ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มีคนมาเกรียนคำพูดอีก
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ประวัติศาสตร์ ''' ({{lang-en|history}}; รากศัพท์[[ภาษากรีก]] ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียก[[นักประวัติศาสตร์]] ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น<ref name="evans1">{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/evans10.html|title= The Two Faces of E.H. Carr |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Richard J. Evans |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref><ref>{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/munslow6.html |title= What History Is |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Alun Munslow |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref> และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน<ref name="evans1"/><ref name=Tosh1>{{cite book |title=The Pursuit of History|last=Tosh|first=John | publication-date=2006|publisher=Pearson Education Limited |isbn=1-4058-2351-8 | edition=4th}}p 52</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Introduction |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=6}}</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Nash l|first= Gary B. |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= The "Convergence" Paradigm in Studying Early American History in Schools |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|pages=102–115}}</ref> เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาใน[[วัฒนธรรม]]ใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับ[[กษัตริย์อาเธอร์]]) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์<ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Seixas |first= Peter |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Schweigen! die Kinder! |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=24}}</ref><ref name="Low1">{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Lowenthal |first= David |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Dilemmas and Delights of Learning History |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=63}}</ref> เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า [[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]
นางวรรณา​คล้าย​พันธ์​'''ประวัติศาสตร์ ''' ({{lang-en|history}}; รากศัพท์[[ภาษากรีก]] ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียก[[นักประวัติศาสตร์]] ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น<ref name="evans1">{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/evans10.html|title= The Two Faces of E.H. Carr |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Richard J. Evans |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref><ref>{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/munslow6.html |title= What History Is |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Alun Munslow |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref> และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน<ref name="evans1"/><ref name=Tosh1>{{cite book |title=The Pursuit of History|last=Tosh|first=John | publication-date=2006|publisher=Pearson Education Limited |isbn=1-4058-2351-8 | edition=4th}}p 52</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Introduction |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=6}}</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Nash l|first= Gary B. |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= The "Convergence" Paradigm in Studying Early American History in Schools |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|pages=102–115}}</ref> เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาใน[[วัฒนธรรม]]ใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับ[[กษัตริย์อาเธอร์]]) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์<ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Seixas |first= Peter |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Schweigen! die Kinder! |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=24}}</ref><ref name="Low1">{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Lowenthal |first= David |editor= Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) |chapter= Dilemmas and Delights of Learning History |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=63}}</ref> เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า [[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]


ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล [[เฮโรโดตัส]] ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับ[[ธูซิดดิดีส]] นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับ[[อุดมศึกษา]]
ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล [[เฮโรโดตัส]] ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับ[[ธูซิดดิดีส]] นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับ[[อุดมศึกษา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:54, 8 มกราคม 2563

นางวรรณา​คล้าย​พันธ์​ประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น[1][2] และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน[1][3][4][5] เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์[6][7] เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษา

การบัญญัติศัพท์

คำว่า "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทยเกิดจากการสมาสคำภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บัญญัติคำว่า "ประวัติศาสตร์" เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "history" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "พงศาวดาร" (chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม[8]

สำหรับคำว่า history มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า

ความหมาย

ไฟล์:Eh carr.jpg
อี. เอช. คาร์ เจ้าของผลงาน What is History?

"ประวัติศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายที่สำคัญที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1) เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่งผ่านมา 2) หมายถึงเรื่องราวของบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป[ต้องการอ้างอิง]

นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น

อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับพฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต

อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต[9] (a continuous process of interaction between the present and the past.)

ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ อธิบายคำว่าประวัติศาสตร์ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อย ๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."[ต้องการอ้างอิง]

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ตีความว่าข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง

ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหน? และสามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร? ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความจริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ? และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 200 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์[10]

การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  • การตั้งเรื่องที่ต้องการสืบค้น
  • การรวบรวมหลักฐาน
  • การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  • การนำเสนอข้อเท็จจริง[11]

นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

  • วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
  • การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
  • วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[12]

ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง

สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  • มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
  • มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  • มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  • มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  • มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  • มีจินตนาการ (Historical imagination) [13]

พื้นที่การศึกษา

ยุคสมัย

การศึกษาประวัติศาสตร์มักให้ความสนใจเหตุการณ์และพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ นักประวัติศาสตร์ตั้งชื่อเวลาแก่ยุคสมัยเหล่านี้เพื่อให้นักประวัติศาสตร์ใช้ "จัดระเบียบความคิดและหลักการที่จำแนกประเภท" ชื่อที่ตั้งแก่ยุคสมัยมีได้หลากหลายตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดยุคสมัยหนึ่ง ๆ เวลาที่มักใช้กันคือ ศตวรรษและทศวรรษ และเวลาที่อธิบายก็ขึ้นอยู่กับระบบการนับเวลาที่ใช้ ยุคสมัยส่วนใหญ่ถูกสร้างย้อนหลัง ฉะนั้นจึงสะท้อนการตัดสินคุณค่าของอดีต วิธีที่ยุคสมัยถูกสร้างขึ้นและชื่อที่ตั้งแก่ยุคสมัยสามารถสะท้อนมุมมองและการศึกษายุคสมัยนั้น ๆ ได้

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หนึ่ง ๆ สามารถเป็นพื้นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์ได้ อาทิ ทวีป ประเทศหรือนคร การทำความเข้าใจว่าทำไมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญ นักประวัติศาสตร์มักทำความเข้าใจด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ รูปแบบลมฟ้าอากาศ การประปา และภูมิทัศน์ของสถานที่หนึ่ง ๆ ล้วนกระทบต่อชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ในการอธิบายว่าเหตุใดชาวอียิปต์โบราณจึงพัฒนาอารยธรรมได้สำเร็จ การศึกษาภูมิศาสตร์อียิปต์มีความสำคัญ อารยธรรมอียิปต์ถูกสร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ซึ่งเอ่อท่วมทุกปี และมีตะกอนทับถมริมฝั่งแม่น้ำ ดินที่อุดมสมบูรณ์ช่วยให้เกษตรกรปลูกพืชผลพอเลี้ยงประชากรในนคร ซึ่งหมายความว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำการเกษตร ฉะนั้นบางคนจึงสามารถทำงานอย่างอื่นซึ่งช่วยยยยยย

ภูมิภาค

การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2459 มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับนิสิตในคณะต่าง ๆ (นโยบายนี้ยังปรากฏในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ซึ่งเปิดสอนใน พ.ศ. 2477 ด้วย) ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2466 เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงจัดหลักสูตรสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปาฐกถา เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบรรยายประวัติศาสตร์ไทย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงบรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทย เป็นต้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงเปิดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยก่อน พ.ศ. 2516 มีสถาบันอุดมศึกษาเพียง 2 แห่งที่เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน)

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่

  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • หมวดวิชาประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิชาโทประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ส่วนสถานศึกษาของเอกชน ได้แก่

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

อนึ่ง นอกจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกแล้ว หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงในงานด้านประวัติศาสตร์ของชาติคือสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยังมีหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนการศึกษาด้านนี้ด้วย แต่การดำเนินงานไม่เป็นที่กว้างขวางและแพร่หลายนักในสังคม เช่น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Professor Richard J. Evans (2001). "The Two Faces of E.H. Carr". History in Focus, Issue 2: What is History?. University of London. สืบค้นเมื่อ 10 November 2008.
  2. Professor Alun Munslow (2001). "What History Is". History in Focus, Issue 2: What is History?. University of London. สืบค้นเมื่อ 10 November 2008.
  3. Tosh, John (2006). The Pursuit of History (4th ed.). Pearson Education Limited. ISBN 1-4058-2351-8.p 52
  4. Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.), บ.ก. (2000). "Introduction". Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives. New York & London: New York University Press. p. 6. ISBN 0-8147-8141-1. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  5. Nash l, Gary B. (2000). "The "Convergence" Paradigm in Studying Early American History in Schools". ใน Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) (บ.ก.). Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives. New York & London: New York University Press. pp. 102–115. ISBN 0-8147-8141-1. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  6. Seixas, Peter (2000). "Schweigen! die Kinder!". ใน Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) (บ.ก.). Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives. New York & London: New York University Press. p. 24. ISBN 0-8147-8141-1. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  7. Lowenthal, David (2000). "Dilemmas and Delights of Learning History". ใน Peter N. Stearns, Peters Seixas, Sam Wineburg (eds.) (บ.ก.). Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives. New York & London: New York University Press. p. 63. ISBN 0-8147-8141-1. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  8. ปฐม ตาคะนานันท์ สืบค้นได้ข้อมูลว่ารามจิตติหรือรัชกาลที่ 6 ทรงใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” ในงานพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ผลแห่งวิธีศึกษาของเยอรมัน แสดงความเห็นโดยอัตโนมัติ” พิมพ์ลงในวิทยาจารย์ เล่ม 16 ตอน 1 (พ.ศ. 2458-2549) หน้า 104 ซึ่งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงกล่าวในงานพระนิพนธ์ เรื่อง “หัวข้อประวัติศาสตร์ ภาค 1 โบราณประวัติ” พิมพ์ใน พ.ศ. 2460 ว่างานพระราชนิพนธ์ของรามจิตติหรือรัชกาลที่ 6 ปรากฏการใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” เป็นครั้งแรก แต่หนังสือที่ใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” เป็นเล่มแรกของสยามน่าจะเป็นงานพระนิพนธ์เรื่องนี้ของกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของปฐมพบว่าในวิทยานิพนธ์ปีการศึกษา 2538 เรื่อง “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2487” ของ ราม วัชรประดิษฐ์ ที่เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับอ้างไว้ว่ารัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติคำว่าประวัติศาสตร์ขึ้นมาใช้ให้มีกับความหมายตรงกับคำว่า History โดยรามให้เหตุผลว่าศึกษาวิเคราะห์จากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ที่พระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2451 แต่ปฐมตรวจดูในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีคำว่า “ประวัติศาสตร์” อยู่ในที่ใด ๆ เลย ดู ปฐม ตาคะนานันท์. (2551). คณะสงฆ์สร้างชาติสมัยรัชกาลที่ 5. (กรุงเทพฯ: มติชน). หน้า 143-145 เชิงอรรถที่ 95. (หนังสือเล่มนี้ ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่เสนอต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกับการสถาปนาอุดมการณ์แห่งรัฐของสยาม" ของผู้เขียนคนเดียวกัน)
  9. ดู คาร์, อี.เอช. (2531). ประวัติสาสตร์คืออะไร. แปลโดย ชาติชาย พณานานนท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์). หน้า 22.
  10. ดู ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2544). เอกสารคำสอนวิชา 2204 606 ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางประวัติศาสตร์. (กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). หน้า 13, 22-23
  11. วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 9-11. และดูประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความจริง (truth) กับข้อเท็จจริง (fact) ได้ที่ สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2560). ระหว่าง "ความจริง" และ "ข้อเท็จจริง": การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางญาณวิทยาในประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. ใน ประภาส พาวินันท์ (บก.), รายงานสืบเนื่องการประชุมเสนอผลงานทางวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11. หน้า 63-90. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  12. Paul Newall. (2005). Philosophy of History. Retrieved September 23, 2010, from http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:gK7B43rBFmcJ:www.galilean-library.org/site/index.php%3F/page/index.html/_/essays/introducingphilosophy/18-philosophy-of-history-r35+all+history+is+contemporary+history&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th
  13. วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 16-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

ประวัติศาสตร์