ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดนตรีสมัยคลาสสิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt ย้ายหน้า ดนตรียุคคลาสสิก ไปยัง ดนตรีสมัยคลาสสิก: ศัพท์บัญญัติดนตรีสากล
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:42, 8 มกราคม 2563

ยุคคลาสสิก (อังกฤษ: Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ. 1750–1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก

ในยุคคลาสสิกเลิกนิยมการสอดประสานของทำนอง (counterpoint) แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบสหศัพท์ (homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น มีแนวประสานเป็นคอร์ดหรืออาร์เปจโจ (arpeggio) หลายแนวที่มีจังหวะคล้ายก้น โดยเลิกใช้แนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) และความสำคัญของการด้นสดหรือการแสดงเชิงปฏิภาณ (improvisation) เริ่มหมดไปในยุคนี้ เพราะดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน

เกิดบทเพลงลักษณะใหม่ ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และโซนาตา ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ คือเป็นวงดนตรีเชมเบอร์หรือวงออร์เคสตรา เพลงบรรเลงนิยมประพันธ์กันมากขึ้น เพลงร้องยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นเดิม อุปรากรเป็นที่นิยมชมกันมาก ผู้ประพันธ์หลายคนจึงประพันธ์แต่อุปรากรเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของโอเปร่าในยุคนี้จะเน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น มิใช่เน้นเพียงการร้องเท่านั้น

เครื่องดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในวงออร์เคสตรามีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท การใช้เครื่องดนตรีในยุคคลาสสิกจะพบว่าใช้เปียโนเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการใช้ฮาร์ปซิคอร์ดอีก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการใช้เครื่องคลาริเน็ต ฟลูต และบาสซูน

คีตกวีในยุคคลาสสิก

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิก

  • Orfeo and Eurydice - กลุค
  • Symphony No.104 - ไฮเดิน
  • The Creation (Oratorio) - ไฮเดิน
  • String Quartet in G Major, Op.64 No.4 - ไฮเดิน
  • Symphony No.41 in C Major "Jupiter" K.551 - โมทซาร์ท
  • Piano Concerto in C Major, K.467 - โมทซาร์ท
  • String Quartet in G Major, K.387 - โมทซาร์ท
  • The Marriage of Figaro (Opera) - โมทซาร์ท
  • Don Giovanni (Opera) - โมทซาร์ท
  • Thr Magic Flute (Opera) - โมทซาร์ท
  • Requiem Mass, K.626 - โมทซาร์ท
  • Piano Sonata in C Major, Op.2 No.3 - เบทโฮเฟิน
  • Symphony No.1,2 - เบทโฮเฟิน
  • Sonata in D Major, K.119 - สกาลัตตี
  • Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E-flat Major, Op.7 No.5 - บัค

อ้างอิง

  • คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ดูเพิ่ม