ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ธนาธร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ans (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 235: บรรทัด 235:


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[หน้าที่ของเด็ก]] - เพลงซึ่งเปิดในวันเด็ก
* [[เพลงหน้าที่ของเด็ก]] - เพลงซึ่งเปิดในวันเด็ก


==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:39, 16 มกราคม 2563

วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2509 ในปี พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อเชิญไปลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2563 โดยมีใจความว่า "ความรู้และคุณธรรมเป็นรากฐานสำคัญของ ความดีความเจริญทุกอย่าง เด็กทุกคนจึงต้องหมั่นศึกษาอบรม ให้ถึงพร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม เพื่อจะได้เติบโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ผู้สามารถสร้างสรรค์ความดีความเจริญ ให้แก่ตนและแก่ส่วนรวม"

พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันที่ 18 ธันวาคม พุทธศักราช 2562

การจัดงานวันเด็ก

ปี พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ซึ่งจะเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก

ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของ วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่

ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ

ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2508 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด อีกทั้งการที่กำหนดให้วันเด็กต้องจัดในช่วงต้นปี มีความหมายว่า ทุกภาคส่วนของประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กเป็นอันดับแรก ๆ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2508 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว

งานวันเด็กแห่งชาติจึงได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2509 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้ จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบ สารวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต

ปี นายกรัฐมนตรี คำขวัญ
พ.ศ. 2499 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า[1]
พ.ศ. 2503 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด[1]
พ.ศ. 2504 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย[1]
พ.ศ. 2505 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด[1]
พ.ศ. 2506 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด[1]
พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี[1]
พ.ศ. 2509 เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี[1]
พ.ศ. 2510 อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย[1]
พ.ศ. 2511 ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย มีความเฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง[1]
พ.ศ. 2512 รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ[1]
พ.ศ. 2513 เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส[1]
พ.ศ. 2514 ยามเด็กจงหมั่นเรียนเพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ[1]
พ.ศ. 2515 เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ[1]
พ.ศ. 2516 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ[1]
พ.ศ. 2517 สัญญา ธรรมศักดิ์ สามัคคีคือพลัง[1]
พ.ศ. 2518 เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี[1]
พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้[1]
พ.ศ. 2520 ธานินทร์ กรัยวิเชียร รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย[1]
พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง[1]
พ.ศ. 2522 เด็กไทยคือหัวใจของชาติ[1]
พ.ศ. 2523 อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย[1]
พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2525 ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติศาสน์กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย[1]
พ.ศ. 2526 รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2527 รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา[1]
พ.ศ. 2528 สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม[1]
พ.ศ. 2529 นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2530
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2534 รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา[1]
พ.ศ. 2535 อานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม[1]
พ.ศ. 2536 ชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม[1]
พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2538 สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม[1]
พ.ศ. 2539 บรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด[1]
พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด[1]
พ.ศ. 2541 ชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย[1]
พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2543 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย[1]
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส[1]
พ.ศ. 2546 เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี[1]
พ.ศ. 2547 รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน[1]
พ.ศ. 2548 เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด[1]
พ.ศ. 2549 อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด[1]
พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข[1]
พ.ศ. 2551 สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี[1]
พ.ศ. 2553 คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม[1]
พ.ศ. 2554 รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ[1]
พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี[2]
พ.ศ. 2556 รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน[1]
พ.ศ. 2557 กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง[3]
พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต[4]
พ.ศ. 2559 เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต[5]
พ.ศ. 2560 เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง[6]
พ.ศ. 2561 รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี[7]
พ.ศ. 2562 เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ[8]
พ.ศ. 2563 เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 1.31 1.32 1.33 1.34 1.35 1.36 1.37 1.38 1.39 1.40 1.41 1.42 1.43 1.44 1.45 1.46 ""รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน" คำขวัญวันเด็กปี 56 จากนายกฯ ปู". ผู้จัดการ. 13 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""ยิ่งลักษณ์" มอบคำขวัญวันเด็กปี 55 "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"". ผู้จัดการ. 22 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "'นายกฯปู' มอบคำขวัญวันเด็กปี 57 ยันจัดงานยิ่งใหญ่ที่ทำเนียบฯ". ข่าวสด. 17 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "นายกฯมอบคำขวัญวันเด็กปี 58 "ความรู้ คุณธรรม นำสู่อนาคต"". ผู้จัดการ. 3 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""บิ๊กตู่" ให้คำขวัญวันเด็กปี59 "เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต"". ผู้จัดการรายวัน. 24 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "นรม.มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2560 "เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง" พร้อมแต่งเพลง "สะพาน" สื่อถึง ครม.ที่ทำหน้าที่เป็นสะพานให้ประชาชนก้าวผ่านความลำบากไปสู่ทางที่ดีกว่า". รัฐบาลไทย. 4 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "นายกรัฐมนตรีมอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 "รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี"". รัฐบาลไทย โดย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 22 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "คำขวัญนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562 “เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ” ". รัฐบาลไทย โดย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 14 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น