ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดอุดรธานี"

พิกัด: 17°25′N 102°47′E / 17.41°N 102.79°E / 17.41; 102.79
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 605: บรรทัด 605:
*[[ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง]]
*[[ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง]]
*[[สัญญา คุณากร]]
*[[สัญญา คุณากร]]
*[[เดียร์น่า ฟลีโป]]
===นักร้อง===
===นักร้อง===
*[[ไมค์ ภิรมย์พร]]
*[[ไมค์ ภิรมย์พร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:33, 5 มกราคม 2563

จังหวัดอุดรธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Udon Thani
คำขวัญ: 
กรมหลวงประจักษ์ฯ สร้างเมือง
ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี
ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2562)
พื้นที่
 • ทั้งหมด11,730.302 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 11
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด1,586,666 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 31
รหัส ISO 3166TH-41
ชื่อไทยอื่น ๆอุดร, บ้านหมากแข้ง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เต็ง
 • ดอกไม้ทองกวาว (จาน)
 • สัตว์น้ำปลาสร้อยลูกกล้วย (ปลาคุยลาม)
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
 • โทรศัพท์0 4224 3368
 • โทรสาร0 4224 8777
เว็บไซต์http://www.udonthani.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เดิมพื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรี พระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุดรธานีเกิดจากรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือในพื้นที่มณฑลอุดร (มณฑลลาวพวน) คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และบ้านเดื่อหมากแข้ง มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่)

ปัจจุบันอุดรธานีเป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในภูมิภาค ศูนย์กลางการเดินทางทางบกและทางอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติศาสตร์

ก่อนยุคประวัติศาสตร์

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์และเป็นดินแดนแห่งอุทยานประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกโลก จากการขุดค้นพบซากโครงกระดูกและโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน การพบถ้ำและภาพเขียนสีต่างๆ ที่อำเภอบ้านผือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าบนดินแดนเขตจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยมีชุมชนตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงราว 5,000-7,000 ปีที่ผ่านมา

จากการสืบค้นและศึกษาทางโบราณคดี เป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนเก่าแก่เหล่านี้เคยมีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลักฐานหนึ่งที่น่าสนใจ คือโบราณวัตถุที่ขุดพบในบ้านเชียง ได้มีการนำไปศึกษาทดสอบอายุของภาชนะดินเผาโบราณด้วยระบบเรดิโอคาร์บอน หรือ คาร์บอน 14 พบว่าภาชนะดินเผาเหล่านี้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,000-5,600 ปี ซึ่งนักโบราณคดีได้แบ่งอายุวัฒนธรรมบ้านเชียงออกเป็น 3 ช่วงตามลักษณะเด่นของภาชนะดินเผา โดยแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยปลาย สมัยกลาง และสมัยต้น ดังนี้

  • สมัยปลาย ภาชนะมีลักษณะเด่นที่ลายเส้นสีแดง พื้นผิวสีนวล มีอายุตั้งแต่ 1,800-2,300 ปี
  • สมัยกลาง พบภาชนะมีอายุตั้งแต่ 2,300-3,000 ปี ลักษณะเด่นอยู่ที่รูปทรงเป็นสันหักมุม ก้นภาชนะมีทั้งแบบแหลมและกลม ภาชนะสีขาว
  • สมัยต้น ภาชนะดินเผามีสีดำ ลักษณะเชิงเตี้ย ครึ่งบนตกแต่งด้วยเส้นขีดเป็นลายขด ส่วนครึ่งล่างภาชนะตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ มีอายุมากกว่า 3,000-5,600 ปี

นอกจากนั้น แหล่งโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ยืนยันให้เห็นความรุ่งเรืองและอารยธรรมโบราณที่เคยปรากฏบนผืนดินแห่งเมืองอุดรธานี หลักฐานสำคัญที่ค้นพบในเขตนี้ได้แก่ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งพบหลายแห่งบนเทือกเขาภูพานน้อยหรือภูพระบาทนี้ ภาพที่สำคัญๆ เช่น ภาพเขียนสีถ้ำคน ภาพเขียนสีถ้ำวัว ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้ เป็นต้น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีดินแดงเขียน เป็นภาพเหมือนจริงบ้าง เป็นภาพเรขาคณิตบ้างหรือภาพฝ่ามือแดงบ้าง ซึ่งนักโบราณคดีให้ความเห็นว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม หรือเป็นสัญลักษณ์สื่อสารกันระหว่างคนในเผ่า

โดยในพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ส่วนของห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้แบ่งยุคโบราณคดีในชุดวัฒนธรรมบ้านเชียงออกมาเป็นยุคแรก และยุคอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นยุคประวัติศาสตร์ยุคที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงอารยธรรมมนุษย์โบราณสมัย 1,200-1,800 ปีที่ผ่านมา

ยุคประวัติศาสตร์

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงและแถบพื้นที่ราบสูงอำเภอบ้านผือแล้ว ดินแดนในเขตจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีก จนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี(พ.ศ. 1200-1800) และสมัยสุโขทัย(พ.ศ. 1800-2000)

จากหลักฐานที่พบคือ ใบเสมาสมัยทวารวดี ลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ในขณะนั้นแต่อย่างใด ในส่วนของหลักฐานทางด้านพุทธศาสนาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าดินแดนที่ราบสูงแห่งนี้ ได้มีวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาซึ่งเชื่อว่ามาจากแอ่งโคราช แล้วเผยแพร่มาสู่บริเวณลุ่มน้ำโขง

สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่จังหวัดอุดรธานีได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 เมื่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคณหุต(เวียงจันทร์)โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยยกมาถึงเมืองหนองบัวลำภู(จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี)ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทร์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษศิลปาคม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมาโดยตลอดซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้มีการจัดตั้งเมืองอุดรธานี ดังนั้นจึงยังไม่มีชื่อเมืองอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์ และพงศาวดารในเวลานั้น แต่ได้มีการกล่าวถึงเมืองหนองบัวลำภูในสมัยรัชกาลที่3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ

ในระหว่าง พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและเมื่อพ่ายแพ้ชาวนครราชสีมาซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี)กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะเวลานั้น นับเป็นเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทย(ในขณะนั้นเรียกว่าประเทศสยาม)ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้วัฒนธรรม อารยธรรม ความเจริญต่างๆได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย

ประกอบกับในระยะเวลานั้นเป็นระยะเวลาของการแสวงหาเมืองขึ้น ตามลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกของชาติตะวันตกที่สำคัญสองชาติ คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศสที่พยายามจะผนวกดินแดนบริเวณแหลมอินโดจีนให้เป็นเมืองขึ้นของตน และพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากเมืองไทยในระหว่าง พ.ศ. 2391-2395 พวกจีนที่เป็นกบฏที่เรียกว่ากบฏไต้เผง ถูกจีนตีจากผืนแผ่นดินใหญ่ได้มาอาศัยอยู่ตามชายแดนไทย ลาว และญวน ซึ่งเวลานั้นดินแดนลาวที่เรียกว่า ล้านช้าง บริเวณเขตสิบสองจุไทย หัวพันทั้งห้าทั้งหก ขึ้นอยู่กับประเทศไทย พวกฮ่อได้เที่ยวปล้นสะดมก่อความไม่สงบและได้กำเริบเสิบสานมากขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2411ได้เข้ายึดเมืองลาวกาย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง และยกมาตีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และหนองคายต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพ.ศ. 2411 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุโขทัยกับพระยาพิชัยยกกองทัพไปช่วยหลวงพระบางและให้พระยามหาอำมาตย์ยกทัพไปช่วยทางด้านหนองคาย แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาภูธราภัยยกกองทัพไปช่วย พระยามหาอำมาตย์อีกกองทัพหนึ่ง

กองทัพไทยสามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป แต่กระนั้นก็ตามพวกฮ่อที่แตกพ่ายไปแล้วนั้นก็ยังทำการปล้นสะดมรบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2428 พวกฮ่อได้ส่องสุมกำลังมากขึ้น จนสามารถยึดเมืองซอนลา เมืองเชียงขวาง และทุ่งเชียงคำไว้ได้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม(พระยศในสมัยนั้น)เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบปรามทางด้านเมืองหนองคาย เรียกว่าแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ต่อมาเป็นจอมพลพระยาสุรศักดิ์มนตรี)เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือทางเมืองหลวงพระบาง

กองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือต้องประสบความลำบากในการทำสงครามกับพวกฮ่อ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา ซึ่งมีไข้ป่าชุกชุมทำให้ทหารฝ่ายไทยต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้ละฝ่ายเหนือก็สามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป

ในเวลานั้นจังหวัดอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อ ปรากฏเพียงบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคาย ขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน ซึ่งกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลอุดรธานี ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลอุดรธานี และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางด้านความมั่นคงและการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งเหตุผลทางการค้า การคมนาคมในอดีต

อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏในชื่อเมืองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร "โพธิ์ เนติโพธิ์") พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เป็นศูนย์กลางของมณฑลอุดร ครอบคลุม จังหวัด อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหารในสมัยนั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี" เท่านั้น อย่างไรก็ตามอุดรธานียังคงมีหน่วยงานราชการด้านการปกครองของกระทรวงต่าง ๆ ที่จัดตั้งในส่วนภูมิภาคที่แสดงเค้าโครงของศูนย์กลางการปกครองในพื้นที่อิสานตอนบน เช่น สำนักบริหารการทะเบียนราษ ภาค 4 คลังเขต 4 สรรพสามิตเขต 4 ศาล ตำรวจภูธรเขต 4 เป็นต้น

ชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้ง

ชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้งเป็นชุมชนประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการสร้างบ้านแปงเมืองอุดรธานีของเสด็จในกรมพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมพระผู้สถาปนาเมืองอุดรธานี พระผู้ถวายชีวิตเพื่อแผ่นดินอิสาณ ชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้ง (ปัจจุบันยกขึ้นเป็นตำบลหมากแข้งซึ่งเป็นตำบลเมืองอุดร)

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบชายเนิน สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 175 เมตร รอบๆชุมชนมีแหล่งน้ำใหญ่ เช่น หนองนาเกลือ ปัจจุบันคือ หนองประจักษ์ศิลปาคม มีลำห้วยหมากแข้งและลำห้วยมั่งไหลจากภูพานผ่านชุมชนจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ลำห้วยทั้งสองนี้เป็นลำคลองที่ช่วยระบายน้ำออกจากตัวเมืองมีพื้นที่ 5.6 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อชุมชนตำบลบ้านเลื่อม
  • ทิศใต้ ติดต่อชุมชนตำบลบ้านจั่น
  • ทิศตะวันออก ติดต่อทางชุมชนตำบลหนองบัว
  • ทิศตะวันตก ติดต่อชุมชนตำบลเชียงพิณ

ประชากร ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 154,340 คน เป็นชาย 77,600 คน หญิง 76,340 คน บ้าน 41,081 หลัง ความหนาแน่นของประชากร 3,239 คน/ตร.กม.

จุดเด่นของชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้งจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะคือ

  1. ย่านศูนย์กลางของเศรษฐกิจ เป็นย่านธุรกิจการค้าอยู่บริเวณใจกลางชุมชนผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น มีพื้นฐานการศึกษาและคุณภาพที่ดีพอสมควร
  2. ย่านผู้คนแออัดแทรกอยู่ในย่านที่เจริญทางเศรษฐกิจ พื้นฐานการศึกษาและคุณภาพชีวิตไม่ดีนัก
  3. ย่านใกล้กับชานเมืองมีสภาพคล้ายกับชุมชนชนบทแต่มีความเจริญด้อยกว่าชนบท เป็นย่านที่ต้องได้รับการพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่ทัดเทียมกับย่านปกติอื่นๆ
  4. ย่านหมู่บ้านจัดสรรเป็นย่านที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและปานกลาง เป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานและคุณภาพชีวิตที่ดีปานกลาง จากสภาพของสิ่งแวดล้อมทางสังคมทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในย่านดังกล่าวมีสภาพแบบโดดเดี่ยว ขาดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างจริงจัง

จังหวะเหมาะของบ้านเดื่อหมากแข้ง

เมื่อครั้งแผ่นดินที่ 4 แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ.112 พ.ศ. 2436 ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างสามประเทศกับพวกนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสหลังจากที่ได้ยึดครองประเทศในแถบอินโดจีน คือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา แล้วฝรั่งเศสก็คอยหาเรื่องกระทบกระทั่งกับฝ่ายสยามตลอดมา จนในที่สุดด้วยพระราชกุศโลบายอันลึกซึ่งสุขุมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ยอมเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อพิทักษ์รักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้

ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกลงวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ. 112 พ.ศ. 2436 ในสนธิสัญญาดังกล่าวระบุให้ฝ่ายสยามประเทศถอนกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี 25 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 เดือน เป็นเหตุให้พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมต้องย้ายที่มั่นกองกำลังทหารมณฑลลาวพวนออกจากเมืองหนองคายตามข้อบังคับของสนธิสัญญาฯ

ต่อมาพระองค์ได้เคลื่อนกองกำลังทหารและพลเรือนมาทางใต้จนถึงลำน้ำซวย (ปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น “ลำน้ำสวย” “ซวย” เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง) ห่างจากที่เดิมประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อพระองค์ตรวจตราภูมิประเทศแถบนี้แล้ว ทรงเห็นว่าเป็นที่ลุ่มมากไข้ป่าก็ชุกชุม ไม่เหมาะต่อการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่นี้ อีกทั้งบริเวณดังกล่าวห่างจากชายแดนเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น

ต่อมาพระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้อีกห่างจากลำน้ำซวยประมาณ 30 กิโลเมตร จนถึงชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้ง เมื่อพระองค์ทรงสำรวจชัยภูมิพื้นที่แห่งนี้แล้ว เห็นเป็นชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำต่างๆ เช่น มีหนองนาเกลือ(หนองประจักษ์ศิลปาคมในปัจจุบัน) นอกจากนี้รอบๆชุมชนก็ยังมีแหล่งน้ำอีกจำนวนมาก เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีลำห้วยหมากแข้งซึ่งมีต้นน้ำมาจากภูพาน มีน้ำใสสะอาด มีป่าไผ่ปกคลุม มีปลา เต่า จระเข้ชุกชุมมาก ลำน้ำนี้ไหลผ่านทางทิศใต้สู่ทิศเหนือลงลำห้วยหลวง เสด็จในกรมจึงตกลงพระทัยให้ตั้งกองบัญชาการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้น ณ พื้นที่ดังกล่าวแห่งนี้

การสร้างบ้านแปงเมือง

พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผน สร้างบ้านแปงเมืองอย่างจริงจัง พระองค์ทรงวางผังเมือง ค่ายทหาร ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือเกือบทุกแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่าที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากความฝั่งใจที่คนไทยได้รับการข่มเหงรังแกจากฝรั่งเศสในสมัยนั้น ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนไทยตลอดเวลา พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยจะตั้งรับฝรั่งเศสผู้รุกราน

พระองค์ทรงได้สร้างวังที่ประทับใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ บริเวณที่เป็นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน ควบคู่กันไปกับการสร้างเมือง วัดนี้เดิมเป็นวัดร้างสร้างขึ้นบนเนินดินซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “โนนหมากแข้ง” เป็นวัดที่มีเจดีย์ศิลาแลงอยู่องค์หนึ่งและมีพระพุทธรูปปางนาคปรกหินสีขาว คือ “หลวงพ่อนาค” อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาเล็กๆมุงด้วยหญ้าคา ซึ่งชาวบ้านในละแวกนั้นได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นมา เจดีย์องค์นี้มีตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่าได้สร้างคร่อมตอต้นไม้หมากแข้ง ซึ่งพระเจ้าช้างร่มขาวแห่งอาณาจักรล้านช้างทรงโค่นไปทำกลองศึก 3 ใบ ใบแรกใหญ่สุดเอาไว้ที่ราชธานี คือ หลวงพระบาง ใบที่สองรองลงมาเอาไว้ที่นครเวียงจันทร์ ส่วนใบที่สามเล็กสุดนำไปไว้ที่วัดหนองบัวกลอง ซึ่งอยู่ริมแหล่งหนองน้ำหนองบัวกลอง บริเวณที่ตั้งศาลเจ้าปู่ยาในปัจจุบัน ตำนานยังได้บรรยายถึงความใหญ่โตของต้นหมากแข้งต้นนี้ว่า พระภิกษุสามเณร 8 รูป สามารถนั่งฉันจังหันรอบตอไม้หมากแข้งนี้ใช้แทนภาข้าว(สำรับสำหรับวางอาหารแบบขันโตก) นี้ได้อย่างสบาย

พระองค์ได้อาศัยความเลื่อมใสศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อโบราณสถานเก่าแก่แห่งนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง ในชั้นแรกโปรดให้สร้างกุฎิหลังเล็กๆขึ้นหลังหนึ่ง ห่างจากพระเจดีย์ไปทางเหนือประมาณ 8 เมตร แล้วอาราธนาพระพุทธรูปนาคปรกหินขาว(หลวงพ่อนาค ) เข้ามาประดิษฐานหน้ามุขพระอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาสจึงเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนสืบมา พระองค์ทรงทะนุบำรุงวัดนี้และให้ทรงกวดขันการปฏิบัติกิจของพระสงฆ์เกี่ยวกับการสวดมนต์และการประกอบพิธีต่างๆอีกทั้งยังทรงใช้วัดนี้เป็นสถานที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้ได้รับความรู้อีกด้วย

การวางรากฐานการปกครอง

ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ประทับ ณ ชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้ง ปกครองมณฑลลาวพวนต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ และต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็นมณฑลอุดร ได้ทรงเป็นพระกำลังสำคัญแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการปกครองดูแลมณฑลชายแดนที่ต้องประสบปัญหาจากการคุกคามของฝรั่งเศสซึ่งเข้ามายึดครองดินแดนราชอาณาจักรลาวซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกันกับเขตแดนของไทย จึงต้องประสบปัญหาการกระทบกระทั่งทางชายแดนอย่างหนัก แต่ก็ทรงปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ด้วยความวิริยะอุสาหะทรงมีหนังสือปรึกษาข้อราชการเพื่อขอทราบพระราชดำริ หรือขอพระบรมราชานุญาติให้จัดการปกครองมณฑลอุดรในด้านต่างๆ ทรงเริ่มการจัดเก็บภาษีสุราและยาสูบแทนการเก็บส่วย

ทรงแต่งตั้งข้าหลวงออกไปตรวจตราดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการเมืองต่างๆเพื่อป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทรงฝึกหัดทหารขึ้นที่มณฑลชายแดน ทรงยกฐานะการครองชีพของราษฎรโดยการออกทุนให้ชาวนาและส่งเสริมการบำรุงพันธ์สัตว์และการพิจารณาคดีตัดสินความก็ได้ทรงควบคุมดูแลให้เป็นไปด้วยความถูกต้องยุติธรรม โดยเฉพาะได้ลงโทษข้าราชการที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงตลอดจนตั้งโรงเรียนสอนการปกครองขึ้นที่บ้านเดื่อหมากแข้ง

พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมได้ประทับอยู่ ณ มณฑลอุดร สร้างบ้านแปงเมืองและวางระเบียบแบบแผนการปกครองหัวเมืองชายแดน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2442 เมื่อทรงจัดราชการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วจึงเสด็จกลับมายังกรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ในขณะเดียวกันก็ควบในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือพร้อมกับทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปและตามเสด็จประพาสต้น เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรแทบทุกครั้ง

ต่อมาพระองค์ได้ถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2445 เนื่องจากพลานามัยไม่แข็งแรง แต่ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ประทับอยู่ใกล้ๆที่พระตำหนักริมประตูนกน้อยเพื่อมีรับสั่งใช้สอย

พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงปฏิบัติราชกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองนานับประการ แต่ดูเหมือนพระราชกิจครั้งสำคัญคือ ช่วงเวลาที่มาสร้างบ้านแปงเมืองถึง 5 ปี จากชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้งมาเป็นมณฑลอุดรนั้น เป็นช่วงที่พระองค์ทรงรำลึกถึงชาวอุดรธานีอย่างแนบแน่น จะเห็นได้จากในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ พระองค์ได้ประทานพระฉายาลักษณ์ฉายครั้งสุดท้ายมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวงที่พระองค์สร้างขึ้นเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของมณฑลอุดร ลงพระนามเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 มีลายพระหัตถ์ของพระองค์ใต้พระรูปว่า “ข้าพเจ้าได้ส่งรูปนี้มายังมณฑลอุดร เพื่อเยี่ยมเยียนท่านทั้งหลายผู้เป็นมิตรที่เมตตากรุณาในตัวข้าพเจ้าในเมื่ออยู่ด้วยกันกับท่านทั้งปวงเมื่อท่านใดคิดถึงข้าพเจ้าขอจงดูรูปนี้ที่วัดมัชฌิมาวาส ขอท่านทั้งปวงจงปราศจากทุกข์ เจริญสุข ดังที่ข้าพเจ้าอวยพรมานี้ทั่วทุกคน เทอญ”

ชุมชนต่างๆในอดีตของบ้านเดื่อหมากแข้ง

ในระยะเริ่มแรกนั้น บ้านเมืองยังไม่เจริญเติบโตชุมชนต่างๆจะตั้งอยู่ตามในลักษณะเป็นคุ้ม เป็นหมู่บ้าน เช่น บ้านเดื่อหมากแข้ง บ้านเหล่า บ้านโนน บ้านจิก บ้านศรีชมชื่น บ้านห้วย บ้านหนองบัว(กลอง) บ้านบ่อน้ำ บ้านเก่าน้อย ฯลฯ คุ้มตลาดเก่า คุ้มตลาดใหม่ คุ้มคอกวัว คุ้มห้วยโซ่(จากบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ถึงบริเวณวงเวียนห้าแยก(น้ำพุ) ลักษณะของเมืองอุดรธานีในเวลานั้นยังเป็นป่ามีต้นไม้นานาพันธ์ขึ้นอย่างหนาแน่นล้อมรอบเมืองเช่น ต้นฉำฉา (ต้นก้ามปูหรือต้นจามจุรี) ต้นสะแก ต้นตะแบก ต้นฝาง(หางนกยูง) ตามริมฝั่งห้วยหมากแข้งทั้งสองฟาก มีกอไผ่ขึ้นประปราย ชาวเมืองนิยมไปขุดเอาหน่อไม้(หน่อนางดิน) เอาไปขายหรือเอาไปแกง ทำซุปหน่อไม้รสชาติอร่อยดี นอกจากชุมชนเก่าแก่ในท้องถิ่นแล้ว ยังมีกลุ่มผู้คนที่อพยพมาจากถิ่นอื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งในชุมชนบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆคือ

กลุ่มชาวโคราช

กลุ่มชาวโคราชส่วนมากจะตั้งบ้านเรือนอยู่บนถนนหมากแข้ง พูดภาษาถิ่นของตน เช่น คำว่า ไอ๋เหล่า(อะไรนะ ทำไมล่ะ ไปกันเถอะ) เปิ้งไปถัวะ ฯลฯ ชาวโคราชจะนุ่งผ้านุ่งสรวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าแถบรัดหน้าอกเวลาอยู่ที่บ้าน บางคนสรวมเสื้อแขนสั้นติดกระดุม 5 เม็ด เหมือนเสื้อชั้นในส่วนมากจะประกอบอาชีพค้าขายเล็กๆ เช่น ขายสีเสียด(เปลือกไม้ชนิดหนึ่งใช้กินหมากพลูซึ่งนิยมกินกันมากในสมัยโบราณ คนรุ่นใหม่ไม่นิยมกินหมากพลูสีเสียดจึงหาดูกันได้ไม่ง่ายนัก) ขายยาเส้น ยาสูบ ขี้ผึ่งสีปาก(ทาปาก) ท่านขุนหมากแข้งคืออดีตกำนันบ้านหมากแข้งเป็นคนโคราชภรรยาของท่านมีเชื้อสายของท้าวสุรนารี(คุณหญิงโม) ลูกหลานของท่านเหล่านี้คือ “ตระกูลวัชรินทร์ชัย” นอกจากนี้ก็ยังมี “ตระกูลชินพันธ์” บรรพบุรุษของตระกูลนี้เคยรับราชการเป็นทหารของพระเจ้าน้องยาเธอพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม หรือแม้แต่ดาราภาพยนตร์ “ดาวค้างฟ้า” ผู้โด่งดังในอดีตผู้คนรู้จักกันดีทั่วประเทศ คือ สุริยา ชินพันธ์” ก็เป็นลูกหลานของตระกูลชินพันธ นอกจากนี้กลุ่มชาวโคราชยังไปตั้งบ้านเรือนอยู่แถวบ้านโนนที่ตั้งโรงพยาบาลวัฒนาแถบโรงเรียนเทศบาล2มุขมนตรี(ถนนมุขมนตรี) ในปัจจุบันบางกลุ่มก็ไปตั้งหลักแหล่งอยู่แถวบ้านแมด อำเภอเพ็ญประกอบอาชีพจับปลานำมาขายทำปลาร้า ปลาส้ม ฯลฯ

กลุ่มชาวลาวหลวงพระบาง-ชาวลาวเวียงจันทร์และลาวพวน

กลุ่มชาวลาวเวียงจันทร์และชาวลาวหลวงพระบางนี้มีจำนวนมาก ผู้ชายส่วนใหญ่จะร่างกายบึกบึนแข็งแรงสมชายชาตรีส่วนสาวๆส่วนมากจะหน้าตาดี เป็นคนร่างเล็ก เอวกิ่ว(บาง) ผิวขาวเนียน มีอาชีพต่างกัน เช่น การต่ำหูก (ทอผ้า) ขายของเบ็ดเตล็ด ขายผักและผลไม้ นับถือจารีตประเพณี ในสมัยก่อนวิทยาการทางการแพทย์และสาธารณะสุขยังไม่เจริญก้าวหน้า และไม่พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน การรักษาผู้คนเจ็บไข้ได้ป่วยในกลุ่มของคนเหล่านี้มักจะอาศัยสมุนไพรรากไม้ต่างๆนำมาฝนให้ละลายเข้ากับน้ำเพื่อให้คนป่วยรับประทาน แต่ก็ยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่รักษาด้วยวิธีเป่า (คาถา) หรือรักษาด้วยวิธีอัญเชิญดวงวิญญาณของผีต่างๆที่เคารพนับถือเข้าร่างทรงเพื่อบริกรรมคาถาอาคมปลุกเสกลงในขันน้ำให้กลายเป็นน้ำมนต์ แล้วใช้ใบไม้ประพรมน้ำมนต์ไปยังร่างของคนเจ็บป่วยหรือบางทีก็ให้คนไข้ดื่มกินน้ำมนต์ดังกล่าวด้วยความเชื่อถือ ตอนกลางวันและกลางคืนจะได้ยินเสียงแคนเป่ามาจากญาติสนิทมิตรสหายที่มาเฝ้าไข้คนป่วย เพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่คนป่วยคนไข้บางรายถ้าอาการไม่หนักมากพอได้ยินเสียงแคนเป่าก็ทำให้ใจคึกลุกขึ้นมาเต้นรำตามจังหวะเสียงแคนก็มี การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวบางคนที่อาการไม่หนักก็หายแต่บางรายที่รักษาไม่หายก็เชื่อกันว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ตระกูลที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มชาวลาวหลวงพระบางและเวียงจันทร์คือ ตระกูลบุญประคอง บางท่านรับราชการ บางท่านได้ประกอบคุณงามความดีให้แก่เมืองอุดรธานีและเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น คุณมะลิ คุณแย้ม บุญประคอง ในองค์กรการกุศลของภาคเอกชนเช่น สโมสรไลออนส์อุดรธานีก็มี ไลออนส์พิรุณ อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มลาวพวนที่มักเรียกตัวเองว่าข้อย(ผม,ฉัน) นิยมนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)มัดหมี่ฝ้ายย้อมคราม นุ่งผ้าสองชั้น ชั้นในเป็นสีขาวคล้ายเป็นติโค้ดข้างนอกนุ่งผ้าสีกรมท่าย้อมครามทับ แล้วใช้ชายสีขาวแลบออกมาเมื่อใช้เสร็จแล้วเขาจะซักแต่ผ้าชั้นในสีขาวเพราะเขาถือว่านุ่งผ้ามัดหมี่ย้อมครามใช้สำหรับทำงาน ถ้าในพิธีไปบุญหรือไปวัด เขาจะนุ่งผ้ามัดหมี่สีต่างๆ เช่น สีแดง สีสิ่ว(เขียว) สีแหล่(ม่วง) สีเหลือง(ย้อมด้ายล้วนเข) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีชาวภูไทในจังหวัดอุดรธานี แต่มีจำนวนไม่มาก ท่านขุนทัณกิจ บรรหาร อดีตพัสดีเรือนจำเมืองอุดรธานีในสมัยก่อน ภรรยาคนแรกและภรรยาคนที่สองของท่านต่างก็เป็นชาวภูไทด้วยกันทั้งคู่ ปัจจุบันยังมีชาวภูไทอยู่มากที่อำเภอวังสามหมอและอำเภอศรีธาตุ

ไทยโซ่หรือข่ากะโซ่ กลุ่มไทยโซ่หรือข่ากะโซ่ในปัจจุบันได้ผสมผสานกลมกลืนเป็นคนไทยหมดแล้ว แต่ยังมีหลงเหลือให้เห็นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

ไทยผ้าขาว สันนิษฐานว่าเป็นพวกลาวพวนที่อพยพมาจากเมืองคำม่วน-คำเกิด นิยมนุ่งผ้ามัดหมี่ย้อมคาม สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ บ้างก็สวมเสื้อแขนสั้นแบบคนเก่าคนแก่ สวมสร้อยเงิน ต่างหูเงิน เข็มขัดเงิน ห่มผ้าสไบสีขาว ผู้ชายก็นุ่งผ้าขาว กลุ่มพวกนี้ชอบทำไร่ไถ่นา เลี้ยงวัว ควาย เป็ด ไก่ เลี้ยงปลา จับปลา

อาหารที่ชาวลาวกลุ่มต่างๆชอบรับประทานก็เหมือนกับอาหารอีสานทั่วไปในปัจจุบัน เช่น กินข้าวเหนียว ลาบ ก้อย น้ำตก ไก่ย่าง ส้มตำ ปลาร้า ฯลฯ อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีรสจัด ชาวเมืองนิยมต้มเหล้ากินเอง(เหล้าต้ม) เช่น อุ บรรจุในไหใบเล็กๆส่วนมากจะเก็บไว้สำหรับต้อนรับแขกคนสำคัญเวลาดื่มจะมีหลอดดูดคู่หนึ่งสำหรับแขกผู้มาเยือน เวลาดูดอุนั้นทั้งแขกและเจ้าของบ้านจะดูดอุพร้อมๆกันนอกจากนี้ก็ยังมีเหล้าโท ปัจจุบันเหล้าพื้นเมืองดังกล่าวหากินได้ไม่ง่ายแล้วเพราะมีกฎหมายควบคุมหากต้มปรุงกันเองก็จะเข้าข่ายเหล้าเถื่อน

ขนมต่างๆที่นิยมรับประทานในกลุ่มชาวลาวต่างๆ เช่น ขนมสัมมะปิ(รสชาติเหมือนขนมเปียกอ่อนของชาวไทยภาคกลางแต่กลิ่นจะหอมกว่าเพราะเขานิยมตำใบเตย ใบฟักทอง ใบเดือย ใบอ้อยเข้าด้วยกันแล้วนำมากรองผสมกับแป้งและหัวกระทิแล้วกวนในกระทะเวลาสุกได้ที่จะมีกลิ่นหอมอร่อยดี) ข้าวลอดช่อง(ลอดช่อง)รสชาติจะมีรสชาติเหมือนขนมลอดช่องของไทยภาคกลางแต่ที่ต่างกันคือจะไม่อบเทียน ข้าวปาด(เป็นขนมที่ทำมาจากข้าวจ้าวผสมน้ำตาล ใส่น้ำปูนใสนิดหน่อยแล้วกวนเข้าด้วยกันพอเหนียวก็ยกลงเทใส่ถาดแล้วโรยด้วยมะพร้าวขูดหยาบๆเหมือนมะพร้าวที่โรยหน้าขนมเปียกปูน) ข้าวเหนียวหัวหงอก(คือขนมที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งผสมกับมะพร้าวที่ขูดใหม่ๆผสมกับเกลือ น้ำตาลทราย อ้อย) และข้าวปุ้น(ขนมจีน)รับประทานกับน้ำยาลาวนิยมรับประทานกันมาก งานทำบุญประเพณีต่างๆมักจะมีข้าวปุ้นเป็นอาหารร่วมอยู่ด้วยเสมอ

ส่วนขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของกลุ่มคนเหล่านี้ก็เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮีต 12 (ประเพณี 12 เดือน) และครอง14 (ครอง = ครรลอง แนวทางหรือกติกาที่พึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองที่พึ่งปฏิบัติกันมี 14 ประการ)

กลุ่มพ่อค้าคนจีน

กลุ่มพ่อค้าคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเดื่อหมากแข้งจะประกอบธุรกิจการค้าบริเวณตลาดเก่าประมาณ 5 ร้าน คือ ร้านเถ่แก่ล่งฮะ(คุณเจริญ คุณะปุระ)เป็นร้านค้าที่รวบรวมสรรพสินค้านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีร้านค้าใหญ่ๆอีก 2-3 ร้าน เช่น ร้านเถ้าแก่เส็งเส่ง ร้านเถ้าแก่เชยซึ่งเป็นร้านขายขนมอันลือชื่อ ร้านน้ำเพชรเจียว ร้านป้าภา สรรพอาสาขายถั่วตัดขนมเปียขนมจันอับต่างๆ ตลาดเก่านั้นหมายถึงย่านชุมชนถนนอุดรดุษฎีตั้งแต่บริเวณคุ้มคอกวัวไปจนถึงบ้านห้วย ส่วนตลาดสด(ตลาดเก่า)นั้นอยู่บริเวณสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน

ต่อมามีตลาดใหม่เกิดขึ้นแถวสี่แยกถนนหมากแข้ง-โพศรี มีร้านของเถ้าแก่ลักซ์คือร้านคูฉ่างจิว ร้านทองตราดาว ร้านทองตราช้าง ร้านทองตราสมอ ร้านหมอฟันของคุณเซ็งอี่(ประดิษฐ์ทันตแพทย์) ร้านอุดรศิลป์ของบิดาคุณเจียง ร้านเทียนเยี้ยงของคุณพัฒน์ ร้านค้าจากตลาดเก่าก็มาเปิดที่ย่านตลาดใหม่ คือ ร้านน้ำเพชรเจียว เถ้าแก่ล่งฮะ(คุณลุงเจริญ คุณะปุระ บิดาของคุณถาวร คุณะปุระ เจ้าของเจริญโฮเต็ล)ก็มาเปิดร้านขายผ้าชื่อร้านไทยเจริญ ส่วนบริเวณตลาดสดของตลาดใหม่อยู่มุมร้านนำรงค์พาณิชย์ไปจนถึงร้านเซ่งหลีไถ่ ส่วนทางด้านถนนโพศรีนั้นจากมุมสี่แยกร้านนำรงค์พาณิชย์ไปจนเกือบถึงตรอกข้าวต้ม

กลุ่มชาวเวียดนาม

กลุ่มชาวเวียดนามแบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ รุ่นเก่า คือ ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาพึ่งในพระบรมธิสมภารในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาจากประเทศลาวรุ่นเดียวกันกับกลุ่มของเจ้าเพชรราชแห่งอาณาจักรลาว เนื่องจากไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของพวกนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นกลุ่มที่มีความจงรักภักดีต่อสยามและเสด็จในกรมพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพคนสำคัญของสยามประเทศที่ต่อต้านฝรั่งเศสในสมัยนั้น

ผู้หญิงชาวเวียดนามส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพค้าขายในตลาดสด เช่น ขายอาหาร ขนม ผักผลไม้ ของใช้เบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับครัวเรือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะช่วยสามีและครอบครัวทำมาหากินและยังเก่งทางการบ้านการเรือนรู้จักทำหมูยอ แหนม และอาหารเวียดนามเกือบทุกชนิด เช่น ราม(เมี่ยงทอด) แหนมเนือง ขนมจีนทรงเครื่อง ขนมปากหม้อ บัวลอย ฯลฯ แม่ค้าเวียดนามมักจะทำอาหารและขนมขายในตลาดสดหรือบางทีก็หาบเร่ขายไปตามย่านตลาดทั่วไป

ผู้ชายชาวเวียดนามส่วนใหญ่จะมีอาชีพฝีมือทางด้านช่างต่างๆติดตัวประจำแทบทุกคน เช่น ช่างเย็บผ้า ช่างถ่ายภาพ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างวาดภาพ และส่วนใหญ่ผู้ชายจะฝึกเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง และเล่นดนตรีได้เก่งมาก สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้ฝึกฝนให้ชาวเวียดนามมีความขยันหมั่นเพียรมีใจหนักแน่น ขันติ อดทน รู้จักอดออม และมีความอุตสาหะ

อาคารร้านค้าพาณิชย์รวมทั้งสถานที่ราชการต่างๆในสมัยก่อน การออกแบบและการก่อสร้างโดยฝีมือของบรรดาช่างชาวเวียดนามเกือบทั้งสิ้น สถานที่ราชการต่างๆที่สร้างโดยชาวเวียดนามยังปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบัน คือ อาคารสตรีราชินูทิศหลังเก่ สร้างปี พ.ศ. 2469 ในสมัยของพระศรีสุริยราชวรานุวัตร (สุข ดิษยบุตร) ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ปัจจุบันอาคารหลังดังกล่าวกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมและทางจังหวัดอุดรธานีได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จากความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และความคงทนแข็งแรงของตัวอาคารแม้ว่าการสร้างในสมัยนั้นไม่ใช่คอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่มีการตอกเสาเข็มก็ตาม นอกจากนี้เรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานีสร้างปี พ.ศ. 2473 ก็ก่อสร้างโดยช่างทีมงานชุดเดียวกัน

ผู้รับเหมาสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารสตรีราชินูทิศ หลังเก่าและเรือนจำกลางจังหวัดอุดรธานีดังกล่าว คือ นายตุ๊ก แซ่ฟาม หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าองฝอตุ๊ก “ฝอ” เป็นชื่อเล่นที่คนทั่วไปให้เกียรติยกย่องคนเก่งผู้มีความสามารถเป็นเลิศเฉพาะด้าน นายตุ๊กหรือองฝอตุ๊กนี้มีผู้ช่วยในทีมงานที่เข้มแข็งอีก 2 คนคือ นายเตียนไม่ทราบนามสกุล(เตียนแปลว่าเทพ)และนายเขียวไม่ทราบนามสกุล(เขียวแปลว่าพรสวรรค์)ส่วนคำว่า “ตุ๊ก” นั้นมีความหมายว่า “อุดม” แม้แต่อาคารที่ทำการศาลากลางจังหวัดอุดรธานีหลังเก่า ด้านหน้าก็เป็นฝีมือการสร้างของช่างชาวเวียดนามรุ่นใหม่คือทีมงานขององกู่วันฝอเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้รับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัดอุดรธานีก็มีคำว่า “ฝอ” อยู่ด้วยเช่นกัน

ส่วนชาวเวียดนามที่อพยพมาจากลาวเมื่อปี พ.ศ. 248 นั้น คือชาวเวียดนามรุ่นใหม่ที่ลี้ภัยสงครามจากอินโดจีน ลูกหลานของชาวเวียดนามกลุ่มนี้เกิดในเมืองไทย สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมได้ช่วยหล่อหลอมให้คนรุ่นนี้ผสมผสานกลมกลืนเป็นคนไทยเกือบหมดคือได้รับการศึกษาภาษาไทยตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เด็กๆชาวเวียดนามรุ่นนี้จะไม่รู้หนังสือและภาษาพูดเวียดนาม ปัจจุบันภาษาที่ใช้พูดกันในครอบครัวแทบทุกบ้านใช้ภาษาไทยแม้แต่วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ก็กลมกลืนเข้ากับจารีตและประเพณีของไทย เช่น งานศพใช้วิธีเผาแทนการฝั่ง พิธีทำบุญบ้านก็นิมนต์พระมาประกอบพิธีตามรูปแบบทางพุทธศาสนา ชาวเวียดนามเหล่านี้ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและต่อสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

กลุ่มพ่อค้าชาวอิหร่าน

กลุ่มพ่อค้าชาวอิหร่านคือกลุ่มแขกที่ขายแป้ง หวี น้ำมันใส่ผม ขายถั่วมัน บ้างก็ประกอบอาชีพเป็นยาม สมัยก่อนโรงหนัง ธนาคาร และบริษัทห้างร้านใหญ่ๆ นิยมจ้างแขกมาเฝ้ายามจนเป็นศัพท์ที่เรียกติดปากกันทั่วไปว่า “แขกยาม” แม้ในปัจจุบันห้างร้านและธนาคารบางแห่งก็ยังนิยมจ้างแขกมาเฝ้ายาม เช่น ธนาคารกสิกรไทยสาขาอุดรธานีถนนโพศรีเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแขกซิกซ์ที่ประกอบอาชีพขายผ้าแพรพรรณ แขกบางกลุ่มประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ขายเนื้อ บรรดาลูกหลานแขกเหล่านี้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาศัยอยู่แถวบ้านจิกถนนศรีชมชื่น

การตั้งอำเภอ

ประวัติการตั้งอำเภอ (แยกจาก)

แยกไปตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี หลัง 1 ธันวาคม 2536 เป็นต้น คืออำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

  • ก่อนที่จะแยกอำเภอไปตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู

อุดรธานี มี 21 อำเภอ หลังจากแยกไปเหลือ 16 อำเภอ

  • จนปี 2538 มีอำเภอนายูง
  • 2540 มีอำเภอพิบูลย์รักษ์
  • 2551 มีอำเภอกู่แก้ว
  • 2551 มีอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

2551-ปัจจุบัน อุดรธานีมีทั้งสิ้น 20 อำเภอ

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. หลวงวิจิตคุณสาร(อุ้ย นาครทรรพ) พ.ศ. 2450–2457
2. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (รอด สาริมาน) พ.ศ. 2457–2461
3. หม่อมเจ้าโสตถิผล ชมภูนุช พ.ศ. 2461–2462
4. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (ช่วง สุวรรทรรภ) พ.ศ. 2462–2468
5. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตยะโศธร) พ.ศ. 2469–2478
6. พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร์ คเณจร) พ.ศ. 2478–2479
7. พระยากำธรพายัพทิศ (ดิษ อินทรโสฬส ณ ราชสีมา) พ.ศ. 2479–2482
8. หลวงวิวิธสุรการ (ถวิล เจียรมาณพ) พ.ศ. 2482–2488
9. ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุนยมานิตย์) พ.ศ. 2488–2489
10. นายถวิล สุนทรศารทูล พ.ศ. 2489–2490
11. นายปกรณ์ อังศุสิงห์ พ.ศ. 2490
12. ขุนศุภกิจวิเลขการ (กระจ่าง ศุภกิจวิเลขการ) พ.ศ. 2490–2495
13. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ พ.ศ. 2495
14. ขุนบริบาลบรรพตเขตต์ (สังเวียน บริบาลบรรพตเขตต์) พ.ศ. 2495–2500
15. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ (ชุ่ม ขุนบริรักษ์บทวลัญช์) พ.ศ. 2500
16. นายจินต์ รักการดี พ.ศ. 2500–2505
17. หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย ปริวรรตวร) พ.ศ. 2505–2506
18. นายสุพัฒน์ วงษ์วัฒนะ พ.ศ. 2506–2508
19. พล.ต.ต.สามารถ วายวานนท์ พ.ศ. 2508–2509
20. นายวิญญู อังคนารักษ์ พ.ศ. 2509–2511
21. นายเจริญ ปานทอง พ.ศ. 2511–2516
22. นายเอนก สิทธิประศาสน์ พ.ศ. 2516–2518
23. นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2518–2520
24. นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ.ศ. 2520–2523
25. นายสมภาพ ศรีวรขาน พ.ศ. 2523–2527
26. นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2527–2529
27. นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ พ.ศ. 2529–2533
28. นายธวัช โพธิสุนทร พ.ศ. 2533–2535
29. นายสุพร สุภสร พ.ศ. 2535–2537
30. นายดำรง รัตนพานิช พ.ศ. 2537–2540
31. นายวิชัย ทัศนเศรษฐ พ.ศ. 2540–2542
32. นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี พ.ศ. 2542–2544
33. นายชัยพร รัตนนาคะ พ.ศ. 2544–2547
34. นายจารึก ปริญญาพล พ.ศ. 2547–2550
35. นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ พ.ศ. 2550–2551
36. นายอำนาจ ผการัตน์ พ.ศ. 2551–2553
37. นายคมสัน เอกชัย พ.ศ. 2553–2554
38. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี พ.ศ. 2554–2555
39. นายเสนีย์ จิตตเกษม พ.ศ. 2555–2557
40. นายนพวัชร สิงห์ศักดา พ.ศ. 2557–2558
41. นายชยาวุธ จันทร พ.ศ. 2558–2560
42. นายวัฒนา พุฒิชาติ พ.ศ. 2560–2562
43. นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ตอนบนของประเทศ หรือที่เรียกว่า อีสานเหนือ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 13 ลิปดา เหนือ ถึง 18 องศา 10 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 102 องศา 00 ลิปดา ตะวันออก ถึง 103 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ภูมิประเทศ

ประกอบด้วยภูเขา ที่สูง ที่ราบ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น แบ่งออกได้ 2 บริเวร คือบริเวณที่สูงทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นถึงลอนลึก มีความสูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ และด้านตะวันตกของอำเภอกุดจับและอำเภอบ้านผือ มีเทือกเขาสูงสลับเนินเตี้ย บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นสลับพื้นที่นา มีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณริมแม่น้ำ เช่น ลำน้ำโมง ลำปาว เป็นต้น

บริเวณพื้นที่ลูกคลื่นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก สภาพภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น มีที่ดอนสลับที่นา บางส่วนเป็นที่เนินเขาเตี้ย ๆ มีความสูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ อำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอไชยวาน อำเภอเพ็ญ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอมและอำเภอบ้านดุง มีที่ราบลุ่มเป็นบริเวณกว้างในเขต ่อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอกุมภวาปีซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำปาว พื้นที่ลูกคลื่นดังกล่าวจะมีพื้นที่สูง ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติเดิมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตอำเภอบ้านดุง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำต่างๆเช่น ห้วยน้ำสวย ห้วยหลวง ลำน้ำเพ็ญ ห้วยดาน ห้วยไฟจานใหญ่ และแม่น้ำสงครามเป็นต้น

โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและดินลูกรัง ชั้นล่างเป็นดินดาน ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นบางแห่งเป็นดินเค็มซึ่งประกอบการกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบแทรกอยู่กระจัดกระจายสภาพพื้นที่ทางตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็น แนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตเหนือสุดของจังหวัด

ภูมิอากาศ

จังหวัดอุดรธานีอยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว ช่วง 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2554 – 2558) อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42.0 องศาเซลเซียส (เมษายน2556) อุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส (มกราคม 2558) ปี พ.ศ. 2558 อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.10 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ สูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 41.90 องศาเซลเซียสและต่ำสุดในเดือนมกราคมวัดได้ 9.80 องศาเซลเซียส ความกดอากาศเฉลี่ยทั้งปีวัดได้ 1,009.97 มิลิเมตรปรอท ร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 95.58 เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 34.08 และร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 70.51

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดอุดรธานี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.4
(97.5)
38.3
(100.9)
41.0
(105.8)
41.8
(107.2)
40.9
(105.6)
39.6
(103.3)
37.2
(99)
36.2
(97.2)
35.5
(95.9)
35.8
(96.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
41.8
(107.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.2
(84.6)
31.6
(88.9)
34.2
(93.6)
35.4
(95.7)
33.7
(92.7)
32.5
(90.5)
32.2
(90)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
30.1
(86.2)
28.7
(83.7)
31.79
(89.23)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.2
(72)
24.7
(76.5)
27.6
(81.7)
29.3
(84.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.5
(81.5)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
24.6
(76.3)
22.1
(71.8)
26.38
(79.48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.8
(60.4)
18.6
(65.5)
21.7
(71.1)
24.1
(75.4)
24.7
(76.5)
25.0
(77)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
19.8
(67.6)
16.2
(61.2)
21.84
(71.32)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.5
(40.1)
9.4
(48.9)
10.0
(50)
16.0
(60.8)
18.8
(65.8)
21.5
(70.7)
20.4
(68.7)
21.0
(69.8)
20.5
(68.9)
16.4
(61.5)
8.4
(47.1)
6.2
(43.2)
4.5
(40.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6
(0.24)
19
(0.75)
36
(1.42)
83
(3.27)
220
(8.66)
231
(9.09)
222
(8.74)
276
(10.87)
254
(10)
84
(3.31)
9
(0.35)
3
(0.12)
1,443
(56.81)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 14 15 15 17 15 7 1 0 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[3]

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,880 หมู่บ้าน 101 ชุมชน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 44 เทศบาลตำบล 132 องค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวนประชากรรวม 1,557,298 คน จำนวนครัวเรือน 414,868 ครัวเรือน[ต้องการอ้างอิง]

อำเภอพันดอน
แผนที่จังหวัดอุดรธานี

การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,862 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคืออำเภอในจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน

  1. อำเภอเมืองอุดรธานี
  2. อำเภอกุดจับ
  3. อำเภอหนองวัวซอ
  4. อำเภอกุมภวาปี
  5. อำเภอโนนสะอาด
  6. อำเภอหนองหาน
  7. อำเภอทุ่งฝน
  8. อำเภอไชยวาน
  9. อำเภอศรีธาตุ
  10. อำเภอวังสามหมอ
  11. อำเภอบ้านดุง
  12. อำเภอบ้านผือ (หมายเลข 17)
  13. อำเภอน้ำโสม (หมายเลข 18)
  14. อำเภอเพ็ญ (หมายเลข 19)
  15. อำเภอสร้างคอม (หมายเลข 20)
  16. อำเภอหนองแสง (หมายเลข 21)
  17. อำเภอนายูง (หมายเลข 22)
  18. อำเภอพิบูลย์รักษ์ (หมายเลข 23)
  19. อำเภอกู่แก้ว (หมายเลข 24)
  20. อำเภอประจักษ์ศิลปาคม (หมายเลข 25)

ประชากร

ประชากรจังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นชาวต่างชาติที่สำคัญ ได้แก่ คนจีน คนญวน จังหวัดอุดรธานีได้จัดตั้งครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2436 ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่นและมาตั้งหลักแหล่ง ประชาชนที่เป็นชาวพื้นเมืองจึงแทบไม่มี มีแต่พวกชาวไทยย้อที่ตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ที่อำเภอวังสามหมอ และอำเภอศรีธาตุ ซึ่งมีจำนวนไม่มาก

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร[4]
จังหวัดอุดรธานี
ปี (พ.ศ.) ประชากร
2549 1,526,722
2550 1,530,686
2551 1,535,629
2552 1,538,940
2553 1,544,786
2554 1,548,107
2555 1,557,298
2556 1,548,107
2557 1,557,298
2558 1,563,964
2559 1,570,300
2560 1,583,092

การศึกษา

โรงเรียน

สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา

สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา

สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ปัจจุบันอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษาทั้งหมด สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดอุดรธานี มีดังนี้

เมืองพี่น้อง

จังหวัดอุดรธานีมีความสัมพันธ์ในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองดังต่อไปนี้

  1. จีน เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน (จังหวัดอุดรธานี-ดอกบัวแดง กับดอกโบตั๋น-เมืองลั่วหยาง)
  2. ลาว เมืองสามเหลี่ยมมรดกโลก (แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ร่วมกับเมืองเก่าหลวงพระบาง ประเทศลาว และอ่าวหะล็อง ประเทศเวียดนาม)
  3. สหรัฐ เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

การขนส่ง

ไฟล์:Udon Thani International Airport.jpg
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ

  • รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
  1. เส้นทางเดินรถอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์(สปป.ลาว)
  2. เส้นทางเดินรถอุดรธานี-หนองคาย-วังเวียง(สปป.ลาว)

การคมนาคมทางบก

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่1 (สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี) ถนนประชาอุทิศ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่2 (สังกัดกรมการขนส่งทางบก) ถนนรอบเมือง ตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่3 [5](โครงการในอนาคต)
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารพันดอน อ.กุมภวาปี (สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี) ถนนมิตรภาพ ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

การคมนาคมขนส่งทางราง

  • สถานีรถไฟอุดรธานี
  • สถานีรถไฟโนนสะอาด
  • สถานีรถไฟห้วยเกิ้ง
  • สถานีรถไฟกุมภวาปี
  • สถานีรถไฟห้วยสามพาด
  • สถานีรถไฟหนองตะไก้
  • ที่หยุดรถไฟบ้านคำกลิ้ง
  • สถานีรถไฟหนองขอนกว้าง
  • ที่หยุดรถไฟโคกช้าง
  • ที่หยุดรถไฟหนองตูม
  • สถานีรถไฟนาพู่

การคมนาคมขนส่งทางอากาศ

ชาวอุดรธานีที่มีชื่อเสียง

นักแสดง

นักร้อง

นักการเมือง

พระเกจิอาจารย์

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
  3. "Climate Normals for Udon Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "บริการข้อมูลประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/ 2555. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556.
  5. กรมการขนส่งทางบก เปิดรับมอบที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เพื่อจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานีแห่งที่ 3

แหล่งข้อมูลอื่น

17°25′N 102°47′E / 17.41°N 102.79°E / 17.41; 102.79