ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมช้อย ในรัชกาลที่ 4"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Person
| name = เจ้าจอมช้อย
| image =
| caption =
| birth_name =
| birth_date =
| birth_place =
| residence =
| death_date =
| death_place =
| nationality =
| known_for =
| employer =
| occupation =
| height =
| term =
| parents = พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) <br />คล้าย โรจนดิศ
| spouse = [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]​
| relatives =
| signature =
| website =
| footnotes =
}}
'''เจ้าจอมช้อย''' (สกุลเดิม: '''โรจนดิศ''') เป็นพระสนมใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
'''เจ้าจอมช้อย''' (สกุลเดิม: '''โรจนดิศ''') เป็นพระสนมใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:49, 4 มกราคม 2563

เจ้าจอมช้อย
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดามารดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
คล้าย โรจนดิศ

เจ้าจอมช้อย (สกุลเดิม: โรจนดิศ) เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าจอมช้อย เป็นธิดาของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)[1] และขรัวยายคล้าย เป็นน้องสาวของเจ้าจอมมารดาเที่ยง และเป็นพี่สาวของเจ้าจอมมารดาชุ่ม[2] นอกจากนี้ยังเป็นเป็นพี่สาวต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาทับทิม (ธิดาขรัวยายอิ่ม) และเจ้าจอมมารดาแส (ธิดาขรัวยายบาง) ต่อมาถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาได้เกิดเหตุขุนสุวรรณ (เขียน) ใช้ให้กุหลาบภรรยา เข้าไปพูดจาแทะโลมเจ้าจอมช้อย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ตระลาการชำระ แล้วให้นำขุนสุวรรณ (เขียน) และภรรยาไปประหารชีวิตเสียที่วัดดิสหงษาราม ส่วนเจ้าจอมช้อยนั้นให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหกสิบทีแล้วจำไว้ ปรากฏใน พระราชพงศาวกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ว่า[3]

"ครั้นมาถึงเดือน ๗ นั้น เกิดความเรื่องอ้ายเขียนขุนสุวรรณ บุตรพระยาราชภักดี ให้อีกุหลาบภรรยาเข้าไปพูดจาแทะโลมเจ้าจอมช้อย บุตรพระยาบำเรอภักดี มีผู้ทิ้งหนังสือข้างใน โปรดฯ ให้ตระลาการชำระได้ความว่ารักใคร่ให้เข้าของกันเนืองๆ แต่ไม่ถึงตัวกัน ลูกขุนวางบทจึงให้เอาอ้ายเขียนอีกุหลาบไปประหารชีวิตเสียที่วัดมักสัน ณวันจันทร์ เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ (วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2402) แต่ตัวอีช้อยนั้นให้ลงพระราชอาญาหกสิบแล้วสับเสี่ยงแล้วจำไว้

แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เนรเทศพระโยคาญาณภิรัต วัดราชสิทธาราม ๑ เจ้าอธิการวัดบางประทุน ๑ เป็นผู้ให้น้ำมนต์อ้ายเขียนอีกุหลาบเนรเทศไปอยู่เมืองสงขลา"

อ้างอิง