ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดศรีอุบลรัตนาราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
}}
}}


''' วัดศรีอุบลรัตนาราม''' เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]] เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ [[พระแก้วบุษราคัม]] ปัจจุบันมีพระวินัยโกศล (ทองคู่ ป.ธ.๖) เป็นเจ้าอาวาส
''' วัดศรีอุบลรัตนาราม''' เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]] เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ [[พระแก้วบุษราคัม]] ปัจจุบันมีพระราชธรรมสุธี (ทองคู่ ป.ธ.๖) เป็นเจ้าอาวาส


วัดตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด[[อุบลราชธานี]] บนถนนอุปราช วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถ[[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม]] [[กรุงเทพมหานคร]]
วัดตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด[[อุบลราชธานี]] บนถนนอุปราช วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถ[[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม]] [[กรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:10, 13 มกราคม 2563

วัดศรีอุบลรัตนาราม
ป้ายชื่อวัดศรีอุบลรัตนาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดศรีอุบล
ที่ตั้งถนนอุปราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระแก้วบุษราคัม (ศิลปะแบบล้านช้าง)
จุดสนใจอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม
กิจกรรมงานสรงน้ำพระแก้วบุษราคัม (ช่วงวันมหาสงกรานต์)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม ปัจจุบันมีพระราชธรรมสุธี (ทองคู่ ป.ธ.๖) เป็นเจ้าอาวาส

วัดตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี บนถนนอุปราช วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

วัดศรีอุบลรัตนารามสร้างเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2398 ตรงกับ ร.ศ. 74 เป็นปีที่ 5 แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี โดยเป็นวัดธรรมยุตแห่งที่ 2 ของภาคอีสาน ต่อจากวัดสุปัฏนารามวรวิหาร สถานที่ตั้งวัด เดิมเป็นสวนของเจ้าอุปฮาดโท (ต้นตระกูล ณ อุบล) มีศรัทธาบริจาคที่ดินประมาณ 25 ไร่ สำหรับสร้างวัดของสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย โดยระหว่างการถวายที่ดินต่อหน้าพระเถระ ยกให้เป็นสมบัติในศาสนาพุทธเพื่อเป็นที่ตั้งวัด ในยามราตรีของวันนั้น เกิดนิมิตประหลาดขึ้น คือมีแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นเป็นสีเหลืองทองภายในบริเวณสวนนั้น จึงได้ถือนิมิตมงคลนี้ ตั้งชื่อวัดว่า "วัดศรีทอง"

ฝ่ายคณะสงฆ์มีท่านเทวธัมมี (ม้าว) ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เริ่มก่อสร้างกุฏิ วิหาร ศาลการเปรียญ เมื่อปี พ.ศ. 2398 ตามประวัติท่านเทวธัมมี ได้ไปรับการศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เป็นสามเณร และได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งผนวช จึงได้ถือลัทธิธรรมยุติกนิกายสืบสายมาตั้งคณะธรรมยุติกนิกายที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในภาคอีสาน โดยมีท่านพันธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ดังนั้น ท่านเทวธัมมี จึงถือว่าเป็นพระเถระที่มีศักดิ์ใหญ่ เป็นที่เคารพยำเกรงของบรรดาเหล่าพระภิกษุสามเณร ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนทั้งหลายในสมัยนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาประกอบพิธีฉลองสมโภชฝังลูกนิมิตร และยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม จึงได้ทูลเกล้าถวายพระอุโบสถหลังนี้ ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีทองเป็น "วัดศรีอุบลรัตนาราม" ตามนามขององค์อุปถัมภ์

วัดศรีอุบลรัตนาราม เคยเป็นที่บรรพชาอุปสมบทของพระเถระผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายคันธุระและวิปัสนาธุระหลายรูป มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท), สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส), พระอาจารย์ทา โชติปาโล, พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต, พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ), สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต), พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ) เป็นต้น

วัดแห่งนี้ยังเคยใช้เป็นสถานที่จัดทำน้ำอภิเษกของมณฑลอุบลและจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย จำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชในรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2454 ครั้งที่ 2 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2468 และครั้งที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2493