุนใสเจริญพระชันษาก็ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมือง พญางำเมืองก็สถาปนาเป็น "เจ้าขุนใสยศ" ครองเมืองปราด เมื่อเจ้าขุนใสยศมีกำลังพลมากขึ้นก็ทรงยกทัพขึ้นต่อสู้จนสามารถยึดเมืองปัวคืนมาได้[2] พร้อมกับได้นางอั้วสิมในพญางำเมืองมาเป็นพระชายาด้วย[14] และสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น พญาผานอง (หรือ ผากองผู้ปู่) ปกครองเมืองปัวอย่างรัฐอิสระ[2]

การขยายตัวและปัญหาระหว่างรัฐ

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ในรัชกาลพญาผานอง นครรัฐอิสระนี้เริ่มมีเสถียรภาพ หลังมีการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทรงร่วมมือกับพญาคำฟูกษัตริย์ล้านนาเข้าปล้นแคว้นพะเยาในรัชกาลพญาคำลือ และเริ่มมีปัญหาระหองระแหงกับล้านนาอันเนื่องมาจากการถูกเอารัดเอาเปรียบในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ปล้นมาจากพะเยา[14]

รัชสมัยพญาครานเมือง (หรือ การเมือง หรือ กรานเมือง) ได้ทำการย้ายเมืองหลวงลงมายังภูเพียงแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 1902 ด้วยมีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้สะดวกกว่าเมืองหลวงเก่า และได้ทรงสร้างพระธาตุแช่แห้ง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างศูนย์รวมจิตใจแก่ทวยราษฎร์[1] หลังได้รับพระธาตุและพระพิมพ์มาจากอาณาจักรสุโขทัย[2] ที่เป็นรัฐเครือญาติ[15] แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความไม่ชอบใจแก่อาณาจักรอยุธยานัก ที่ช่วงเวลานั้นอยุธยาพยายามขยายอำนาจสู่สุโขทัย พญาครานเมืองจึงถูกกษัตริย์อยุธยาลอบวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ทันที และยิ่งทวีความร้าวฉานเมื่อพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) ส่งทัพไปช่วยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย รบกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา[16] แต่ผลคือทัพน่านที่ยกไปช่วยนั้นแตก และถูกกรุงศรีอยุธยาจับเป็นเชลยอันมาก[17] และท้าวคำตัน รัชกาลถัดมา ก็ถูกกรุงศรีอยุธยาลอบปลงพระชนม์อีกครั้งโดยใส่ยาพิษในน้ำอาบองค์สรงเกศ[16]

อนึ่งในรัชกาลพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) นั้น ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากภูเพียงแช่แห้งมายังเวียงใต้ หรือเมืองน่านในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 1911[18] โดยให้เหตุผลว่าขาดแคลนน้ำ และเวียงนั้นไม่สามารถรองรับประชาชนจำนวนมากได้[19]

ความขัดแย้งภายในและการล่มสลาย

นครรัฐน่านประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อท้าวเมืองแพร่ยกทัพมาปล้นและครองเมืองน่านครั้งหนึ่ง และอีกครั้งเมื่อช่วงปี พ.ศ. 1942-1943 ซึ่งเจ้าเมืองน่านจึงหนีไปพึ่งเจ้าสุโขทัย และได้รับการช่วยเหลือจนกระทั่งยึดอำนาจคืนสำเร็จทั้งสองครั้ง แต่กระนั้นการเมืองภายในราชวงศ์ภูคาก็ชิงอำนาจกันเสียเอง คืออินทแก่นท้าว ถูกเจ้าแพงและเจ้าหอพรหมผู้น้องยึดอำนาจได้[20] อินทแก่นท้าวจึงไปขอความช่วยเหลือจากสุโขทัยและยึดอำนาจคืน[16]

ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 บรรดาแว่นแคว้นและนครรัฐต่าง ๆ ค่อย ๆ ถูกรัฐที่ใหญ่กว่าผนวก อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายและรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 แต่นครรัฐน่านที่ห่างไกลยังคงเป็นนครรัฐอิสระขนาดเล็กอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก่อนถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาใน ปี พ.ศ. 1992 ใน พื้นเมืองน่าน กล่าวว่าพระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพจากพะเยามาทางเมืองปง เมืองควร เข้าล้อมเมืองน่าน และ "ตั้งอม็อกสินาดยิงเข้าทางประตูอุทยาน โห่ร้องเข้าคุ้มเวียง"[16] อินทแก่นท้าวหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงแต่งตั้งท้าวผาแสงพระโอรสเจ้าแพงกินเมืองสืบมา ครั้นสิ้นท้าวผาแสงก็หาขุนนางมากินเมืองแทน ดังปรากฏ ความว่า "...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล..."[7]

การปกครอง

น่านมีกษัตริย์จากราชวงศ์ภูคาเป็นประมุข ปกครองตนเองแบบนครรัฐอิสระที่ถูกตั้งขึ้นด้วยเงื่อนไขท้องถิ่นที่มิใช่อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย[10] และเนื่องด้วยที่ตั้งของน่านเป็นชายขอบของรัฐที่เข้มแข็ง[1] ประวัติศาสตร์ของน่านจึงมีความพยายามรักษาสถานะความเป็น "นครรัฐ" ให้อยู่รอด[1]

น่านเคยถูกพะเยายึดครองช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และปลายศตวรรษนั้นก็กลับเป็นนครรัฐอิสระดังเดิม แต่จากการขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาและอยุธยาทำให้น่านสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย[1] แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากสุโขทัยก็ตามแต่เจ้านายในราชวงศ์กาวเองกลับแย่งชิงอำนาจกันเองทำให้รัฐขาดเสถียรภาพ จนเมื่อพันธมิตรอย่างอาณาจักรสุโขทัยสลายตัวและรวมเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 ไม่นานหลังจากนั้นน่านเองก็สลายตัวและรวมเข้ากับล้านนาในปี พ.ศ. 1992[16]

ประชากร

น่านมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาวเป็นชนชาติหนึ่งโดยเอกเทศ[13] แต่ต้นกำเนิดของชนชาติกาวก่อนมายังเมืองปัวยังเป็นปริศนา สรัสวดี อ๋องสกุลได้ตั้งข้อสังเกตว่าพญาภูคาอาจมีความเกี่ยวข้องกับเมืองภูคาทางตอนเหนือของประเทศลาว และตั้งข้อสังเกตว่าไทกาว, ไทลาว และไทเลือง (บรรพบุรุษราชวงศ์สุโขทัย) มีความสัมพันธ์กัน แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ต้องสืบค้นต่อไป[21]

ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว โดยตำนานให้ภาพของเมืองปัวและหลวงพระบางเป็นพี่น้องกัน ลาวและกาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันตั้งถิ่นฐานใกล้กัน[13]

หลักฐานที่กล่าวถึงชาวกาวที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 4 ปรากฏความว่า "ทังมา กาว ลาว และไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ..ไทยชาวอูชาวของมาออก"[13] พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด เรียกเมืองปัวซึ่งเป็นเมืองของชาวกาวว่า "เมืองกาว" หรือ "เมืองกาวเทศ" และกล่าวว่าเป็นคนไทกลุ่มหนึ่งความว่า "เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย" และ "เมื่อตติยสักกราช ๗๒๗ ตัว ปีกัดใค้ สนำกุญชรชาวกาวไทยเรียกร้องกันมาแปลงโรงหลวง"[13] ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"[13] ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว[13] ในจารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ 1 อ้างถึงปี พ.ศ. 1939 กษัตริย์สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตไปยังเมืองกาว ดังความว่า "ท่านได้ปราบต์ ทั้งปกกาว" ปกหมายถึงรัฐคือรัฐกาวนั่นเอง ส่วนจารึกวัดบูรพารามด้าน 2 ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกปกกาวว่า "กาวรฏฺฐํ" และกล่าวต่อว่าตั้งอยู่ทางทิศอุดรของสุโขทัย[21]

หลังจากการสร้างเมืองน่านเป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มนิยมเรียกชื่อตามเมืองคือน่านแทนชื่อชนชาติ ผู้คนในเมืองน่านก็เรียกตัวเองว่าชาวน่านแทนชาวกาวดังปรากฏหลักฐานในพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด[21] จนกล่าวได้ว่าตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คำว่า "กาว" ได้หายไปจากเมืองน่านแล้ว เหลือเพียงแต่ร่องรอยที่ปรากฏในเอกสารโบราณเท่านั้น[21] และทุกวันนี้ชาวจังหวัดน่านเองก็ไม่รู้จักคำว่าชาวกาวแล้ว[9]

ภูมิศาสตร์

ภาพพาโนรามาเทือกเขาผีปันน้ำ

น่านเป็นนครรัฐในหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านทางตอนบนขนาดเล็กเป็นตอน ๆ ในลักษณะแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ขนาบโดยเทือกเขาผีปันน้ำทางตะวันตก และเทือกเขาหลวงพระบางทางตะวันออก[22] ที่ราบแบ่งได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นที่ราบขนาดเล็กต้นแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองปัว และที่ราบตอนล่างอันเป็นตั้งของเมืองน่านซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่า สามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้น่านยังมีที่ราบขนาดเล็กอีกหลายแห่งกระจายตัวในหุบเขาอีกด้วย[22] ถือว่าน่านมีที่ราบขนาดใหญ่และกว้างขวางกว่านครรัฐแพร่ซึ่งเป็นรัฐจารีตร่วมสมัย[23] แม้กระนั้นนครรัฐน่านก็ประสบปัญหามีพื้นที่ทำการเกษตรจำกัด และประชากรเบาบาง[3][5]

ด้วยเหตุที่น่านถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสามารถติดต่อเมืองอื่น ๆ ได้ยาก ทำให้น่านเป็นเมืองโดดเดี่ยว[22] มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่ารัฐจารีตที่รายรอบ[10] และ พื้นเมืองน่าน ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของน่านช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยหรือล้านนาช่วงนั้นเลย โลกของผู้เขียนตำนานขีดวงไว้เพียงแถบลุ่มแม่น้ำน่านเท่านั้น[21] อย่างไรก็ตามน่านตั้งอยู่บนและควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างล้านนาตะวันออกกับหลวงพระบางในแนวตะวันออกถึงตะวันตก[22] และเป็นปราการที่สำคัญของล้านนาด้วย ดังปรากฏในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เวียดนามได้คุกคามหลวงพระบางและน่าน โดยน่านได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งจนเวียดนามพ่ายไปในที่สุด[24]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นครรัฐน่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน อันเป็นคำสัตย์ว่าสองรัฐจะไม่สู้รบกันเมื่อปี พ.ศ. 1935[15]

เชิงอรรถ

  1. ในตำนานกล่าวถึงฤๅษีสร้างเมืองจันทบุรีให้ขุนนุ่น ซึ่งเมืองจันทบุรีคือเมืองเวียงจันทน์ แต่สรัสวดี อ๋องสกุลพิจารณาถึงตำแหน่งที่ตั้งเมืองตามบริบทของตำนานว่าควรเป็นเมืองหลวงพระบาง (อ้างอิง: สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 111
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "ประวัติศาสตร์น่าน". จังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 1.
  4. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 256
  5. 5.0 5.1 5.2 "นครรัฐน่านก่อนสมัยพญาภูคา". นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ชีวิต วิถีชาวน่าน. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. จังหวัดน่านและอาณาจักรน่าน
  7. 7.0 7.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 113
  8. "ชนชาติกาว บรรพบุรุษผู้สูญหายของคนเมืองน่าน". Thailand Art. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 "เมืองกาว เมืองน่าน". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 41
  11. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 105
  12. คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 3.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107
  14. 14.0 14.1 14.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 109
  15. 15.0 15.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (5 ธันวาคม 2557). "พระขรรค์ชัยศรี กับดาบฟ้าฟื้น". Sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 112
  17. ประเสริฐ ณ นคร. ผากอง, พระยา ใน ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 254 - 255
  18. คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 9.
  19. คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 16.
  20. คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 18.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 108
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 106
  23. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 102
  24. ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี และวินัย ศรีพงศ์เพียร. "บทบาทของล้านนาในวิกฤตการณ์การเมืองระหว่างรัฐในราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2002-2024", ใน รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 16, พ.ศ. 2537, หน้า 98-110